"วันนี้ในอดีต"
๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗
ฝ่าย สัมพันธมิตรได้ส่งฝูงบินทิ้งระเบิด B-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ราว ๕๐ เครื่อง ทำการบินทิ้งระเบิดเหนือพระนครอีกครั้ง ในเวลากลางวัน เริ่ม ตั้งแต่ ๐๙๐๐ เป็น ๓ ระลอก ระลอกละ ๑๒ – ๑๔ เครื่อง โดยไม่มีเครื่องบินขับไล่ คุ้มครองเข้ามาด้วยเลย ในครั้งนี้ “ฝูงบินรักษาพระนคร” ได้ส่ง เครื่องบินขับไล่แบบ ฮายาบูซ่า จำนวน ๑ ฝูง จำนวน ๙ เครื่อง ใช้เป็นฝูงบินรักษาพระนคร มีเรืออากาศเอก โชติ ชินะศิริ เป็นผู้บังคับฝูง ในวันนั้นมีเครื่องบินที่ใช้การได้เพียง ๘ เครื่องเท่านั้น แบ่งออกเป็น ๒ หมู่บิน หมู่บินละ ๔ เครื่อง มี ร.อ.เทอดศักดิ์ (สังวาลย์) วรทรัพย์ เป็นผู้บังคับหมู่บิน ที่ ๑ ร.ต.ศักดิ์ อินทปุระ เป็นผู้บังคับหมู่บินที่ ๒ ได้รับคำสั่งให้ขึ้นบินสกัดกั้น การโจมตีของเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-๒๙ ของข้าศึกหมู่ใหญ่นี้ทันที มิหนำซ้ำในตอนวิ่งขึ้นเครื่องยนต์ของเครื่องบิน ฝ่ายเราเสียไปอีก ๑ เครื่อง จึงคงเหลือเครื่องบินที่บินขึ้นสกัดกั้นขัดขวางเพียง ๗ เครื่องขึ้นสกัดกั้น ข่าวการเข้ามาของเครื่องบินข้าศึกจากยามอากาศจะได้รับก็ต่อเมื่อเครื่องบินของข้าศึกบินเลย จังหวัดกาญจนบุรีเข้ามาแล้ว ในขณะที่ ญี่ปุ่น เองก็ส่งเครื่องบินขับไล่แบบเดียวกันนี้ ซึ่งประจำการอยู่ในสนามบินดอนเมือง ฝั่งตะวันตก ขึ้นสกัดกั้นด้วยเช่นกัน การยุทธเวหาครั้งนี้ นับว่าดุเดือดทีเดียว เรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ วรทรัพย์ สามารถยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 ตกหนึ่งเครื่องในอ่าวไทย ก่อนที่เครื่องของเรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ ฯ จะถูกป้อมปืนใหญ่ยิง และต้องร่อนลงแถวจังหวัดชายทะเล
การขึ้นขัดขวางต่อเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ที่มีการป้องกันตัวดีเยี่ยม จำนวนมากของข้าศึกลงไปได้ ถึงกระนั้นก็ดี ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ และ ร.ต.ศักดิ์ฯ ผู้นำหมู่บินทั้งสองของไทยก็มิได้เสียขวัญแต่อย่างใด ต่างนำหมู่บินขึ้นสกัดกั้น ทำการรบโจมตีฝูงบินทิ้งระเบิดเหล่านั้นอย่างองอาจกล้าหาญ การต่อสู้ เป็นไปอย่างดุเดือดเป็นเวลานานพอสมควร โดยเฉพาะ ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ ได้พยายามโฉบเข้ายิงเครื่องบินข้าศึกเป็นเวลาหลายครั้ง จนเครื่องบินทิ้งระเบิด หนักของข้าศึกถูกยิงไฟลุกที่เครื่องยนต์ และต้องแยกหมู่บินหนีไป ตัว ร.อ.เทอดศักด์ฯ เองได้พยายามรบติดพันยิงเครื่องบินข้าศึกหมู่ใหญ่ อย่างไม่ลดละอีกหลายครั้ง ฝ่ายข้าศึกเมื่อทิ้งระเบิดได้สมความมุ่งหมาย จึงรวมหมู่เดินทางกลับ สำหรับ ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ ได้ไล่ติดตามยิงไปทางทิศใต้ จนกระสุนหมด และในที่สุดก่อนที่จะผละออกจากการรบ เพราะปืนกลอากาศ กระสุนหมดไม่มีกระสุนจะยิงต่อไป เครื่องบินของ ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ ก็ถูกยิง ไฟไหม้ จึงจำเป็นต้องสละเครื่องบิน โดดร่มลงในป่าลึกแถวแดนกะเหรี่ยง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ตัวเองถูกไฟลวกเป็นแผลพุพองบาดเจ็บสาหัส แขนขาด่างพร้อยเป็นรอยด่างอยู่จนชั่วชีวิต ตำบลที่โดดร่มลงห่างจากหมู่บ้าน มาก ต้องเดินอยู่ในป่าคืนหนึ่งจึงพบผู้คน และต้องอาศัยนั่งระแทะมาอีก ๒ วัน จึงถึงทางรถไฟและถูกส่งตัวมารับการรักษาพยาบาลที่กรุงเทพฯ การปฏิบัติการรบทางอากาศของ ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ รวมแล้วกว่า ๕๐ ครั้ง เพิ่งได้รับการบาดเจ็บมากในการรบครั้งนี้เป็นครั้งแรก และเป็นครั้งสุดท้าย จนสิ้นสุดอายุราชการ หลังจากการปฏิบัติการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ของเครื่องบินแบบบี-๒๙ ต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อกลับไปถึงฐานทัพดัมดัม ในเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดียแล้ว ข่าวจากหนังสือพิมพ์รวมทั้งข่าวจากวิทยุ บี.บี.ซี และข่าว รอยเตอร์ออกมาสอดคล้องตรงกับคำบอกเล่าของนักบินฝ่ายสัมพันธมิตร หลังสงคราม ตามวันเวลาดังกล่าวคือ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ ในการโจมตี ทิ้งระเบิดในกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่สุด มีเครื่องบินทิ้งระเบิด บี –๒๙ เครื่องหนึ่ง ไฟไหม้ บินแตกฝูงหล้าหลังตกลงในอ่าวเบงกอล ทิศใต้เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ข่าวทั้งหมดยังคงเข้าใจว่าเครื่องบินแบบบี-๒๙ เครื่องนั้น ถูกยิงตกโดยฝีมือนักบินขับไล่ของญี่ปุ่น ซึ่งตามความเป็นจริงจากหลักฐาน พิสูจน์ได้ว่าในการสู้รบกลางอากาศในคืนวันนั้น ไม่มีเครื่องบินฝ่ายญี่ปุ่นและ นักบินญี่ปุ่นขึ้นบินต่อสู้แม้แต่คนเดียว เป็นอันว่า ผู้ที่ยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี-29 อันทรงอิทธิพลของ ฝ่ายสัมพันธมิตรตกเป็นคนแรกคือ เรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ (สังวาล) วรทรัพย์ นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศไทย และได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ เป็นเหรียญที่ ๒(ประดับช่อชัยพฤกษ์)
เครดิต
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10208164211961143
"วันนี้ในอดีต" นักบินรบไทย ยิง เครื่องบินb-29 ของสัมพันธมิตรตก
๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗
ฝ่าย สัมพันธมิตรได้ส่งฝูงบินทิ้งระเบิด B-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ราว ๕๐ เครื่อง ทำการบินทิ้งระเบิดเหนือพระนครอีกครั้ง ในเวลากลางวัน เริ่ม ตั้งแต่ ๐๙๐๐ เป็น ๓ ระลอก ระลอกละ ๑๒ – ๑๔ เครื่อง โดยไม่มีเครื่องบินขับไล่ คุ้มครองเข้ามาด้วยเลย ในครั้งนี้ “ฝูงบินรักษาพระนคร” ได้ส่ง เครื่องบินขับไล่แบบ ฮายาบูซ่า จำนวน ๑ ฝูง จำนวน ๙ เครื่อง ใช้เป็นฝูงบินรักษาพระนคร มีเรืออากาศเอก โชติ ชินะศิริ เป็นผู้บังคับฝูง ในวันนั้นมีเครื่องบินที่ใช้การได้เพียง ๘ เครื่องเท่านั้น แบ่งออกเป็น ๒ หมู่บิน หมู่บินละ ๔ เครื่อง มี ร.อ.เทอดศักดิ์ (สังวาลย์) วรทรัพย์ เป็นผู้บังคับหมู่บิน ที่ ๑ ร.ต.ศักดิ์ อินทปุระ เป็นผู้บังคับหมู่บินที่ ๒ ได้รับคำสั่งให้ขึ้นบินสกัดกั้น การโจมตีของเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-๒๙ ของข้าศึกหมู่ใหญ่นี้ทันที มิหนำซ้ำในตอนวิ่งขึ้นเครื่องยนต์ของเครื่องบิน ฝ่ายเราเสียไปอีก ๑ เครื่อง จึงคงเหลือเครื่องบินที่บินขึ้นสกัดกั้นขัดขวางเพียง ๗ เครื่องขึ้นสกัดกั้น ข่าวการเข้ามาของเครื่องบินข้าศึกจากยามอากาศจะได้รับก็ต่อเมื่อเครื่องบินของข้าศึกบินเลย จังหวัดกาญจนบุรีเข้ามาแล้ว ในขณะที่ ญี่ปุ่น เองก็ส่งเครื่องบินขับไล่แบบเดียวกันนี้ ซึ่งประจำการอยู่ในสนามบินดอนเมือง ฝั่งตะวันตก ขึ้นสกัดกั้นด้วยเช่นกัน การยุทธเวหาครั้งนี้ นับว่าดุเดือดทีเดียว เรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ วรทรัพย์ สามารถยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 ตกหนึ่งเครื่องในอ่าวไทย ก่อนที่เครื่องของเรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ ฯ จะถูกป้อมปืนใหญ่ยิง และต้องร่อนลงแถวจังหวัดชายทะเล
การขึ้นขัดขวางต่อเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ที่มีการป้องกันตัวดีเยี่ยม จำนวนมากของข้าศึกลงไปได้ ถึงกระนั้นก็ดี ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ และ ร.ต.ศักดิ์ฯ ผู้นำหมู่บินทั้งสองของไทยก็มิได้เสียขวัญแต่อย่างใด ต่างนำหมู่บินขึ้นสกัดกั้น ทำการรบโจมตีฝูงบินทิ้งระเบิดเหล่านั้นอย่างองอาจกล้าหาญ การต่อสู้ เป็นไปอย่างดุเดือดเป็นเวลานานพอสมควร โดยเฉพาะ ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ ได้พยายามโฉบเข้ายิงเครื่องบินข้าศึกเป็นเวลาหลายครั้ง จนเครื่องบินทิ้งระเบิด หนักของข้าศึกถูกยิงไฟลุกที่เครื่องยนต์ และต้องแยกหมู่บินหนีไป ตัว ร.อ.เทอดศักด์ฯ เองได้พยายามรบติดพันยิงเครื่องบินข้าศึกหมู่ใหญ่ อย่างไม่ลดละอีกหลายครั้ง ฝ่ายข้าศึกเมื่อทิ้งระเบิดได้สมความมุ่งหมาย จึงรวมหมู่เดินทางกลับ สำหรับ ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ ได้ไล่ติดตามยิงไปทางทิศใต้ จนกระสุนหมด และในที่สุดก่อนที่จะผละออกจากการรบ เพราะปืนกลอากาศ กระสุนหมดไม่มีกระสุนจะยิงต่อไป เครื่องบินของ ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ ก็ถูกยิง ไฟไหม้ จึงจำเป็นต้องสละเครื่องบิน โดดร่มลงในป่าลึกแถวแดนกะเหรี่ยง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ตัวเองถูกไฟลวกเป็นแผลพุพองบาดเจ็บสาหัส แขนขาด่างพร้อยเป็นรอยด่างอยู่จนชั่วชีวิต ตำบลที่โดดร่มลงห่างจากหมู่บ้าน มาก ต้องเดินอยู่ในป่าคืนหนึ่งจึงพบผู้คน และต้องอาศัยนั่งระแทะมาอีก ๒ วัน จึงถึงทางรถไฟและถูกส่งตัวมารับการรักษาพยาบาลที่กรุงเทพฯ การปฏิบัติการรบทางอากาศของ ร.อ.เทอดศักดิ์ฯ รวมแล้วกว่า ๕๐ ครั้ง เพิ่งได้รับการบาดเจ็บมากในการรบครั้งนี้เป็นครั้งแรก และเป็นครั้งสุดท้าย จนสิ้นสุดอายุราชการ หลังจากการปฏิบัติการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ของเครื่องบินแบบบี-๒๙ ต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อกลับไปถึงฐานทัพดัมดัม ในเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดียแล้ว ข่าวจากหนังสือพิมพ์รวมทั้งข่าวจากวิทยุ บี.บี.ซี และข่าว รอยเตอร์ออกมาสอดคล้องตรงกับคำบอกเล่าของนักบินฝ่ายสัมพันธมิตร หลังสงคราม ตามวันเวลาดังกล่าวคือ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ ในการโจมตี ทิ้งระเบิดในกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่สุด มีเครื่องบินทิ้งระเบิด บี –๒๙ เครื่องหนึ่ง ไฟไหม้ บินแตกฝูงหล้าหลังตกลงในอ่าวเบงกอล ทิศใต้เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ข่าวทั้งหมดยังคงเข้าใจว่าเครื่องบินแบบบี-๒๙ เครื่องนั้น ถูกยิงตกโดยฝีมือนักบินขับไล่ของญี่ปุ่น ซึ่งตามความเป็นจริงจากหลักฐาน พิสูจน์ได้ว่าในการสู้รบกลางอากาศในคืนวันนั้น ไม่มีเครื่องบินฝ่ายญี่ปุ่นและ นักบินญี่ปุ่นขึ้นบินต่อสู้แม้แต่คนเดียว เป็นอันว่า ผู้ที่ยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี-29 อันทรงอิทธิพลของ ฝ่ายสัมพันธมิตรตกเป็นคนแรกคือ เรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ (สังวาล) วรทรัพย์ นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศไทย และได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ เป็นเหรียญที่ ๒(ประดับช่อชัยพฤกษ์)
เครดิต https://www.facebook.com/rach2511/posts/10208164211961143