แรงโน้มถ่วง.. Space-time และ Gravitron เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คือผมไปอ่านหนังสือมาครับ แล้วเรื่องต้นกำเนิดแรงโน้มถ่วงเหมือนหลายๆเล่มจะอธิบายหลักๆอยู่ 2 แบบคือ
การบิดงอของSpace-time และ อนุภาคส่งแรงโน้มถ่วงGravitron อย่างทราบว่าทั้ง2เกี่ยวข้องกันไหมครับ

ในกรณีแสง(อนุภาคPhoton)สามารถโค้งได้ เพราะการบิดงอของ spacetime  จุดนี้มันสามารถอธิบายในแง่ของ gravitron ได้ไหมครับ
ซึ่งตรงนี้ผมก็ไม่มีความรู้จุดนี้ แต่ Photon มันก็ไม่มีมวลด้วยนี้สิ
ทำให้ความหวังของ gravitron แลดูเลือนลาง ว่าเป็นอนุภาคที่มีอยู่จริงหรือเปล่า เพราะในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถตรวจจับได้

แต่เท่าที่ทราบใน ทฤษฎีสตริง ยังมีรูปแบบการสั่นของเส้นสตริงอยู่รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีตรงกับคุณสมบัติของ gravitron

เลยเหมือนว่าทั้ง2มันจะตีกันเอง ว่าความเป็นจริงคืออะไรกันแน่

ก็เลยมารบกวนผู้รู้ถามคำถามนั้นแหละครับว่า..
Space-time และ Gravitron เกี่ยวข้องกันหรือไม่หรืออย่างไร

เต่าเอือมเม่าแพนด้า
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ครับใช่ มันตีกันเอง
บางทฤษฎี กราวิตอนก็ไม่จำเป็นต้องมี เช่นสัมพัทธภาพทั่วไป เพราะมวลทำให้อวกาศโค้งเฉยๆ แสงเลยวิ่งไปบน space-time โค้งตามด้วย
ในสัมพัทธภาพทั่วไป แรงโน้มถ่วงไม่ถือเป็นแรงธรรมชาติ แต่เป็นแค่แรงที่รู้จักจากความเร่งที่วัตถุเคลื่อนที่ใน space-time ที่บิดงอ

บางทฤษฎี โดยเฉพาะในทางควอนตัมมีแนวคิดว่าทุกแรงกระทำในแรงธรรมชาติต้องมีการแลกเปลี่ยนอนุภาคสื่อนำแรง (โฟตอน, กลูออน, WและZ โบซอน) ดังนั้นถ้าแรงโน้มถ่วงเป็นแรงธรรมชาติ เวลาเกิดแรงนี้ก็ต้องมีการแลกเปลี่ยนอนุภาคสื่อนำแรงด้วย (ซึ่งก็คือกราวิตอนที่ตั้งชื่อไว้ก่อน)

ส่วนกราวิตอนและ space-time เกี่ยวข้องกันยังไง... ยังไม่ทราบครับ และจริงๆมันยังขัดแย้งกันหลายจุดอีกต่างหาก
เพราะเรายังไม่แน่ใจด้วยซ้ำไปว่ากราวิตอนมีอยู่จริงๆรึเปล่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่