-Spoiler Alert!-
ชีวิตโสดในหนังดูเหมือนโชคร้ายที่ไม่มีใครต้องการ ใครที่โสดนานๆ ก็จะถูกมองว่าไร้ประสิทธิภาพ ไม่ได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ กล่าวคือการสืบเผ่าพันธุ์ เขาหรือเธอก็ไม่สมควรที่จะถูกจัดอยู่ในสปีชีส์นี้ต่อไป การที่โรงแรมในเรื่อง ซึ่งถือเป็นตัวแทนของสังคมที่ดูเหมือนจะบีบรัดให้เหล่าคนโสดต้องรู้สึกผิดที่พวกเขาไม่มีคนรัก (ฉากที่ให้คนโสดไปล่าคนโสดที่หนีออกมานี่สะท้อนได้ชัดเจน เป็นการบังคับให้พวกเขามองว่าคนโสดไมได้มีคุณค่าที่จะมีชีวิตอยู่) และการมีคู่นั่นคือเป้าหมายที่เขาต้องบรรลุ ราวกับว่าคนเกิดมาเพื่อหาคู่ สืบพันธุ์ เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว
แต่จริงๆแล้ว มนุษย์ไม่ได้เราเพิ่งถูกสังคมตีกรอบ เพราะความรักก็ถือกำเนิดมาช้านาน นั่นจึงหมายความว่า จิตใจของมนุษย์เองต่างหากที่อ่อนแอ ยอมไหลไปตามสิ่งเร้าที่มากระทบ เราเห็นคนรักนั่งกินข้าวด้วยกัน คุยกันหวานแหวว ไปนั่งเรือยอร์ชด้วยกัน มีลูกด้วยกัน ภาพเหล่านั้นมันทำให้คนโสดรู้สึกว่าอยากมีประสบการณ์แบบนั้นบ้าง แล้วก็หาคู่แบบไร้สติ หาเพราะว่าไม่อยากเหงา หาเพราะจะได้ไม่ถูกตราหน้าว่าโสด (ชายขาไม่ดีบอกกับพระเอกว่า เขาอยากไปอยู่บนเรือยอร์ช แทนที่เขาจะบอกว่าเขาอยากมีความรักที่สงบสุข) การมีคนรักได้ถูกนิยามใหม่ ให้กลายเป็นการสนองความอยาก สังคมก็ส่วนหนึ่ง แต่เราเองนั่นแหละที่ตีกรอบให้กับตัวเอง
ฝั่งคนโสดก็ไม่แพ้กัน การที่เราจงเกลียดจงชังความรักเหมือนกับหัวหน้าเผ่า (Léa Seydoux) มองความรักเป็นการเล่นละครปาหี่ให้กันและกัน เราว่ามันก็น่าเกรงกลัวไม่แพ้กันกับฝั่งคนมีคู่มองคนโสดเลย ฉากที่น่าสนใจก็คือ หัวหน้าเผ่ายกพลคนโสดไปบุกโรงแรม เพื่อสร้างเหตุการณ์ให้คู่รักผิดใจกัน อย่างคู่ผู้จัดการโรงแรม หัวหน้าเผาให้สามีของผู้จัดการโรงแรมตัดสินใจว่าจะฆ่าใครระว่างเขากับภรรยา ซึ่งเอาจริงๆ ถึงแม้ว่าคู่รักที่จะมีความสัมพันธ์กันชื่นมื่น แต่เราว่ามันก็ไม่แปลกนะ ที่คนเราจะรักตัวเองด้วย ดีเสียอีกที่เขาไม่ได้บูชาความรักจนหัวปักหัวปำ
ส่วนพระเอก (Colin Farrell) ที่ถึงแม้ว่าเขาจะอ้างว่าได้พบรักแท้ เขาก็ยังคงติดเงื่อนไขที่ว่าการจะรักกันมันต้องมีอะไรเหมือนกัน พอนางเอกเปลี่ยนไปเพียงน้อยนิด ซึ่งเอาจริงเธอก็ยังเป็นคนเดิมนะ คุยกับเขาเหมือนเดิม ยังรักเขาเหมือเดิม แต่กลายเป็นว่า เธอในสายตาพระเอกไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป เขาพยายามหาองค์ประกอบบางอย่างที่ตรงกัน (แอบคิดว่าทั้งคู่เหมือนอดัมและอีฟในสวนอีเดนเหมือนกันนะ เพียงแต่เปลี่ยนจากพระเจ้าเป็นเผด็จการ)
เขาสองคนหนีมาจากโรงแรมและป่าคนโสด (พระเอกฝังหัวหน้าเผาก่อนหนีมาด้วย) ตอนช่วงนั้นของหนังเราก็แอบดีใจแล้วนะว่า พระเอกน่าจะล้มเลิกระบบความคิดแบบเก่า (เผด็จการทั้งสองแบบ) กลายเป็นคนนอกรีตไปด้วยกัน แต่กลายเป็นว่าตอนจบพระเอกดูเหมือนจะไม่สามารถกำจัดชุดความคิดนั้นออกไปได้อย่างแท้จริง เขาพยายามจะกลายร่าง (Transformation) ไปเป็นคนรัก ซึ่งท้ายที่สุด เราก็ไม่รู้ว่าเขาตัดสินใจไปทางใด ผู้กำกับเปิดพื้นที่ให้เราได้ละเลิงความคิด เราก็ได้แต่หวังว่าคู่รักนี้จะเป็นแสงสว่างให้กับยุคสมัยที่มืดมนนี้
การจะรักใครสักคน จำเป็นด้วยหรือที่เราต้องสร้างเงื่อนไขมาขังตัวเอง และจำกัดคนเข้ามาในชีวิตเรา ขนาดนั้น?
ปล. แอบคิดอยู่นะว่าหัวหน้าชนเผ่าแอบรักกับนางเอกหรือไม่ แต่เข้าใจว่าสังคมเผด็จการยังไม่ยอมรับ homosexual เธอเลยไม่กล้าcoming out เธอเก็บกด และระบายด้วยการไม่ให้ใครที่อยู่ในเผ่าได้มีความรัก (เราไม่อาจสลัดภาพ Léa Seydoux ใน Blue is the Warmest Color,2013 ได้เลย) เธอทำลายนางเอกด้วยการทำลายการมองเห็น สื่อถึงการระบบรับรู้ผิดชอบชั่วดี ได้ถูกทำลายลง มันแสดงถึงความอัดอั้นของเพศที่สาม ซึ่งถ้าหนังซ่อนประเด็น queer ไว้จริงๆ ก็ซ่อนไว้ได้อย่างงดงามมากๆ
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ
https://www.facebook.com/survival.king
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: The Lobster { Yorgos Lanthimos }, 2015
-Spoiler Alert!-
ชีวิตโสดในหนังดูเหมือนโชคร้ายที่ไม่มีใครต้องการ ใครที่โสดนานๆ ก็จะถูกมองว่าไร้ประสิทธิภาพ ไม่ได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ กล่าวคือการสืบเผ่าพันธุ์ เขาหรือเธอก็ไม่สมควรที่จะถูกจัดอยู่ในสปีชีส์นี้ต่อไป การที่โรงแรมในเรื่อง ซึ่งถือเป็นตัวแทนของสังคมที่ดูเหมือนจะบีบรัดให้เหล่าคนโสดต้องรู้สึกผิดที่พวกเขาไม่มีคนรัก (ฉากที่ให้คนโสดไปล่าคนโสดที่หนีออกมานี่สะท้อนได้ชัดเจน เป็นการบังคับให้พวกเขามองว่าคนโสดไมได้มีคุณค่าที่จะมีชีวิตอยู่) และการมีคู่นั่นคือเป้าหมายที่เขาต้องบรรลุ ราวกับว่าคนเกิดมาเพื่อหาคู่ สืบพันธุ์ เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว
แต่จริงๆแล้ว มนุษย์ไม่ได้เราเพิ่งถูกสังคมตีกรอบ เพราะความรักก็ถือกำเนิดมาช้านาน นั่นจึงหมายความว่า จิตใจของมนุษย์เองต่างหากที่อ่อนแอ ยอมไหลไปตามสิ่งเร้าที่มากระทบ เราเห็นคนรักนั่งกินข้าวด้วยกัน คุยกันหวานแหวว ไปนั่งเรือยอร์ชด้วยกัน มีลูกด้วยกัน ภาพเหล่านั้นมันทำให้คนโสดรู้สึกว่าอยากมีประสบการณ์แบบนั้นบ้าง แล้วก็หาคู่แบบไร้สติ หาเพราะว่าไม่อยากเหงา หาเพราะจะได้ไม่ถูกตราหน้าว่าโสด (ชายขาไม่ดีบอกกับพระเอกว่า เขาอยากไปอยู่บนเรือยอร์ช แทนที่เขาจะบอกว่าเขาอยากมีความรักที่สงบสุข) การมีคนรักได้ถูกนิยามใหม่ ให้กลายเป็นการสนองความอยาก สังคมก็ส่วนหนึ่ง แต่เราเองนั่นแหละที่ตีกรอบให้กับตัวเอง
ฝั่งคนโสดก็ไม่แพ้กัน การที่เราจงเกลียดจงชังความรักเหมือนกับหัวหน้าเผ่า (Léa Seydoux) มองความรักเป็นการเล่นละครปาหี่ให้กันและกัน เราว่ามันก็น่าเกรงกลัวไม่แพ้กันกับฝั่งคนมีคู่มองคนโสดเลย ฉากที่น่าสนใจก็คือ หัวหน้าเผ่ายกพลคนโสดไปบุกโรงแรม เพื่อสร้างเหตุการณ์ให้คู่รักผิดใจกัน อย่างคู่ผู้จัดการโรงแรม หัวหน้าเผาให้สามีของผู้จัดการโรงแรมตัดสินใจว่าจะฆ่าใครระว่างเขากับภรรยา ซึ่งเอาจริงๆ ถึงแม้ว่าคู่รักที่จะมีความสัมพันธ์กันชื่นมื่น แต่เราว่ามันก็ไม่แปลกนะ ที่คนเราจะรักตัวเองด้วย ดีเสียอีกที่เขาไม่ได้บูชาความรักจนหัวปักหัวปำ
ส่วนพระเอก (Colin Farrell) ที่ถึงแม้ว่าเขาจะอ้างว่าได้พบรักแท้ เขาก็ยังคงติดเงื่อนไขที่ว่าการจะรักกันมันต้องมีอะไรเหมือนกัน พอนางเอกเปลี่ยนไปเพียงน้อยนิด ซึ่งเอาจริงเธอก็ยังเป็นคนเดิมนะ คุยกับเขาเหมือนเดิม ยังรักเขาเหมือเดิม แต่กลายเป็นว่า เธอในสายตาพระเอกไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป เขาพยายามหาองค์ประกอบบางอย่างที่ตรงกัน (แอบคิดว่าทั้งคู่เหมือนอดัมและอีฟในสวนอีเดนเหมือนกันนะ เพียงแต่เปลี่ยนจากพระเจ้าเป็นเผด็จการ)
เขาสองคนหนีมาจากโรงแรมและป่าคนโสด (พระเอกฝังหัวหน้าเผาก่อนหนีมาด้วย) ตอนช่วงนั้นของหนังเราก็แอบดีใจแล้วนะว่า พระเอกน่าจะล้มเลิกระบบความคิดแบบเก่า (เผด็จการทั้งสองแบบ) กลายเป็นคนนอกรีตไปด้วยกัน แต่กลายเป็นว่าตอนจบพระเอกดูเหมือนจะไม่สามารถกำจัดชุดความคิดนั้นออกไปได้อย่างแท้จริง เขาพยายามจะกลายร่าง (Transformation) ไปเป็นคนรัก ซึ่งท้ายที่สุด เราก็ไม่รู้ว่าเขาตัดสินใจไปทางใด ผู้กำกับเปิดพื้นที่ให้เราได้ละเลิงความคิด เราก็ได้แต่หวังว่าคู่รักนี้จะเป็นแสงสว่างให้กับยุคสมัยที่มืดมนนี้
การจะรักใครสักคน จำเป็นด้วยหรือที่เราต้องสร้างเงื่อนไขมาขังตัวเอง และจำกัดคนเข้ามาในชีวิตเรา ขนาดนั้น?
ปล. แอบคิดอยู่นะว่าหัวหน้าชนเผ่าแอบรักกับนางเอกหรือไม่ แต่เข้าใจว่าสังคมเผด็จการยังไม่ยอมรับ homosexual เธอเลยไม่กล้าcoming out เธอเก็บกด และระบายด้วยการไม่ให้ใครที่อยู่ในเผ่าได้มีความรัก (เราไม่อาจสลัดภาพ Léa Seydoux ใน Blue is the Warmest Color,2013 ได้เลย) เธอทำลายนางเอกด้วยการทำลายการมองเห็น สื่อถึงการระบบรับรู้ผิดชอบชั่วดี ได้ถูกทำลายลง มันแสดงถึงความอัดอั้นของเพศที่สาม ซึ่งถ้าหนังซ่อนประเด็น queer ไว้จริงๆ ก็ซ่อนไว้ได้อย่างงดงามมากๆ
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ https://www.facebook.com/survival.king