อาชีพแพทย์ กับสังคมไทยในปัจจุบัน

กระทู้สนทนา
พึ่งได้เห็นข่าวย้อนหลังในทีวี

ประมาณว่ามีญาติผู้ป่วยรวมถึงชาวบ้านบุกไปประท้วงที่รพ. และดำเนินฟ้องร้องแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยซึ่งตั้งครรภ์ใกล้คลอดปวดท้องมาที่โรงพยาบาลชุมชนเล็กๆแห่งหนึ่ง แพทย์ประจำรพ.ตรวจพบว่ามีอาการแทรกซ้อน ทำให้การทำคลอดยากกว่าปกติ จึงส่งต่อผู้ป่วยไปยังรพ.ในตัวเมืองซึ่งมีเครื่องมือพร้อม และมีแพทย์เฉพาะทาง ปรากฏว่าผู้ป่วยและเด็กในท้องเสียชีวิตที่รพ. โดยแพทย์ให้สาเหตุว่ามารพ.ช้าเกินไป ญาติผู้เสียชีวิตไม่พอใจแพทย์ที่รพ.แรกว่าทำไมไม่พยายามลองรักษา ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิต

ผมจึงนึกถึงอีกข่าวนึง เมื่อประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา มีแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ( โรงบาลขนาดเล็กของรัฐ ) แห่งหนึ่งตัดสินใจดมยาสลบและผ่าตัดไส้ติ่งผู้ป่วยรายหนึ่งที่มารพ.ด้วยอาการไส้ติ่งแตก แต่ผลสุดท้ายผู้ป่วยรายนั้นเสียชีวิต ปรากฏว่าแพทย์ท่านนั้นโดนฟ้อง และถูกศาลตัดสินให้มีความผิดเนื่องจากให้การรักษาโดยไม่มีความสามารถเพียงพอ ( เนื่องจากไม่ได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง )



อ่านสองข่าวนี้แล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้างครับ



คุณเป็นแพทย์นะ จรรยาบรรแพทย์ห้ามปฎิเสธการรักษาผู้ป่วยนะ แต่อย่าทำพลาดนะ ฟ้องนะ ทำไม่ดีก็ไม่ได้นะ ฟ้องนะ ถ้าไม่รักษาแล้วคนไข้เป็นอะไรขึ้นมา ฟ้องนะ ถ้ารักษาแล้วเกิดตายขึ้นมา ฟ้องนะ ปวดหัวนิดเดียวส่งตรวจอะไรเยอะแยะ กะรวยเลยล่ะสิ แต่ถ้าตรวจไม่เจอแล้วมาเป็นเยอะทีหลัง ฟ้องนะ

ผมไม่ได้มีอาชีพแพทย์ รวมถึงคนใกล้ตัวก็ไม่มีใครประกอบอาชีพนี้ ผมสงสัยว่าสังคมไทยในปัจจุบันคาดหวังกับคนในอาชีพนี้มากเกินกว่าที่ควรจะเป็นรึเปล่า ปัจจุบันนี้เรามองว่าแพทย์เป็นอาชีพที่มีเกียรตินะ ช่วยรักษาคน น่ายกย่องกว่าอาชีพอื่น ใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ คิดว่าหมอก็คนปกติ แล้วทำไมสังคมถึงวิจารณ์เวลามีข่าวหมอไม่รักษาคนไข้ หรือโรงพยาบาลเอกชนปฎิเสธคนไข้เพราะไม่มีเงิน

ถ้าตอบว่าใช่ เวลาหมอทำพลาด ( ไม่นับความสับเพร่าเลินเล่อ หรือตั้งใจรักษาผิดเพื่อเงินอะไรแบบนี้นะครับ  ) ไอ้เกียรติหรือความดีน่ายกย่องต่างๆนั้นมันไม่มีประโยชน์เลยหรือ  ????


คนอื่นคิดอย่างไรกันบ้างครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่