ก่อนอื่นจะขอเรียกน้ำย่อย55
โดยขอนำเสนอ
คำติชม สกู๊ปบางส่วน(เลือกตัดมาบางประโยค)จากสื่อ แฟนนิยาย และแฟนละคร ต่อรัตนาวดี 2558
"บทประพันธ์ ที่สวยงามทั้ง ฉาก และ เนื้อหา แต่กลับถูก ทิ้งร้าง ไร้คนสร้างมาร่วม 30 ปี ในขณะที่ ปริศนา มีเกิดใหม่ทุก 10 ปี...รัตนาวดี
กลับถูกเก็บเข้ากรุ ไม่มี คนกล้าทำ!?"
คำนำจากบทความ นสพ.ข่าวสด โดยช่อ ชัยพฤกษ์
"เข้าใจว่า ว.ณ. ประมวลมารค เขียน "รัตนาวดี" มาไม่ต่ำกว่า 50 ปีแล้วที่ผ่านมา
ทั้งหนังและละครหลายเวอร์ชั่นก็พยายามสร้างสรรค์นวนิยายเล่มเล็กๆ
ที่เล่าเรื่องผ่านจดหมายอย่างเรียบง่ายนี้อย่างดีที่สุด
แต่ดูรัตนาวดี 2015 มาถึงตอนนี้ เรารู้สึกว่าหนังสือเรื่อง "รัตนาวดี" ใช้เวลาเดินทางหลายสิบปีทีเดียว
กระทั่งเจอทางเล่าเรื่องที่ใช่ที่สุดบนแผ่นฟิล์มว่า ต้องละเอียด ละเมียดละไม ประณีต และงามอย่างไร
ในปมเรื่องที่ไม่ได้ซับซ้อนลึกเร้น แต่นิ่งสง่างาม
ขอชื่นชมทีมงานและนักแสดงค่ะ"
คุณ airy nothing
"นิยายเรื่องรัตนาวดี เป็นหนึ่งในนิยายเล่มโปรด ทุกครั้งที่อ่านก็รู้สึกว่านำมาทำเป็นละครได้ยาก
ยิ่งทำให้เรื่องราวการท่องเที่ยวให้น่าติดตามยิ่งยาว(ยาก)ไปอีก
แต่รัตนาวดีฉบับปี 2558 ทำได้เกินคาดของคนอ่านแฟนนิยายที่คาดหวังสูงมีจินตนาการที่เก็บไว้เนิ่นนาน
ขอชื่นชมจริงๆ"
คุณน้องพี่พ้องเพื่อน
"เพราะไม่ง่ายเลย ที่ทำให้การบอกเล่า ผ่านจดหมายไปมา จะตรึงใจคนได้แบบนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่า อีกนานแค่ไหน จะมีคนหยิบยกรัตนาวดีขึ้นมาอีกแต่ ที่แน่ๆรัตนาวดี เวอร์ชั่นนี้ขโมยใจไปหมดแล้ว"
คุณคาโบนาร่าอร่อยมาก
"ดูทีมงานผู้จัดผู้กำกับมีข้อมูลดี เข้าใจและมีมุมมองในการถ่ายทอดเรื่องราวได้ดีเยี่ยม ถ่ายทอดบรรยากาศต่างประเทศมาให้คนดูรู้สึกไปด้วย
คือไม่ใช่แค่ได้เห็นว่าที่โน่นนี่นั่นเป็นอย่างไร แต่ให้ได้รู้สึกว่าที่นั้นๆทำให้คนที่ไปเยือนรู้สึกอย่างไร
เราอาจจะอธิบายไม่เข้าใจ สำหรับตัวเราเองเวลาที่ไปเที่ยวต่างบ้านต่างเมืองแล้วกลับมา
ความทรงจำมันไม่ได้มีแค่ตึกนี้โบสถ์นี้เขาลูกนี้สวยยังไง แต่ยังจำได้ว่าอากาศมีกลิ่นยังไง เสียงของลมของใบไม้เป็นยังไง
เวลาเดินไปมามองดูรอบตัวรู้สึกยังไง เวลานั่งนิ่งๆดูบ้านดูเมืองดูวิวรู้สึกยังไง เพราะการจะรู้สึกได้ไม่ใช่จากคำพูดของตัวละคร
แต่ได้จากองค์ประกอบของภาพ แสง เสียง และการถ่ายทำ ที่ต้องนิ่ง เป็นไปอย่างนิ่มนวล และละเอียดมาก
เหมือนคนดูจะเดินไปด้วยกับตัวละคร เดินทางไปด้วยกันไม่ต้องเร่งรีบ ประทับใจจริงๆค่ะ"
คุณ vadanate
"...โทนละครคล้าย “ต้มจืด” ที่ปรุงด้วยวัตถุดิบชั้นเลิศ เคี่ยวน้ำซุปจนเข้มข้น ต้องรับประทานเรื่อยๆ
ชิมไปนานๆ ถึงจะรู้รสของความละมุนลิ้น และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ใน ต้มจืด..."
ลิ้มรสละครทางเลือกใหม่หยุดโลกให้ช้าลงกับ‘รัตนาวดี’ [คมชัดลึก]
(Teaser ละคร ที่สามารถอธิบายเรื่องราวโดยย่อของละครได้อย่างดีมาก)
จากวันแรกที่เริ่มฉายต้นเดือน ต.ค. มาสู่ปลายเดือน พย และกำลังจะจบในช่วงต้นเดือน ธ.ค. 58 นี้
ละคร หรือที่เรียกว่าภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง รัตนาวดี ซึ่งเป็นเรื่องสุดท้ายในละครชุดปริศนาเดอะซีรี่ย์ ฉายทางช่องดิจิตอล PPTV
ได้ถ่ายทอดความสุข ความอิ่มเอิมใจให้แฟนละครอย่างต่อเนื่อง ทั้งโดยการรับชมเองและจากคำบอกเล่าปากต่อปาก หรือจากกระทู้ต่างๆในพันทิป
แม้จะเป็นละครในช่องดิจิตอลและฉายในวันเวลาที่ค่อนข้างแตกต่างจากละครเรื่องอื่น แต่โดยภาพรวมได้รับเสียงตอบรับและกระแสวิจารณ์ค่อนข้างดี
จากสื่อ และแฟนละคร และเนื่องด้วยโอกาสที่
.....เหลืออีกเพียง 3 ตอน
(เปรียบได้กับรถด่วนขบวนสุดท้ายแล้ว555)
จขกท.จึงขอรวมรวมข้อมูล 4+1 องค์ประกอบที่ทำให้ละครเรื่องนี้ ทรงคุณค่า น่าประทับใจ ทำไมถึงน่าดู ทำไมถึงสนุก ทำไมถึงติด (จากการรวบรวมคอมเม้นและกระทู้) ดังต่อไปนี้
4+1 องค์ประกอบ
1) บทโทรทัศน์ที่เคารพบทประพันธ์เดิม
(ขอเท้าความถึงซักนิด)
รัตนาวดี เป็นบทประพันธ์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (ว.ณ ประมาญมารค)เขียนขึ้นในปี
พ.ศ. 2496 จากบันทึกการท่องเที่ยวหลังแต่งงานของท่านที่ตั้งใจจะเล่าสู่กันฟังโดยเขียนเป็นนวนิยายเพื่อไม่ให้น่าเบื่อ มีพระเอกนางเอกและตัวประกอบเรื่อง ใช้การท่องเที่ยวในยุโรปครั้งนั้นเป็นแบรกกราวน์ ในลักษณะการเขียนจดหมายโต้ตอบกันระหว่างตัวละครในเรื่อง มีตัวละครหลักคือท่านหญิงรัตนาวดี น้องสาวของท่านพจนปรีชาจากเรื่องปริศนาที่ได้รับรางวัลจากพี่ชายให้ไปเที่ยวยุโรปเป็นรางวัลหลังเรียนจบโดยเดินทางไปพร้อมกับป้าสร้อย ผู้เป็นพี่เลี้ยง โดยฝากฝังให้ท่านชายดนัยวัฒนา พระญาติและพระสหายสนิทเป็นผู้ดูแลเรื่องการท่องเที่ยว แต่เพราะเหตุผิดพลาดเรื่องจดหมายจึงทำให้ท่านชายไม่ได้รับท่านหญิงรัตนาวดี ต่อมาท่านหญิงเดินทางมาที่บ้านท่านชาย แต่กลับเข้าใจว่าท่านชายเป็น นายเล็ก คนรับใช้ ด้วยความรักแรกพบของท่านชายแต่เกรงว่าท่านหญิงจะเกลียดตนหากรู้ความจริง จึงแกล้งปลอมตนเป็นนายเล็กเพื่อพาท่านหญิงไปเที่ยวในยุโรปเป็นจุดเริ่มต้นของความรักท่ามกลางการท่องเที่ยวในประเทศต่างๆที่สวยงาม
เบื้องหลังละครรัตนาวดี 2558 ตอนที่ 3/4
แฟนๆนิยายหลายท่านอาจจะไม่กล้าดูละคร เพราะกลัวว่าบทโทรทัศน์จะแตกต่างจากบทประพันธ์เดิม แต่ แฟนหนังสือหลายท่านลงความเห็นว่า ก
ารดูละครเรื่องนี้แทบจะเปรียบได้กับการเปิดนิยายอ่านทีละหน้า ซึ่งสอดคล้องกับที่คุณผู้กำกับ ได้กล่าวไว้ในเบื้องหลังว่า ทางทีมละครตั้งใจถ่ายทอดออกมาให้ตรงตามบทประพันธ์ที่สุด โดยรวบรวมถ่ายทำสถานที่ที่ปรากฏในละครไว้เท่าที่จะทำได้ แม้แต่บอกว่าขับรถผ่านปราสาท ในละครก็มีขับรถผ่านปราสาทด้วย (แต่ในละครจะไม่มีถ่ายทำในประเทศอิตาลี โดยจะปรับไปเป็นประเทศอื่นๆที่ไปถ่ายทำแทน แต่การดำเนินเรื่องคล้ายเดิม) ส่วนบทโทรทัศน์นั้นก็พยายามถ่ายทอดคำพูดจากบทประพันธ์ที่แม้ทั้งเล่มจะเป็นการโต้ตอบจดหมายระหว่างตัวละครในเรื่อง(ไม่มีบทสนทนานอกจดหมาย) แต่ก็มีการยกสำนวนในจดหมายมาใส่ไว้ด้วย ส่วนบทพูดหรือคาแรกเตอร์ตัวละครที่ต้องมีเพิ่มเติมจากบทประพันธ์ ก็ทำได้น่าประทับใจ ตัวอย่างเช่น บทของคณะเก็จกำง๋งซึ่งมาร่วมเดินทางในช่วงประเทศสวิส บทตัวของนายเก็จกำง๋ง คนพ่อซึ่งเป็นเศรษฐีใหญ่จากทางภาคเหนือในบทประพันธ์อาจไม่ได้มีการกล่าวถึงมากนัก แต่ในบทโทรทัศน์เหมือนตีความให้เป็นคนรวยที่มีน้ำใจน่าคบหา แม้จะตามใจลูกในเรื่องเงิน แต่ก็รู้จักตักเตือนลูกสาว (สะอาดศรีที่ไปตามจีบนายเล็ก) ทำให้บทนายเก็จกำง๋งดูมีมิติ น่าสนใจ ไม่ได้ตลกแต่เพียงอย่างเดียว
2) ฉากโลเคชั่นที่สวยงามในทวีปยุโรป-การบรรยายประกอบ และเทคนิคการถ่ายทำ
จากการทุ่มทุนและทุ่มเทกำลังไปถ่ายทำใน
4 ประเทศ คืออังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมัน รวม 49 วัน (ไม่รวมวันเดินทาง) เกือบ 100 โลเคชั่น การถ่ายทำที่ต่างประเทศนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 95 ของการถ่ายทำทั้งหมด ผู้ชมจะได้เห็นฉากสถานที่ท่องเที่ยวมากมายจุใจ ทั้งฉากพระราชวัง ปราสาท โบสถ์ หอคอย อนุสาวรีย์ พิพิธภัณฑ์ สะพาน ทะเลสาป เทือกเขา น้ำตก สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ไร่องุ่น โรงบ่มไวน์ โรงทำชีส-ขนมปัง หรือแม้แต่ร้านน้ำชา ร้านอาหาร และโรงแรมที่สวยงาม ตามไปดูการเต้นรำ การเล่นดนตรี ร้องเพลง เล่นกับสุนัข นั่งเรือ(แบบเครื่องจักรกลไอน้ำโบราณ) นั่งรถยนต์ นั่งรถไฟ นั่งรถเมล์ นั่งรถกระเช้า-รถราง นั่งรถม้า พายเรือ (เยอะอย่างกับโฆษณาประกันภัย55)
โดยเป็นการถ่ายจากสถานที่จริงเกือบทั้งหมดแบบ
ไม่ติดภาพนักท่องเที่ยว (บางสถานที่ที่ถ่ายทำจริงไม่ได้จะเป็นการใช้ซีจีประกอบ) เรียกได้ว่าทุ่มเทขึ้นเขาลงห้วยปีนบันไดกันเต็มที่เพื่อให้ได้ภาพสวยๆ (เท่าที่จขกท.ดูละคร แม้เป็นฉากในห้อง ก็เป็นห้องในต่างประเทศไม่ใช่การเซตฉากในสตูดิโอ) แต่หลายแห่งก็ไม่ได้เข้ากันง่ายๆโดยต้องทำเรื่องขออนุญาตเข้าไปใช้สถานที่หรือบางสถานที่เป็นการให้อนุญาตเปิดแบบพิเศษเพื่อให้ทีมละครได้เข้าไปถ่ายทำ อย่างเช่น จุดชมวิวที่ยอดเขาจุงเฟรา สวิสเซอร์แลนด์ ฉากปราสาทในเยอรมันที่มีมุมที่สามารถมองทะลุไปเจอปราสาทอีกแห่ง
จุงเฟราในมุมพิเศษ
โดยในบทโทรทัศน์จะมีการบรรยายถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสถานที่ต่างๆรวมถึง
พระราชนิพนธ์ไกลบ้านของล้นเกล้ารัชกาลที่5 บางส่วนที่ตัวละครเดินทางตามรอยในหลายๆแห่ง
เสมือนเป็นการมอบความรู้แก่ผู้ชมไปในตัว ราวกับมีนายเล็กหรือท่านดนัย พระเอกของเรื่องเป็นไกด์นำเที่ยวส่วนตัว ทั้งการบรรยายในบทพูดและการให้เสียงบรรยายประกอบ ในส่วนเพลง ในละครยังมีการการใช้เพลงประกอบเพราะๆ ทั้งเพลงบรรเลงคลาสสิคหรือเพลงบรรเลงของประเทศนั้นๆและเพลงประกอบละครในส่วนนี้มีคุณสมาชิกพันทิปได้จัดทำกระทู้เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวจากละครไว้แล้ว และตัวอย่างเพลงบรรเลง ตามลิ้งค์นี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/34463232 โดยขอยกคลิปน่ารักๆมาจากกระทู้ข้างต้น 2 อัน
ตัวอย่างคลิปที่ตัดในส่วนการบรรบายสถานที่ท่องเที่ยว (น้องหมาน่ารักมากก) (1.03 นาที)
เที่ยวสะพาน Chaple (4.21 นาที)
ในเรื่องเทคนิคการถ่ายทำ (จขกท.ก็ไม่ค่อยมีความรู้) แต่ในเบื้องหลังบอกว่าเป็นการใช้เทคนิคการถ่ายทำแบบเดียวกับการถ่ายภาพยนตร์ (ทีมงานส่วนหนึ่งเคยเป็นทีมงานภาพยนตร์สมเด็จพระนเรศวรของท่านมุ้ย) อาทิ มีสมาชิกพันทิปบอกไว้ด้วยว่า ในภาพเบื้องหลังเห็นใช้ไมค์บูม (เจ้าไมโครโฟน หน้าตาเหมือนม็อบถูพื้นที่ถูกชูอยู่ใกล้นักแสดง55) ซึ่งจขกท. ค้นเจอข้อมูลว่าไมค์ชนิดนี้มีข้อดีคือ สามารถตัดเสียงรบกวนได้ดี จะได้เสียงจากใกล้ตัวนักแสดงที่สุด แต่ข้อเสียคือ ต้องมีทีมงานที่เป็นคนถือ และคนถือต้องมีฝีมือด้วย ดูภาพเบื้องหลังทีมงาน และนักแสดงได้ที่…
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/34432544
http://ppantip.com/topic/34481480
(เดี๋ยวมาอัพต่อในคอมเม้นนะคะ ตัวหนังสือมันเยอะ 55)
ดูเหอะ..อยากให้ดู “รัตนาวดี 2558” ละครทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การรับชม (เหลือเพียง 3 ตอน): 4+1 องค์ประกอบที่น่าประทับใจ
ก่อนอื่นจะขอเรียกน้ำย่อย55
โดยขอนำเสนอคำติชม สกู๊ปบางส่วน(เลือกตัดมาบางประโยค)จากสื่อ แฟนนิยาย และแฟนละคร ต่อรัตนาวดี 2558
"บทประพันธ์ ที่สวยงามทั้ง ฉาก และ เนื้อหา แต่กลับถูก ทิ้งร้าง ไร้คนสร้างมาร่วม 30 ปี ในขณะที่ ปริศนา มีเกิดใหม่ทุก 10 ปี...รัตนาวดี
กลับถูกเก็บเข้ากรุ ไม่มี คนกล้าทำ!?"
คำนำจากบทความ นสพ.ข่าวสด โดยช่อ ชัยพฤกษ์
"เข้าใจว่า ว.ณ. ประมวลมารค เขียน "รัตนาวดี" มาไม่ต่ำกว่า 50 ปีแล้วที่ผ่านมา
ทั้งหนังและละครหลายเวอร์ชั่นก็พยายามสร้างสรรค์นวนิยายเล่มเล็กๆ
ที่เล่าเรื่องผ่านจดหมายอย่างเรียบง่ายนี้อย่างดีที่สุด
แต่ดูรัตนาวดี 2015 มาถึงตอนนี้ เรารู้สึกว่าหนังสือเรื่อง "รัตนาวดี" ใช้เวลาเดินทางหลายสิบปีทีเดียว
กระทั่งเจอทางเล่าเรื่องที่ใช่ที่สุดบนแผ่นฟิล์มว่า ต้องละเอียด ละเมียดละไม ประณีต และงามอย่างไร
ในปมเรื่องที่ไม่ได้ซับซ้อนลึกเร้น แต่นิ่งสง่างาม
ขอชื่นชมทีมงานและนักแสดงค่ะ"
คุณ airy nothing
"นิยายเรื่องรัตนาวดี เป็นหนึ่งในนิยายเล่มโปรด ทุกครั้งที่อ่านก็รู้สึกว่านำมาทำเป็นละครได้ยาก
ยิ่งทำให้เรื่องราวการท่องเที่ยวให้น่าติดตามยิ่งยาว(ยาก)ไปอีก
แต่รัตนาวดีฉบับปี 2558 ทำได้เกินคาดของคนอ่านแฟนนิยายที่คาดหวังสูงมีจินตนาการที่เก็บไว้เนิ่นนาน
ขอชื่นชมจริงๆ"
คุณน้องพี่พ้องเพื่อน
"เพราะไม่ง่ายเลย ที่ทำให้การบอกเล่า ผ่านจดหมายไปมา จะตรึงใจคนได้แบบนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่า อีกนานแค่ไหน จะมีคนหยิบยกรัตนาวดีขึ้นมาอีกแต่ ที่แน่ๆรัตนาวดี เวอร์ชั่นนี้ขโมยใจไปหมดแล้ว"
คุณคาโบนาร่าอร่อยมาก
"ดูทีมงานผู้จัดผู้กำกับมีข้อมูลดี เข้าใจและมีมุมมองในการถ่ายทอดเรื่องราวได้ดีเยี่ยม ถ่ายทอดบรรยากาศต่างประเทศมาให้คนดูรู้สึกไปด้วย
คือไม่ใช่แค่ได้เห็นว่าที่โน่นนี่นั่นเป็นอย่างไร แต่ให้ได้รู้สึกว่าที่นั้นๆทำให้คนที่ไปเยือนรู้สึกอย่างไร
เราอาจจะอธิบายไม่เข้าใจ สำหรับตัวเราเองเวลาที่ไปเที่ยวต่างบ้านต่างเมืองแล้วกลับมา
ความทรงจำมันไม่ได้มีแค่ตึกนี้โบสถ์นี้เขาลูกนี้สวยยังไง แต่ยังจำได้ว่าอากาศมีกลิ่นยังไง เสียงของลมของใบไม้เป็นยังไง
เวลาเดินไปมามองดูรอบตัวรู้สึกยังไง เวลานั่งนิ่งๆดูบ้านดูเมืองดูวิวรู้สึกยังไง เพราะการจะรู้สึกได้ไม่ใช่จากคำพูดของตัวละคร
แต่ได้จากองค์ประกอบของภาพ แสง เสียง และการถ่ายทำ ที่ต้องนิ่ง เป็นไปอย่างนิ่มนวล และละเอียดมาก
เหมือนคนดูจะเดินไปด้วยกับตัวละคร เดินทางไปด้วยกันไม่ต้องเร่งรีบ ประทับใจจริงๆค่ะ"
คุณ vadanate
"...โทนละครคล้าย “ต้มจืด” ที่ปรุงด้วยวัตถุดิบชั้นเลิศ เคี่ยวน้ำซุปจนเข้มข้น ต้องรับประทานเรื่อยๆ
ชิมไปนานๆ ถึงจะรู้รสของความละมุนลิ้น และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ใน ต้มจืด..."
ลิ้มรสละครทางเลือกใหม่หยุดโลกให้ช้าลงกับ‘รัตนาวดี’ [คมชัดลึก]
จากวันแรกที่เริ่มฉายต้นเดือน ต.ค. มาสู่ปลายเดือน พย และกำลังจะจบในช่วงต้นเดือน ธ.ค. 58 นี้
ละคร หรือที่เรียกว่าภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง รัตนาวดี ซึ่งเป็นเรื่องสุดท้ายในละครชุดปริศนาเดอะซีรี่ย์ ฉายทางช่องดิจิตอล PPTV
ได้ถ่ายทอดความสุข ความอิ่มเอิมใจให้แฟนละครอย่างต่อเนื่อง ทั้งโดยการรับชมเองและจากคำบอกเล่าปากต่อปาก หรือจากกระทู้ต่างๆในพันทิป
แม้จะเป็นละครในช่องดิจิตอลและฉายในวันเวลาที่ค่อนข้างแตกต่างจากละครเรื่องอื่น แต่โดยภาพรวมได้รับเสียงตอบรับและกระแสวิจารณ์ค่อนข้างดี
จากสื่อ และแฟนละคร และเนื่องด้วยโอกาสที่
(เปรียบได้กับรถด่วนขบวนสุดท้ายแล้ว555)
จขกท.จึงขอรวมรวมข้อมูล 4+1 องค์ประกอบที่ทำให้ละครเรื่องนี้ ทรงคุณค่า น่าประทับใจ ทำไมถึงน่าดู ทำไมถึงสนุก ทำไมถึงติด (จากการรวบรวมคอมเม้นและกระทู้) ดังต่อไปนี้
4+1 องค์ประกอบ
1) บทโทรทัศน์ที่เคารพบทประพันธ์เดิม
(ขอเท้าความถึงซักนิด)
รัตนาวดี เป็นบทประพันธ์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (ว.ณ ประมาญมารค)เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2496 จากบันทึกการท่องเที่ยวหลังแต่งงานของท่านที่ตั้งใจจะเล่าสู่กันฟังโดยเขียนเป็นนวนิยายเพื่อไม่ให้น่าเบื่อ มีพระเอกนางเอกและตัวประกอบเรื่อง ใช้การท่องเที่ยวในยุโรปครั้งนั้นเป็นแบรกกราวน์ ในลักษณะการเขียนจดหมายโต้ตอบกันระหว่างตัวละครในเรื่อง มีตัวละครหลักคือท่านหญิงรัตนาวดี น้องสาวของท่านพจนปรีชาจากเรื่องปริศนาที่ได้รับรางวัลจากพี่ชายให้ไปเที่ยวยุโรปเป็นรางวัลหลังเรียนจบโดยเดินทางไปพร้อมกับป้าสร้อย ผู้เป็นพี่เลี้ยง โดยฝากฝังให้ท่านชายดนัยวัฒนา พระญาติและพระสหายสนิทเป็นผู้ดูแลเรื่องการท่องเที่ยว แต่เพราะเหตุผิดพลาดเรื่องจดหมายจึงทำให้ท่านชายไม่ได้รับท่านหญิงรัตนาวดี ต่อมาท่านหญิงเดินทางมาที่บ้านท่านชาย แต่กลับเข้าใจว่าท่านชายเป็น นายเล็ก คนรับใช้ ด้วยความรักแรกพบของท่านชายแต่เกรงว่าท่านหญิงจะเกลียดตนหากรู้ความจริง จึงแกล้งปลอมตนเป็นนายเล็กเพื่อพาท่านหญิงไปเที่ยวในยุโรปเป็นจุดเริ่มต้นของความรักท่ามกลางการท่องเที่ยวในประเทศต่างๆที่สวยงาม
แฟนๆนิยายหลายท่านอาจจะไม่กล้าดูละคร เพราะกลัวว่าบทโทรทัศน์จะแตกต่างจากบทประพันธ์เดิม แต่ แฟนหนังสือหลายท่านลงความเห็นว่า การดูละครเรื่องนี้แทบจะเปรียบได้กับการเปิดนิยายอ่านทีละหน้า ซึ่งสอดคล้องกับที่คุณผู้กำกับ ได้กล่าวไว้ในเบื้องหลังว่า ทางทีมละครตั้งใจถ่ายทอดออกมาให้ตรงตามบทประพันธ์ที่สุด โดยรวบรวมถ่ายทำสถานที่ที่ปรากฏในละครไว้เท่าที่จะทำได้ แม้แต่บอกว่าขับรถผ่านปราสาท ในละครก็มีขับรถผ่านปราสาทด้วย (แต่ในละครจะไม่มีถ่ายทำในประเทศอิตาลี โดยจะปรับไปเป็นประเทศอื่นๆที่ไปถ่ายทำแทน แต่การดำเนินเรื่องคล้ายเดิม) ส่วนบทโทรทัศน์นั้นก็พยายามถ่ายทอดคำพูดจากบทประพันธ์ที่แม้ทั้งเล่มจะเป็นการโต้ตอบจดหมายระหว่างตัวละครในเรื่อง(ไม่มีบทสนทนานอกจดหมาย) แต่ก็มีการยกสำนวนในจดหมายมาใส่ไว้ด้วย ส่วนบทพูดหรือคาแรกเตอร์ตัวละครที่ต้องมีเพิ่มเติมจากบทประพันธ์ ก็ทำได้น่าประทับใจ ตัวอย่างเช่น บทของคณะเก็จกำง๋งซึ่งมาร่วมเดินทางในช่วงประเทศสวิส บทตัวของนายเก็จกำง๋ง คนพ่อซึ่งเป็นเศรษฐีใหญ่จากทางภาคเหนือในบทประพันธ์อาจไม่ได้มีการกล่าวถึงมากนัก แต่ในบทโทรทัศน์เหมือนตีความให้เป็นคนรวยที่มีน้ำใจน่าคบหา แม้จะตามใจลูกในเรื่องเงิน แต่ก็รู้จักตักเตือนลูกสาว (สะอาดศรีที่ไปตามจีบนายเล็ก) ทำให้บทนายเก็จกำง๋งดูมีมิติ น่าสนใจ ไม่ได้ตลกแต่เพียงอย่างเดียว
2) ฉากโลเคชั่นที่สวยงามในทวีปยุโรป-การบรรยายประกอบ และเทคนิคการถ่ายทำ
จากการทุ่มทุนและทุ่มเทกำลังไปถ่ายทำใน 4 ประเทศ คืออังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมัน รวม 49 วัน (ไม่รวมวันเดินทาง) เกือบ 100 โลเคชั่น การถ่ายทำที่ต่างประเทศนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 95 ของการถ่ายทำทั้งหมด ผู้ชมจะได้เห็นฉากสถานที่ท่องเที่ยวมากมายจุใจ ทั้งฉากพระราชวัง ปราสาท โบสถ์ หอคอย อนุสาวรีย์ พิพิธภัณฑ์ สะพาน ทะเลสาป เทือกเขา น้ำตก สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ไร่องุ่น โรงบ่มไวน์ โรงทำชีส-ขนมปัง หรือแม้แต่ร้านน้ำชา ร้านอาหาร และโรงแรมที่สวยงาม ตามไปดูการเต้นรำ การเล่นดนตรี ร้องเพลง เล่นกับสุนัข นั่งเรือ(แบบเครื่องจักรกลไอน้ำโบราณ) นั่งรถยนต์ นั่งรถไฟ นั่งรถเมล์ นั่งรถกระเช้า-รถราง นั่งรถม้า พายเรือ (เยอะอย่างกับโฆษณาประกันภัย55)
โดยเป็นการถ่ายจากสถานที่จริงเกือบทั้งหมดแบบไม่ติดภาพนักท่องเที่ยว (บางสถานที่ที่ถ่ายทำจริงไม่ได้จะเป็นการใช้ซีจีประกอบ) เรียกได้ว่าทุ่มเทขึ้นเขาลงห้วยปีนบันไดกันเต็มที่เพื่อให้ได้ภาพสวยๆ (เท่าที่จขกท.ดูละคร แม้เป็นฉากในห้อง ก็เป็นห้องในต่างประเทศไม่ใช่การเซตฉากในสตูดิโอ) แต่หลายแห่งก็ไม่ได้เข้ากันง่ายๆโดยต้องทำเรื่องขออนุญาตเข้าไปใช้สถานที่หรือบางสถานที่เป็นการให้อนุญาตเปิดแบบพิเศษเพื่อให้ทีมละครได้เข้าไปถ่ายทำ อย่างเช่น จุดชมวิวที่ยอดเขาจุงเฟรา สวิสเซอร์แลนด์ ฉากปราสาทในเยอรมันที่มีมุมที่สามารถมองทะลุไปเจอปราสาทอีกแห่ง
โดยในบทโทรทัศน์จะมีการบรรยายถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสถานที่ต่างๆรวมถึงพระราชนิพนธ์ไกลบ้านของล้นเกล้ารัชกาลที่5 บางส่วนที่ตัวละครเดินทางตามรอยในหลายๆแห่ง เสมือนเป็นการมอบความรู้แก่ผู้ชมไปในตัว ราวกับมีนายเล็กหรือท่านดนัย พระเอกของเรื่องเป็นไกด์นำเที่ยวส่วนตัว ทั้งการบรรยายในบทพูดและการให้เสียงบรรยายประกอบ ในส่วนเพลง ในละครยังมีการการใช้เพลงประกอบเพราะๆ ทั้งเพลงบรรเลงคลาสสิคหรือเพลงบรรเลงของประเทศนั้นๆและเพลงประกอบละครในส่วนนี้มีคุณสมาชิกพันทิปได้จัดทำกระทู้เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวจากละครไว้แล้ว และตัวอย่างเพลงบรรเลง ตามลิ้งค์นี้ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ โดยขอยกคลิปน่ารักๆมาจากกระทู้ข้างต้น 2 อัน
ในเรื่องเทคนิคการถ่ายทำ (จขกท.ก็ไม่ค่อยมีความรู้) แต่ในเบื้องหลังบอกว่าเป็นการใช้เทคนิคการถ่ายทำแบบเดียวกับการถ่ายภาพยนตร์ (ทีมงานส่วนหนึ่งเคยเป็นทีมงานภาพยนตร์สมเด็จพระนเรศวรของท่านมุ้ย) อาทิ มีสมาชิกพันทิปบอกไว้ด้วยว่า ในภาพเบื้องหลังเห็นใช้ไมค์บูม (เจ้าไมโครโฟน หน้าตาเหมือนม็อบถูพื้นที่ถูกชูอยู่ใกล้นักแสดง55) ซึ่งจขกท. ค้นเจอข้อมูลว่าไมค์ชนิดนี้มีข้อดีคือ สามารถตัดเสียงรบกวนได้ดี จะได้เสียงจากใกล้ตัวนักแสดงที่สุด แต่ข้อเสียคือ ต้องมีทีมงานที่เป็นคนถือ และคนถือต้องมีฝีมือด้วย ดูภาพเบื้องหลังทีมงาน และนักแสดงได้ที่… [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(เดี๋ยวมาอัพต่อในคอมเม้นนะคะ ตัวหนังสือมันเยอะ 55)