.
สารขัณฑ์ (อังกฤษ: Sarkhan) เป็นชื่อประเทศสมมุติในนิยายเรื่องอเมริกันอันตราย (The Ugly American) และ ภาคต่อในชื่อ Sarkhan แต่งโดย William Lederer และ Eugene Burdick โดยในเรื่อง อเมริกันอันตราย ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) นำแสดงโดย มาร์ลอน แบรนโด โดยมี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชรับบทเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศสารขัณฑ์
the Ugly American - สร้างเมื่อปี 1963 ในยุคสงครามเย็นที่โลกจับตามองมายังประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากหลายๆประเทศแพ้แก่ขบวนการคอมมิวนิสต์ หรือไม่ก็หันหลังให้กับแนวทางประชาธิปไตย โดยใช้ระบบเผด็จการทหารควบคุมปกครองประเทศ
และคำว่า สารขัณฑ์ ก็ถูกหยิบเอามาเสียดสีประเทศไทยในทุกการกระทำที่แปลกแตกต่างจากประเทศอื่น ซึ่งปัจจุบันก็เพี้ยนมาเป็นคำว่า “แบบไทยๆ” แต่ในที่นี้ผมจะขอเรียกตามเดิมว่า สารขัณฑ์
ตามท้องเรื่องในภาพยนตร์ สารขัณฑ์ เป็นประเทศที่ล่อแหลมอย่างมากที่จะถูกคอมมิวนิสต์ยึดครอง อเมริกาจึงจะพยายามเข้ามาจัดการหลายๆอย่าง เช่น การสร้าง"ถนนเสรีภาพ" - freedom road และสนับสนุนนายกฯเผด็จการอย่าง กวน ไสย - อ.คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยมี ดียอง - Eiji Okada เป็นผู้นำประชาชนที่ต้องการให้สารขัณฑ์พ้นจากระบอบการปกครองเผด็จการทหาร และเรียกร้องการมีรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว และไม่ต้องการให้ประเทศ สารขัณฑ์ ( ถูกต่างชาติแทรกแซงทางการปกครอง
แม้ตัวหนังจะให้น้ำหนักความเลวร้ายให้ไปตกที่ อเมริกา ตามชื่อ the Ugly American โดยชี้นำให้เห็นว่าชาติมหาอำนาจอย่าง อเมริกาชาตินี้กระทำได้ทุกอย่างแม้กระทั่งสนับสนุนเผด็จการ เพื่อเป็นกันชนต่อต้านคอมมิวนิตส์เพราะแตกต่างกับชาติมหาอำนาจอีกชาติอย่าง สหภาพโซเวียต ที่ดำเนินแนวนโยบายการปกครองแตกต่างกัน
แต่หนังเรื่องสารขัณฑ์ ก็สะท้อนนิสัยคนในประเทศนี้ได้ใกล้เคียงกับคนในประเทศใกล้เคียง ในหนัง ประเทศนี้ตั้งอยู่ระหว่าง ทางตอนใต้ของจีน ตะวันตกติดพม่า ตะวันออกติดลาว และทางใต้ติดประเทศไทย
นิสัยที่ว่า คือบ้าอำนาจ เจ้ายศเจ้าอย่าง คลั่งสถาบัน และคิดว่าความคิดตนเองนั้นถูกต้องและชอบธรรมที่สุด โดยไม่ฟังเสียงของคนอื่น
อย่างบทนายกรัฐมนตรี กวน ไสย ซึ่งแสดงโดยม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แม้ว่าตัวหนังจะพยายามส่งภาพให้เป็นคนดี เป็นคนที่เข้าใจสถานการณ์มากที่สุด แต่ก็ยังสะท้อนนิสัยที่เอาแต่ใจตนเอง ไม่ยอมรับฟังความเห็นคนอื่น เพิ่งพิงกองกำลังทหารกดหัวคนอื่นเพื่อปกครองประเทศ เพราะแม้รู้ว่า ฝ่ายต่อต้านอย่างดียองดีถึงขั้นเตรียมร่างรัฐธรรมนูญไว้แล้ว แต่ก็ไม่ยอมรับ เพราะไม่แน่ใจว่าประชาชนพร้อมจะเลือกตั้งหรือยัง (บริบทเหมือนใครบางคนจัง) จนรวบอำนาจทั้งหมดไว้ที่ตัวเอง ไม่ยอมปล่อยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ฝ่ายตรงข้ามอย่าง ดียอง เอง ก็สะท้อนภาพนิสัยคนในประเทศแถวๆนี้ออกมาอย่างเด่นชัด ผู้ซึ่งอ้างว่ายืนหยัดในอุดมการณ์อย่างไม่ลืมหูลืมตา เขาต่อต้านทุกอย่างๆที่อเมริกามาแทรกแซง ยอมแม้กระทั้งรับอาวุธจากคอมมิวนิสต์ จนถูกหลอกใช้ ซึ่งกว่าจะคิดได้ทุกอย่างก็เลวร้ายไปแล้ว นิสัยเช่นนี้สะท้อนภาพนิสัยของคนเสื้อสีต่างๆในประเทศแถวๆนี้ได้เป็นอย่างดี ว่าคิดแค่เอาชนะอย่างเดียว ไม่คิดถึงผลที่ตามมาของการกระทำของตัวเอง
อเมริกา หรือ คอมมิวนิตส์ในหนัง เป็นเพียงตัวกลางที่สร้างความแตกแยกในกับประเทศสารขัณฑ์ หรือแท้ที่จริงนั้น นิสัยของคนในสารขัณฑ์เองนั้นแหละ ที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ประเทศแตกแยก
วันนี้ โลกเปลี่ยน แต่สารขัณฑ์ไม่เคยเปลี่ยน เมื่อไม่มีคอมมิวนิตส์ ก็หันมาเอา ประชาธิปไตยเป็นตัวขับเคลื่อนความแตกแยก ระบบเผด็จการทหารกลับมามีอำนาจ ไม่จำเป็นต้องมีชาติตัวร้ายอย่าง อเมริกาเข้ามายุแหย่ เพราะต่อให้เป้นชาติหวังดีจากทั่วโลกที่ต้องการจะเห็นประชาธิปไตยเบ่งบานอีกครั้งใน สารขัณฑ์ ก็กลายเป็นประเด็นให้คนบางกลุ่ม คิดเอาเองว่าต่างชาติพยายามแทรกแซงเพื่อจุดประสงค์แอบแฝง ถึงกับประกาศ จะ”
ปิดประเทศ” เพื่อหยุดการแซงแทรก(หรือสิ่งที่คนบางกลุ่มคิดว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงในอำนาจตัวเองและพวกพ้อง)
คนทั่วโลกเคยดูหนังเรื่องนี้ หรือเคยอ่านหนังสือมาก็น่าจะรู้ว่า ผู้เขียนน่าจะมีความหลังฝังใจและอคติกับอเมริกาเป็นทุนเดิม จึงได้พยายามยัดบทบาทตัวร้ายให้ชาติลุงแซม แต่ผมในฐานะที่เป็นคนไทย กลับดูแล้วรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้ ถ่ายทอดบริบทความขัดแย้งของคนไทย เพียงแต่เปลี่ยนจากคอมมินิตส์มาเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น และตัดอเมริกาชาติตัวร้ายออกไป
แต่แน่นอนในหนัง ย่อมต้องการพระเอกและผู้ร้าย สารขัณฑ์เองก็เช่นกัน ถึงได้ไล่ล่าพยายามจับใครบางมารุมทึ้งยัดบทบาทตัวโกงให้ โดยไม่สนว่าคนผู้นั้นจะเป็นอิสตรีที่สวมกระโปรงและมีแค่มือเปล่า
สารขัณฑ์ นิ่งรั้ง.................หยุดเฉย
โลกหมุนรู้ ไม่เลย...............เกี่ยวข้อง
จะมุ่งมั่น อย่างเคย..............ที่ทำ กันมา
ใครจะบอก เรียกร้อง..........ใยต้องตามมัน
สารขัณฑ์ เพียรสร้าง...........อัตตา
ใครจะล้ำ นำกว่า................ช่างเขา
เราเป็นเช่น นี้มา................ต่อเนื่อง ยาวเอย
ใยต้องสน ใครเข้า..............พร่ำเฝ้าหลอกตัว
ปล.ช่วงนี้ผมอาจหายหน้าหายตาไป ไม่ใช่เพราะไม่ได้เข้ามานะครับ เพียงแต่ว่าเขียนเรื่องไหน ก็ดูเหมือนจะผิดกฎหมายไปเสียหมด อย่างบทความชิ้นนี้ ก็เอามาแก้ไขครั้งที่สามแล้ว ไม่เหลือตัวเลขให้โพสต์ เลยต้องเอาอมยิ้มมาส่ง ซึ่งยังไม่รู้ผลจะเป็นยังไง
(บทความ) สารขัณฑ์ 2014 50 ปีผ่านไป แต่ทุกอย่างก็ยังเหมือนเดิม
สารขัณฑ์ (อังกฤษ: Sarkhan) เป็นชื่อประเทศสมมุติในนิยายเรื่องอเมริกันอันตราย (The Ugly American) และ ภาคต่อในชื่อ Sarkhan แต่งโดย William Lederer และ Eugene Burdick โดยในเรื่อง อเมริกันอันตราย ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) นำแสดงโดย มาร์ลอน แบรนโด โดยมี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชรับบทเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศสารขัณฑ์
the Ugly American - สร้างเมื่อปี 1963 ในยุคสงครามเย็นที่โลกจับตามองมายังประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากหลายๆประเทศแพ้แก่ขบวนการคอมมิวนิสต์ หรือไม่ก็หันหลังให้กับแนวทางประชาธิปไตย โดยใช้ระบบเผด็จการทหารควบคุมปกครองประเทศ
และคำว่า สารขัณฑ์ ก็ถูกหยิบเอามาเสียดสีประเทศไทยในทุกการกระทำที่แปลกแตกต่างจากประเทศอื่น ซึ่งปัจจุบันก็เพี้ยนมาเป็นคำว่า “แบบไทยๆ” แต่ในที่นี้ผมจะขอเรียกตามเดิมว่า สารขัณฑ์
ตามท้องเรื่องในภาพยนตร์ สารขัณฑ์ เป็นประเทศที่ล่อแหลมอย่างมากที่จะถูกคอมมิวนิสต์ยึดครอง อเมริกาจึงจะพยายามเข้ามาจัดการหลายๆอย่าง เช่น การสร้าง"ถนนเสรีภาพ" - freedom road และสนับสนุนนายกฯเผด็จการอย่าง กวน ไสย - อ.คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยมี ดียอง - Eiji Okada เป็นผู้นำประชาชนที่ต้องการให้สารขัณฑ์พ้นจากระบอบการปกครองเผด็จการทหาร และเรียกร้องการมีรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว และไม่ต้องการให้ประเทศ สารขัณฑ์ ( ถูกต่างชาติแทรกแซงทางการปกครอง
แม้ตัวหนังจะให้น้ำหนักความเลวร้ายให้ไปตกที่ อเมริกา ตามชื่อ the Ugly American โดยชี้นำให้เห็นว่าชาติมหาอำนาจอย่าง อเมริกาชาตินี้กระทำได้ทุกอย่างแม้กระทั่งสนับสนุนเผด็จการ เพื่อเป็นกันชนต่อต้านคอมมิวนิตส์เพราะแตกต่างกับชาติมหาอำนาจอีกชาติอย่าง สหภาพโซเวียต ที่ดำเนินแนวนโยบายการปกครองแตกต่างกัน
แต่หนังเรื่องสารขัณฑ์ ก็สะท้อนนิสัยคนในประเทศนี้ได้ใกล้เคียงกับคนในประเทศใกล้เคียง ในหนัง ประเทศนี้ตั้งอยู่ระหว่าง ทางตอนใต้ของจีน ตะวันตกติดพม่า ตะวันออกติดลาว และทางใต้ติดประเทศไทย
นิสัยที่ว่า คือบ้าอำนาจ เจ้ายศเจ้าอย่าง คลั่งสถาบัน และคิดว่าความคิดตนเองนั้นถูกต้องและชอบธรรมที่สุด โดยไม่ฟังเสียงของคนอื่น
อย่างบทนายกรัฐมนตรี กวน ไสย ซึ่งแสดงโดยม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แม้ว่าตัวหนังจะพยายามส่งภาพให้เป็นคนดี เป็นคนที่เข้าใจสถานการณ์มากที่สุด แต่ก็ยังสะท้อนนิสัยที่เอาแต่ใจตนเอง ไม่ยอมรับฟังความเห็นคนอื่น เพิ่งพิงกองกำลังทหารกดหัวคนอื่นเพื่อปกครองประเทศ เพราะแม้รู้ว่า ฝ่ายต่อต้านอย่างดียองดีถึงขั้นเตรียมร่างรัฐธรรมนูญไว้แล้ว แต่ก็ไม่ยอมรับ เพราะไม่แน่ใจว่าประชาชนพร้อมจะเลือกตั้งหรือยัง (บริบทเหมือนใครบางคนจัง) จนรวบอำนาจทั้งหมดไว้ที่ตัวเอง ไม่ยอมปล่อยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ฝ่ายตรงข้ามอย่าง ดียอง เอง ก็สะท้อนภาพนิสัยคนในประเทศแถวๆนี้ออกมาอย่างเด่นชัด ผู้ซึ่งอ้างว่ายืนหยัดในอุดมการณ์อย่างไม่ลืมหูลืมตา เขาต่อต้านทุกอย่างๆที่อเมริกามาแทรกแซง ยอมแม้กระทั้งรับอาวุธจากคอมมิวนิสต์ จนถูกหลอกใช้ ซึ่งกว่าจะคิดได้ทุกอย่างก็เลวร้ายไปแล้ว นิสัยเช่นนี้สะท้อนภาพนิสัยของคนเสื้อสีต่างๆในประเทศแถวๆนี้ได้เป็นอย่างดี ว่าคิดแค่เอาชนะอย่างเดียว ไม่คิดถึงผลที่ตามมาของการกระทำของตัวเอง
อเมริกา หรือ คอมมิวนิตส์ในหนัง เป็นเพียงตัวกลางที่สร้างความแตกแยกในกับประเทศสารขัณฑ์ หรือแท้ที่จริงนั้น นิสัยของคนในสารขัณฑ์เองนั้นแหละ ที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ประเทศแตกแยก
วันนี้ โลกเปลี่ยน แต่สารขัณฑ์ไม่เคยเปลี่ยน เมื่อไม่มีคอมมิวนิตส์ ก็หันมาเอา ประชาธิปไตยเป็นตัวขับเคลื่อนความแตกแยก ระบบเผด็จการทหารกลับมามีอำนาจ ไม่จำเป็นต้องมีชาติตัวร้ายอย่าง อเมริกาเข้ามายุแหย่ เพราะต่อให้เป้นชาติหวังดีจากทั่วโลกที่ต้องการจะเห็นประชาธิปไตยเบ่งบานอีกครั้งใน สารขัณฑ์ ก็กลายเป็นประเด็นให้คนบางกลุ่ม คิดเอาเองว่าต่างชาติพยายามแทรกแซงเพื่อจุดประสงค์แอบแฝง ถึงกับประกาศ จะ”ปิดประเทศ” เพื่อหยุดการแซงแทรก(หรือสิ่งที่คนบางกลุ่มคิดว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงในอำนาจตัวเองและพวกพ้อง)
คนทั่วโลกเคยดูหนังเรื่องนี้ หรือเคยอ่านหนังสือมาก็น่าจะรู้ว่า ผู้เขียนน่าจะมีความหลังฝังใจและอคติกับอเมริกาเป็นทุนเดิม จึงได้พยายามยัดบทบาทตัวร้ายให้ชาติลุงแซม แต่ผมในฐานะที่เป็นคนไทย กลับดูแล้วรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้ ถ่ายทอดบริบทความขัดแย้งของคนไทย เพียงแต่เปลี่ยนจากคอมมินิตส์มาเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น และตัดอเมริกาชาติตัวร้ายออกไป
แต่แน่นอนในหนัง ย่อมต้องการพระเอกและผู้ร้าย สารขัณฑ์เองก็เช่นกัน ถึงได้ไล่ล่าพยายามจับใครบางมารุมทึ้งยัดบทบาทตัวโกงให้ โดยไม่สนว่าคนผู้นั้นจะเป็นอิสตรีที่สวมกระโปรงและมีแค่มือเปล่า
สารขัณฑ์ นิ่งรั้ง.................หยุดเฉย
โลกหมุนรู้ ไม่เลย...............เกี่ยวข้อง
จะมุ่งมั่น อย่างเคย..............ที่ทำ กันมา
ใครจะบอก เรียกร้อง..........ใยต้องตามมัน
สารขัณฑ์ เพียรสร้าง...........อัตตา
ใครจะล้ำ นำกว่า................ช่างเขา
เราเป็นเช่น นี้มา................ต่อเนื่อง ยาวเอย
ใยต้องสน ใครเข้า..............พร่ำเฝ้าหลอกตัว
ปล.ช่วงนี้ผมอาจหายหน้าหายตาไป ไม่ใช่เพราะไม่ได้เข้ามานะครับ เพียงแต่ว่าเขียนเรื่องไหน ก็ดูเหมือนจะผิดกฎหมายไปเสียหมด อย่างบทความชิ้นนี้ ก็เอามาแก้ไขครั้งที่สามแล้ว ไม่เหลือตัวเลขให้โพสต์ เลยต้องเอาอมยิ้มมาส่ง ซึ่งยังไม่รู้ผลจะเป็นยังไง