MGR Online - โวยเที่ยวบินนกแอร์จากอุบลราชธานี ค่ำวานนี้ ถึงดอนเมืองแต่ออกจากเครื่องไม่ได้ ติดค้างกว่า 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ ทอท. แฉเอง นอตสะพานเทียบเครื่องบินขาด ก่อนหน้านี้ ก็มีสะพานตกมีคนเจ็บแต่ปิดข่าว ชี้ จ้างเอกชน 80 ล้าน ล็อกสเปก ใช้อุปกรณ์ไร้คุณภาพ ขายแพงเกินจริง มีสายสัมพันธ์ระดับบิ๊ก พนักงานเคยขโมยสายไฟ - หนีงาน แต่ถูกปิดเงียบ แถมอุปกรณ์ FOD สามวันดีสี่วันไข้ ใส่ระบบไฟฟ้าเพี้ยนทำไฟรันเวย์เสีย - ช็อตบ่อย
วันนี้ (23 พ.ย.) ผู้สื่อข่าว MGR Online ได้รับการร้องเรียนจากผู้โดยสารของสายการบินนกแอร์ เที่ยวบินที่ DD9319 เส้นทางอุบลราชธานี - ดอนเมือง ว่า เมื่อวานนี้ (22 พ.ย.) เดินทางออกจากท่าอากาศยานอุบลราชธานี เมื่อเวลา 20.20 น. ถึงท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันเดียวกัน เมื่อเครื่องบินได้ลงจอด และเข้าเทียบจุดจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมืองแล้ว ผู้โดยสารไม่สามารถลงจากเครื่องบินได้ ทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่ามีปัญหาทางเทคนิค จนต้องติดอยู่บนเครื่องบินเกินกว่า 1 ชั่วโมง สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้โดยสารที่ต้องติดอยู่ในเครื่องบินเป็นเวลานาน
เมื่อสอบถามไปยังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่รายหนึ่งเปิดเผยว่า เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริง โดยหลังจากที่เครื่องบินได้ลงจอดแล้ว ได้เข้าไปจอดที่อาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 3 (Pier 3) หลุมจอดที่ 36 ปรากฏว่า ในระหว่างที่สะพานเทียบเครื่องบินกำลังทำการเทียบเครื่องบิน เพื่อที่จะเข้าไปเทียบรอรับผู้โดยสาร นอตเวอร์ติคอล (Vertical Knots) ได้เกิดขาดขึ้นในระหว่างจอดเทียบ เป็นเหตุให้สะพานหยุดชะงัก ไม่สามารถเข้าเทียบเครื่องบินได้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำรถดันเครื่องบินและบันไดมาเทียบเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ผู้โดยสารลง จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เป็นที่โกลาหลไปหมดทั้งสนามบิน
เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวเปิดเผยด้วยว่า กรณีปัญหาสะพานเทียบเครื่องบินที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ได้เคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วคล้าย ๆ กันก่อนหน้านี้ แต่เป็นเหตุที่ร้ายแรงกว่านี้ โดยเป็นกรณีที่น็อตขาดเช่นเดียวกัน เป็นเหตุให้สะพานตก และได้ทำให้มีผู้บาดเจ็บมาแล้วจำนวน 4 คน เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2558 เมื่อตรวจสอบงานซ่อมบำรุงรักษาสะพานเทียบเครื่องบิน ทอท. ได้ใช้วิธีพิเศษในการจัดจ้างบริษัทเอกชนรายหนึ่งให้เป็นผู้รับผิดชอบในสัญญาปรับปรุงระบบสะพานเทียบทั้งหมด โดยวงเงินของสัญญานี้มีมูลค่าเกินกว่า 80 ล้านบาท รวมถึงจ้างบริษัทเดียวกันนี้ให้ซ่อมและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นว่าบริษัทเอกชนได้ใช้อุปกรณ์ในการซ่อมแซมที่ไม่มีคุณภาพ อีกทั้งยังขายในราคาที่แพงเกินจริง รวมถึงการควบคุมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะควบคุมดูแลให้ผู้รับจ้างใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพมาปรับปรุง ทั้ง ๆ ที่มูลค่าของสัญญานี้ไม่ใช้เป็นราคาที่ถูก ๆ” เจ้าหน้าที่ ทอท. ระบุ
รายงานข่าวแจ้งว่า มีข้อมูลที่ชี้ว่า บริษัทเอกชนรายดังกล่าวมีสายสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ใน ทอท. โดยมีข่าวว่า พนักงานของบริษัทเอกชนที่ว่าได้กระทำการทุจริตขโมยสายไฟของทางสนามบินไปขาย แต่เรื่องก็ได้ถูกปิดเงียบไป รวมถึงมีเหตุการณ์ที่พนักงานบริษัทเอกชนไม่ได้ปฎิบัติงานตามสัญญา แต่เรื่องก็ได้เงียบไปอีกเช่นกัน
“บริษัทนี้เส้นใหญ่จริง ๆ เพราะสามารถได้สัญญางานใหญ่ๆ จาก ทอท. โดยวิธีสั่งซื้อพิเศษเป็นส่วนใหญ่ อาทิ งานบำรุงรักษาสายพานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็ได้มีการออกเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์แก่บริษัทนี้ในลักษณะที่ว่า บริษัทผู้ที่ประสงค์เข้ายื่นประมูล จะต้องมีคุณสมบัติ โดยมีประสบการณ์ในการบำรุงรักษาสายพาน ที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งไม่ตรงกับคุณสมบัติใดเลยในประเทศไทย หรืองานอุปกรณ์ตรวจจับวัสดุแปลกปลอมในเขตการบิน หรือ เอฟโอดี (Foreign Object Damage) ก็ใช้วิธีจัดซื้อพิเศษโดยมูลค่าของสัญญาสูงถึง 600 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งใช้งานอยู่ผิดหลักการทางมาตรฐานไฟฟ้า ซึ่งเป็นการขัดต่อมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) แต่ทางฝั่ง ทอท. ก็ยังปล่อยให้ทำการติดตั้งโดยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น” แหล่งข่าว ระบุ
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า จากการตรวจสอบอุปกรณ์เอฟโอดี ใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้าง นอกจากนี้ บริษัทเอกชนยังประหยัดต้นทุนโดยใส่ระบบไฟฟ้าพาวเวอร์ซัxพลาย (Power Supply) ไว้ในถังเดียวกันกับระบบไฟฟ้าสนามบิน ซึ่งถังไฟฟ้าดังกล่าวไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับอุปกรณ์หลายอย่างในถังเดียวกัน เป็นเหตุให้ไฟรันเวย์นั้นเสียและช็อตอยู่บ่อย ๆ
http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000130009
แฉ “ดอนเมือง” สะพานเทียบเครื่องบินนอตหลุด ขังผู้โดยสาร “นกแอร์” เป็นชั่วโมง หึ่ง! มีล็อกสเปกด้วย
วันนี้ (23 พ.ย.) ผู้สื่อข่าว MGR Online ได้รับการร้องเรียนจากผู้โดยสารของสายการบินนกแอร์ เที่ยวบินที่ DD9319 เส้นทางอุบลราชธานี - ดอนเมือง ว่า เมื่อวานนี้ (22 พ.ย.) เดินทางออกจากท่าอากาศยานอุบลราชธานี เมื่อเวลา 20.20 น. ถึงท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันเดียวกัน เมื่อเครื่องบินได้ลงจอด และเข้าเทียบจุดจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมืองแล้ว ผู้โดยสารไม่สามารถลงจากเครื่องบินได้ ทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่ามีปัญหาทางเทคนิค จนต้องติดอยู่บนเครื่องบินเกินกว่า 1 ชั่วโมง สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้โดยสารที่ต้องติดอยู่ในเครื่องบินเป็นเวลานาน
เมื่อสอบถามไปยังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่รายหนึ่งเปิดเผยว่า เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริง โดยหลังจากที่เครื่องบินได้ลงจอดแล้ว ได้เข้าไปจอดที่อาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 3 (Pier 3) หลุมจอดที่ 36 ปรากฏว่า ในระหว่างที่สะพานเทียบเครื่องบินกำลังทำการเทียบเครื่องบิน เพื่อที่จะเข้าไปเทียบรอรับผู้โดยสาร นอตเวอร์ติคอล (Vertical Knots) ได้เกิดขาดขึ้นในระหว่างจอดเทียบ เป็นเหตุให้สะพานหยุดชะงัก ไม่สามารถเข้าเทียบเครื่องบินได้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำรถดันเครื่องบินและบันไดมาเทียบเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ผู้โดยสารลง จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เป็นที่โกลาหลไปหมดทั้งสนามบิน
เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวเปิดเผยด้วยว่า กรณีปัญหาสะพานเทียบเครื่องบินที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ได้เคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วคล้าย ๆ กันก่อนหน้านี้ แต่เป็นเหตุที่ร้ายแรงกว่านี้ โดยเป็นกรณีที่น็อตขาดเช่นเดียวกัน เป็นเหตุให้สะพานตก และได้ทำให้มีผู้บาดเจ็บมาแล้วจำนวน 4 คน เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2558 เมื่อตรวจสอบงานซ่อมบำรุงรักษาสะพานเทียบเครื่องบิน ทอท. ได้ใช้วิธีพิเศษในการจัดจ้างบริษัทเอกชนรายหนึ่งให้เป็นผู้รับผิดชอบในสัญญาปรับปรุงระบบสะพานเทียบทั้งหมด โดยวงเงินของสัญญานี้มีมูลค่าเกินกว่า 80 ล้านบาท รวมถึงจ้างบริษัทเดียวกันนี้ให้ซ่อมและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นว่าบริษัทเอกชนได้ใช้อุปกรณ์ในการซ่อมแซมที่ไม่มีคุณภาพ อีกทั้งยังขายในราคาที่แพงเกินจริง รวมถึงการควบคุมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะควบคุมดูแลให้ผู้รับจ้างใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพมาปรับปรุง ทั้ง ๆ ที่มูลค่าของสัญญานี้ไม่ใช้เป็นราคาที่ถูก ๆ” เจ้าหน้าที่ ทอท. ระบุ
รายงานข่าวแจ้งว่า มีข้อมูลที่ชี้ว่า บริษัทเอกชนรายดังกล่าวมีสายสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ใน ทอท. โดยมีข่าวว่า พนักงานของบริษัทเอกชนที่ว่าได้กระทำการทุจริตขโมยสายไฟของทางสนามบินไปขาย แต่เรื่องก็ได้ถูกปิดเงียบไป รวมถึงมีเหตุการณ์ที่พนักงานบริษัทเอกชนไม่ได้ปฎิบัติงานตามสัญญา แต่เรื่องก็ได้เงียบไปอีกเช่นกัน
“บริษัทนี้เส้นใหญ่จริง ๆ เพราะสามารถได้สัญญางานใหญ่ๆ จาก ทอท. โดยวิธีสั่งซื้อพิเศษเป็นส่วนใหญ่ อาทิ งานบำรุงรักษาสายพานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็ได้มีการออกเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์แก่บริษัทนี้ในลักษณะที่ว่า บริษัทผู้ที่ประสงค์เข้ายื่นประมูล จะต้องมีคุณสมบัติ โดยมีประสบการณ์ในการบำรุงรักษาสายพาน ที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งไม่ตรงกับคุณสมบัติใดเลยในประเทศไทย หรืองานอุปกรณ์ตรวจจับวัสดุแปลกปลอมในเขตการบิน หรือ เอฟโอดี (Foreign Object Damage) ก็ใช้วิธีจัดซื้อพิเศษโดยมูลค่าของสัญญาสูงถึง 600 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งใช้งานอยู่ผิดหลักการทางมาตรฐานไฟฟ้า ซึ่งเป็นการขัดต่อมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) แต่ทางฝั่ง ทอท. ก็ยังปล่อยให้ทำการติดตั้งโดยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น” แหล่งข่าว ระบุ
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า จากการตรวจสอบอุปกรณ์เอฟโอดี ใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้าง นอกจากนี้ บริษัทเอกชนยังประหยัดต้นทุนโดยใส่ระบบไฟฟ้าพาวเวอร์ซัxพลาย (Power Supply) ไว้ในถังเดียวกันกับระบบไฟฟ้าสนามบิน ซึ่งถังไฟฟ้าดังกล่าวไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับอุปกรณ์หลายอย่างในถังเดียวกัน เป็นเหตุให้ไฟรันเวย์นั้นเสียและช็อตอยู่บ่อย ๆ
http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000130009