(บทความ) ป101 แบบทบทวนประชาธิปไตยสำหรับคนไทย บทที่1 ประชาธิปไตย คือ อะไร

.
     จากเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง ของประเทศไทย ทีมีต่อเนื่องยาวนาน และบ่อยครั้งมากเป็นลำดับต้นๆ เป็นประเทศที่มีการปฏิวัติรัฐประหารมากที่สุด ลำดับที่ ) ของโลก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังติดอันดับ 1 ใน 8 ประเทศ (กาน่า, ไทย, ชาด, กินี-บิสเซา, ซูดาน, โตโก, กินี และบุรุนดี) ที่ยังมีรัฐประหารเกิดขึ้นตั้งแต่หลังปี 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นต้นมา

     ทั้งที่เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าใช้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยในการบริหารปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน  ปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงจนต้องใช้วิธีใช้กำลังทางทหารยึดอำนาจกันบ่อยครั้งนั้นทำให้ผมเกิดข้อสงสัย ว่าทำไมประเทศของเราถึงได้ไม่หลุดพ้นจากวังวนปัญหาเดิมๆเหล่านี้เสียที

     จะว่าประชาชนของประเทศเรายังไม่พร้อมก็ไม่น่าใช่ เพราะต่างก็รับรู้และอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองนี้ มาทั้งชีวิตแล้วเป็นส่วนใหญ่ คำกล่าวว่าประชาชนยังไม่พร้อมนั้น เป็นคำกล่าวอ้างของพวกที่คิดจะหาประโยชน์จากช่องว่างในระบบที่ตนเองพยายามให้เกิดภาพเช่นนั้นมากกว่า

     แต่เพื่อไม่ให้คนเรานั้นนำเรื่องนี้มาเป็นข้ออ้างอีกในครั้งต่อๆไป ผมจึงจัดทำ แบบทบทวนความรู้สั้นๆเกี่ยวกับเรื่องระบอบการปกครองประชาธิปไตยไทยมาเผยแพร่ และมิบังอาจใช้คำว่า แบบเรียน เพราะ 2 เหตุผล คือ
1 ตัวผมเองไม่ได้มีวิทยาฐานะเป็นครู อาจารย์ แต่ก็มีความมั่นใจว่า ตัวเองเข้าใจระบอบนี้อย่างถ่องแท้ ไม่น้อยหน้าใครๆ
2 ที่ผมเลือกใช้คำว่าแบบทบทวน ก็เพราะว่า พื้นที่ที่ผมใช้ในการเผยแพร่บทความเรื่องนี้ เป็น เว็บบอร์ดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง การแสดงความเห็นลักษณะบทความทบทวนความรู้ น่าจะเหมาะสมกว่าคำว่า บทเรียน

บททบทวนที่1 ประชาธิปไตย คือ อะไร
     ความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Democratia ซึ่งประกอบด้วยคำ 2คำ คือ Demos กับ kratein คำว่า Demos หมายถึง ประชาชน และ Kratein หมายถึง การปกครอง ฉะนั้นประชาธิปไตย (Demoskratia) จึงหมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน

     เคยมีบุคคลนากระเดื่องของโลกท่าหนึ่งให้นิยามเอาไว้ว่า ประชาธิปไตยคือการปกครอง “ของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” ที่ถือว่าอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศจะต้องมา จากประชาชนหรือได้รับความยินยอมจากประชาชน โดยจะมีการกำหนดวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวไว้ นิยามนี้มาจากสุนทรพจน์อันลือเลื่องของประธานาธิบดีลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

     แต่ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในบ้านเรา คือ ทุกฝ่ายไม่ได้ใส่ใจจะทำให้ ประชาธิปไตยเป็นดั่งความหมายหรือนิยามเลย เมื่อ ประชาชน กลายเป็นเพียงข้ออ้างของทุกกลุ่มที่แย่งชิงอำนาจอยู่บนเกมส์การเมือง ทั้งๆที่จริงแล้วประชาชนต่างหากที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงในอำนาจประชาธิปไตย

     ดั่งพระราชดำรัชของล้นเกล้า รัชกาลที่เจ็ดทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2477 โดยในพระราชหัตถเลขาประกาศสละราชสมบัติ พระองค์ได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร" ส่วนที่มาเผยแพร่ในภายหลังว่า เป็นพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2475 นั้น เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนและสืบทอดกันมาโดยมิใช่ความเป็นจริง

     รัฐธรรมนูญ คือ สัญลักษณ์ของประชาธิปไตย และในรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ประเทศไทยเคยมี ก็บัญญัติไว้ว่า ประชาชน คือเจ้าของอำนาจ แต่ก็เหมือนบัญญัติไว้เช่นนั้นเองไม่มีความหมายอะไรเลย

     เพราะทั้งๆที่รู้กันทั่วว่า ประชาชนใช้อำนาจของตนเองผ่าน 3 สถาบันสำคัญ คือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ แต่สิ่งที่ปรากฏคือ ตลอดระยะเวลา 80 กว่าปี แทบไม่มีเลยที่ประชาชนจะได้ใช้อำนาจของตัวเองอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบัน ตุลาการที่แยกตัวเป็นเอกเทศ ไม่เปิดช่องทางให้ประชาชนได้ใช้อำนาจที่ควรเป็นของประชาชนเลย (ประเทศที่พัฒนาแล้วใช้ระบบลูกขุนตัดสินความในกระบวนการยุติธรรม ผู้พิพากษามีหน้าที่สั่งบังคับคดีให้เป็นไปตามที่กฏหมายบัญญัติ)

     มิหนำซ้ำ สถาบันตุลาการ ยังบัญญัติให้การแย่งชิงอำนาจประชาชนเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ ด้วยคำว่า “รัฐถาธิปัตย์” ทั้งๆที่กฎหมายสูงสุดของประเทศอย่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับไม่เว้นแม้แต่ฉบับชั่วคราว ก็บัญญัติไว้ใช้เจน ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมิชอบนั้น ไม่สามารถกระทำได้

บทสรุปท้ายบททบทวนที่ 1
     ปัญหาทางการเมืองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ ประชาชนไม่พร้อม อย่างที่ใครพยายามกล่าวอ้าง แต่เป็นเพราะคนบางคนไม่พร้อมจะให้ประชาชนได้ใช้อำนาจที่แท้จริงของตัวเองต่างหาก อาจเป็นเพราะค่านิยม “ศักดินาของขุนนาง” ฝั่งแน่นอยู่ในคนบางกลุ่มจนเห็นประชาชนเป็นแค่คนที่ต้องคอยทำตามคำสั่งตนเองเท่านั้น


ปล.1 ถึง wm กะทู้นี้ผู้เขียนได้กลั่นกรองถ้อยคำอย่างดี และไม่คิดว่ามีข้อความใดที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม อีกทั้งมิได้ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันอันเป็นที่รักในการนำพระราชดำรัส รัชกาลที่ 7 มากล่าวถึง หากจะลบเพราะให้เหตุผลว่า เป็นช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเบี่ยงเบนประเด็น แล้วลบกะทู้นี้ นั้นไม่ชอบธรรมสำหรับผู้เขียนและผู้อ่านท่านอื่น เพราะมิได้เป็นการลงโทษผู้กระทำผิดที่แท้จริง หากใครเบี่ยงเบน ก็สมควรรับโทษแต่ผู้เดียว โปรดอย่าให้กระทบถึงผู้อื่นอีกเลย

ปล2. ถึงผู้อ่าน จขกท.ขอสงวนสิทธิตนเองในการเลือกตอบหรือสนทนากับใคร ตามวุฒิภาวะและทัศนะคติของเจ้าของความเห็นนั้นๆ ถ้ามาแบบตั้งใจก่อกวนชวนทะเลาะ จขกท.ขอไม่เหลือแลให้เป็นมลภาวะทางสายตา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่