ตอนแรกคิดอยู่ว่าจะเขียนดีไหม ? เพราะนอกจากฉากจบสุดแสนประทับใจแล้ว หนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีอะไรที่ดีเด่นชวนตื่นเต้นไปกว่าหนังเรื่องอื่น แต่คิดไปคิดมา ด้วยความเป็นติ่ง ประสบกับอยากมาแชร์ความคิดเล็กๆขำๆ เผื่อใครจะมีโมเมนต์คล้ายๆกัน กับสิ่งที่หนังสะท้อนและนำเสนอออกมาได้น่าสนใจมากๆ แถมตรงประเด็นอย่างกับเขียนมาเพื่อเตือนสติเราในวันนี้ จนไม่อยากเชื่อว่ามันคือ "วรรณกรรมเยาวชน" ในความหมายของบ้านเรา
อนึ่งออกตัวก่อนว่าตัวผมเองไม่เคยอ่านฉบับนิยายมาก่อน ภาพยนตร์ก็ไม่ได้ดูทวน
อาจจะลืมและพลาดในบางส่วนไปบ้างต้องขอน้อมรับคำติไว้ด้วยนะครับ
"นัยยะในฮังเกอร์เกม"
- ย้อนกลับไป ฮังเกอร์เกมคือหนังที่นำเสนอถึงประเด็นของชนชั้น มีผู้ปกครอง มีคนถูกปกครอง ส่งเด็ก 24 คนมาฆ่ากันเป็นเครื่องบรรณาการ ทุกๆอย่างถูกแพลนไว้ในฐานะของ "เกม" โดยที่มีคนเล่นคือคน เงื่อนไขคือชีวิต และรางวัลก็คือชีวิต
- ต่อมาสเกลถูกขยับขยายออกมาใหญ่ขึ้น หลังจากแค่เป็นเกมเล็กๆ เริ่มกลายเป็นเกมใหญ่ขึ้น คนเล่นคือผู้ปกครอง (สโนว์และคอยน์) เงื่อนไข ชีวิต และรางวัลก็คืออำนาจ มุมมองของสองคนนี้เหมือนกันมาก คือมองสงครามที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเกม มีหมากฝ่ายเราและฝ่ายศัตรู ยินยอมจะใช้หมากล่อ เพื่อทำลายหมากศัตรู ทุกอย่างเป็นเพียงแค่เกม ทุกคนเป็นแค่หมาก จะเขี่ยทิ้งหรือจะใช้เพื่อชัยชนะ ทุกอย่างล้วนมีค่าเพียงเพื่อใช้ให้ตัวเองชนะเกม
หันกลับมามองในโลกความจริงกันสักนิด ย้อนมองกลับไปในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ ประเด็นเผ็ดร้อนที่หลายๆคนนึกถึง สงครามซีเรีย สงครามในตะวันออกกลาง ทุกอย่างเหมือนเพียงเบี้ย มีคนตายมากมาย วันนึงร้อย สองสามร้อยคน ข้ออ้างที่นานาชาติต่างทิ้งระเบิดลงมาในประเทศเล็กๆนี้ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนนึงมาจากเกมการเมืองของประเทศเหล่านั้น ที่ต้องการอำนาจและผลประโยชน์ในสงครามกลางเมืองแห่งนี้ สงครามที่เป็นเพียงเกมของเหล่าผู้ปกครองในประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย ที่ล้วนยอมสละหมากเบี้ยทุกตัวเพื่อให้ตัวเองชนะในเกมนี้
- ประเด็นต่อมาคือการปกครองในระบอบของประชาธิปไตยและเผด็จการ ต้องพูดเลยว่าคนเขียนเรื่องค่อนข้างจะเป็นคนที่หัวก้าวหน้ามากและเสรีนิยมแบบสุดๆ เราอยู่ในยุค 2015 ยุคที่โลกเปิดกว้าง ทุกอย่างล้วนเชื่อมต่อ ไม่มีสิ่งใดจะปิดกันได้ ทุกคนรู้จักสิทธิ ทุกคนมีเสรีภาพ ทุกคนต้องการแสดงออกและใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียม ห้ามใครล้ำใครเกินใคร ทุกคนล้วนต้องการที่จะปกครองและถูกปกครองได้ด้วยตัวเอง จะไม่ยอมให้ใครมาอ้างสิทธิ์ลอยๆว่าเหนือกว่าคนอื่น มนุษย์โดยธรรมชาตินั้นเท่าเทียม การปกครองโดยคนหมู่มาก หรือประชาธิปไตยนั้นจึงเป็นคำตอบอย่างที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก (ต้องยอมรับว่าคนตะวันตกนั้นเห็นความสำคัญของสิทธิเสรีภาพแบบสุดๆ) ซึ่งชาวเขต 1-2 เนี่ย ถูกกดขี่เยี่ยบย่ำทุกอย่าง พวกเขาไม่มีสิทธิ์อะไรเลย ลำบาก ต้องทำงานงกๆส่งส่วยให้แคปปิตอล จนสุดท้าย แม้แต่ สิทธิ์ที่จะมีชีวิต เขาก็ยังไม่มี เขาจึงต้องลุกฮือ ต้องการปกครองตนเองเรียกสิทธิเสรีภาพของตัวเองกลับคืนมา สิ่งใดที่ชาวแคปิตอลได้ เขาก็ต้องได้ด้วย ต้องการความเท่าเทียม !
- ความแตกต่างระหว่างชาวเขต 1-12 กับชาวแคปปิตอล ชาวแคปปิตอลเหมือนเด็กในกำมือครับ ถูกเลี้ยงถูกป้อนข้อมูลทุกวัน ค่านิยมอะไรที่แคปปิตอลคิดว่าดีก็ยัดให้ท่อง อะไรที่แคปปิตอลคิดว่าไม่ดีก็ไม่ให้ดู ให้สัมผัสแต่ความสุขสบายและค่านิยมในแบบแคปปิตอล จนตัวเองเฉยเมยกับความยากลำบากของคนอื่น รู้สึกธรรมดาที่จะมามองคนฆ่ากัน รู้สึกบันเทิงที่ได้เห็นคนเอาตัวรอด รู้สึกเฉยฉากับการปกครองที่ไร้มนุษยธรรมของสโนว์ต่อชาวเขต 1-12 เพราะอะไรครับ? เพราะไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ตัวเองไม่ต้องยุ่ง ถูกยัดให้อยู่ในกรอบของความคิดดีๆแบบแคปปิตอล สโนว์คือผู้ดีมีตระกูล ทำงานหนักหนา ทั้งๆที่ชาวแคปปิตอลไม่เคยเห็นสโนว์ตัวจริงเลย นอกจากในโฮโลแกรมและถูกปลูกฝัง
- ทำไมฝ่ายกบฎต้องทำหนัง ทำไมแคปปิตอลต้องมีไอพิธีกรบ้าๆ มันสะท้อนถึงโฆษณาชวนเชื่อครับ เราไม่มีทางรู้เลยว่าตัวจริงเขาเป็นเช่นไร สิ่งดีๆของเขาล้วนมองเห็นมาจากทีวี ออกมาจากหน้าจอ สิ่งที่เขาพูดเป็นสคริปต์หรือเปล่า สิ่งที่เขาพูดเขาคิดขึ้นมาเองจริงๆหรอ ? มีใครที่ไหนมาคิดให้เขาหรือเปล่า ลับหลังเขาอาจจะเป็นนักแสดงที่เห็นแก่ตัวและโง่เง่าที่สุดก็ได้ ย้อนกันสักนิด ย้อนไปหาผู้ชายที่ชื่อว่าฮิตเลอร์ หลังสงครามทุกคนเห็นถึงความโหดร้ายของเขา คนเยอรมันด้วยกันยังยี๋ยังหวาดกลัว แต่ว่าทำไมในช่วงนั้นถึงสนับสนุน เพราะการโฆษณาชวนเชื่อยังไงล่ะครับ ทุกคนมองว่าเขาเป็นผู้นำที่น่านับถือ เกรงขามและน่าหวาดกลัว แต่แท้จริงแล้วฮิตเลอร์ก็แค่ไอบ้าหนวดจิ๋มที่หลงตัวเองที่สุดเท่านั้นเอง
- ในหนังมีฉากที่แคปปิตอลจะฉายทีวีอัพเดทข่าวสารล้างสมองทั้งหลาย ซับไทยเขียนว่า "รายการบังคับดู" เห็นแล้ว แอบขำเบาๆ สโนว์เปิดตัวมาเป็นบอยแบนด์เลยทีเดียวครับ
- มีฉากนึงที่สโนว์เอาเด็กมาเป็นโล่กำบังทำเนียบสุดท้าย แล้วสุดท้ายเด็กก็โดนระเบิดของฝ่ายกบ จนตายหมด ซึ่งตอนสโนว์ประกาศให้เด็กเข้าไปหลบภัยที่ทำเนียบเนี่ย อ้างว่าเด็กต้องได้เข้าไปก่อน ทุกคนก็ส่งลูกไป มันเหมือนกับเล่นตลกเลยใช่มั้ย ทุกคนเป็นห่วงลูก ทุกคนห่วงเด็กสงสารเด็ก แต่สิ่งสุดท้ายกับส่งเด็กไปตาย มันคืออะไรครับ? มันคือความโหดร้ายของสงคราม สุดท้ายแล้วเหยื่อที่น่าสงสารที่สุดของสงครามก็คือ "เด็ก" เขาไม่รู้และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสงครามเลย มันเป็นความน่าเศร้าและตลกร้ายที่สุดแล้วครับ
- พูดถึงความโหดร้ายของสงคราม เอาจริงๆคนเขียนพยายามนำเสนอประเด็นหลักของนิยายเรื่องนี้เลยผ่านตัวนางเอกเอง แคสนิส เอฟเวอร์ดีน คือผู้ที่วิ่งวนเป็นหมากในเกมมาตลอด พบกับความสูญเสีย พลัดพรากจากคนที่รัก มองดูพีต้าโดนล้างสมองมาฆ่าตัวเอง น้องตาย บ้านถูกเผา เพื่อนตาย เพื่อนรักก็ดันเหลี่ยมโหดออกแผนโหดเหี้ยม คือแบบถ้าใครจะโชคร้ายไปกว่านี้หายากแล้วอ่ะสลัดซีซาร์ แทบจะประสาทกินด้วยซ้ำ แคสนิสเลยเป็นตัวแทนของคนที่ต้องการเช้าอันสดใส ผ่านสงครามมาตลอดแทบทั้งชีวิต ซึ่งในบั้นปลายแคสนิสก็พบว่าสงครามไม่ได้ให้อะไรแก่เธอเลย สงครามที่มอดไหม้เผาทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างกับไฟที่ติดตัวเธอ เธอผู้มากับไฟ แผดเผาทุกสิ่งทุกอย่าง ยกเว้นตัวเองที่เผาเท่าไรก็ยังไม่ตาย ยังคงยืนหยัดแม้แต่จะพยายามฆ่าตัวตายก็ยังตายไม่ได้ เพราะเธอคือผู้มากับไฟ ผู้มากับสงคราม
- ในตอนจบ (ต้องเรียกว่าผมประทับใจและอินมาก) พีต้ากับแคสนิสกลับมาที่บ้านเขต 12 ใช้ชีวิตด้วยกันเงียบๆ มีลูกสองคน แคสนิสเฝ้าโหยหาเช้าวันใหม่แสนสดใสใต้ต้นใหม่แบบนี้มาตลอด เธออิจฉาฟินิคที่ได้แต่งงาน อิจฉาคนอื่นๆที่ได้อยู่กับคนที่รัก ทำกิจกรรมสดใสกุ๊กกิ๊กๆ เธอเฝ้าคิดถึงมันมาตลอด คิดวนแล้ววนซ้ำเหมือนกับเกม เริ่มใหม่ๆ เหมือนความเจ็บปวดที่สุด เธอคิดว่าไม่มีทางที่จะหนีจากมัน แต่เธอก็พบแล้วว่าเกมนี้ไม่ได้โหดร้ายที่สุด ตอนนี้เธอได้ใช้ชีวิตอย่างเงียบๆ ร้องเพลงกล่อมเด็กใต้ต้นใม้ ซึ่งมันสะท้อนกับฉากที่เฮอร์มิตคุยกับแคสนิสเรื่องการเลือกตั้ง และจดหมายจากแอนนี่ เรื่องการใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ตรงนี้แหละ ถ้าใครได้ดูนะ มันรู้สึกเลยครับ ว่าบางทีเราไม่ได้ต้องการเป็นฮีโร่ เป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่อะไร เราต้องการแค่จะได้มองยุคสมัย มองบ้านเมืองไปในทางที่ดีขึ้น มองในมุมที่เงียบๆชีวิตเงียบๆ เพื่อที่แห่งนี้ ที่ๆลูกหลานเราจะอยู่ได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องสูญเสีย อยู่ในที่ที่เราจะตายตาหลับ และที่เราทำอยู่ก็เพื่อพวกเขา
เอาแค่นี้ก่อน จริงๆมีประเด็นให้คิดกันอีกเยอะ แต่ไว้ถ้ามีโอกาสจะมาต่อกันพาร์ทสอง ผมว่าเป็นหนังที่ดีมากๆในการสะท้อนสังคม มันสอดแทรกอะไรหลายๆอย่างที่เหมือนกับเราในยุคสมัยนี้ ผมไม่รู้ว่าคนเขียนตั้งใจมาหรือเปล่า (แต่น่าจะตั้งใจแหละ) หรือว่าผมละเมอตดคิดมากไปเอง แต่ไม่ว่ายังไง ผมว่ามันก็น่าสนใจที่จะนำประเด็นเหล่านี้มาเขียนบ่นขำๆ เล่าสู่กันฟัง ครับ
ส่วนเรื่องแท็กถ้าแท็กผิดห้องต้องขอโทษด้วยนะครับ
ชี้แจ้งมาได้เลยครับ ครั้งต่อไปจะได้ะระวัง
หรือแอดมินจะลบแท็กเลยก็ได้ครับ พอดีตั้งกระทู้ครั้งแรกครับ
ใครมีประเด็นอะไรอยากเล่าสู่กันฟังก็เล่ากันมาได้นะครับ
ถูกใจ กดไลค์กดแชร์กันตามสบาย
ขอบคุณที่อ่านมาจนจบนะครับ
สมาชิกหมายเลข 1401985
เล่าสู่กันฟัง "นัยยะใน Hunger Games" กับการต่อต้านสงครามและจรรโลงสังคมด้วยวรรณกรรมเยาวชน (Spoil)
อนึ่งออกตัวก่อนว่าตัวผมเองไม่เคยอ่านฉบับนิยายมาก่อน ภาพยนตร์ก็ไม่ได้ดูทวน
อาจจะลืมและพลาดในบางส่วนไปบ้างต้องขอน้อมรับคำติไว้ด้วยนะครับ
- ย้อนกลับไป ฮังเกอร์เกมคือหนังที่นำเสนอถึงประเด็นของชนชั้น มีผู้ปกครอง มีคนถูกปกครอง ส่งเด็ก 24 คนมาฆ่ากันเป็นเครื่องบรรณาการ ทุกๆอย่างถูกแพลนไว้ในฐานะของ "เกม" โดยที่มีคนเล่นคือคน เงื่อนไขคือชีวิต และรางวัลก็คือชีวิต
- ต่อมาสเกลถูกขยับขยายออกมาใหญ่ขึ้น หลังจากแค่เป็นเกมเล็กๆ เริ่มกลายเป็นเกมใหญ่ขึ้น คนเล่นคือผู้ปกครอง (สโนว์และคอยน์) เงื่อนไข ชีวิต และรางวัลก็คืออำนาจ มุมมองของสองคนนี้เหมือนกันมาก คือมองสงครามที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเกม มีหมากฝ่ายเราและฝ่ายศัตรู ยินยอมจะใช้หมากล่อ เพื่อทำลายหมากศัตรู ทุกอย่างเป็นเพียงแค่เกม ทุกคนเป็นแค่หมาก จะเขี่ยทิ้งหรือจะใช้เพื่อชัยชนะ ทุกอย่างล้วนมีค่าเพียงเพื่อใช้ให้ตัวเองชนะเกม
หันกลับมามองในโลกความจริงกันสักนิด ย้อนมองกลับไปในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ ประเด็นเผ็ดร้อนที่หลายๆคนนึกถึง สงครามซีเรีย สงครามในตะวันออกกลาง ทุกอย่างเหมือนเพียงเบี้ย มีคนตายมากมาย วันนึงร้อย สองสามร้อยคน ข้ออ้างที่นานาชาติต่างทิ้งระเบิดลงมาในประเทศเล็กๆนี้ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนนึงมาจากเกมการเมืองของประเทศเหล่านั้น ที่ต้องการอำนาจและผลประโยชน์ในสงครามกลางเมืองแห่งนี้ สงครามที่เป็นเพียงเกมของเหล่าผู้ปกครองในประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย ที่ล้วนยอมสละหมากเบี้ยทุกตัวเพื่อให้ตัวเองชนะในเกมนี้
- ประเด็นต่อมาคือการปกครองในระบอบของประชาธิปไตยและเผด็จการ ต้องพูดเลยว่าคนเขียนเรื่องค่อนข้างจะเป็นคนที่หัวก้าวหน้ามากและเสรีนิยมแบบสุดๆ เราอยู่ในยุค 2015 ยุคที่โลกเปิดกว้าง ทุกอย่างล้วนเชื่อมต่อ ไม่มีสิ่งใดจะปิดกันได้ ทุกคนรู้จักสิทธิ ทุกคนมีเสรีภาพ ทุกคนต้องการแสดงออกและใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียม ห้ามใครล้ำใครเกินใคร ทุกคนล้วนต้องการที่จะปกครองและถูกปกครองได้ด้วยตัวเอง จะไม่ยอมให้ใครมาอ้างสิทธิ์ลอยๆว่าเหนือกว่าคนอื่น มนุษย์โดยธรรมชาตินั้นเท่าเทียม การปกครองโดยคนหมู่มาก หรือประชาธิปไตยนั้นจึงเป็นคำตอบอย่างที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก (ต้องยอมรับว่าคนตะวันตกนั้นเห็นความสำคัญของสิทธิเสรีภาพแบบสุดๆ) ซึ่งชาวเขต 1-2 เนี่ย ถูกกดขี่เยี่ยบย่ำทุกอย่าง พวกเขาไม่มีสิทธิ์อะไรเลย ลำบาก ต้องทำงานงกๆส่งส่วยให้แคปปิตอล จนสุดท้าย แม้แต่ สิทธิ์ที่จะมีชีวิต เขาก็ยังไม่มี เขาจึงต้องลุกฮือ ต้องการปกครองตนเองเรียกสิทธิเสรีภาพของตัวเองกลับคืนมา สิ่งใดที่ชาวแคปิตอลได้ เขาก็ต้องได้ด้วย ต้องการความเท่าเทียม !
- ความแตกต่างระหว่างชาวเขต 1-12 กับชาวแคปปิตอล ชาวแคปปิตอลเหมือนเด็กในกำมือครับ ถูกเลี้ยงถูกป้อนข้อมูลทุกวัน ค่านิยมอะไรที่แคปปิตอลคิดว่าดีก็ยัดให้ท่อง อะไรที่แคปปิตอลคิดว่าไม่ดีก็ไม่ให้ดู ให้สัมผัสแต่ความสุขสบายและค่านิยมในแบบแคปปิตอล จนตัวเองเฉยเมยกับความยากลำบากของคนอื่น รู้สึกธรรมดาที่จะมามองคนฆ่ากัน รู้สึกบันเทิงที่ได้เห็นคนเอาตัวรอด รู้สึกเฉยฉากับการปกครองที่ไร้มนุษยธรรมของสโนว์ต่อชาวเขต 1-12 เพราะอะไรครับ? เพราะไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ตัวเองไม่ต้องยุ่ง ถูกยัดให้อยู่ในกรอบของความคิดดีๆแบบแคปปิตอล สโนว์คือผู้ดีมีตระกูล ทำงานหนักหนา ทั้งๆที่ชาวแคปปิตอลไม่เคยเห็นสโนว์ตัวจริงเลย นอกจากในโฮโลแกรมและถูกปลูกฝัง
- ทำไมฝ่ายกบฎต้องทำหนัง ทำไมแคปปิตอลต้องมีไอพิธีกรบ้าๆ มันสะท้อนถึงโฆษณาชวนเชื่อครับ เราไม่มีทางรู้เลยว่าตัวจริงเขาเป็นเช่นไร สิ่งดีๆของเขาล้วนมองเห็นมาจากทีวี ออกมาจากหน้าจอ สิ่งที่เขาพูดเป็นสคริปต์หรือเปล่า สิ่งที่เขาพูดเขาคิดขึ้นมาเองจริงๆหรอ ? มีใครที่ไหนมาคิดให้เขาหรือเปล่า ลับหลังเขาอาจจะเป็นนักแสดงที่เห็นแก่ตัวและโง่เง่าที่สุดก็ได้ ย้อนกันสักนิด ย้อนไปหาผู้ชายที่ชื่อว่าฮิตเลอร์ หลังสงครามทุกคนเห็นถึงความโหดร้ายของเขา คนเยอรมันด้วยกันยังยี๋ยังหวาดกลัว แต่ว่าทำไมในช่วงนั้นถึงสนับสนุน เพราะการโฆษณาชวนเชื่อยังไงล่ะครับ ทุกคนมองว่าเขาเป็นผู้นำที่น่านับถือ เกรงขามและน่าหวาดกลัว แต่แท้จริงแล้วฮิตเลอร์ก็แค่ไอบ้าหนวดจิ๋มที่หลงตัวเองที่สุดเท่านั้นเอง
- ในหนังมีฉากที่แคปปิตอลจะฉายทีวีอัพเดทข่าวสารล้างสมองทั้งหลาย ซับไทยเขียนว่า "รายการบังคับดู" เห็นแล้ว แอบขำเบาๆ สโนว์เปิดตัวมาเป็นบอยแบนด์เลยทีเดียวครับ
- มีฉากนึงที่สโนว์เอาเด็กมาเป็นโล่กำบังทำเนียบสุดท้าย แล้วสุดท้ายเด็กก็โดนระเบิดของฝ่ายกบ จนตายหมด ซึ่งตอนสโนว์ประกาศให้เด็กเข้าไปหลบภัยที่ทำเนียบเนี่ย อ้างว่าเด็กต้องได้เข้าไปก่อน ทุกคนก็ส่งลูกไป มันเหมือนกับเล่นตลกเลยใช่มั้ย ทุกคนเป็นห่วงลูก ทุกคนห่วงเด็กสงสารเด็ก แต่สิ่งสุดท้ายกับส่งเด็กไปตาย มันคืออะไรครับ? มันคือความโหดร้ายของสงคราม สุดท้ายแล้วเหยื่อที่น่าสงสารที่สุดของสงครามก็คือ "เด็ก" เขาไม่รู้และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสงครามเลย มันเป็นความน่าเศร้าและตลกร้ายที่สุดแล้วครับ
- พูดถึงความโหดร้ายของสงคราม เอาจริงๆคนเขียนพยายามนำเสนอประเด็นหลักของนิยายเรื่องนี้เลยผ่านตัวนางเอกเอง แคสนิส เอฟเวอร์ดีน คือผู้ที่วิ่งวนเป็นหมากในเกมมาตลอด พบกับความสูญเสีย พลัดพรากจากคนที่รัก มองดูพีต้าโดนล้างสมองมาฆ่าตัวเอง น้องตาย บ้านถูกเผา เพื่อนตาย เพื่อนรักก็ดันเหลี่ยมโหดออกแผนโหดเหี้ยม คือแบบถ้าใครจะโชคร้ายไปกว่านี้หายากแล้วอ่ะสลัดซีซาร์ แทบจะประสาทกินด้วยซ้ำ แคสนิสเลยเป็นตัวแทนของคนที่ต้องการเช้าอันสดใส ผ่านสงครามมาตลอดแทบทั้งชีวิต ซึ่งในบั้นปลายแคสนิสก็พบว่าสงครามไม่ได้ให้อะไรแก่เธอเลย สงครามที่มอดไหม้เผาทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างกับไฟที่ติดตัวเธอ เธอผู้มากับไฟ แผดเผาทุกสิ่งทุกอย่าง ยกเว้นตัวเองที่เผาเท่าไรก็ยังไม่ตาย ยังคงยืนหยัดแม้แต่จะพยายามฆ่าตัวตายก็ยังตายไม่ได้ เพราะเธอคือผู้มากับไฟ ผู้มากับสงคราม
- ในตอนจบ (ต้องเรียกว่าผมประทับใจและอินมาก) พีต้ากับแคสนิสกลับมาที่บ้านเขต 12 ใช้ชีวิตด้วยกันเงียบๆ มีลูกสองคน แคสนิสเฝ้าโหยหาเช้าวันใหม่แสนสดใสใต้ต้นใหม่แบบนี้มาตลอด เธออิจฉาฟินิคที่ได้แต่งงาน อิจฉาคนอื่นๆที่ได้อยู่กับคนที่รัก ทำกิจกรรมสดใสกุ๊กกิ๊กๆ เธอเฝ้าคิดถึงมันมาตลอด คิดวนแล้ววนซ้ำเหมือนกับเกม เริ่มใหม่ๆ เหมือนความเจ็บปวดที่สุด เธอคิดว่าไม่มีทางที่จะหนีจากมัน แต่เธอก็พบแล้วว่าเกมนี้ไม่ได้โหดร้ายที่สุด ตอนนี้เธอได้ใช้ชีวิตอย่างเงียบๆ ร้องเพลงกล่อมเด็กใต้ต้นใม้ ซึ่งมันสะท้อนกับฉากที่เฮอร์มิตคุยกับแคสนิสเรื่องการเลือกตั้ง และจดหมายจากแอนนี่ เรื่องการใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ตรงนี้แหละ ถ้าใครได้ดูนะ มันรู้สึกเลยครับ ว่าบางทีเราไม่ได้ต้องการเป็นฮีโร่ เป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่อะไร เราต้องการแค่จะได้มองยุคสมัย มองบ้านเมืองไปในทางที่ดีขึ้น มองในมุมที่เงียบๆชีวิตเงียบๆ เพื่อที่แห่งนี้ ที่ๆลูกหลานเราจะอยู่ได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องสูญเสีย อยู่ในที่ที่เราจะตายตาหลับ และที่เราทำอยู่ก็เพื่อพวกเขา
เอาแค่นี้ก่อน จริงๆมีประเด็นให้คิดกันอีกเยอะ แต่ไว้ถ้ามีโอกาสจะมาต่อกันพาร์ทสอง ผมว่าเป็นหนังที่ดีมากๆในการสะท้อนสังคม มันสอดแทรกอะไรหลายๆอย่างที่เหมือนกับเราในยุคสมัยนี้ ผมไม่รู้ว่าคนเขียนตั้งใจมาหรือเปล่า (แต่น่าจะตั้งใจแหละ) หรือว่าผมละเมอตดคิดมากไปเอง แต่ไม่ว่ายังไง ผมว่ามันก็น่าสนใจที่จะนำประเด็นเหล่านี้มาเขียนบ่นขำๆ เล่าสู่กันฟัง ครับ
ส่วนเรื่องแท็กถ้าแท็กผิดห้องต้องขอโทษด้วยนะครับ
ชี้แจ้งมาได้เลยครับ ครั้งต่อไปจะได้ะระวัง
หรือแอดมินจะลบแท็กเลยก็ได้ครับ พอดีตั้งกระทู้ครั้งแรกครับ
ใครมีประเด็นอะไรอยากเล่าสู่กันฟังก็เล่ากันมาได้นะครับ
ถูกใจ กดไลค์กดแชร์กันตามสบาย
ขอบคุณที่อ่านมาจนจบนะครับ
สมาชิกหมายเลข 1401985