มีหลายสิ่งที่สามารถแบ่งมนุษย์โลกออกได้เป็น2ประเภท แต่ข้อที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆน่าจะเป็น คนโสด กับ คนมีคู่ The Lobster คือหนังที่นำประเด็นนี้มาขยาย ฝีมือการกำกับและเขียนบทของ ยอร์กอส ลานธิมอส ผู้กำกับชาวกรีซ ที่ลงทุนไปใช้ชีวิตในอังกฤษถึง4ปีเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้
ตัวหนังมีพล็อตแปลกประหลาดว่าด้วยโลกอนาคตที่การไม่มีคู่เป็นสิ่งผิดกฏหมาย(ลำพังแค่การอยู่คนเดียวก็เหงาจะแย่อยู่แล้ว) ผู้ที่เป็นโสดด้วยเหตุผลใดก็ตามจะถูกจับส่งไปยัง The Hotel โรงแรมแห่งหนึ่งซึ่งเป็นเหมือนคุกกึ่งสถานบำบัด พวกเขามีเวลา45วันในการหาคู่ใหม่ให้ได้ หากทำไม่สำเร็จจะถูกทำให้กลายเป็นสัตว์ เดวิด ชายหนุ่มวัยกลางคนที่เพิ่งเสียภรรยาไปเป็นอีกคนที่โดนส่งตัวมาที่นั่น เขาพาพี่ชายที่ถูกเปลี่ยนเป็นสุนัขมาด้วย ส่วนตัวเขาเองเลือกไว้แล้วว่าหากหาคู่ไม่ได้จะยอมกลายเป็น กุ้งล็อบสเตอร์
ต่อมา เดวิด ที่ล้มเหลวในการจับคู่แอบหนีออกจาก The Hotel เข้าไปในป่าเพื่อรวมกลุ่มกับคนโสด ที่นั่นมีกฏต่างกับโรงแรมแบบคนละขั้ว คือทุกคนที่อยู่ร่วมกันต้องทำอะไรคนเดียวเป็นหลัก และที่สำคัญ ห้ามรักกันเด็ดขาด หากถูกจับได้จะมีบทลงโทษที่รุนแรงไม่แพ้การถูกเปลี่ยนเป็นสัตว์ แล้วปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อ เดวิด ดันไปพบรักกับสาวคนหนึ่งในกลุ่ม ทั้งคู่จึงกลายเป็นคนแปลกแยก ไม่มีที่ยืนในสังคมอีกครั้ง
The Lobster สร้างโลกดิสโทเปียออกมาได้น่าสนใจ ทำให้เรานึกถึงสังคมแบบในหนังสือ 1984 ของ จอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งมีกฏระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เคร่งครัด ชีวิตซึ่งถูกควบคุมโดยองค์กรรัฐ เพียงแต่หนังเรื่องนี้มีสเกลที่เล็กกว่า และเลือกที่จะเน้นประเด็นความรักมากกว่าการเมือง ส่วนตัวชอบรายละเอียดที่ช่วยขับเน้นให้ความโสดเป็นเรื่องผิดบาป ทั้งตำรวจที่ทำหน้าที่ตรวจตราคนที่เดินไปไหนมาไหนคนเดียว การอบรมในโรงแรมที่มุ่งปลูกฝังแนวคิดด้านดีของการมีคู่ พร้อมๆกับการนำเสนอด้านร้ายของการเป็นโสด
ขณะเดียวกันแม้หนังจะเต็มไปด้วยกฏเกณฑ์ ก็ยังเปิดช่องว่างยืดหยุ่นบางอย่างไว้ โดยให้โอกาสคนโสดในโรงแรมเข้าไปล่าคนโสดในป่า จับได้1คน เท่ากับได้วันในการหาคู่เพิ่มมา1วัน หรือหากชีวิตคู่ของคนที่ผ่านด่านแรกไปฮันนีมูนไม่ราบรื่นก็มีลูกให้เป็นตัวช่วย แน่นอนว่าโทนหนังออกมาค่อนข้างหม่นเศร้า หดหู่ ตรึงเครียด แต่ต้องชื่นชมผู้กำกับที่แทรกพาร์ทตลกร้ายเข้ามาเป็นระยะ รวมถึงฉากโหดๆที่คาดไม่ถึง ช่วยให้หนังไม่น่าเบื่อ ชวนติดตามตลอด นัยแฝงในหนังค่อนข้างเยอะ มีสัญลักษณ์ให้ตีความมากมาย อาทิ เตียงเดี่ยว เตียงคู่ สัตว์ที่ปรากฏในเรื่อง เซ็กส์กับความรัก
ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของตัวละครหลักที่ เป็นโสดก็ไม่ได้ มีคู่ก็ผิด ตัวละครทุกตัวในหนังเย็นชาจนเกือบจะไร้ความรู้สึก บางคนแทบไม่ต่างจากหุ่นยนต์ หลายคนหมกมุ่นอยู่กับการถูกบังคับ กดดัน ให้มีคู่ในเวลาที่จำกัด พวกเขาไม่ได้มองหาคนที่คู่ควรมาเคียงข้างเป็นคู่ชีวิต พวกเขามองหาใครก็ได้ที่จะมาเป็นคู่เพื่อความอยู่รอด โดยวิธีง่ายๆอย่างการพยายามมองหาบางสิ่งที่คล้ายกันในตัวเพศตรงข้าม ไม่ว่าจะกริยาท่าทางภายนอกหรือนิสัยส่วนตัวภายในเช่น สายตาสั้นเหมือนกัน เลือดกำเดาออกง่ายเหมือนกัน ผมดกเหมือนกัน เดินขากะแผลกเหมือนกัน มีอารมณ์ขันเหมือนกัน กระทั่ง จิตใจโหดเหี้ยมเหมือนกัน แน่นอนว่าของแบบนี้มันหลอกกันได้ พวกเขาทำเพราะไม่อยากเป็นสัตว์ ทว่าวิธีดังกล่าวเป็นการเลือกคู่ของสัตว์ชัดๆ จุดนี้เชื่อว่าเสียดสีผู้คนในโลกปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย รักง่าย หน่ายเร็ว ในทางตรงข้ามการถูกปฏิเสธความสัมพันธ์ในหนังสร้างความทุกข์ทวีคูณ นอกจากจะรู้สึกไม่มีคุณค่า ผลที่ตามมาอีกอย่างคือการถูกพรากความเป็นมนุษย์ไป(ถึงภายหลังการเป็นสัตว์อาจดูมีความสุขกว่าก็ตาม)
พูดได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการแสดงที่ดีที่สุดในรอบหลายปีของ โคลิน ฟาร์เรล เขาค่อยๆทำให้คนดูรู้จักตัวตนของ เดวิด ทีละนิด ก่อนที่ตัวละครตัวนี้จะได้ใจเราไปในท้ายที่สุด เคมีของเขากับ ราเชล ไวซ์ เข้ากันได้ดี เป็นความโรแมนติกแบบดาร์คๆในโลกอันผิดเพี้ยน ผู้คนน่าหวาดกลัว เราเอาใจช่วยให้พวกเขาได้ครองคู่กัน ทั้งสองคนคือความหวังเล็กๆที่ใช้รักแท้ในการต่อต้านอำนาจของรัฐเผด็จการ อีกสองคนที่โดดเด่นคือ เบน วิชอว์ นักแสดงหนุ่มจาก Spectre ในบทชายผู้ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ตัวเองกลายเป็นสัตว์ กับ เลอา เซย์ดูซ์ สาวบอน์คนล่าสุดใน Spectre ที่แสดงเป็นหัวหน้ากลุ่มคนโสดในป่า
The Lobster มีบทภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยม ซาวด์ประกอบเร้าอารมณ์ สร้างบรรยากาศโลกของคนไร้คู่ออกมาได้สะเทือนใจประชากรคนโสดมากๆ เป็นความเหนือจริงที่สมจริง หนังอินดี้แต่ดูไม่ยาก ส่วนจะสนุกไหมอันนี้น่าจะอยู่ที่ความชอบส่วนบุคคล ตอนจบเหมาะกับประโยค ความรักทำให้คนตาบอด
ว่าแต่คุณล่ะ หากหาคู่ไม่ได้แล้วถูกทำให้เป็นสัตว์ คุณจะเลือกเป็นตัวอะไรดี?
คะแนน 8.5/10
โดย นกไซเบอร์
เครดิต
https://www.facebook.com/cyberbirdmovie
ตัวอย่างหนัง
http://movie.bugaboo.tv/watch/200329/?link=4
รีวิวหนัง : The Lobster โลกของคนไร้คู่
มีหลายสิ่งที่สามารถแบ่งมนุษย์โลกออกได้เป็น2ประเภท แต่ข้อที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆน่าจะเป็น คนโสด กับ คนมีคู่ The Lobster คือหนังที่นำประเด็นนี้มาขยาย ฝีมือการกำกับและเขียนบทของ ยอร์กอส ลานธิมอส ผู้กำกับชาวกรีซ ที่ลงทุนไปใช้ชีวิตในอังกฤษถึง4ปีเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้
ตัวหนังมีพล็อตแปลกประหลาดว่าด้วยโลกอนาคตที่การไม่มีคู่เป็นสิ่งผิดกฏหมาย(ลำพังแค่การอยู่คนเดียวก็เหงาจะแย่อยู่แล้ว) ผู้ที่เป็นโสดด้วยเหตุผลใดก็ตามจะถูกจับส่งไปยัง The Hotel โรงแรมแห่งหนึ่งซึ่งเป็นเหมือนคุกกึ่งสถานบำบัด พวกเขามีเวลา45วันในการหาคู่ใหม่ให้ได้ หากทำไม่สำเร็จจะถูกทำให้กลายเป็นสัตว์ เดวิด ชายหนุ่มวัยกลางคนที่เพิ่งเสียภรรยาไปเป็นอีกคนที่โดนส่งตัวมาที่นั่น เขาพาพี่ชายที่ถูกเปลี่ยนเป็นสุนัขมาด้วย ส่วนตัวเขาเองเลือกไว้แล้วว่าหากหาคู่ไม่ได้จะยอมกลายเป็น กุ้งล็อบสเตอร์
ต่อมา เดวิด ที่ล้มเหลวในการจับคู่แอบหนีออกจาก The Hotel เข้าไปในป่าเพื่อรวมกลุ่มกับคนโสด ที่นั่นมีกฏต่างกับโรงแรมแบบคนละขั้ว คือทุกคนที่อยู่ร่วมกันต้องทำอะไรคนเดียวเป็นหลัก และที่สำคัญ ห้ามรักกันเด็ดขาด หากถูกจับได้จะมีบทลงโทษที่รุนแรงไม่แพ้การถูกเปลี่ยนเป็นสัตว์ แล้วปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อ เดวิด ดันไปพบรักกับสาวคนหนึ่งในกลุ่ม ทั้งคู่จึงกลายเป็นคนแปลกแยก ไม่มีที่ยืนในสังคมอีกครั้ง
The Lobster สร้างโลกดิสโทเปียออกมาได้น่าสนใจ ทำให้เรานึกถึงสังคมแบบในหนังสือ 1984 ของ จอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งมีกฏระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เคร่งครัด ชีวิตซึ่งถูกควบคุมโดยองค์กรรัฐ เพียงแต่หนังเรื่องนี้มีสเกลที่เล็กกว่า และเลือกที่จะเน้นประเด็นความรักมากกว่าการเมือง ส่วนตัวชอบรายละเอียดที่ช่วยขับเน้นให้ความโสดเป็นเรื่องผิดบาป ทั้งตำรวจที่ทำหน้าที่ตรวจตราคนที่เดินไปไหนมาไหนคนเดียว การอบรมในโรงแรมที่มุ่งปลูกฝังแนวคิดด้านดีของการมีคู่ พร้อมๆกับการนำเสนอด้านร้ายของการเป็นโสด
ขณะเดียวกันแม้หนังจะเต็มไปด้วยกฏเกณฑ์ ก็ยังเปิดช่องว่างยืดหยุ่นบางอย่างไว้ โดยให้โอกาสคนโสดในโรงแรมเข้าไปล่าคนโสดในป่า จับได้1คน เท่ากับได้วันในการหาคู่เพิ่มมา1วัน หรือหากชีวิตคู่ของคนที่ผ่านด่านแรกไปฮันนีมูนไม่ราบรื่นก็มีลูกให้เป็นตัวช่วย แน่นอนว่าโทนหนังออกมาค่อนข้างหม่นเศร้า หดหู่ ตรึงเครียด แต่ต้องชื่นชมผู้กำกับที่แทรกพาร์ทตลกร้ายเข้ามาเป็นระยะ รวมถึงฉากโหดๆที่คาดไม่ถึง ช่วยให้หนังไม่น่าเบื่อ ชวนติดตามตลอด นัยแฝงในหนังค่อนข้างเยอะ มีสัญลักษณ์ให้ตีความมากมาย อาทิ เตียงเดี่ยว เตียงคู่ สัตว์ที่ปรากฏในเรื่อง เซ็กส์กับความรัก
ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของตัวละครหลักที่ เป็นโสดก็ไม่ได้ มีคู่ก็ผิด ตัวละครทุกตัวในหนังเย็นชาจนเกือบจะไร้ความรู้สึก บางคนแทบไม่ต่างจากหุ่นยนต์ หลายคนหมกมุ่นอยู่กับการถูกบังคับ กดดัน ให้มีคู่ในเวลาที่จำกัด พวกเขาไม่ได้มองหาคนที่คู่ควรมาเคียงข้างเป็นคู่ชีวิต พวกเขามองหาใครก็ได้ที่จะมาเป็นคู่เพื่อความอยู่รอด โดยวิธีง่ายๆอย่างการพยายามมองหาบางสิ่งที่คล้ายกันในตัวเพศตรงข้าม ไม่ว่าจะกริยาท่าทางภายนอกหรือนิสัยส่วนตัวภายในเช่น สายตาสั้นเหมือนกัน เลือดกำเดาออกง่ายเหมือนกัน ผมดกเหมือนกัน เดินขากะแผลกเหมือนกัน มีอารมณ์ขันเหมือนกัน กระทั่ง จิตใจโหดเหี้ยมเหมือนกัน แน่นอนว่าของแบบนี้มันหลอกกันได้ พวกเขาทำเพราะไม่อยากเป็นสัตว์ ทว่าวิธีดังกล่าวเป็นการเลือกคู่ของสัตว์ชัดๆ จุดนี้เชื่อว่าเสียดสีผู้คนในโลกปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย รักง่าย หน่ายเร็ว ในทางตรงข้ามการถูกปฏิเสธความสัมพันธ์ในหนังสร้างความทุกข์ทวีคูณ นอกจากจะรู้สึกไม่มีคุณค่า ผลที่ตามมาอีกอย่างคือการถูกพรากความเป็นมนุษย์ไป(ถึงภายหลังการเป็นสัตว์อาจดูมีความสุขกว่าก็ตาม)
พูดได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการแสดงที่ดีที่สุดในรอบหลายปีของ โคลิน ฟาร์เรล เขาค่อยๆทำให้คนดูรู้จักตัวตนของ เดวิด ทีละนิด ก่อนที่ตัวละครตัวนี้จะได้ใจเราไปในท้ายที่สุด เคมีของเขากับ ราเชล ไวซ์ เข้ากันได้ดี เป็นความโรแมนติกแบบดาร์คๆในโลกอันผิดเพี้ยน ผู้คนน่าหวาดกลัว เราเอาใจช่วยให้พวกเขาได้ครองคู่กัน ทั้งสองคนคือความหวังเล็กๆที่ใช้รักแท้ในการต่อต้านอำนาจของรัฐเผด็จการ อีกสองคนที่โดดเด่นคือ เบน วิชอว์ นักแสดงหนุ่มจาก Spectre ในบทชายผู้ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ตัวเองกลายเป็นสัตว์ กับ เลอา เซย์ดูซ์ สาวบอน์คนล่าสุดใน Spectre ที่แสดงเป็นหัวหน้ากลุ่มคนโสดในป่า
The Lobster มีบทภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยม ซาวด์ประกอบเร้าอารมณ์ สร้างบรรยากาศโลกของคนไร้คู่ออกมาได้สะเทือนใจประชากรคนโสดมากๆ เป็นความเหนือจริงที่สมจริง หนังอินดี้แต่ดูไม่ยาก ส่วนจะสนุกไหมอันนี้น่าจะอยู่ที่ความชอบส่วนบุคคล ตอนจบเหมาะกับประโยค ความรักทำให้คนตาบอด
ว่าแต่คุณล่ะ หากหาคู่ไม่ได้แล้วถูกทำให้เป็นสัตว์ คุณจะเลือกเป็นตัวอะไรดี?
คะแนน 8.5/10
โดย นกไซเบอร์
เครดิต https://www.facebook.com/cyberbirdmovie
ตัวอย่างหนัง http://movie.bugaboo.tv/watch/200329/?link=4