เรามาดูแหล่งอ้างอิง เรื่อง พรบ กำลังพลสำรองปี พศ กัน ( By Identity Idea)

จากข่าวที่ผ่านๆมา สือแต่ละที่แต่ละคนที่เอามาอ้างนั้น ต่างให้ข้อมูลไม่ตรงกัน  ความหมายและประเภทกำลังพลสำรองก็ยังสับสนอยู่  ตัวผมเองก็อยากทราบว่าความจริงแล้ว เนื้อหาใน พรบ ฉบับนี้เป็นเช่นไร จึงทำการค้นหาและอ้างอิงจากแหล่งข้อมูล ทีคิดว่าน่าเชื่อถือได้ รวมถึง พรบ ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่น่าจะเชื่อถือและใช้ได้มากที่สด


             เริ่มลำดับความดังนี้  
1. สื่อหลักแต่ละสื่อ ลงรายละเอียดของคนที่จะเป็นกำลังพลสำรองนั้นเขียไว้ว่า

               "ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้กำหนดให้รับสมัครจากบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม คัดเลือกจากนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง โดยการเรียกกำลังพลสำรองให้กระทำได้ในกรณีจำเป็นเพื่อปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นการเฉพาะหรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ การระดมพลให้กระทำได้ในเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึกหรือมีการรบหรือการสงคราม"

อ้างอิง
1. http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1447325892
2 . http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1447323658
3. http://www.prachatai.com/journal/2015/11/62405

  แต่ก็มีสื่ออีก แขนงที่ลงข่าวไปอีกแนวทาง
  
         "เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 ร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีเนื้อหาให้ทหารกองหนุน อาทิ ผู้เคยผ่านการเกณฑ์ ผู้เคยผ่านการเรียนรักษาดินแดน (รด.) หรือแม้กระทั่งผู้ผ่านการเกณฑ์ทหารที่จับใบดำได้ กลับมาฝึกวิชาทหารอีกครั้งในฐานะกำลังพลสำรองเพื่อการเตรียมความพร้อมในกิจการของกระทรวงกลาโหม โดยหากฝ่าฝืนไม่เข้ารับราชการทหารมีโทษสูงสุดติดคุกสี่ปี ในส่วนของนายจ้างหากไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งต้องรับราชการทหารในวันลามีโทษปรับสองหมื่นบาท"

          และมีสมาชิคบางท่านนำข้อมูลเหล่านี้มาอ้างอิงเช่นกัน

อ้างอิง
1  http://www.ilaw.or.th/node/3935
         และเมื่อวาน 18 พย 2558 เว็บไซต์นี้ก็ออกมาแก้ข้อมูลไปอีกแบบที่แตกต่างจากเดิมที่เขียนไว้เกี่ยวกับเรื่อง รด และคนทั่วไปอายไม่เกินสี่สิบ ต้องถูกเรียกไปฝึก เป็นอีกข้อมูลตามลิงค์นี้ http://ilaw.or.th/node/3937  แต่การตีความหมายก็ยังไม่เหมือนกับสือหลักอีกเช่นกัน


         ในเมื่อมีชุดข้อมูลสองชุด ก็ต้องสืบหาตัวข้อมูลที่เกิดจากการประชุมของ สนช ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ. ....  ซึ่งมีรายงานการประชุมและระเบียบวาระการประชุมเผยแพร่ออกทางเว็บไซต์ของรัฐสภา ตามลิงค์นี้ ซึ่งครั้งที่ 1 คือวันที่ 21 กรกฏาคม 2558 เป็น และอีกหลายครั้งพร้อมสรุปผลการประชุม สามารถดูที่ลิงค์อ้างอิงด้านล่างในแต่ละครั้ง

อ้างอิง
      http://www.senate.go.th/w3c/senate/comm.php?url=meeting&comm_id=1872&m=MAPP&page=1&orby=&orrg=ASC


    มาดูเป็นตอนๆ สำหรับรายละเอียดที่สำคัญและเป็ฯประเด็นเกี่ยวกับกระทู้นี้
1  ในสรุปผลการประชุม ครั้งที 3 ในวันที่ 3 สิงหาคม 2558 ในข้อที่ 4)  เขียนไว้ว่า
            " เพื่อให้มีการบริหารจัดการกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า นายทหารกองหนุน ทหารกองหนุนและทหารกองเกิน ตามพระราชบัญญัติรับการการทหาร พศ 2497 และข้อบังคับทหารว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร พศ 2482 โดยร่างพระราชบัญญัติให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการรับสมัครหรือคัดเลือกจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวข้งต้น เพื่อบรรจุลงในบัญชีบรรจุกำลังของหน่ยทหาร และเรียกบัคคเหล่นี้ว่า  “กำลังพลสำรอง”
           " มติ  ที่ประชุมรับทราบ
         อ้างอิง http://library.senate.go.th/document/mSummaryM/Ext23/23708_0001.PDF

2.  ในสรุปผลการประชุม ครั้งที 6 ในวันที่ 24 สิงหาคม 2558 ในส่วนของระเบีบบวาระที่ 3 ตรงประเด็นที่ 2 ในหน้าที่ 7 ของเอกสาร  
      พลตรี ชาติชาย แจ้งสี รองเลขานุการอนุกรรมการวิสามัญ ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการวิสามัญ ชีแจงว่าปัจจุบันกระทรวงกลาโหมได้จัดทำกฏหมาายลำดับรองคู่ขนานกันไปซึ่งไม่น่ามีปัญหา สำหรับในเรื่องการจัดทำบัญชีบรรจุกำลังขอเรียนชี้แจงว่าในอัตราการจัดของหน่วยทหารมีการกำหนดไว้แล้วว่าตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งประจำกร ตำแหน่งใดเป็นกำลังพลสำรอง โดยเป็นกำลังพลสำรองตามมาตรา 15 ของพระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้กระทรวงกลาโหมรับสมัครจาก บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตมที่กำหนดในข้อบังคับ หรือคัดเลือกจากนายสัญญาบัตรกองหนุน นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง หรือคัดเลือกจากนายทหารกองหนุนประเภท 1 หรือทหารกองเกินตามกฏหมายว่าด้วการรับราชการทหาร ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการตามกฏหมาายต่อไป

                   "  มิติที่ประชม เห็นควรให้รอการพิจารณาเรื่องวันบังคับใช้ไว้ก่อน เพื่อให้กระทรวงกลาโหมได้ศึกษาขันตอนรายละเอียดการจัดทำบัญชีบรรจุกำลัง และจะได้มีการหารืออีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป
อ้างอิง http://library.senate.go.th/document/mSummaryM/Ext24/24111_0001.PDF


          อย่างที่สื่อหลักลง และรายงานสรุปการประชุม จะเห็นว่ากำลังพลสำรองจะรับสมัครจากข้อมูลที่ตรงกันคือ  หรือคัดเลือกจากนายสัญญาบัตรกองหนุน นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง หรือคัดเลือกจากนายทหารกองหนุนประเภท 1 หรือทหารกองเกินตามกฎหมายว่าด้วการับราชการทหาร
      ซึ่งถ้าเป็นสัญญาบัตรกองหนุน รด ที่จะเข้าเกณฑ์นี้ก็คือ รด ปี 5 ที่ได้ชั้นยศเป็น ว่าที่ร้อยตรี  ส่วน รด ปีอื่นๆก็ยังไม่ถึงระดับนายทหารกองหนุนชั้นสัญญาบัตร  ส่วนทหารกองเกินว่าด้วยการรับราชการทหาร ก็ต้องมาดูที่ พรบ รับราชการทหาร พศ 2497  ตามลิงค์
    
   อ้างอิง
      http://jag.mod.go.th/getattachment/rule/militarylaw/34.pdf.aspx

   สรุป    
          จะเห็นว่า คำทหารกองเกิน หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาต 16 หรือผู้ได้ลงบัญชีตามทหารกองเกินตามมาตา 18 แล้ว  และเมื่ออ่านตามมาตรา 16 และ 18 แล้วก็คือบุคคลทั่วไปที่ต้องไปเกณฑ์ทหารตามปรกติ ที่อายุไม่เกิน 30 ปี ซึ่งปัจจุบนก็มีการเกณทหารทุกปีอยู่แล้ว

          และถ้าเราดูตาม พรบ ที่จะออกใหม่ จะเห็นว่า คนที่จะเข้าไปสู่พรบ สำรอง ก็เป็นมาเหมือนเมื่อก่อน คือ คนที่ไปเกณฑ์ทหารตามปรกติซึ่งเป็นทหารกองเกิน หรือ พวก รด ปี 5 ที่เป็นสัญญาบัตรกองหนุน  ที่ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อก่อนเลย เพียงแต่มีการกำหนด เกี่ยวกับการชดเชยของนายจ้าง อัตราโทษ และเพิ่มการเรียกตัวเมื่อมีภัยบัติเข้ามาเท่านั้น ทีชัดเจนขึ้น  


             ดังนั้นก็คงต้องรอให้ พรบ กำลังพลสำรอง ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา แล้วมาดูรายละเอียดกันว่า สือไหนตีความให้เกิดการตื่นตระหนกหรือไม่ สื่อหลักหรือสื่ออื่นๆที่ได้ข้อมูลมาไม่ตรงกัน ตีความไม่เหมือนกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่