ก่อนอื่นขอแปะคลิปก่อนครับ
เหตุการณ์ก็อย่างที่เห็น ในมุมมองคนขับคือ ระวังรถทางซ้ายคือรถบรรทุก เมื่อแซงขึ้นหน้าได้ระยะแล้วก็จะเข้าเลนซ้าย เพื่อออกถนนคู่ขนาน โดยไม่คาดคิดว่าจะมีรถจากไหล่ทางด้วยความเร็วสูงขนาดนั้น เพราะจุดนั้นบนถนนพระราม 2 ไหล่ทางจะแคบเข้าเรื่อย ๆ จนไม่มีไหล่ทางด้วยครับ
จริง ๆ แล้วใกล้มาก เกือบจะหักหลบไม่ทัน และคิดว่าเจอคนขับรถโดยไม่ปฏิบัติตามกฏมาเยอะแล้ว และอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก คราวนี้จะต้องไปแจ้งความให้ได้ เพราะเป็นหนทางเดียวที่ปฏิบัติได้ โดยไม่ไปขับรถหาเรื่องอีกฝ่าย (เหมือนภารกิจยิ่งใหญ่) ลองมาหาข้อมูลเหตุการณ์ที่คล้ายกัน เจอแต่การแนะนำให้ไปแจ้งความ แต่ไม่เคยมีใครมาเล่าว่าดำเนินการได้มั้ย อย่างไร และได้ผลลัพธ์อย่างไรบ้าง จึงหาข้อมูลแค่ว่า ควรไปแจ้งความที่สถานีตำรวจไหน เพราะอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว กทม/สมุทรสาคร กรณีแบบนี้ไปแจ้งความแบบไหน และเตรียมใจไปจากความรู้เก่า ๆ ที่ถูกปลูกฝังไว้กับภาพพจน์ตำรวจซึ่งไม่ค่อยดีเท่าไหร่
เช้าวันรุ่งขึ้นตัดสินใจไป สภ.เมืองสมุรสาคร พร้อมพิมพ์ภาพหลักฐาน เตรียมข้อกฏหมาย และไฟล์วิดีโอไปด้วย ก่อนพบพนักงานสอบสวน ตำรวจด้านหน้าซักถามด้วยความสงสัยว่าทะเลาะวิวาทหรือไม่ รู้จักกันมาก่อนหรือไม่ คงจะไม่ค่อยคุ้นเคยหรือไม่มีใครมาแจ้งความลักษณะนี้ และให้นั่งรอพนักงานสอบสวน สักพักก็ได้คุยกับพนักงานสอบสวน ร.ต.ท.รุ่งเรือง เฮงฮู้ (ขออนุญาตเอ่ยชื่อ เพราะผมประทับใจการทำงานครับ) ตำรวจได้ดูคลิปแล้วก็สนทนากันถึงข้อกฏหมาย และการดำเนินการ โดยสรุปก็คือ ซักถามว่าต้องการให้ดำเนินการอย่างไร ตอนแรกผมว่าแค่เรียกมาให้ตำรวจอบรมก็ยังดีครับ แต่ตำรวจบอกว่าเรียกมาอย่างน้อยก็ต้องเปรียบเทียบปรับ แล้วผมถามถึงข้อกฏหมาย พรบ.จราจร มาตรา 43
มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถ
(4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือ ทรัพย์สิน
(5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจ แลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอ แก่ความปลอดภัย
(8) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
ตำรวจก็บอกว่าอาจเข้าข่ายแบบนี้ได้ เป็นมาตราเดียวที่ตำรวจเปรียบเทียบปรับไม่ได้ มีโทษจำคุก และต้องส่งฟ้องศาลเท่านั้น ส่วนจะดำเนินการตามข้อกฏหมายไหนให้อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน ผมก็ไม่ขัดข้องอะไรครับ วิธีการดำเนินการคือ ตำรวจจะเริ่มตรวจสอบเจ้าของรถจากทะเบียน และโทรติดต่อ หากไม่สามารถติดต่อได้ก็จะออกหมายเรียกเป็นจดหมายไปครับ เสร็จจากส่วนนี้ก็หมดหน้าที่พลเมืองดี (เป็นแค่พลเมืองดี ที่แจ้งความแบบกล่าวโทษ เพราะไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง แค่เกือบเสียหาย) หลังจากนี้เป็นหน้าที่ดำเนินการของตำรวจ กับผู้กระทำความผิดครับ
กลับมารอฟังข่าว แค่ 3 วัน เพราะติดวันหยุดยาว วันจันทร์เช้าตำรวจโทรมาแจ้งว่า ตรวจสอบทะเบียนแล้ว ติดต่อคนขับรถได้แล้ว เมื่อคนขับรถมาแล้วดำเนินการอย่างไร จะแจ้งผลให้ทราบ จันทร์บ่ายอีกฝ่ายก็เข้าพบตำรวจครับ ตำรวจโทรมาแจ้งผลการดำเนินคดี และให้ผมคุยกับอีกฝ่ายด้วย ก็พูดคุยกันด้วยดีครับ ผมไม่ได้จะทะเลาะวิวาท แค่อยากให้ตระหนักถึงผู้ร่วมใช้ถนนคนอื่น ๆ ที่อาจเดือดร้อนได้ อีกฝ่ายก็โดนเปรียบเทียบปรับไป
โดยสรุปคือ หากมีหลักฐานเพียงพอ ก็ดำเนินการได้ครับ และพนักงานสอบสวนที่ผมไปพบ สภ.เมืองสมุทรสาคร ก็ดำเนินการอย่างดี รวดเร็ว ให้คำปรึกษาอย่างดีครับ
เมื่อผมไปแจ้งความ โดยรถยังไม่ได้ชน
เหตุการณ์ก็อย่างที่เห็น ในมุมมองคนขับคือ ระวังรถทางซ้ายคือรถบรรทุก เมื่อแซงขึ้นหน้าได้ระยะแล้วก็จะเข้าเลนซ้าย เพื่อออกถนนคู่ขนาน โดยไม่คาดคิดว่าจะมีรถจากไหล่ทางด้วยความเร็วสูงขนาดนั้น เพราะจุดนั้นบนถนนพระราม 2 ไหล่ทางจะแคบเข้าเรื่อย ๆ จนไม่มีไหล่ทางด้วยครับ
จริง ๆ แล้วใกล้มาก เกือบจะหักหลบไม่ทัน และคิดว่าเจอคนขับรถโดยไม่ปฏิบัติตามกฏมาเยอะแล้ว และอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก คราวนี้จะต้องไปแจ้งความให้ได้ เพราะเป็นหนทางเดียวที่ปฏิบัติได้ โดยไม่ไปขับรถหาเรื่องอีกฝ่าย (เหมือนภารกิจยิ่งใหญ่) ลองมาหาข้อมูลเหตุการณ์ที่คล้ายกัน เจอแต่การแนะนำให้ไปแจ้งความ แต่ไม่เคยมีใครมาเล่าว่าดำเนินการได้มั้ย อย่างไร และได้ผลลัพธ์อย่างไรบ้าง จึงหาข้อมูลแค่ว่า ควรไปแจ้งความที่สถานีตำรวจไหน เพราะอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว กทม/สมุทรสาคร กรณีแบบนี้ไปแจ้งความแบบไหน และเตรียมใจไปจากความรู้เก่า ๆ ที่ถูกปลูกฝังไว้กับภาพพจน์ตำรวจซึ่งไม่ค่อยดีเท่าไหร่
เช้าวันรุ่งขึ้นตัดสินใจไป สภ.เมืองสมุรสาคร พร้อมพิมพ์ภาพหลักฐาน เตรียมข้อกฏหมาย และไฟล์วิดีโอไปด้วย ก่อนพบพนักงานสอบสวน ตำรวจด้านหน้าซักถามด้วยความสงสัยว่าทะเลาะวิวาทหรือไม่ รู้จักกันมาก่อนหรือไม่ คงจะไม่ค่อยคุ้นเคยหรือไม่มีใครมาแจ้งความลักษณะนี้ และให้นั่งรอพนักงานสอบสวน สักพักก็ได้คุยกับพนักงานสอบสวน ร.ต.ท.รุ่งเรือง เฮงฮู้ (ขออนุญาตเอ่ยชื่อ เพราะผมประทับใจการทำงานครับ) ตำรวจได้ดูคลิปแล้วก็สนทนากันถึงข้อกฏหมาย และการดำเนินการ โดยสรุปก็คือ ซักถามว่าต้องการให้ดำเนินการอย่างไร ตอนแรกผมว่าแค่เรียกมาให้ตำรวจอบรมก็ยังดีครับ แต่ตำรวจบอกว่าเรียกมาอย่างน้อยก็ต้องเปรียบเทียบปรับ แล้วผมถามถึงข้อกฏหมาย พรบ.จราจร มาตรา 43
มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถ
(4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือ ทรัพย์สิน
(5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจ แลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอ แก่ความปลอดภัย
(8) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
ตำรวจก็บอกว่าอาจเข้าข่ายแบบนี้ได้ เป็นมาตราเดียวที่ตำรวจเปรียบเทียบปรับไม่ได้ มีโทษจำคุก และต้องส่งฟ้องศาลเท่านั้น ส่วนจะดำเนินการตามข้อกฏหมายไหนให้อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน ผมก็ไม่ขัดข้องอะไรครับ วิธีการดำเนินการคือ ตำรวจจะเริ่มตรวจสอบเจ้าของรถจากทะเบียน และโทรติดต่อ หากไม่สามารถติดต่อได้ก็จะออกหมายเรียกเป็นจดหมายไปครับ เสร็จจากส่วนนี้ก็หมดหน้าที่พลเมืองดี (เป็นแค่พลเมืองดี ที่แจ้งความแบบกล่าวโทษ เพราะไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง แค่เกือบเสียหาย) หลังจากนี้เป็นหน้าที่ดำเนินการของตำรวจ กับผู้กระทำความผิดครับ
กลับมารอฟังข่าว แค่ 3 วัน เพราะติดวันหยุดยาว วันจันทร์เช้าตำรวจโทรมาแจ้งว่า ตรวจสอบทะเบียนแล้ว ติดต่อคนขับรถได้แล้ว เมื่อคนขับรถมาแล้วดำเนินการอย่างไร จะแจ้งผลให้ทราบ จันทร์บ่ายอีกฝ่ายก็เข้าพบตำรวจครับ ตำรวจโทรมาแจ้งผลการดำเนินคดี และให้ผมคุยกับอีกฝ่ายด้วย ก็พูดคุยกันด้วยดีครับ ผมไม่ได้จะทะเลาะวิวาท แค่อยากให้ตระหนักถึงผู้ร่วมใช้ถนนคนอื่น ๆ ที่อาจเดือดร้อนได้ อีกฝ่ายก็โดนเปรียบเทียบปรับไป
โดยสรุปคือ หากมีหลักฐานเพียงพอ ก็ดำเนินการได้ครับ และพนักงานสอบสวนที่ผมไปพบ สภ.เมืองสมุทรสาคร ก็ดำเนินการอย่างดี รวดเร็ว ให้คำปรึกษาอย่างดีครับ