คู่มือสู่ด้านมืดอย่างสมบูรณ์แบบ
หนังสือ Time ฉบับเดือนพฤษภาคม 1999 หยิบเอา ดาร์ธ มอล มาขึ้นปก พร้อมด้วยคำโปรยปก Your complete guide to phantom menace หรือแปลเป็นไทยในภาษาของเด็กตกภาษาอังกฤษได้ว่า คู่มือที่สมบูรณ์แบบของคุณในการคุกคามของ "มาร"
อนึ่งเหมือน Time จะยอมรับกลายๆ ว่า ดาร์ธ มอล อันเป็นตัวโกงจะเป็นตัวละครที่โดดเด่นมากที่สุดในภาคนี้ ในขณะที่เด็กๆ วัยน้องหนูก็ยังรู้สึกว่า จาร์จาร์ บริงค์ ตลกตามพระตามนางชาวดันแกน ยังดูน่ารักน่าชังกว่า เจ้าตัวแดงมีเขาที่แยกเขี้ยวเอา "พลองแสง" ไล่ฟันเหล่าอัศวินเจได
มันเหมือนเป็นการยอมรับกลายๆ ว่า การกลับมาของ "มาร" ในครั้งนี้ มันแรงจริงๆ หากมองในแง่การตลาด แน่นอนว่าตัวละครที่โดดเด่น อยู่บนปกพร้อมคำโปรยที่ชวนติดตาม มันสามารถเพิ่มยอดขายได้มากพอดู
แต่ในขณะเดียวกัน มันเหมือน Time ยอมรับหรือมองเห็นสิ่งที่ลูกัสแฝงไว้ใน phantom menace ก่อนใครอื่น
"มาร" คือใครนักข่าวของ Time ได้ถามลูกัส
"มาร" คือตัวเรานี่แหละ มันอยู่ในใจเราทุกคน อยู่ที่ว่ามันแสดงออกมาเมื่อไหร่ ลูกัสตอบกลับไป
Your complete guide to phantom menace อาจจะแปลได้อีกอย่างหนึ่งในความคิดผมคือ "คู่มือสู่ด้านมืดที่สมบูรณ์แบบ"
เป็นไงบ้างครับ phantom menace มีอะไรด้านจิตวิญญาณมากกว่า "ยี่เกอวกาศ" เรื่องหนึ่งที่ชาวตะวันตกอย่างลูกัสสร้างสรรค์ไว้บนโลก ชาวตะวันตกที่ครั้งหนึ่งผมเคยดูเบาว่าไม่มีทางเข้าใจในสิ่งอันเป็นนามธรรมมากกว่าชาวตะวันออกอย่างเราๆ ที่ถูกหล่อหลอมด้วยพุทธศานา ปรัชญา อันเป็นนามธรรมเสียส่วนใหญ่
เนื้อหาใน Time ฉบับเดือนพฤษภาคม 1999 อาจจะไม่เกี่ยวอะไรเลยกับที่ผมเขียน เพราะเปิดดูก็เป็นเรื่องย่อ และบทวิจารณ์ของภาพยนต์ Star Wars Epi. I The phantom menace
แต่เนื้อเรื่องตอนหนึ่งที่ ไคว กอน จิน ส่งตัวอย่างเลือดของอนาคินไปให้ โอบีวัน เคนโนบี ตรวจสอบ“มิดิ คลอเรียน” ซึ่งผลการตรวจสอบออกมามีค่าสูงยิ่งกว่าเจไดคนไหนๆ ในจักรวาล และมากกว่าปรมาจารณ์เจได อย่างโยดา
แต่ผลเมดิ-ครอเรียนอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะเจไดจะถูกกำหนดตัวตั้งแต่เกิด เด็กน้อยอนาคินแก่เกินวัยที่จะฝึกศาสตร์แห่งเจได้ แต่เจไดจอมรั้นอย่างไคว กอน จิน ก็นำตัวอนาคินให้สภาสูงเจไดพิจารณาจนได้
เมื่ออนาคินถูกนำตัวเสนอต่อสภาสูงของเจได เด็กน้อยแก่เกินวัย ผู้พ้นจากทาสด้วยการพนัน ยืนอยู่อย่างตื่นๆ ในขณะ ตอบผลทดสอบได้อย่างแม่นยำ
"เจ้ารู้สึกอย่างไร" โยดากล่าวขึ้น
"กลัวครับ"
"เขามีโอกาสเป็นเจไดได้มั้ย" ไคว กอน จินถามต่อปรมาจารย์โยดาเมื่อมีโอกาสสนทนากันสองต่อสอง
"อืม......ความกลัวเป็นหนทางสู่ด้านมืด ด้านมืดคือหนทางสู่มาร" สภาไม่สามารถรับเด็กคนนี้เป็นเจไดได้ โยดาตอบต่อไคว กอน จิน เจไดหัวรั้นที่ขัดขืนมติสภาเจไดอยู่บ่อยๆ
หนังสือธรรมะทีมีอย่างดาษดื่น ล้วนเขียนไปเป็นทิศทางเดียว คือทำความดี ละเว้นความชั่ว หรือพูดให้ง่ายๆ คือ "คู่มือสู่ด้านสว่าง" มันคงแปลกดีไม่น้อยถ้ามี "คู่มือสู่ด้านมืด" ออกมาเพราะถ้าคิดกันเล่นๆ คนที่เดินด้านสว่างมันก็ดีอยู่แล้ว แต่มันคงจะดียิ่งกว่าถ้าคนเดินด้านมืดเกิดกลับตัวกลับใจเขียน "คู่มือสู่ด้านมืดที่สมบูรณ์แบบ" เพื่อออกมาบอกว่า อย่าเดินทางนี้นะผมเดินมาแล้ว มันไม่ดีหรอก
การเรียนรู้ชีวิตไม่จำเป็นต้องเรียนแต่ด้านสว่างตลอด อาจจะเรียนรู้จากด้านมืดบ้างก็ได้ เพราะทั้งดีและชั่วมันก็สอนตัวเราได้เช่นกัน และมันอาจจะทำให้ใครหลายๆ คนพึ่งตระหนักว่า ที่แท้แล้ว มันไม่สามารถแยกขาดออกจากกันได้ว่า ไอ้นี่เลว ไอ้นี่ดี ก็มนุษย์เรามันก็มีดีเลวปนๆ กันไปในตัวคนเดียวกันนี่แหละครับ
แต่ใครสักกี่คนที่จะมองเห็น "ด้านมืดของตนเอง" และเพ่งพินิจคิดพิจารณาในด้านมืดของตน และจะมีใครสักกี่คนที่เพิ่งคิดพิจารณาด้านสว่างแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่เหลียวมองมาด้านมืด
ดาร์ธ มอล ปรากฎตัวอีกครั้งในฉากใกล้จบของเรื่องและได้สั่งหาร ไคว กอน จิน แต่ถูกโอบีวัน เคนโนบี ตัดขาดกลาง 2 ท่อนตกลงไปในปล่องพลังงาน
การตายของไคว กอน จิน ทำให้โอบีวันได้เลื่อนเป็นอัศวินอย่างเต็มตัว ในขณะที่อนาคินได้สิทธิ์พิเศษเป็นเด็กเส้นเข้าสู่การเรียนรู้ศาสตร์แห่งเจได ตอนจบของเรื่องสายตาของอนาคินยังคงตื่นกลัว ขณะเดียวกัน ปรมาจารย์โยดาก็สัมผัสได้ถึง พลังด้านมืดและสายตาที่มีเลศนัยของวุฒิสภาพาลลัลทีน
"ในโลกของเจได "สมดุล" แห่งชีวิตภายใต้วิถีแห่ง "พลัง" คือหนทางที่นำไปสู่ปัญญาและศานติ" โยดากล่าวไว้เมื่อใน Star wars Epi II
นั่นทำให้ผมผู้เขียนที่อ่าน "คู่มือมนุษย์" ของท่านพุทธทาสไม่รู้กี่เที่ยว อยากจะเขียนจดหมายไปขอโทษลูกัส ที่เคยปรามาสว่า เข้าใจนามธรรมน้อยกว่าชาวตะวันออก และ The Phantom menace มันละอ่อนสิ้นดี เพราะสำรวจตรวจดูตัวเองแล้ว ด้านมืดก็ไม่ได้สมดุลกับด้านสว่างสักเท่าไหร่
มันคงจะดีนะครับ ถ้ามีใครเขียน
"คู่มือสู่ด้านมืดอย่างสมบูรณ์แบบ" ออกมาจริงๆ อย่างน้อยผมคนแรกล่ะที่จะซื้ออ่าน อย่างน้อยก็ได้สำรวจและตรวจสอบตัวเอง เผื่อว่าบางทีมันจะพบว่า ด้านสว่างก็ไม่ได้มีมากสักเท่าไหร่ หนำซ้ำด้านมืดก็ไม่ได้มากพอที่จะก้าวเข้าสู่มาร คือคนอย่างผมและคาดว่ามีคนอีกมากที่เอาดีก็ไม่ขึ้น ทำเลวก็ไม่ลง อยู่มันกลางๆ นี่แหละ เลวมั่ง ดีมั่ง
ใน Star Wars ด้านมืด คือ กิเลส ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะฝึกเพื่อจะเอาชนะมัน
หัวใจของ Star Wars คือเรื่องของ กุศลกรรม (ด้านสว่าง) กิเลส (ด้านมืด) การต่อสู้กันของ 2 ฝ่ายนี้ ซึ่งก็คือหลักธรรมคำสอนในทุกๆ ศาสนา เป็นปรัชญาและนามธรรมสูงสุดที่มนุษย์พึงมีได้ ฝึกฝนได้
ณ เวลานี้ ยอมรับครับว่า Star Wars และลูกัส ไม่ละอ่อนอย่างที่ปรามาสไว้
ปรัชญา ศาสนาและจิตวิญญาณใน Star Wars : คู่มือสู่ด้านมืดอย่างสมบูรณ์แบบ
คู่มือสู่ด้านมืดอย่างสมบูรณ์แบบ
หนังสือ Time ฉบับเดือนพฤษภาคม 1999 หยิบเอา ดาร์ธ มอล มาขึ้นปก พร้อมด้วยคำโปรยปก Your complete guide to phantom menace หรือแปลเป็นไทยในภาษาของเด็กตกภาษาอังกฤษได้ว่า คู่มือที่สมบูรณ์แบบของคุณในการคุกคามของ "มาร"
อนึ่งเหมือน Time จะยอมรับกลายๆ ว่า ดาร์ธ มอล อันเป็นตัวโกงจะเป็นตัวละครที่โดดเด่นมากที่สุดในภาคนี้ ในขณะที่เด็กๆ วัยน้องหนูก็ยังรู้สึกว่า จาร์จาร์ บริงค์ ตลกตามพระตามนางชาวดันแกน ยังดูน่ารักน่าชังกว่า เจ้าตัวแดงมีเขาที่แยกเขี้ยวเอา "พลองแสง" ไล่ฟันเหล่าอัศวินเจได
มันเหมือนเป็นการยอมรับกลายๆ ว่า การกลับมาของ "มาร" ในครั้งนี้ มันแรงจริงๆ หากมองในแง่การตลาด แน่นอนว่าตัวละครที่โดดเด่น อยู่บนปกพร้อมคำโปรยที่ชวนติดตาม มันสามารถเพิ่มยอดขายได้มากพอดู
แต่ในขณะเดียวกัน มันเหมือน Time ยอมรับหรือมองเห็นสิ่งที่ลูกัสแฝงไว้ใน phantom menace ก่อนใครอื่น
"มาร" คือใครนักข่าวของ Time ได้ถามลูกัส
"มาร" คือตัวเรานี่แหละ มันอยู่ในใจเราทุกคน อยู่ที่ว่ามันแสดงออกมาเมื่อไหร่ ลูกัสตอบกลับไป
Your complete guide to phantom menace อาจจะแปลได้อีกอย่างหนึ่งในความคิดผมคือ "คู่มือสู่ด้านมืดที่สมบูรณ์แบบ"
เป็นไงบ้างครับ phantom menace มีอะไรด้านจิตวิญญาณมากกว่า "ยี่เกอวกาศ" เรื่องหนึ่งที่ชาวตะวันตกอย่างลูกัสสร้างสรรค์ไว้บนโลก ชาวตะวันตกที่ครั้งหนึ่งผมเคยดูเบาว่าไม่มีทางเข้าใจในสิ่งอันเป็นนามธรรมมากกว่าชาวตะวันออกอย่างเราๆ ที่ถูกหล่อหลอมด้วยพุทธศานา ปรัชญา อันเป็นนามธรรมเสียส่วนใหญ่
เนื้อหาใน Time ฉบับเดือนพฤษภาคม 1999 อาจจะไม่เกี่ยวอะไรเลยกับที่ผมเขียน เพราะเปิดดูก็เป็นเรื่องย่อ และบทวิจารณ์ของภาพยนต์ Star Wars Epi. I The phantom menace
แต่เนื้อเรื่องตอนหนึ่งที่ ไคว กอน จิน ส่งตัวอย่างเลือดของอนาคินไปให้ โอบีวัน เคนโนบี ตรวจสอบ“มิดิ คลอเรียน” ซึ่งผลการตรวจสอบออกมามีค่าสูงยิ่งกว่าเจไดคนไหนๆ ในจักรวาล และมากกว่าปรมาจารณ์เจได อย่างโยดา
แต่ผลเมดิ-ครอเรียนอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะเจไดจะถูกกำหนดตัวตั้งแต่เกิด เด็กน้อยอนาคินแก่เกินวัยที่จะฝึกศาสตร์แห่งเจได้ แต่เจไดจอมรั้นอย่างไคว กอน จิน ก็นำตัวอนาคินให้สภาสูงเจไดพิจารณาจนได้
เมื่ออนาคินถูกนำตัวเสนอต่อสภาสูงของเจได เด็กน้อยแก่เกินวัย ผู้พ้นจากทาสด้วยการพนัน ยืนอยู่อย่างตื่นๆ ในขณะ ตอบผลทดสอบได้อย่างแม่นยำ
"เจ้ารู้สึกอย่างไร" โยดากล่าวขึ้น
"กลัวครับ"
"เขามีโอกาสเป็นเจไดได้มั้ย" ไคว กอน จินถามต่อปรมาจารย์โยดาเมื่อมีโอกาสสนทนากันสองต่อสอง
"อืม......ความกลัวเป็นหนทางสู่ด้านมืด ด้านมืดคือหนทางสู่มาร" สภาไม่สามารถรับเด็กคนนี้เป็นเจไดได้ โยดาตอบต่อไคว กอน จิน เจไดหัวรั้นที่ขัดขืนมติสภาเจไดอยู่บ่อยๆ
หนังสือธรรมะทีมีอย่างดาษดื่น ล้วนเขียนไปเป็นทิศทางเดียว คือทำความดี ละเว้นความชั่ว หรือพูดให้ง่ายๆ คือ "คู่มือสู่ด้านสว่าง" มันคงแปลกดีไม่น้อยถ้ามี "คู่มือสู่ด้านมืด" ออกมาเพราะถ้าคิดกันเล่นๆ คนที่เดินด้านสว่างมันก็ดีอยู่แล้ว แต่มันคงจะดียิ่งกว่าถ้าคนเดินด้านมืดเกิดกลับตัวกลับใจเขียน "คู่มือสู่ด้านมืดที่สมบูรณ์แบบ" เพื่อออกมาบอกว่า อย่าเดินทางนี้นะผมเดินมาแล้ว มันไม่ดีหรอก
การเรียนรู้ชีวิตไม่จำเป็นต้องเรียนแต่ด้านสว่างตลอด อาจจะเรียนรู้จากด้านมืดบ้างก็ได้ เพราะทั้งดีและชั่วมันก็สอนตัวเราได้เช่นกัน และมันอาจจะทำให้ใครหลายๆ คนพึ่งตระหนักว่า ที่แท้แล้ว มันไม่สามารถแยกขาดออกจากกันได้ว่า ไอ้นี่เลว ไอ้นี่ดี ก็มนุษย์เรามันก็มีดีเลวปนๆ กันไปในตัวคนเดียวกันนี่แหละครับ
แต่ใครสักกี่คนที่จะมองเห็น "ด้านมืดของตนเอง" และเพ่งพินิจคิดพิจารณาในด้านมืดของตน และจะมีใครสักกี่คนที่เพิ่งคิดพิจารณาด้านสว่างแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่เหลียวมองมาด้านมืด
ดาร์ธ มอล ปรากฎตัวอีกครั้งในฉากใกล้จบของเรื่องและได้สั่งหาร ไคว กอน จิน แต่ถูกโอบีวัน เคนโนบี ตัดขาดกลาง 2 ท่อนตกลงไปในปล่องพลังงาน
การตายของไคว กอน จิน ทำให้โอบีวันได้เลื่อนเป็นอัศวินอย่างเต็มตัว ในขณะที่อนาคินได้สิทธิ์พิเศษเป็นเด็กเส้นเข้าสู่การเรียนรู้ศาสตร์แห่งเจได ตอนจบของเรื่องสายตาของอนาคินยังคงตื่นกลัว ขณะเดียวกัน ปรมาจารย์โยดาก็สัมผัสได้ถึง พลังด้านมืดและสายตาที่มีเลศนัยของวุฒิสภาพาลลัลทีน
"ในโลกของเจได "สมดุล" แห่งชีวิตภายใต้วิถีแห่ง "พลัง" คือหนทางที่นำไปสู่ปัญญาและศานติ" โยดากล่าวไว้เมื่อใน Star wars Epi II
นั่นทำให้ผมผู้เขียนที่อ่าน "คู่มือมนุษย์" ของท่านพุทธทาสไม่รู้กี่เที่ยว อยากจะเขียนจดหมายไปขอโทษลูกัส ที่เคยปรามาสว่า เข้าใจนามธรรมน้อยกว่าชาวตะวันออก และ The Phantom menace มันละอ่อนสิ้นดี เพราะสำรวจตรวจดูตัวเองแล้ว ด้านมืดก็ไม่ได้สมดุลกับด้านสว่างสักเท่าไหร่
มันคงจะดีนะครับ ถ้ามีใครเขียน "คู่มือสู่ด้านมืดอย่างสมบูรณ์แบบ" ออกมาจริงๆ อย่างน้อยผมคนแรกล่ะที่จะซื้ออ่าน อย่างน้อยก็ได้สำรวจและตรวจสอบตัวเอง เผื่อว่าบางทีมันจะพบว่า ด้านสว่างก็ไม่ได้มีมากสักเท่าไหร่ หนำซ้ำด้านมืดก็ไม่ได้มากพอที่จะก้าวเข้าสู่มาร คือคนอย่างผมและคาดว่ามีคนอีกมากที่เอาดีก็ไม่ขึ้น ทำเลวก็ไม่ลง อยู่มันกลางๆ นี่แหละ เลวมั่ง ดีมั่ง
ใน Star Wars ด้านมืด คือ กิเลส ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะฝึกเพื่อจะเอาชนะมัน
หัวใจของ Star Wars คือเรื่องของ กุศลกรรม (ด้านสว่าง) กิเลส (ด้านมืด) การต่อสู้กันของ 2 ฝ่ายนี้ ซึ่งก็คือหลักธรรมคำสอนในทุกๆ ศาสนา เป็นปรัชญาและนามธรรมสูงสุดที่มนุษย์พึงมีได้ ฝึกฝนได้
ณ เวลานี้ ยอมรับครับว่า Star Wars และลูกัส ไม่ละอ่อนอย่างที่ปรามาสไว้