ก่อนการประมูลคลื่น 1800 ค่ายที่ตกที่นั่งลำบาก คือ ais,true คือถ้า ais,true ไม่ได้คลื่น 1800 ไปทำ 2G/4G จะทำให้คลื่นไม่พอ เน็ตจะช้าเป็นเต่า ทำให้ลูกค้ามีโอกาสย้ายค่ายสูงมาก
แต่เมื่อประมูล 4G 1800 เสร็จแล้ว กลับกลายเป็นว่า dtac หลังพิงฝาแทน ทั้งที่จริง การที่ dtac ไม่ได้คลื่น 1800 ก็ยังไม่เดือดร้อนเท่ากับ ais,true หากไม่ได้คลื่นนี้ไม่ใช่หรือ เพราะถ้า ais,true ไม่ได้คลื่น 1800 การบริการอินเตอร์เน็ตจะด้อยคุณภาพ ลูกค้าย้ายค่ายแน่ แต่ dtac ไม่ได้คลื่นจากการประมูลรอบนี้ก็ยังมีคลื่นที่เหลือเพียงพอในการบริการที่ดี สามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้อยู่ดี
แล้วเหตุผลที่หลายคนมองว่าการที่ dtac ลงทุนทำ 4G 1800 ไม่คุ้มค่าการลงทุนเพราะเป็นคลื่นที่เหลือแค่ 3 ปีภายใต้สัมปทาน cat
ตรงส่วนนี้ต้องไม่ลืมว่า 4G dtac มี 2 คลื่น คือ คลื่น 2100 ซึ่งเป็นระบบใบอนุญาตซึ่งสามารถเพิ่มความกว้างคลื่นจาก 5 mhz เป็น 10 mhz ได้ความเร็วไม่เกิน 75 Mbps และคลื่น 1800 ซึ่งเป็นระบบสัมปทานที่ความกว้างคลื่น 10 mhz ได้ความเร็วไม่เกิน 75 Mbps อยู่แล้ว
หาก dtac เลือกที่จะขยายโครงข่าย 4G แบบประหยัดต้นทุนได้กำไรมาก ก็ไปขยายโครงข่าย 4G 2100 ซึ่งเป็นคลื่นจากการประมูลให้ได้มากๆ แล้ว 4G 1800 เป็นตัวเสริม คอยประคอง 4G 2100 น่าจะ ok กว่า
ตอนนี้ 4G 2100 dtac ครอบคลุมแล้วประมาณ 44 จังหวัด
สมมติว่า dtac ขยาย 4G 2100 ให้ได้ซัก 50 จังหวัด 4G 1800 ซัก 27 จังหวัด ก็เท่ากับว่า dtac 4G ครบ 77 จังหวัด แค่นี้ก็ถือว่ากำไรแล้ว เพียงพอรักษาฐานลูกค้าไว้ได้แล้ว
ผ่านจากช่วงเวลานี้ไปประมาณ 1 ปีครึ่ง-2 ปี เมื่ออัตราผู้ใช้บริการ 4G เพิ่มขึ้นก็ค่อยเพิ่มคว้างคลื่น 4G 2100 จาก 5 mhz เป็น 10 mhz ได้ความเร็วไม่เกิน 75 Mbps ก็แจ่มแล้ว
ถึงตอนนั้นเท่ากับว่า dtac มี 4G 1800 ที่ 10 mhz 4G 2100 ที่ 10 mhz
โครงข่าย 4G dtac ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดและบริเวณไหนผู้ใช้บริการ dtac 4G หนาแน่น ก็ให้บริการทั้ง 4G 1800 และ 4G 2100 ในพื้นที่เดียวกันไปเลย ส่วนพื้นที่ชนบทห่างไกล มีผู้คนน้อย หรือพื้นที่ๆคลื่น 2100 ส่งสัญญาณไม่ถึงก็เน้น 4G 1800 เพราะคลื่น 1800 ส่งสัญญาณได้ครอบคลุมทั่วถึงกว่า
เมื่อคลื่น 1800 dtac หมดสัญญาปลายปี 61 แล้วถูกนำไปประมูลช่วงต้นปี 62 หรืออาจจะกลางปี 62 สถานการณ์ในการประมูล 1800 ครั้งหน้า จะมีเหตุปัจจัยให้เบากว่าปี 58 มาก เพราะประมูลปี 58 ทาง ais,true นั้นหลังพิงฝา ais ต้องการคลื่นเพื่อความอยู่รอดของบริษัท true ต้องการคลื่นเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ ตอนนี้ทั้ง 2 ค่ายก็ได้คลื่นเพียงพอต่อการทำธุรกิจการสื่อสารแล้ว การประมูลครั้งหน้าจึงไม่ตึงเครียดเท่าการประมูลครั้งนี้แน่นอน
อีกเหตุผลก็คือ การที่ 5G ถูกกำหนดให้เปิดบริการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 63 ก็ส่งผลให้จะต้องมีการประมูลคลื่นความถี่ที่ใช้กับ 5G ซึ่งตามข่าวล่าสุดน่าจะเป็นคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าคลื่น 1800 ทำให้ค่ายต่างๆต้องคิดกันแล้วว่าจะทุ่งงบประมาณอย่างเต็มที่กับคลื่นความถี่ที่นิยมใช้ทำ 4G ในช่วงเวลาที่ 4G กำลังตกยุคอย่างนั้นหรือ
ถ้าเป็นแบบนี้เอาเงินไปประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 5G และลงทุนวางโครงข่าย 5G ไม่คุ้มค่ากว่าหรือ
จึงสรุปว่า การประมูลคลื่น 1800 ครั้งหน้าจึงไม่น่าตึงเครียดเท่าไรนัก ส่วน dtac สามารถขยายโครงข่าย 4G 2100 เป็นหลัก และเอา 4G 1800 เป็นตัวหนุนอีกทีก็ได้ น่าจะได้กำไรดีกว่าด้วย
Dtac แพ้ประมูลคลื่น 1800 แล้วหลังพิงฝาจริงหรือ
แต่เมื่อประมูล 4G 1800 เสร็จแล้ว กลับกลายเป็นว่า dtac หลังพิงฝาแทน ทั้งที่จริง การที่ dtac ไม่ได้คลื่น 1800 ก็ยังไม่เดือดร้อนเท่ากับ ais,true หากไม่ได้คลื่นนี้ไม่ใช่หรือ เพราะถ้า ais,true ไม่ได้คลื่น 1800 การบริการอินเตอร์เน็ตจะด้อยคุณภาพ ลูกค้าย้ายค่ายแน่ แต่ dtac ไม่ได้คลื่นจากการประมูลรอบนี้ก็ยังมีคลื่นที่เหลือเพียงพอในการบริการที่ดี สามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้อยู่ดี
แล้วเหตุผลที่หลายคนมองว่าการที่ dtac ลงทุนทำ 4G 1800 ไม่คุ้มค่าการลงทุนเพราะเป็นคลื่นที่เหลือแค่ 3 ปีภายใต้สัมปทาน cat
ตรงส่วนนี้ต้องไม่ลืมว่า 4G dtac มี 2 คลื่น คือ คลื่น 2100 ซึ่งเป็นระบบใบอนุญาตซึ่งสามารถเพิ่มความกว้างคลื่นจาก 5 mhz เป็น 10 mhz ได้ความเร็วไม่เกิน 75 Mbps และคลื่น 1800 ซึ่งเป็นระบบสัมปทานที่ความกว้างคลื่น 10 mhz ได้ความเร็วไม่เกิน 75 Mbps อยู่แล้ว
หาก dtac เลือกที่จะขยายโครงข่าย 4G แบบประหยัดต้นทุนได้กำไรมาก ก็ไปขยายโครงข่าย 4G 2100 ซึ่งเป็นคลื่นจากการประมูลให้ได้มากๆ แล้ว 4G 1800 เป็นตัวเสริม คอยประคอง 4G 2100 น่าจะ ok กว่า
ตอนนี้ 4G 2100 dtac ครอบคลุมแล้วประมาณ 44 จังหวัด
สมมติว่า dtac ขยาย 4G 2100 ให้ได้ซัก 50 จังหวัด 4G 1800 ซัก 27 จังหวัด ก็เท่ากับว่า dtac 4G ครบ 77 จังหวัด แค่นี้ก็ถือว่ากำไรแล้ว เพียงพอรักษาฐานลูกค้าไว้ได้แล้ว
ผ่านจากช่วงเวลานี้ไปประมาณ 1 ปีครึ่ง-2 ปี เมื่ออัตราผู้ใช้บริการ 4G เพิ่มขึ้นก็ค่อยเพิ่มคว้างคลื่น 4G 2100 จาก 5 mhz เป็น 10 mhz ได้ความเร็วไม่เกิน 75 Mbps ก็แจ่มแล้ว
ถึงตอนนั้นเท่ากับว่า dtac มี 4G 1800 ที่ 10 mhz 4G 2100 ที่ 10 mhz
โครงข่าย 4G dtac ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดและบริเวณไหนผู้ใช้บริการ dtac 4G หนาแน่น ก็ให้บริการทั้ง 4G 1800 และ 4G 2100 ในพื้นที่เดียวกันไปเลย ส่วนพื้นที่ชนบทห่างไกล มีผู้คนน้อย หรือพื้นที่ๆคลื่น 2100 ส่งสัญญาณไม่ถึงก็เน้น 4G 1800 เพราะคลื่น 1800 ส่งสัญญาณได้ครอบคลุมทั่วถึงกว่า
เมื่อคลื่น 1800 dtac หมดสัญญาปลายปี 61 แล้วถูกนำไปประมูลช่วงต้นปี 62 หรืออาจจะกลางปี 62 สถานการณ์ในการประมูล 1800 ครั้งหน้า จะมีเหตุปัจจัยให้เบากว่าปี 58 มาก เพราะประมูลปี 58 ทาง ais,true นั้นหลังพิงฝา ais ต้องการคลื่นเพื่อความอยู่รอดของบริษัท true ต้องการคลื่นเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ ตอนนี้ทั้ง 2 ค่ายก็ได้คลื่นเพียงพอต่อการทำธุรกิจการสื่อสารแล้ว การประมูลครั้งหน้าจึงไม่ตึงเครียดเท่าการประมูลครั้งนี้แน่นอน
อีกเหตุผลก็คือ การที่ 5G ถูกกำหนดให้เปิดบริการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 63 ก็ส่งผลให้จะต้องมีการประมูลคลื่นความถี่ที่ใช้กับ 5G ซึ่งตามข่าวล่าสุดน่าจะเป็นคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าคลื่น 1800 ทำให้ค่ายต่างๆต้องคิดกันแล้วว่าจะทุ่งงบประมาณอย่างเต็มที่กับคลื่นความถี่ที่นิยมใช้ทำ 4G ในช่วงเวลาที่ 4G กำลังตกยุคอย่างนั้นหรือ
ถ้าเป็นแบบนี้เอาเงินไปประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 5G และลงทุนวางโครงข่าย 5G ไม่คุ้มค่ากว่าหรือ
จึงสรุปว่า การประมูลคลื่น 1800 ครั้งหน้าจึงไม่น่าตึงเครียดเท่าไรนัก ส่วน dtac สามารถขยายโครงข่าย 4G 2100 เป็นหลัก และเอา 4G 1800 เป็นตัวหนุนอีกทีก็ได้ น่าจะได้กำไรดีกว่าด้วย