ระหว่างรอลุ้นว่าใครจะชนะการประมูล 4G เลยเอาข่าวเก่าๆมาให้อ่าน
พอดีได้ยินนักข่าวไทยรัฐทีวี บอกว่า
"การประมูลนี้คงไม่ยาวนานเหมือนการประมูลที่เยอรมัน ที่ใช้เวลาถึง 4 เดือน"
เลยไปหาข้อมูลใน Google แต่เจอแค่ข้าวนี้
*************************************************************************
https://www.blognone.com/news/16468/ประมูลคลื่นเยอรมัน-จบที่-175-แสนล้านบาท
เนื้อข่าว
แม้จะไม่โด่งดังเท่ากับการประมูลคลื่น 3G ในอินเดีย แต่การประมูลคลื่นความถี่ในเยอรมันก็เพิ่งปิดฉากลงในเวลาไล่เลี่ยกันหลังจากผ่านมา 27 วัน 224 รอบ ในวันที่ 20 พ.ค. 2553 ที่ผ่านมา งานนี้รัฐบาลเยอรมันได้ไปราว 1.75 แสนล้านบาท
การประมูลเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2553 โดยให้ประมูลใน 4 ย่านความถี่พร้อมๆ กันคือ ย่าน 800MHz (paired), ย่าน 1800 MHz (paired), ย่าน 2 GHz (paired และ unpaired) และย่าน 2.6 GHz (paired และ unpaired) ผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 4 รายล้วนเป็นผู้ให้บริการรายปัจจุบันของเยอรมันทั้งสิ้นคือ Deutsche telekom (T-Mobile), Vodafone, Telefonica (O2), และ E-Plus
ความถี่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือย่าน 800 MHz (paired) ซึ่งเป็นความถี่ที่เรียกว่า digital dividend band เป็นย่านที่ก่อนหน้านี้เคยถูกใช้ให้บริการโทรทัศน์ (broadcast service) แต่ถูกนำกลับมาจัดสรรใหม่ (refarm) เพื่อให้บริการโทรคมนาคม (telecommunications service) ความถี่ในย่านนี้ถือเป็นความถี่ีที่ต่ำ (กว่าในย่านอื่นๆ) จึงมีคุณสมบัติในการแพร่กระจายคลื่นได้ดีกว่า ไกลกว่า ซึ่งช่วยลดต้นทุนการวางโครงข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท มูลค่าของความถี่ในย่าน 800 MHz (paired) เพียงย่านเดียวสูงถึง 1.47 แสนล้านบาท คิดเป็นราว 85% ของมูลค่าการประมูลรวมของความถี่ทุกย่าน ความถี่ในย่านนี้มีให้ประมูลเพียง 6 สล็อต สล็อตละ 2x5 MHz หรือเฉลี่ยราคาสล็อตละ 2.4 หมื่นล้านบาท มีเพียง E-Plus เท่านั้นที่ไม่ได้ความถี่ในย่านนี้ไป ความถี่ในย่านนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะนำไปใช้สำหรับให้บริการ LTE ในขณะความถี่ในย่าน 2.6 GHz (paired) ซึ่งสามารถให้บริการ LTE ได้เช่นกลับมีมูลค่าเพียงสล็อตละ 720 ล้านบาทเท่านั้น
ความถี่ในย่าน 1800 MHz (paried) สำหรับให้บริการ 2G และความถี่ในย่าน 2.1 GHz (paired) สำหรับให้บริการ 3G อยู่ที่ราคาเฉลี่ยสล็อตละ 800 ล้านบาท และ 720 ล้านบาท นี่อาจแสดงว่าผู้ให้บริการชาวเยอรมันมองว่ามูลค่าจริงๆ ของบริการ 2G สูงกว่า 3G เสียอีก!
รายละเอียดการประมูลรอบสุดท้ายสามารถดูได้ที่นี่ (ภาษาเยอรมัน)
การประมูลครั้งนี้ทำเงินได้น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ไว้ เมื่อปี 2000 เยอรมันเคยทำสถิติโลกสร้างรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 3G ไว้สูงถึง 2 ล้านล้านบาทและยังไม่มีใคร (อยากจะ) ทำลายสถิติได้!
ประมูลคลื่นความถี่ในเยอรมัน ใช้เวลา 27 วัน 224 รอบ (ข่าวเก่า)
พอดีได้ยินนักข่าวไทยรัฐทีวี บอกว่า
"การประมูลนี้คงไม่ยาวนานเหมือนการประมูลที่เยอรมัน ที่ใช้เวลาถึง 4 เดือน"
เลยไปหาข้อมูลใน Google แต่เจอแค่ข้าวนี้
*************************************************************************
https://www.blognone.com/news/16468/ประมูลคลื่นเยอรมัน-จบที่-175-แสนล้านบาท
เนื้อข่าว
แม้จะไม่โด่งดังเท่ากับการประมูลคลื่น 3G ในอินเดีย แต่การประมูลคลื่นความถี่ในเยอรมันก็เพิ่งปิดฉากลงในเวลาไล่เลี่ยกันหลังจากผ่านมา 27 วัน 224 รอบ ในวันที่ 20 พ.ค. 2553 ที่ผ่านมา งานนี้รัฐบาลเยอรมันได้ไปราว 1.75 แสนล้านบาท
การประมูลเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2553 โดยให้ประมูลใน 4 ย่านความถี่พร้อมๆ กันคือ ย่าน 800MHz (paired), ย่าน 1800 MHz (paired), ย่าน 2 GHz (paired และ unpaired) และย่าน 2.6 GHz (paired และ unpaired) ผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 4 รายล้วนเป็นผู้ให้บริการรายปัจจุบันของเยอรมันทั้งสิ้นคือ Deutsche telekom (T-Mobile), Vodafone, Telefonica (O2), และ E-Plus
ความถี่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือย่าน 800 MHz (paired) ซึ่งเป็นความถี่ที่เรียกว่า digital dividend band เป็นย่านที่ก่อนหน้านี้เคยถูกใช้ให้บริการโทรทัศน์ (broadcast service) แต่ถูกนำกลับมาจัดสรรใหม่ (refarm) เพื่อให้บริการโทรคมนาคม (telecommunications service) ความถี่ในย่านนี้ถือเป็นความถี่ีที่ต่ำ (กว่าในย่านอื่นๆ) จึงมีคุณสมบัติในการแพร่กระจายคลื่นได้ดีกว่า ไกลกว่า ซึ่งช่วยลดต้นทุนการวางโครงข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท มูลค่าของความถี่ในย่าน 800 MHz (paired) เพียงย่านเดียวสูงถึง 1.47 แสนล้านบาท คิดเป็นราว 85% ของมูลค่าการประมูลรวมของความถี่ทุกย่าน ความถี่ในย่านนี้มีให้ประมูลเพียง 6 สล็อต สล็อตละ 2x5 MHz หรือเฉลี่ยราคาสล็อตละ 2.4 หมื่นล้านบาท มีเพียง E-Plus เท่านั้นที่ไม่ได้ความถี่ในย่านนี้ไป ความถี่ในย่านนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะนำไปใช้สำหรับให้บริการ LTE ในขณะความถี่ในย่าน 2.6 GHz (paired) ซึ่งสามารถให้บริการ LTE ได้เช่นกลับมีมูลค่าเพียงสล็อตละ 720 ล้านบาทเท่านั้น
ความถี่ในย่าน 1800 MHz (paried) สำหรับให้บริการ 2G และความถี่ในย่าน 2.1 GHz (paired) สำหรับให้บริการ 3G อยู่ที่ราคาเฉลี่ยสล็อตละ 800 ล้านบาท และ 720 ล้านบาท นี่อาจแสดงว่าผู้ให้บริการชาวเยอรมันมองว่ามูลค่าจริงๆ ของบริการ 2G สูงกว่า 3G เสียอีก!
รายละเอียดการประมูลรอบสุดท้ายสามารถดูได้ที่นี่ (ภาษาเยอรมัน)
การประมูลครั้งนี้ทำเงินได้น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ไว้ เมื่อปี 2000 เยอรมันเคยทำสถิติโลกสร้างรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 3G ไว้สูงถึง 2 ล้านล้านบาทและยังไม่มีใคร (อยากจะ) ทำลายสถิติได้!