ประมูลกันยังไง ทำไม ? 4G แพงแต่ 3G แสนถูก
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ยังเป็นที่จดจำสำหรับผลการประมูล3G คลื่น 2.1 GHz โดย "กสทช." เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (16 ต.ค. 2555) เมื่อ 3 ค่ายมือถือคว้าไลเซนส์ไปแบบแทบไม่สามารถเรียกได้ว่า "แข่งขัน" เพราะบางบริษัทไม่ได้เคาะราคาเลยสักครั้ง ได้เงิน เข้ารัฐรวมกัน 41,625 ล้านบาท สูงกว่าราคา ตั้งต้นประมูลแค่ 2.78% ช่างแตกต่างกับการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เพิ่งจบลงไป เพราะแข่งกันดุเดือดเลือดสาด ปั่นราคาคลื่นทะลุราคาตั้งต้นไปกว่า 157.58% ได้เงินเบ็ดเสร็จกว่า 80,000 ล้านบาท
ทำไมและอะไรทำให้ราคาการประมูลคลื่น 2.1 GHz ของ 3G ถึงถูกกว่า 1800 MHz ของ 4G ราวฟ้ากับเหว
"พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ด้วยคุณภาพของคลื่นและสถานการณ์ในการประมูลที่ ต่างกัน ส่งผลให้ราคาต่างกัน
"
แม้การประมูล 3G อยู่ในช่วงที่ค่าย มือถือต้องการคลื่น แต่ 2.1GHz ให้บริการ 4G ไม่ได้ดีนัก ค่ายมือถือต้องไปเจรจากับผู้ผลิตแฮนด์เซตเพื่อให้มีเครื่องรองรับ 4G บน 2.1 GHz เอง ถึงจะมีเครื่องให้ลูกค้าใช้ ต่างจาก 1800 MHz ที่ให้บริการ 4G ได้ดี ทั้งรองรับเทคโนโลยี 5G ที่คาดการณ์กันว่าอีก 5 ปีจะเริ่มเห็นการประมูล 5G"
ทั้งอย่างน้อยอีก 5 ปี จึงจะมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่านใหม่
"เวลานี้ถ้าประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ได้ เท่ากับขาดโอกาสทางธุรกิจไปอีกหลายปี ถือว่าพลาดแล้วพลาดยาว ยุคนี้ธุรกิจต่างมองหาทรัพยากรที่จะนำไปต่อยอดได้ และกำลังอยู่ในช่วงเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเสนอราคาจึงไม่ใช่แค่แสวงหากำไร แต่เป็นการสกัดไม่ให้คู่แข่งเข้าถึงทรัพยากรด้วย ในสายตาคนนอกอาจมองว่าประมูลแพงมาก ราคาสูง แต่ในทางธุรกิจย่อมวิเคราะห์ความคุ้มค่าและไม่ได้มองว่าเป็นราคาที่โอเว่อร์เกินไป"
ขณะที่ "กทค." ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" มองว่า การแข่งเสนอราคาชิงคลื่น 1800 MHz มากกว่าตอนประมูล 3G เนื่องจาก 1.ประสบการณ์จากการประมูล 3G ทำ กสทช.ทราบถึงพฤติกรรมของผู้เข้าประมูลจึงออกแบบการประมูลให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เข้าประมูลได้ ด้วยการให้ใบอนุญาตมีจำนวนน้อยกว่าโอเปอเรเตอร์ เพื่อบีบให้ผู้เข้าประมูลต้องแข่งกัน
2.ผู้ประกอบการที่เคยเป็นผู้รับสัมปทานใช้คลื่นที่ กสทช.จะนำออกประมูลในขณะนี้ ล้วนต้องการรักษาพื้นที่ของตนเองให้มีคลื่นใช้ได้ตามเดิม และเนื่องจากเอไอเอส อยู่ในจุดที่จำเป็นต้องมีคลื่นความถี่เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าจึงเกิดการแข่งขันเพื่อชิงคลื่นไปไว้ในมือมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดมากกว่าครั้งก่อน
จากนี้คงต้องจับตาว่า ความดุเดือดในการชิงคลื่น 1800 MHz จะส่งผลกระทบกับการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ กสทช.จะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.นี้หรือไม่
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (หน้า 28)
ประมูลกันยังไง ทำไม ? 4G แพงแต่ 3G แสนถูก
ประมูลกันยังไง ทำไม ? 4G แพงแต่ 3G แสนถูก
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ยังเป็นที่จดจำสำหรับผลการประมูล3G คลื่น 2.1 GHz โดย "กสทช." เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (16 ต.ค. 2555) เมื่อ 3 ค่ายมือถือคว้าไลเซนส์ไปแบบแทบไม่สามารถเรียกได้ว่า "แข่งขัน" เพราะบางบริษัทไม่ได้เคาะราคาเลยสักครั้ง ได้เงิน เข้ารัฐรวมกัน 41,625 ล้านบาท สูงกว่าราคา ตั้งต้นประมูลแค่ 2.78% ช่างแตกต่างกับการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เพิ่งจบลงไป เพราะแข่งกันดุเดือดเลือดสาด ปั่นราคาคลื่นทะลุราคาตั้งต้นไปกว่า 157.58% ได้เงินเบ็ดเสร็จกว่า 80,000 ล้านบาท
ทำไมและอะไรทำให้ราคาการประมูลคลื่น 2.1 GHz ของ 3G ถึงถูกกว่า 1800 MHz ของ 4G ราวฟ้ากับเหว
"พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ด้วยคุณภาพของคลื่นและสถานการณ์ในการประมูลที่ ต่างกัน ส่งผลให้ราคาต่างกัน
"แม้การประมูล 3G อยู่ในช่วงที่ค่าย มือถือต้องการคลื่น แต่ 2.1GHz ให้บริการ 4G ไม่ได้ดีนัก ค่ายมือถือต้องไปเจรจากับผู้ผลิตแฮนด์เซตเพื่อให้มีเครื่องรองรับ 4G บน 2.1 GHz เอง ถึงจะมีเครื่องให้ลูกค้าใช้ ต่างจาก 1800 MHz ที่ให้บริการ 4G ได้ดี ทั้งรองรับเทคโนโลยี 5G ที่คาดการณ์กันว่าอีก 5 ปีจะเริ่มเห็นการประมูล 5G"
ทั้งอย่างน้อยอีก 5 ปี จึงจะมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่านใหม่
"เวลานี้ถ้าประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ได้ เท่ากับขาดโอกาสทางธุรกิจไปอีกหลายปี ถือว่าพลาดแล้วพลาดยาว ยุคนี้ธุรกิจต่างมองหาทรัพยากรที่จะนำไปต่อยอดได้ และกำลังอยู่ในช่วงเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเสนอราคาจึงไม่ใช่แค่แสวงหากำไร แต่เป็นการสกัดไม่ให้คู่แข่งเข้าถึงทรัพยากรด้วย ในสายตาคนนอกอาจมองว่าประมูลแพงมาก ราคาสูง แต่ในทางธุรกิจย่อมวิเคราะห์ความคุ้มค่าและไม่ได้มองว่าเป็นราคาที่โอเว่อร์เกินไป"
ขณะที่ "กทค." ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" มองว่า การแข่งเสนอราคาชิงคลื่น 1800 MHz มากกว่าตอนประมูล 3G เนื่องจาก 1.ประสบการณ์จากการประมูล 3G ทำ กสทช.ทราบถึงพฤติกรรมของผู้เข้าประมูลจึงออกแบบการประมูลให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เข้าประมูลได้ ด้วยการให้ใบอนุญาตมีจำนวนน้อยกว่าโอเปอเรเตอร์ เพื่อบีบให้ผู้เข้าประมูลต้องแข่งกัน
2.ผู้ประกอบการที่เคยเป็นผู้รับสัมปทานใช้คลื่นที่ กสทช.จะนำออกประมูลในขณะนี้ ล้วนต้องการรักษาพื้นที่ของตนเองให้มีคลื่นใช้ได้ตามเดิม และเนื่องจากเอไอเอส อยู่ในจุดที่จำเป็นต้องมีคลื่นความถี่เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าจึงเกิดการแข่งขันเพื่อชิงคลื่นไปไว้ในมือมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดมากกว่าครั้งก่อน
จากนี้คงต้องจับตาว่า ความดุเดือดในการชิงคลื่น 1800 MHz จะส่งผลกระทบกับการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ กสทช.จะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.นี้หรือไม่
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (หน้า 28)