ราชดำเนิน * ลุ้น "การบินไทย" ประกาศผลไตรมาส 3 ขาดทุน 1.1 หมื่นล้าน จับตาทั้งปี 58 ส่อเค้าขาดทุนทะลุ 2.1 หมื่นล้านบาท ด้าน "อาคม" แนะยึดโมเดลสายการบินเอกชน จี้ปรับกลยุทธ์-ผ่าโครงสร้างองค์กร โละพนักงานอาวุโสจ้างเด็กใหม่ ช่วยลดต้นทุน เคลื่อนงานเร็ว
แหล่งข่าวจาก บมจ.การ บินไทย เปิดเผยว่า ภายในกลางเดือน พ.ย.นี้ การบินไทยจะมีการแถลงผลดำเนินงานไตรมาส 3 ของปี 2558 คาดว่าจะขาดทุนไม่น้อยกว่า 11,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มไตรมาส 4 ของปีนี้อาจขาดทุนเช่นกัน ในขณะที่ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ของปีนี้ มีกำไร 4,400 ล้านบาท และไตรมาส 2 ขาดทุน 12,759 ล้านบาท ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่ผลการดำเนินงานในปี 2558 น่าจะขาดทุนมากที่สุด ตั้งแต่มีการก่อตั้งการบินไทย ซึ่งอาจมากกว่าปี 2551 ที่เคยขาดทุนสูงสุดถึง 21,379 ล้านบาท
ทั้งนี้แม้ว่าการดำเนินงานในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เป็นไปตามแผนการปฏิรูปที่การบินไทยได้ว่าจ้างที่ปรึกษาต่างชาติคือบริษัท BAIN ที่มีข้อเสนอส่วนใหญ่ให้ลดกำลังการผลิตต่างๆ ลดต้นทุนและปรับลดพนักงาน ส่วนการปรับลดรายจ่าย และยกเลิกเส้นทางบินที่ขาดทุน รวมทั้งการเสนอให้มีการขายทรัพย์สินทั้งที่ดินและอาคารสำนักงาน บ้านพักในและต่างประเทศ การปลดระวางเครื่องบินเก่า และเร่งจำหน่าย ไม่ปรากฏแผนการเพิ่มรายได้หรือเพิ่มยอดขาย โดยเฉพาะอัตราการบรรทุกของผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 80% รวมไปถึงอัตรากำไรต่อที่นั่ง (Yield) ก็ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นทั้งที่ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ต้นทุนน้ำมันลดลงมาก ซึ่งสวนทางกับสายการบินต่างๆ
"แผนการปฏิรูปการบิน ไทยเป้าหมาย คือการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ แต่ผลที่เกิดขึ้นลดรายจ่ายได้น้อย แต่รายได้ลดลงมากกว่า" แหล่งข่าวจากการบินไทยกล่าว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ทีมผู้บริหารของการบินไทยอยู่ระหว่างวางแผนการแก้ไขปัญหาขาดทุนและแผนปฏิรูป หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เร่งรัดและปรับลดอัตราค่าตอบแทน และสวัสดิการของพนักงานระดับสูงลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย พร้อมให้รายงานแผนดังกล่าวภายในวันที่ 30 พ.ย.นี้
"ประเด็นสำคัญของการ บินไทยตอนนี้ ทำงานค่อนข้างอุ้ยอ้าย เกิดปัญหาเดิมๆ ขึ้น ที่สะสมมานาน ในขณะที่พนักงานการบินไทยมีอายุเยอะมาก ผิดกับสายการบินอื่นที่กำหนดค่าเฉลี่ยอายุพนักงานอายุน้อยและมีการเกษียณที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพนักงานใหม่ๆ ที่ยังมีไฟเข้ามาทำงาน เป็นโมเดลที่หลายองค์กรใช้กัน รวมทั้งที่ผ่านมาฝ่ายขายของการบินไทยไม่ได้กำหนดโจทย์เป้าหมายสำนักงานต่างๆ ในขณะที่อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบินแฟกเตอร์) ก็ไม่เข้าเป้า เพราะพนักงานก็ไม่มีความกระ ตือรือร้น" นายอาคมกล่าว.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
อ่านต่อได้ที่ :
http://www.ryt9.com/s/tpd/2293812
ไตรมาส 3 การบินไทย ขาดทุน10,000ล้าน 'อาคม' จี้โละพนักงานอาวุโสจ้างเด็กใหม่
แหล่งข่าวจาก บมจ.การ บินไทย เปิดเผยว่า ภายในกลางเดือน พ.ย.นี้ การบินไทยจะมีการแถลงผลดำเนินงานไตรมาส 3 ของปี 2558 คาดว่าจะขาดทุนไม่น้อยกว่า 11,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มไตรมาส 4 ของปีนี้อาจขาดทุนเช่นกัน ในขณะที่ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ของปีนี้ มีกำไร 4,400 ล้านบาท และไตรมาส 2 ขาดทุน 12,759 ล้านบาท ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่ผลการดำเนินงานในปี 2558 น่าจะขาดทุนมากที่สุด ตั้งแต่มีการก่อตั้งการบินไทย ซึ่งอาจมากกว่าปี 2551 ที่เคยขาดทุนสูงสุดถึง 21,379 ล้านบาท
ทั้งนี้แม้ว่าการดำเนินงานในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เป็นไปตามแผนการปฏิรูปที่การบินไทยได้ว่าจ้างที่ปรึกษาต่างชาติคือบริษัท BAIN ที่มีข้อเสนอส่วนใหญ่ให้ลดกำลังการผลิตต่างๆ ลดต้นทุนและปรับลดพนักงาน ส่วนการปรับลดรายจ่าย และยกเลิกเส้นทางบินที่ขาดทุน รวมทั้งการเสนอให้มีการขายทรัพย์สินทั้งที่ดินและอาคารสำนักงาน บ้านพักในและต่างประเทศ การปลดระวางเครื่องบินเก่า และเร่งจำหน่าย ไม่ปรากฏแผนการเพิ่มรายได้หรือเพิ่มยอดขาย โดยเฉพาะอัตราการบรรทุกของผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 80% รวมไปถึงอัตรากำไรต่อที่นั่ง (Yield) ก็ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นทั้งที่ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ต้นทุนน้ำมันลดลงมาก ซึ่งสวนทางกับสายการบินต่างๆ
"แผนการปฏิรูปการบิน ไทยเป้าหมาย คือการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ แต่ผลที่เกิดขึ้นลดรายจ่ายได้น้อย แต่รายได้ลดลงมากกว่า" แหล่งข่าวจากการบินไทยกล่าว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ทีมผู้บริหารของการบินไทยอยู่ระหว่างวางแผนการแก้ไขปัญหาขาดทุนและแผนปฏิรูป หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เร่งรัดและปรับลดอัตราค่าตอบแทน และสวัสดิการของพนักงานระดับสูงลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย พร้อมให้รายงานแผนดังกล่าวภายในวันที่ 30 พ.ย.นี้
"ประเด็นสำคัญของการ บินไทยตอนนี้ ทำงานค่อนข้างอุ้ยอ้าย เกิดปัญหาเดิมๆ ขึ้น ที่สะสมมานาน ในขณะที่พนักงานการบินไทยมีอายุเยอะมาก ผิดกับสายการบินอื่นที่กำหนดค่าเฉลี่ยอายุพนักงานอายุน้อยและมีการเกษียณที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพนักงานใหม่ๆ ที่ยังมีไฟเข้ามาทำงาน เป็นโมเดลที่หลายองค์กรใช้กัน รวมทั้งที่ผ่านมาฝ่ายขายของการบินไทยไม่ได้กำหนดโจทย์เป้าหมายสำนักงานต่างๆ ในขณะที่อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบินแฟกเตอร์) ก็ไม่เข้าเป้า เพราะพนักงานก็ไม่มีความกระ ตือรือร้น" นายอาคมกล่าว.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/2293812