แฟลร์คืออะไร?
เชื่อว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตการถ่ายภาพหรืออาจจะอีกหลายๆครั้ง ผู้เรียนจะต้องทำความรู้จักกับแฟลร์ (จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามที) แฟลร์เป็นอาการของแสงที่สะท้อนไปมาในระบบกลไกของเลนส์เนื่องจากมีการหันหน้าเข้าหาแสงที่มีความเข้มสูงในมุมที่พอเหมาะ เมื่อแสงดังกล่าวตกกระทบไปยังเซ็นเซอร์จะทำให้เกิดลักษณะเหมือนจุดของแสงใหญ่ๆ รายละเอียดในนั้นจะมีความซีดจางและเปรียบต่างต่ำ
รูปร่างของแสงแฟลร์ขึ้นอยู่กับรูปร่างของไดอะแฟรมรูรับแสงของเลนส์ เลนส์ชนิดไหนให้โบเก้อย่างไรแฟลร์ก็จะเป็นอย่างนั้น จึงมีแฟลร์หลากหลายรูปแบบมากมาย ตั้งแต่วงกลมไปจนถึงลักษณะเป็นเหลี่ยมๆ
หลายคนมองว่าข้อบกพร่องนี้หรือปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่สวยงามเพราะช่วยเพิ่มอารมณ์ให้กับภาพจึงหาวิธีสร้างขึ้นมา บางคนพยายามทำให้มันเกิดขึ้นแต่ก็ยากเนื่องจากเลนส์ดีๆในปัจจุบันเคลือบสารเคมีต่อต้านการสะท้อนภายในเลนส์ ทำให้เราพบอาการนี้น้อยลงเรื่อยๆนั่นเอง
แฟลร์ประดิษฐ์ใน Lightroom CC
แฟลร์ที่เกิดขึ้นจากเลนส์โดยตรงอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับช่างภาพหลายๆคน พวกเขาจึงเลือกถ่ายภาพมาให้สมบูรณ์ครบถ้วนแล้ววางแผนว่าควรมีแฟลร์ในจุดที่กำหนดเอาไว้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ผิดในการขยายขีดความสามารถเพื่อสร้างสรรค์ภาพ แต่ถึงอย่างนั้นการศึกษาทิศทางของแสงหรือการวางตำแหน่งของแสงแฟลร์ประดิษฐ์อย่างไรในภาพให้แนบเนียนที่สุดก็นับเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่ง
และตอนนี้เราได้เรียนรู้แล้วว่าทิศทางของแฟลร์นั้นมักเกิดเป็นเส้นตรง มีความฟุ้งกระจาย และเกิดความเปรียบต่างที่ต่ำในบริเวณแสงเหล่านั้น นอกจากนี้การสังเกตสีลักษณะธรรมชาติของแสงแฟลร์ที่เกิดขึ้นทำให้เราเลือกสีที่จะใช้เลียนแบบได้ใกล้เคียงความจริงเข้าไปอีกด้วย
ขั้นตอนการสร้างแฟลร์ประดิษฐ์ใน Lightroom
1 กำหนดคุณสมบัติของพู่กันเฉพาะจุด
งานนี้เราจะใช้ Adjustment Brush (K) เพื่อการสร้างวงรัศมีขึ้นมา อย่าแปลกใจว่าทำไมจะสร้างวงแล้วไม่ใช้ Radial Filter (Shift + M) เหตุผลก็คือมันเร็วกว่า เอาล่ะ.. เริ่มปรับค่าจากข้อมูลที่เราได้มา โดยที่เริ่มจาก Exposure เป็นบวก, Contrast เป็นลบ, Highlight อาจจะบวกหรือลบก็ได้, Saturation เป็นลบ (ความอิ่มตัวต่ำกว่า), Clarity เป็นลบ (ความชัดเจนต่ำกว่า)
ส่วนค่าความฟุ้งกระจาย Feather ให้มีค่าเป็น 0 ไว้เพื่อที่จะแสดงวงของแฟลร์ได้ชัดเจน หรือจะบวกลบเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ และสุดท้ายคือค่า Color ที่เอาไว้ใส่สี
*หมายเหตุ : ใน Lightroom CC เวอร์ชั่น 2015.2.1 (อัพเดทเมื่อตุลาคม 2558) จะมีสเกล White, Black และ Dehaze แทรกมาด้วย อาจจะใช้ Dehaze เป็นลบด้วยก็ได้ครับ
2. สร้างแฟลร์ให้กลมกลืนกับภาพ
ภาพที่จะใส่แฟลร์แล้วสวยต้องเป็นภาพที่เอื้ออำนวยต่อการมีแสงแฟลร์ในภาพด้วย ไม่ใช่ว่าภาพอะไรๆก็เอามาใส่แฟลร์ได้ไปทั้งหมด ตัวอย่างภาพที่เหมาะสำหรับการเกิดแฟลร์ ได้แก่ ภาพถ่ายย้อนแสงหรือภาพที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ (แต่กลับไม่มีแฟลร์) หรือภาพในโทนสว่างมากๆ เป็นต้น
การใส่แฟลร์นั้นมักจะมีการไล่วงเล็กใหญ่ ถ้าไม่เข้าใจทิศทางก็ควรสังเกตและศึกษาจากแหล่งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับแฟลร์ ลักษณะโดยธรรมชาติของแฟลร์ก็ดีครับ เช่น Wikipedia ภาคภาษาอังกฤษ หรือบทความเกี่ยวกับเลนส์
ข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่จะไม่พูดเสียไม่ได้เลยนั่นคือ Lightroom ทำได้แต่แสงแฟลร์ที่เป็นวงกลมซึ่งถ้าผู้เรียนจะสร้างแฟลร์ที่มีความหลากหลายมากกว่านี้ต้องศึกษา Photoshop เพิ่มเติมนะครับ
3. เก็บรายละเอียดและตรวจสอบ
บทความใหม่ๆนอกเหนือจาก pantip แล้วยังมีอัพเดทให้อ่านกันที่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.dozzdiy.com/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81/
แฟลร์ประดิษฐ์ ใน Lightroom CC
เชื่อว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตการถ่ายภาพหรืออาจจะอีกหลายๆครั้ง ผู้เรียนจะต้องทำความรู้จักกับแฟลร์ (จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามที) แฟลร์เป็นอาการของแสงที่สะท้อนไปมาในระบบกลไกของเลนส์เนื่องจากมีการหันหน้าเข้าหาแสงที่มีความเข้มสูงในมุมที่พอเหมาะ เมื่อแสงดังกล่าวตกกระทบไปยังเซ็นเซอร์จะทำให้เกิดลักษณะเหมือนจุดของแสงใหญ่ๆ รายละเอียดในนั้นจะมีความซีดจางและเปรียบต่างต่ำ
รูปร่างของแสงแฟลร์ขึ้นอยู่กับรูปร่างของไดอะแฟรมรูรับแสงของเลนส์ เลนส์ชนิดไหนให้โบเก้อย่างไรแฟลร์ก็จะเป็นอย่างนั้น จึงมีแฟลร์หลากหลายรูปแบบมากมาย ตั้งแต่วงกลมไปจนถึงลักษณะเป็นเหลี่ยมๆ
หลายคนมองว่าข้อบกพร่องนี้หรือปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่สวยงามเพราะช่วยเพิ่มอารมณ์ให้กับภาพจึงหาวิธีสร้างขึ้นมา บางคนพยายามทำให้มันเกิดขึ้นแต่ก็ยากเนื่องจากเลนส์ดีๆในปัจจุบันเคลือบสารเคมีต่อต้านการสะท้อนภายในเลนส์ ทำให้เราพบอาการนี้น้อยลงเรื่อยๆนั่นเอง
แฟลร์ประดิษฐ์ใน Lightroom CC
แฟลร์ที่เกิดขึ้นจากเลนส์โดยตรงอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับช่างภาพหลายๆคน พวกเขาจึงเลือกถ่ายภาพมาให้สมบูรณ์ครบถ้วนแล้ววางแผนว่าควรมีแฟลร์ในจุดที่กำหนดเอาไว้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ผิดในการขยายขีดความสามารถเพื่อสร้างสรรค์ภาพ แต่ถึงอย่างนั้นการศึกษาทิศทางของแสงหรือการวางตำแหน่งของแสงแฟลร์ประดิษฐ์อย่างไรในภาพให้แนบเนียนที่สุดก็นับเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่ง
และตอนนี้เราได้เรียนรู้แล้วว่าทิศทางของแฟลร์นั้นมักเกิดเป็นเส้นตรง มีความฟุ้งกระจาย และเกิดความเปรียบต่างที่ต่ำในบริเวณแสงเหล่านั้น นอกจากนี้การสังเกตสีลักษณะธรรมชาติของแสงแฟลร์ที่เกิดขึ้นทำให้เราเลือกสีที่จะใช้เลียนแบบได้ใกล้เคียงความจริงเข้าไปอีกด้วย
ขั้นตอนการสร้างแฟลร์ประดิษฐ์ใน Lightroom
1 กำหนดคุณสมบัติของพู่กันเฉพาะจุด
งานนี้เราจะใช้ Adjustment Brush (K) เพื่อการสร้างวงรัศมีขึ้นมา อย่าแปลกใจว่าทำไมจะสร้างวงแล้วไม่ใช้ Radial Filter (Shift + M) เหตุผลก็คือมันเร็วกว่า เอาล่ะ.. เริ่มปรับค่าจากข้อมูลที่เราได้มา โดยที่เริ่มจาก Exposure เป็นบวก, Contrast เป็นลบ, Highlight อาจจะบวกหรือลบก็ได้, Saturation เป็นลบ (ความอิ่มตัวต่ำกว่า), Clarity เป็นลบ (ความชัดเจนต่ำกว่า)
ส่วนค่าความฟุ้งกระจาย Feather ให้มีค่าเป็น 0 ไว้เพื่อที่จะแสดงวงของแฟลร์ได้ชัดเจน หรือจะบวกลบเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ และสุดท้ายคือค่า Color ที่เอาไว้ใส่สี
*หมายเหตุ : ใน Lightroom CC เวอร์ชั่น 2015.2.1 (อัพเดทเมื่อตุลาคม 2558) จะมีสเกล White, Black และ Dehaze แทรกมาด้วย อาจจะใช้ Dehaze เป็นลบด้วยก็ได้ครับ
2. สร้างแฟลร์ให้กลมกลืนกับภาพ
ภาพที่จะใส่แฟลร์แล้วสวยต้องเป็นภาพที่เอื้ออำนวยต่อการมีแสงแฟลร์ในภาพด้วย ไม่ใช่ว่าภาพอะไรๆก็เอามาใส่แฟลร์ได้ไปทั้งหมด ตัวอย่างภาพที่เหมาะสำหรับการเกิดแฟลร์ ได้แก่ ภาพถ่ายย้อนแสงหรือภาพที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ (แต่กลับไม่มีแฟลร์) หรือภาพในโทนสว่างมากๆ เป็นต้น
การใส่แฟลร์นั้นมักจะมีการไล่วงเล็กใหญ่ ถ้าไม่เข้าใจทิศทางก็ควรสังเกตและศึกษาจากแหล่งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับแฟลร์ ลักษณะโดยธรรมชาติของแฟลร์ก็ดีครับ เช่น Wikipedia ภาคภาษาอังกฤษ หรือบทความเกี่ยวกับเลนส์
ข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่จะไม่พูดเสียไม่ได้เลยนั่นคือ Lightroom ทำได้แต่แสงแฟลร์ที่เป็นวงกลมซึ่งถ้าผู้เรียนจะสร้างแฟลร์ที่มีความหลากหลายมากกว่านี้ต้องศึกษา Photoshop เพิ่มเติมนะครับ
3. เก็บรายละเอียดและตรวจสอบ
บทความใหม่ๆนอกเหนือจาก pantip แล้วยังมีอัพเดทให้อ่านกันที่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้