เมื่อลำแสงพุ่งมาจากแหล่งกำเนิดแสงที่มีความสว่างมากเช่นดวงอาทิตย์และแหล่งกำเนิดแสงเทียมอื่นๆ
แสงนั้นจะสัมผัสชิ้นเลนส์ชนิดต่างๆโดยตรง รวมทั้งไดอะเฟรมและตัวเซ็นเซอร์เองและสะท้อนไปมาอยู่ในนั้น
ในบางครั้งบางมุมของการสะท้อนก็ก่อให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า “Flare” ขึ้นในภาพถ่าย
และบางครั้งก็ปรากฏในรูปของแสงเป็นวงกลมหรือครึ่งวงกลมละรูปร่างแปลกๆอื่นๆซึ่งมักมีลักษณะกึ่งโปร่งแสง
และปรากฏได้หลากหลายสีซึ่งเรียกว่า “Ghosts” สิ่งเหล่านี้กระทบกับคุณภาพของภาพถ่ายโดยการลดคอนทราสของภาพ
ส่งผลต่อสีสัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เป็นที่ต้องการของภาพถ่ายเสมอไป
การที่มีแฟลร์และโกสต์บางครั้งช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับบรรยากาศโดยเฉพาะ
ในการถ่ายภาพยนตร์มักจะใช้สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับภาพ
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
ในการตัดสินใจว่าเราควรจะใช้ประโยชน์จากโกสต์และแฟลร์เหล่านี้ยังไง การที่เรารู้สาเหตุการเกิดสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการตัดสินใจได้
1.What is Lens Flare?
เลนส์แฟลร์เกิดขึ้นเมื่อมีแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างกว่าแสงโดยรอบเช่นดวงอาทิตย์
การถ่ายภาพโดยมีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ในภาพแบบนี้ในบางมุมบางจังหวะจะเกิดการสะท้อนขึ้นในชิ้นเลนส์
หรือแม้กระทั้งระหว่างชิ้นเลนส์กับตัวเซ็นเซอร์เองและปรากฏแสงในรูปร่างต่างๆ อาจจะเป็นแสงวงกลม
รูปหลายเหลี่ยม รูปครึ่งวงกลมสีรุ้งเป็นต้น
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
ดังจะเห็นได้จากภาพจำลองด้านบน แสงที่มีความสว่างปกติ (เส้นสีแดง) จะเดินทางผ่านชิ้นเลนส์ตามปกติ
ขณะที่แสงที่มีความสว่างมาก (สีน้ำเงิน) เมื่อเดินทางเข้ามาในตัวเลนส์ จะเกิดการสะท้อนในชิ้นเลนส์เอง
ระหว่างชิ้นเลนส์กับตัวรับภาพ หรือแม้กระทั่งสะท้อนกับแผ่นไดอะเฟรมในเลนส์
ผู้ผลิตเลนส์และนักถ่ายภาพมักจะแบ่งการเกิดแฟลร์ออกเป็นสองประเภทคือ Veilings flare และ Ghosting flare
ซึ่งการเคลือบชิ้นเลนส์ที่ดีจะช่วยลดอาการเกิดแฟลร์เล่านี้ได้อย่างมาก
1.1) Veiling Flare
แฟลร์ชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดแสงอยู่นอกเหนือองศาการมองเห็นของเลนส์แต่ลำแสงของแสงยังส่องกระทบถึงชิ้นเลนส์
ส่งผลให้ภาพมีคอนทราสที่ต่ำ สีสันจืดลง ทำให้ส่วนมืดของภาพสว่างขึ้น
การเคลือบหน้าเลนส์ที่ดีจะช่วยควบคุมอาการแฟลร์นี้ให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้อย่างเช่น
Nano Crystal Coat ของนิคอน ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
ตัวอย่างภาพจากเลนส์นิคอนและแฟลร์ที่มีประโยชน์กับภาพ ช่วยเพิ่มอารมณ์อบอุ่นให้ภาพโดยรวม
โชคไม่ดีที่แฟลร์ชนิดนี้เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเคลือนชิ้นเลนส์ที่ไม่ดี
ฝุ่น หน้าเลนส์ที่มีคราบสกปรก หรือจากฟิลเตอร์หน้าเลนส์ที่ไม่ได้คุณภาพ
ซึ่งบังครั้งก็ให้ผลลัพธ์ที่น่าอนาถ
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
1.2) Ghosting Flare
โกสติ้ง แฟลร์ แตกต่างจากวิลลิ่งแฟลร์ก่อนหน้านี้ แทนที่จะทำให้คอนทราสและภาพดูหม่นลงไปเล็กน้อย
โกสติ้งแฟลร์ กลับปรากฏตัวเข้ามาในภาพแบบตรงๆด้วยหลายรูปร่างรูปทรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของชิ้นเลนส์
ยิ่งเลนส์มากชิ้น จำนวนโกสต์จะยิ่งมากตาม เราจึงพบกับโกสต์ได้ในเลนส์ซูมประเภท 70-200 ม.ม.
นอกจากนี้ โกสต์ชนิดนี้ยังสะท้อนจะจากไดอะเฟรมของตัวเลนส์ซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดของรูรับแสงอีกด้วย
ยิ่งรูรับแสงแคบ จะยิ่งทำให้เกิดโกสต์มากขั้น นั่นคือคำตอบว่าทำไมเราจึงไม่ค่อยเห็นโกสต์ในรูรับแสงที่กว้างๆ
เมื่อใดที่เราสังเกตเห็นแสงเป็นจุดรูปร่างเหลี่ยมๆปรากฏในภาพ ให้ทราบได้เลยว่านั่นคือแสงสะท้อนจากแผ่นไดอะเฟรม
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
และเช่นเดียวกัน การเคลือบผิวเลนส์ด้วยวัสดุที่ดี จะช่วยลดอาการของแฟลร์ชนิดนี้ได้
1.3) Sensor / Red Dot Flare
แฟลร์ชนิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เซ็นเซอร์ แฟลร์ ต่างจากสองแบบที่ผ่านมา
แฟลร์แบบนี้เกิดจากการสะท้อนแสงจากไมโครเลนส์ภายในตัวเซ็นเซอร์ไปยังตัวเลนส์แล้วสะท้อนจากเลนส์เข้ามายังตัวรับภาพอีกที
โชคไม่ดีที่กล้องมิเรอร์เลสรุ่นใหม่ที่มีระยะเลนส์สั้นๆ ประสบปัญหาที่ว่านี้ จากตัวอย่างภาพด้านล่าง
เราจะเห็นจุดสีแดงรอบๆพระอาทิตย์ นั่นคือแสงที่สะท้อนมาจากไมโครเลนส์ของเซ็นเซอร์กล้อง
ส่วนรูปห้าเหลี่ยมนั้นไม่ใช่ นั่นคือโกสต์ที่เกิดจากแผ่นไดอะเฟรม
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
2) Factors Impacting Flare
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแฟลร์ขึ้นในภาพมีหลายอย่าง แม้ว่าเลนส์สมัยใหม่จะเคลือบหน้าเลนส์ด้วยสารเคลือบหลากหลายชนิด
แต่แม้แต่เลนส์เกรดโปรบางตัวก็ยังปรากฏแฟลร์แบบแสงลอดและแบบโกสต์ให้เห็น
นั่นก็เพราะองศาที่แสงเข้ามากระทบหน้าเลนส์และความเข้มข้นของแสงนั้นหลากหลาย
นี่คือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแฟลร์เหล่านั้น
1. Lens Elements ยิ่งจำนวนชิ้นเลนส์มาก ยิ่งทำให้เกิดโกสต์ได้มาก
2. Focal Length ความยาวโฟกัสของเลนส์ สำหรับเลนส์มุมกว้างนั้นจัดการเรื่องนี้ได้ค่อนข้างดีและเพราะความกว้างของมุมมองภาพ
ทำให้จุดกำเนิดแสงและขนาดของมันเล็กลงไปตามความกว้าง ส่วนเลนส์เทเลโฟโตนั้นเป็นอีกแบบ
เพราะมันขยายทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามา เราจึงพบว่าเลนส์เทเลโฟโตนั้นมีฮู้ดขนาดที่ยาวและใหญ่มาก
3. Lens Design
เลนส์ที่ออกแบบมาอย่างดี ช่วยลดปรากฏการณ์แฟลร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ลองเปรียบเทียบคุณภาพของเลนส์เกรดธรรมดาของนิคอน (ซึ่งจะลงท้ายด้วย D มีราคาที่ถูกกว่า)
และเลนส์เกรดโปร (ที่ลงท้ายด้วย Gและแพงกว่า) จะเห็นประสิทธิภาพต่างกันอย่างชัดเจน
ภาพเปรียบเทียบการป้องกันแสงสะท้อนระหว่าเลนส์ G และเลนส์ D ของนิคอน
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
4. Multi-Coatings – multi-coated (MRC) การเคลือบหน้าเลนส์ที่ดีมีผลอย่างมหาศาลกับแฟลร์ในภาพ
5. Filters ฟิลเตอร์ที่ไม่ได้คุณภาพ คือตัวการที่ก่อให้เกิดแฟลร์อีกอย่างหนึ่ง
6. Lens Dust ฝุ่นที่สะสมอยู่ในเลนส์คืออีกปัจจัยที่มีผลต่อแฟลร์
7. Front Element Cleanliness การไม่ทำความสะอาดเลนส์ปล่อยให้มีคราบมัน
รอยนิ้วมือ และคราบสกปรกอื่นๆคืออีกตัวการที่ทำให้เกิดแฟลร์และโกสต์มากขึ้น
3) Avoiding Flare
ขั้นตอนง่ายๆเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแฟลร์ชนิดต่างๆ มีดังนี้
1. Use a lens hood ใช้ฮู้ดคือการป้องกันแสงที่จะเข้ามากระทบหน้าเลนส์ในทิศทางที่จะก่อให้เกิดแฟลร์
2. Use your hand or other object ใช้มือบัง ใช่แล้ว ใช้มือของเราบังได้เลย
3. Use high-quality lenses เลนส์คุณภาพสูง ย่อมมีราคาที่สูงตามไปด้วยแต่ก็จัดการแฟลร์ได้ดีเช่นกัน
4. Use prime lenses instead of zooms ใช้เลนส์ไพร์มแทนเลนส์ซูม ด้วยชิ้นเลนส์ที่น้อยลงทำให้เกิดแฟลร์ได้น้อยตามไปด้วย
5. Change perspective/framing ย้ายตำแหน่งย่อมหมายถึงการเปลี่ยนมุมที่แสงตกกระทบหน้าเลนส์ไปด้วย
นั่นก็ช่วยให้เกิดแฟลร์ลดน้อยลงไปตาม
บทความและภาพต้นฉบับจาก
https://goo.gl/rsDBmu
เรียบเรียงและแปลโดยเจ้าของกระทู้
แสงแฟลร์ VS รัศมีธรรม .....(What is Ghosting and Flare?)
แสงนั้นจะสัมผัสชิ้นเลนส์ชนิดต่างๆโดยตรง รวมทั้งไดอะเฟรมและตัวเซ็นเซอร์เองและสะท้อนไปมาอยู่ในนั้น
ในบางครั้งบางมุมของการสะท้อนก็ก่อให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า “Flare” ขึ้นในภาพถ่าย
และบางครั้งก็ปรากฏในรูปของแสงเป็นวงกลมหรือครึ่งวงกลมละรูปร่างแปลกๆอื่นๆซึ่งมักมีลักษณะกึ่งโปร่งแสง
และปรากฏได้หลากหลายสีซึ่งเรียกว่า “Ghosts” สิ่งเหล่านี้กระทบกับคุณภาพของภาพถ่ายโดยการลดคอนทราสของภาพ
ส่งผลต่อสีสัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เป็นที่ต้องการของภาพถ่ายเสมอไป
การที่มีแฟลร์และโกสต์บางครั้งช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับบรรยากาศโดยเฉพาะ
ในการถ่ายภาพยนตร์มักจะใช้สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับภาพ
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
ในการตัดสินใจว่าเราควรจะใช้ประโยชน์จากโกสต์และแฟลร์เหล่านี้ยังไง การที่เรารู้สาเหตุการเกิดสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการตัดสินใจได้
1.What is Lens Flare?
เลนส์แฟลร์เกิดขึ้นเมื่อมีแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างกว่าแสงโดยรอบเช่นดวงอาทิตย์
การถ่ายภาพโดยมีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ในภาพแบบนี้ในบางมุมบางจังหวะจะเกิดการสะท้อนขึ้นในชิ้นเลนส์
หรือแม้กระทั้งระหว่างชิ้นเลนส์กับตัวเซ็นเซอร์เองและปรากฏแสงในรูปร่างต่างๆ อาจจะเป็นแสงวงกลม
รูปหลายเหลี่ยม รูปครึ่งวงกลมสีรุ้งเป็นต้น
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
ดังจะเห็นได้จากภาพจำลองด้านบน แสงที่มีความสว่างปกติ (เส้นสีแดง) จะเดินทางผ่านชิ้นเลนส์ตามปกติ
ขณะที่แสงที่มีความสว่างมาก (สีน้ำเงิน) เมื่อเดินทางเข้ามาในตัวเลนส์ จะเกิดการสะท้อนในชิ้นเลนส์เอง
ระหว่างชิ้นเลนส์กับตัวรับภาพ หรือแม้กระทั่งสะท้อนกับแผ่นไดอะเฟรมในเลนส์
ผู้ผลิตเลนส์และนักถ่ายภาพมักจะแบ่งการเกิดแฟลร์ออกเป็นสองประเภทคือ Veilings flare และ Ghosting flare
ซึ่งการเคลือบชิ้นเลนส์ที่ดีจะช่วยลดอาการเกิดแฟลร์เล่านี้ได้อย่างมาก
1.1) Veiling Flare
แฟลร์ชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดแสงอยู่นอกเหนือองศาการมองเห็นของเลนส์แต่ลำแสงของแสงยังส่องกระทบถึงชิ้นเลนส์
ส่งผลให้ภาพมีคอนทราสที่ต่ำ สีสันจืดลง ทำให้ส่วนมืดของภาพสว่างขึ้น
การเคลือบหน้าเลนส์ที่ดีจะช่วยควบคุมอาการแฟลร์นี้ให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้อย่างเช่น
Nano Crystal Coat ของนิคอน ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
ตัวอย่างภาพจากเลนส์นิคอนและแฟลร์ที่มีประโยชน์กับภาพ ช่วยเพิ่มอารมณ์อบอุ่นให้ภาพโดยรวม
โชคไม่ดีที่แฟลร์ชนิดนี้เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเคลือนชิ้นเลนส์ที่ไม่ดี
ฝุ่น หน้าเลนส์ที่มีคราบสกปรก หรือจากฟิลเตอร์หน้าเลนส์ที่ไม่ได้คุณภาพ
ซึ่งบังครั้งก็ให้ผลลัพธ์ที่น่าอนาถ
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
1.2) Ghosting Flare
โกสติ้ง แฟลร์ แตกต่างจากวิลลิ่งแฟลร์ก่อนหน้านี้ แทนที่จะทำให้คอนทราสและภาพดูหม่นลงไปเล็กน้อย
โกสติ้งแฟลร์ กลับปรากฏตัวเข้ามาในภาพแบบตรงๆด้วยหลายรูปร่างรูปทรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของชิ้นเลนส์
ยิ่งเลนส์มากชิ้น จำนวนโกสต์จะยิ่งมากตาม เราจึงพบกับโกสต์ได้ในเลนส์ซูมประเภท 70-200 ม.ม.
นอกจากนี้ โกสต์ชนิดนี้ยังสะท้อนจะจากไดอะเฟรมของตัวเลนส์ซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดของรูรับแสงอีกด้วย
ยิ่งรูรับแสงแคบ จะยิ่งทำให้เกิดโกสต์มากขั้น นั่นคือคำตอบว่าทำไมเราจึงไม่ค่อยเห็นโกสต์ในรูรับแสงที่กว้างๆ
เมื่อใดที่เราสังเกตเห็นแสงเป็นจุดรูปร่างเหลี่ยมๆปรากฏในภาพ ให้ทราบได้เลยว่านั่นคือแสงสะท้อนจากแผ่นไดอะเฟรม
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
และเช่นเดียวกัน การเคลือบผิวเลนส์ด้วยวัสดุที่ดี จะช่วยลดอาการของแฟลร์ชนิดนี้ได้
1.3) Sensor / Red Dot Flare
แฟลร์ชนิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เซ็นเซอร์ แฟลร์ ต่างจากสองแบบที่ผ่านมา
แฟลร์แบบนี้เกิดจากการสะท้อนแสงจากไมโครเลนส์ภายในตัวเซ็นเซอร์ไปยังตัวเลนส์แล้วสะท้อนจากเลนส์เข้ามายังตัวรับภาพอีกที
โชคไม่ดีที่กล้องมิเรอร์เลสรุ่นใหม่ที่มีระยะเลนส์สั้นๆ ประสบปัญหาที่ว่านี้ จากตัวอย่างภาพด้านล่าง
เราจะเห็นจุดสีแดงรอบๆพระอาทิตย์ นั่นคือแสงที่สะท้อนมาจากไมโครเลนส์ของเซ็นเซอร์กล้อง
ส่วนรูปห้าเหลี่ยมนั้นไม่ใช่ นั่นคือโกสต์ที่เกิดจากแผ่นไดอะเฟรม
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
2) Factors Impacting Flare
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแฟลร์ขึ้นในภาพมีหลายอย่าง แม้ว่าเลนส์สมัยใหม่จะเคลือบหน้าเลนส์ด้วยสารเคลือบหลากหลายชนิด
แต่แม้แต่เลนส์เกรดโปรบางตัวก็ยังปรากฏแฟลร์แบบแสงลอดและแบบโกสต์ให้เห็น
นั่นก็เพราะองศาที่แสงเข้ามากระทบหน้าเลนส์และความเข้มข้นของแสงนั้นหลากหลาย
นี่คือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแฟลร์เหล่านั้น
1. Lens Elements ยิ่งจำนวนชิ้นเลนส์มาก ยิ่งทำให้เกิดโกสต์ได้มาก
2. Focal Length ความยาวโฟกัสของเลนส์ สำหรับเลนส์มุมกว้างนั้นจัดการเรื่องนี้ได้ค่อนข้างดีและเพราะความกว้างของมุมมองภาพ
ทำให้จุดกำเนิดแสงและขนาดของมันเล็กลงไปตามความกว้าง ส่วนเลนส์เทเลโฟโตนั้นเป็นอีกแบบ
เพราะมันขยายทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามา เราจึงพบว่าเลนส์เทเลโฟโตนั้นมีฮู้ดขนาดที่ยาวและใหญ่มาก
3. Lens Design
เลนส์ที่ออกแบบมาอย่างดี ช่วยลดปรากฏการณ์แฟลร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ลองเปรียบเทียบคุณภาพของเลนส์เกรดธรรมดาของนิคอน (ซึ่งจะลงท้ายด้วย D มีราคาที่ถูกกว่า)
และเลนส์เกรดโปร (ที่ลงท้ายด้วย Gและแพงกว่า) จะเห็นประสิทธิภาพต่างกันอย่างชัดเจน
ภาพเปรียบเทียบการป้องกันแสงสะท้อนระหว่าเลนส์ G และเลนส์ D ของนิคอน
เครดิต
https://goo.gl/rsDBmu
4. Multi-Coatings – multi-coated (MRC) การเคลือบหน้าเลนส์ที่ดีมีผลอย่างมหาศาลกับแฟลร์ในภาพ
5. Filters ฟิลเตอร์ที่ไม่ได้คุณภาพ คือตัวการที่ก่อให้เกิดแฟลร์อีกอย่างหนึ่ง
6. Lens Dust ฝุ่นที่สะสมอยู่ในเลนส์คืออีกปัจจัยที่มีผลต่อแฟลร์
7. Front Element Cleanliness การไม่ทำความสะอาดเลนส์ปล่อยให้มีคราบมัน
รอยนิ้วมือ และคราบสกปรกอื่นๆคืออีกตัวการที่ทำให้เกิดแฟลร์และโกสต์มากขึ้น
3) Avoiding Flare
ขั้นตอนง่ายๆเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแฟลร์ชนิดต่างๆ มีดังนี้
1. Use a lens hood ใช้ฮู้ดคือการป้องกันแสงที่จะเข้ามากระทบหน้าเลนส์ในทิศทางที่จะก่อให้เกิดแฟลร์
2. Use your hand or other object ใช้มือบัง ใช่แล้ว ใช้มือของเราบังได้เลย
3. Use high-quality lenses เลนส์คุณภาพสูง ย่อมมีราคาที่สูงตามไปด้วยแต่ก็จัดการแฟลร์ได้ดีเช่นกัน
4. Use prime lenses instead of zooms ใช้เลนส์ไพร์มแทนเลนส์ซูม ด้วยชิ้นเลนส์ที่น้อยลงทำให้เกิดแฟลร์ได้น้อยตามไปด้วย
5. Change perspective/framing ย้ายตำแหน่งย่อมหมายถึงการเปลี่ยนมุมที่แสงตกกระทบหน้าเลนส์ไปด้วย
นั่นก็ช่วยให้เกิดแฟลร์ลดน้อยลงไปตาม
บทความและภาพต้นฉบับจาก
https://goo.gl/rsDBmu
เรียบเรียงและแปลโดยเจ้าของกระทู้