goose เป็น geese, tooth เป็น teeth แล้วทำไม book ไม่เป็น beek

**ผมถอดข้อมูลและภาพประกอบออกมาจากวิดีโอในยูทูบชาแนลของ Ted-ed นะครับ พอได้ดูแล้วเห็นว่าเป็นความรู้ที่น่าสนใจดี จึงอยากจะแชร์ครับ  
ไม่จำเป็นต้องอ่านก็ได้นะครับสามารถเลื่อนลงไปดูวิดีโอด้านล่างได้เลย  อันนี้ผมพิมพ์ออกมาตั้งกระทู้เพื่อเอาไว้อ่านเองในภายภาคหน้ามากกว่าครับ



หลายคนคงอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมเวลาเราพูดคำพหูพจน์ในภาษาอังกฤษ ถึงไม่จับเติม s ให้หมดก็จบเรื่อง
เพราะโดยปกติแล้ว เวลาเราพูดถึงคำพหูพจน์ส่วนใหญ่ก็มักจะเติม S เช่น one boy -> two boys หรือ one cat -> two cats



แต่กลับมีคำอีกประเภทที่ไม่เป็นเช่นนั้น เช่น  man เปลี่ยนเป็น men, woman เปลี่ยนเป็น women, goose เปลี่ยนเป็น geese
// หลายคนคงเคยสงสัยว่าแล้วทำไม ไอ้คำว่า moose ถึงไม่เป็น meese ??
// เราพูดว่า 2 feet แล้วทำไมกลับไม่พูดว่า 2 beek แทนที่จะพูดว่า 2 books


ความจริงก็คือ.... ถ้าคุณมีโอกาสได้เรียนภาษาอังกฤษเมื่อประมาณกว่าพันปีที่แล้ว คำว่า beek เป็นคำที่ถูกต้อง



คุณเชื่อหรือไม่ว่า ภาษาอังกฤษในอดีตเคยเป็นภาษาที่ยากสำหรับการเรียนรู้แบบมหาโหดอีกภาษาหนึ่ง ในปัจจุบันถือว่าง่ายกว่าเดิมมาก
เมื่อประมาณ 2500 ปีที่แล้ว ภาษาอังกฤษกับภาษาเยอรมันเคยเป็นภาษาเดียวกันมาก่อนที่จะค่อยๆแตกต่างจากกันทีละเล็กน้อยจนแยกจากกัน นั่นหมายความว่า ทุกสิ่งในภาษาอังกฤษโบราณมีเพศทั้งหมด

ยกตัวอย่างศัพท์อังกฤษโบราณ เช่น
gafol ส้อม เป็นเพศหญิง (fork)
laefel ช้อน เป็นเพศชาย (spoon)
bord โต๊ะ เป็นเพศกลาง (table)

นั่นหมายความว่าในสมัยนั้น การที่เราจะใช้คำ1คำ นอกจากจะต้องรู้ความหมายของมันแล้ว เราจะต้องจำเพศของมันให้ได้อีกด้วย เหมือนพวกภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศสอะไรทำนองนั้น  ในขณะที่ปัจจุบัน สิ่งที่ว่าแปลกๆก็หายไปกว่าแต่ก่อนมาก ทุกวันนี้เหลือคำนามพหูพจน์ในภาษาอังกฤษเพียงไม่กี่ตัวที่เรารู้สึกว่ามันแปลก เช่น men และ geese แต่ในภาษาอังกฤษโบราณถือว่าเป็นเรื่องที่ธรรมดามากที่จะมีรุปแบบของคำพหูพจน์มากมายเหลือเกินแบบนี้

คุณอาจจะคิดว่ามันแปลกแล้วที่ห่าน(goose)หลายตัวต้องเปลี่ยนเป็น geese  แต่ในสมัยโบราณ
แพะ(goat)หลายตัวเปลี่ยนเป็น gat, ต้นโอ๊ค(oak)หลายต้นเปลี่ยนเป็น ack  แทนที่จะเติม s แบบในปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีการเติมเสียงอย่างอื่นเพื่อแสดงความเป็นพหูพจน์นอกจากตัว s  เหมือนกับคำว่า เด็ก(child)หลายคนที่ เติมren เป็น children
วัว(ox)หลายตัว เติมen เป็น oxen  

ซึ่งในสมัยโบราณ tongue ก็เติมenเป็น tongen แทนที่จะเป็น tongues, name เติมenเป็น namen แทนที่จะเป็น names และ eye เป็น eyen ไม่ใช่ eyes

บ้างก็เติม ru เช่น แกะ(lamb)หลายตัวเป็น(lambru), ไข่(egg)หลายฟองเป็น eggru, ขนมปัง(bread)หลายชิ้นเป็น breadru  

หรือไม่ก็เติม a เช่น ประตู(door) เป็น doora, มือ(hand) เป็น handa

บางคำก็แปลกไปอย่างมาก เช่น  peanut เป็น peanight แทนที่จะเป็น peanuts

ส่วนบางคำก็คงรูปเดิม เหมือนกับคำว่า sheep ในปัจจุบันที่เราไม่ต้องเติมหรือเปลี่ยนแปลงอะไรเลย  
one sheep คงเดิมเป็น two sheep ซึ่งในสมัยก่อน  one house ก็คงเดิมเป็น two house ไม่ใช่ two houses



ส่วนถ้าถามว่าทำไมทุกวันนี้หลายคำถึงเปลี่ยนไปเติมsแทน ทำไมไม่ใช้แบบเดิมล่ะ??
.


- คำตอบก็คือภาษาอังกฤษง่ายขึ้นแบบในทุกวันนี้ ต้องยกเครดิตให้พวกไวกิ้งที่บุกรุกเกาะอังกฤษนั่นเอง  เพราะพวกนี้พอบุกเข้ามาก็พยายามเรียนรู้ภาษาอังกฤษ แต่พอเรียนแล้วรู้สึกว่าจะมีทำไมเยอะๆยุ่งยาก  จึงแหกกฎเจ้าของภาษาเดิม ไม่เปลี่ยนรูปศัพท์ตามเจ้าของภาษาแต่กลับจับเติม s แทนซะให้หมด  
พอเวลาผ่านไปพวกไวกิ้งออกลูกออกหลานบนเกาะอังกฤษ พวกลูกๆก็พูดตามพ่อแบบรุ่นสู่รุ่นคือเติม s กันหมด  รูปศัพท์เดิมจึงค่อยๆถูกลืมไป และส่งผลจนถึงปัจจุบันนี้ที่ส่วนใหญ่เราแค่เติม s ท้ายคำ   ยกเว้นก็แต่...คำศัพท์บางคำใช้อยู่บ่อยๆในชีวิตประจำวัน จึงทำให้จำได้อยู่เสมอ เช่น men, children และ teeth


เครดิต Ted-ed

https://www.youtube.com/watch?v=_gwJHuEa9Jc

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่