"จารึกพระเจ้าจันทรภานุ ศรีธรรมราชา" : มรดกความทรงจำแห่งนครศรีธรรมราช

"จารึกพระเจ้าจันทรภานุ ศรีธรรมราชา : มรดกความทรงจำแห่งนครศรีธรรมราช  (เอกสารลำดับที่ 46)
ใน 100 เอกสารสำคัญ :สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 10
http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/bibliography_detail.php?id=315



สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยกลุ่มงานมนุษยศาสตร์ ได้ให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ “๑๐๐  เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย” มี ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นวิชาที่มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาภูมิปัญญาของคนในชาติ และมีบทบาทสำคัญในการทัดทานการครอบงำของกระแสโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ถือเป็นกระบวนการทางปัญญา สอนให้คนคิดเป็น     หัวใจของวิชาประวัติศาสตร์อยู่ที่การวิเคราะห์หรือตีความจากเอกสารหลักฐานปฐมภูมิ แต่สังคมไทยในปัจจุบัน คนไทยทั่วไปรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านสื่อ ทั้งที่เป็นสื่อแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยที่ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่เขียนจากเอกสารหลักฐานทุติยภูมิทั้งนั้น จึงอาจทำให้ครูอาจารย์ที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับชั้นต่างๆ แทบไม่รู้จักหรือมีโอกาสได้ใช้เอกสารหลักฐานปฐมภูมิเลย    โครงการฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านเอกสารหลักฐานปฐมภูมิ จึงได้คัดเลือกเอกสารหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ จำนวน ๑๐๐ ชิ้น โดยดำเนินการศึกษาวิจัยในเชิงสหสาขาวิชาในกรอบของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาการเรียนรู้ของสังคมไทย โดยมีจุดมุ่งหมายของโครงการฯ ที่จะสร้างหนังสือชุด “๑๐๐ เอกสารสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย” ซึ่งนักวิชาการ คณาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์และสังคมศึกษาในระดับต่างๆ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกในช่วงที่ผ่านมาโครงการฯ ได้จัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ที่โครงการได้ศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ซึ่งการนำเสนอผลงานในแต่ละครั้งนั้น โครงการฯ ได้ให้ความสำคัญในการศึกษาเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในพื้นที่ภาคนั้นๆ ด้วย
http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2131:2011-08-09-13-03-39&catid=35&Itemid=359

  ผลงานการค้นคว้าเอกสารสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ที่เกิดขึ้นในโครงการวิจัย “100 เอกสารสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย” ในความสนับสนุนของ สกว.เป็นความพยายามที่จะกระตุ้นให้คนไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของเอกสารสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอกสารชั้นต้น ในการศึกษาประสบการณ์ในอดีตของสังคมไทย ไม่ว่าในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนพัฒนาการด้านภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย คณะผู้วิจัยซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการทั้งรุ่นใหม่ และรุ่นเก่า ที่เข้ามาทำงานร่วมกัน หวังว่าการศึกษาเรื่องราว ผ่านหลักฐานเอกสารชั้นต้น จะช่วยสร้างเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมปฐมภูมิ รู้จักคุณค่าของสิ่งที่ได้อ่าน และได้สัมผัสด้วยตนเอง แทนที่จะฟังแต่สิ่งที่ “เขาเล่าว่า” และด่วนสรุปเอา การอ่านเอกสารชั้นต้นเป็นจุดเริ่มต้นของวิธีการทางประวัติศาสตร์ นั่นคือ อ่านแล้ววิเคราะห์บนพื้นฐานของข้อเท็จ(ข้อ)จริง อย่างสมเหตุสมผล
http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9786167070032

เครดิตเนื้อหาในหนังสือจาก
ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ (ห้องสมุด) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย









อมยิ้ม04อมยิ้ม04อมยิ้ม04อมยิ้ม04อมยิ้ม04















แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่