[SR] รีวิวโปรแกรมเพื่องานเขียนแบบไฟฟ้า SolidWorks Electrical

SolidWorks Electrical
เข้าใจว่าหลายๆท่านที่ทำงานด้านเขียนแบบเครื่องกล น่าจะคุ้นเคยกับชื่อโปรแกรม SolidWorks อยู่บ้างไม่มากก็น้อย โปรแกรมตัวนี้จุดเด่นหลักๆคือถูกออกแบบขึ้นมาให้ใช้กับงานออกแบบทางด้านเครื่องกลครับ ในรูปแบบของงาน 3มิติ ซึ่งจะเน้นเรื่องความเรียบง่าย กระบวนการออกแบบไม่ซับซ้อนมากนัก จึงค่อนข้างที่จะเป็นที่นิยิมในบ้านเราครับ ขั้นตอนการวาดโดยคร่าวๆจะเริ่มต้นจากการ sketch แล้วขึ้น 3D โมเดลโดยใช้พวก Feature ที่มีอยู่ในโปรแกรม ปรับแต่งรูปร่างให้ได้ตามที่เราต้องการ จากนั้นจึง Generate ออกไปเป็น Engineering drawing หรือเจ้าแบบสองมิติที่เราเคยผ่านตากันมาบ้างแล้วล่ะครับ


มาเริ่มทำความรู้จักโปรแกรมเขียนแบบไฟฟ้า SolidWorks Electrical
โปรแกรมโซลิดเวิร์คอิเลคทริคอลเป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบงานทางด้านระบบไฟฟ้าและระบบนิวเมติกส์-ไฮดรอลิค ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปใช้ออกแบบเครื่องจักรระบบออโตเมชั่น และยังสามารถนำไปต่อยอดกับงานติดตั้ง โดยใช้งานร่วมกับโปรแกรมโซลิคเวิร์คอิเลคทริคอล 3 มิติ เพื่อออกแบบงานติดตั้งอุปกรณ์ โดยใช้การเขียนแบบในระบบสามมิติ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพการติดตั้งที่ชัดเจน ปรับปรุงแก้ไขได้ก่อนนำไปติดตั้งจริง และยังจัดการในส่วนของการแสดงผังการจัดการพื้นที่การใช้สอย (GA Plan :General Arrangement Drawing) การแสดงภาพตัด (Section View) และรวมถึงแบบที่แสดงรายละเอียดต่างๆ (Shop Drawing) ได้อย่างรวดเร็ว และยังรวมถึงความสามารถในการแสดงรายการวัตถุดิบ (BOM : Bill of material ) ที่ใช้ในงานได้ทันที ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลาในการตรวจเช็ครายการวัตถุดิบจากแบบ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และใช้เวลานานในการแยกรายการวัตถุดิบจากแบบที่เขียน และยังมีความสามารถอื่นๆอีกมากมายที่สามารถช่วยให้งานออกแบบระบบไฟฟ้าทำได้สะดวกและรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งจะช่วยลดทั้งเวลาและต้นทุนในการออกแบบงานระบบไฟฟ้า


การทำงานของโปรแกรมโซลิดเวิร์คอิเลคทริคอล
โซลิคเวิร์คอิเลคทริคอล จะทำงานในรูปแบบของโครงการ โดยจะเริ่มขั้นตอนตั้งแต่การสร้างโครงการ โดยการกำหนดในส่วนของมาตรฐานสัญลักษณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบไฟฟ้าซึ่งโปรแกรมจะจัดเตรียมมาให้สำหรับการเริ่มต้นใช้งาน 4 มาตรฐานด้วยกัน
•    ANSI (American National Standards Institute)
•    GB_Chinese (Guobiao standards)
•    IEC (International Electro technical Commission)
•    JIS (Japanese Industrial Standard)    
ในส่วนของเอกสารเอกสารสำหรับช่วยในการออกแบบระบบไฟฟ้าที่จัดเตรียมไว้ให้ในโครงการซึ่งจะประกอบไปด้วย
•    หน้าปกโครงการ (Cover page),
•    สารบัญแบบ (Drawing list)ในส่วนของสารบัญแบบนั้น สามารถที่จะเรียกสถานะจำนวนแบบที่สร้างไว้ในปัจจุบันได้ โดยที่ไม่ต้องย้อนไปแก้ไขสารบัญแบบใหม่ด้วยคำสั่ง (Update reports drawings)
•    ไฟล์สำหรับวาดแบบไฟฟ้าประเภท ซิงเกิ้ลไลน์ไดอะแกรม (Single line diagram)
•    ไฟล์สำหรับวาดแบบไฟฟ้าประเภทวงจรกำลังและการควบคุมด้วย พีแอลซี (Electrical Schematic diagram)


ทั้งหมดที่กล่าวมานี้หากเราเสร็จสิ้นการออกแบบในแต่ละไฟล์แล้ว เราสามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูล นำมาแสดงเป็นรายการวัตถุดิบ (Report) และแบบสำหรับแสดงการเข้าสายไฟระหว่างอุปกรณ์ (Terminal strip) โดยที่ไม่ต้องกลับมาสร้างใหม่ และการสร้างแบบตู้ควบคุม และอุปกรณ์ภายในตู้ (2D Cabinet layout) ซึ่งทั้งบล็อกและแทคของอุปกรณ์จะถูกดึงมาจากฐานข้อมูล ทำให้ลดเวลาในส่วนของการสร้างและค้นหาบล็อกไปทันที  และยังสามารถที่จะนำเอกสารอ้างอิงในการทำงานเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลของโครงการได้ด้วย


ส่วนของฐานข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในระบบ SQL ซึ่งจะทำให้การทำงานของโครงการมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการจุดจัดเก็บข้อมูลการทำงาน หรือการทำงานในรูปแบบระบบเครือข่าย ซึ่งสามารถกำหนดให้ผู้ใช้เข้ามาร่วมทำงานบนโครงการเดียวกันพร้อมกันได้ครั้งละหลายคน จึงสามารถทำให้งานที่อยู่บนโครงการนั้นแล้วเสร็จเร็วยิ่งขึ้น  และโครงการที่อยู่บนฐานข้อมูลระบบ SQL นี้ ข้อมูลทั้งหมดที่ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับขณะที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกจัดเก็บลงบนฐานข้อมูลทันทีซึ่งจะทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถแลกเปลี่ยนและตรวจสอบข้อมูลได้ทันที (Update Real time)

ต่อยอดการออกแบบไฟฟ้าด้วย SolidWorks Electrical 3D
โปรแกรมโซลิดเวิร์คอิเลคทริคอลสามารถที่จะนำข้อมูลจากโครงการที่สร้างไว้จากงานออกแบบโซลิดเวิร์คอิเลคทริคอล 2มิติ นำมาต่อยอดใช้งานกับโปรแกรม โซลิดเวิร์คอิเลคทริคอล 3 มิติ ได้ทันทีเนื่องจากทั้งสองส่วนนี้ทำงานอยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน จึงสามารถทำให้การทำงานระหว่าง อิเลคทริคอลดีไซน์ และ แมคคานิคอลดีไซน์ นั้นทำงานได้พร้อมกัน ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทั้งสองส่วนให้ดียิ่งขึ้น



ในเรื่องของการเข้าสายระหว่างตัวอุปกรณ์ในตู้ที่ได้ทำการประกอบไว้ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตัวโปรแกรม  โซลิดเวิร์คอิเลคทริคอล 3 สามมิติ จัดการให้ เนื่องจากตัวอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในโปรแกรมนั้นมีการกำหนดจุดของการเข้าสายไว้ให้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นกดปุ่ม Route wire บนริบบ้อนเท่านั้น สายไฟจะเจนเนอเรทตัวเองเข้าตามจุดต่อพ่วงของตัวอุปกรณ์ และสิ่งที่เราจะได้ต่อมาคือความยาวของสายไฟที่จะปรากฏอยู่บนแบบแสดงรายการวัสดุ พร้อมกับมาร์คสายและระบุตำแหน่งการต่อจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุดของสาย

ชื่อสินค้า:   solidworks
คะแนน:     
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่