http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/04/blog-post_20.html
ถาม. ช่วงหลังอาจารย์มักเขียนถึงอันตรายของการทำความดีหรือกระทั่งสิ่งที่เป็นอุดมคติด้วยซ้ำไป
ส. เรื่องนี้มีความซับซ้อนอยู่ ในเบื้องต้นขอให้เข้าใจว่าผมไม่ได้ต่อต้านความดี ในความหมายของความรักความเมตตาที่มนุษย์มอบต่อกัน แต่สิ่งที่ผมเขียนถึงเป็นระยะ ๆ คือท้วงติงการอ้างถึงความดีมาปกปิดการครอบงำ หรือการเอารัดเอาเปรียบซึ่งบางคนทำไปโดยไม่รู้ตัว
โลกเดือดร้อนมาก เพราะการอ้างถึงความดี โอเค คนชั่วไม่จริงใจกับความดี อ้างความดีมากลบเกลื่อนการกระทำของตน อันนี้เราเข้าใจได้ไม่ยาก แต่มีบ่อยครั้งที่เราไม่เข้าใจก็คือว่า ทำไมคนดีถึงไปทำสิ่งที่ไม่ดี หรือถึงขั้นทำร้ายผู้อื่นได้อย่างหน้าตาเฉย คำตอบมีอยู่ว่าเพราะเขาไปผูกตัวตนไว้กับความคิดเรื่องดีชั่วอย่างกลไกตายตัว เมื่อโลกไม่เป็นไปตามความคิด ก็รู้สึกมีความชอบธรรมที่จะไปขัดแย้ง ไปต่อต้าน กระทั่งไปเปลี่ยนแปลงเอาตามใจชอบ เพราะว่าเขาคิดว่าเขาทำดี
ด้วยเหตุนี้ผมถึงบอกว่า อุดมคติมันเป็นอัตตาชนิดหนึ่งผมเคยผ่านมาแล้ว ในสมัยเป็นนักปฏิวัติ เราถูกสอนว่าฆ่าศัตรูไม่ผิด เพราะเพื่อโลกที่ดีกว่า ทำไปทำมาฝ่ายซ้ายก็ฆ่ากันเองเยอะแยะ ในนามของโลกที่ดีกว่า ในนามของความถูกต้อง แล้วบางคนก็แทบจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังทำร้ายผู้อื่นอย่างไม่ยุติธรรม
ในโลกของปัญญาชน นักวิชาการก็เช่นกัน ถามว่านักวิชาการมีผลประโยชน์ทางวัตถุไหม ไม่ค่อยมีหรอก แต่ผลประโยชน์ทางจิตใจ ทางปัญญา นี่มีมากโดยไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าสิ่งที่ตัวเองคิดมันถูกไปหมด พอถูกไปหมด ใครไม่เห็นด้วยก็โกรธ พอโกรธก็เริ่มหาทางทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ด่าทอ คัดค้าน ปฏิเสธหาทางเอาชนะไอ้นี่เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง โดยพื้นฐานแล้วไม่ต่างอะไรจากอัตตาในเรื่องอื่นๆ ..
เรียบเรียงจากบทความ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ใน ‘ปัจจุบันขณะ’ หนังสือ ฅ.คน ฉบับเดือนเมษายน ๒๕๕๐
ดาวน์โหลด PDF ไฟล์ที่
http://rapidshare.com/files/26916759/Saksan.pdf.html
พ่อไม้
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ตายยัง
ถาม. ช่วงหลังอาจารย์มักเขียนถึงอันตรายของการทำความดีหรือกระทั่งสิ่งที่เป็นอุดมคติด้วยซ้ำไป
ส. เรื่องนี้มีความซับซ้อนอยู่ ในเบื้องต้นขอให้เข้าใจว่าผมไม่ได้ต่อต้านความดี ในความหมายของความรักความเมตตาที่มนุษย์มอบต่อกัน แต่สิ่งที่ผมเขียนถึงเป็นระยะ ๆ คือท้วงติงการอ้างถึงความดีมาปกปิดการครอบงำ หรือการเอารัดเอาเปรียบซึ่งบางคนทำไปโดยไม่รู้ตัว
โลกเดือดร้อนมาก เพราะการอ้างถึงความดี โอเค คนชั่วไม่จริงใจกับความดี อ้างความดีมากลบเกลื่อนการกระทำของตน อันนี้เราเข้าใจได้ไม่ยาก แต่มีบ่อยครั้งที่เราไม่เข้าใจก็คือว่า ทำไมคนดีถึงไปทำสิ่งที่ไม่ดี หรือถึงขั้นทำร้ายผู้อื่นได้อย่างหน้าตาเฉย คำตอบมีอยู่ว่าเพราะเขาไปผูกตัวตนไว้กับความคิดเรื่องดีชั่วอย่างกลไกตายตัว เมื่อโลกไม่เป็นไปตามความคิด ก็รู้สึกมีความชอบธรรมที่จะไปขัดแย้ง ไปต่อต้าน กระทั่งไปเปลี่ยนแปลงเอาตามใจชอบ เพราะว่าเขาคิดว่าเขาทำดี
ด้วยเหตุนี้ผมถึงบอกว่า อุดมคติมันเป็นอัตตาชนิดหนึ่งผมเคยผ่านมาแล้ว ในสมัยเป็นนักปฏิวัติ เราถูกสอนว่าฆ่าศัตรูไม่ผิด เพราะเพื่อโลกที่ดีกว่า ทำไปทำมาฝ่ายซ้ายก็ฆ่ากันเองเยอะแยะ ในนามของโลกที่ดีกว่า ในนามของความถูกต้อง แล้วบางคนก็แทบจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังทำร้ายผู้อื่นอย่างไม่ยุติธรรม
ในโลกของปัญญาชน นักวิชาการก็เช่นกัน ถามว่านักวิชาการมีผลประโยชน์ทางวัตถุไหม ไม่ค่อยมีหรอก แต่ผลประโยชน์ทางจิตใจ ทางปัญญา นี่มีมากโดยไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าสิ่งที่ตัวเองคิดมันถูกไปหมด พอถูกไปหมด ใครไม่เห็นด้วยก็โกรธ พอโกรธก็เริ่มหาทางทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ด่าทอ คัดค้าน ปฏิเสธหาทางเอาชนะไอ้นี่เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง โดยพื้นฐานแล้วไม่ต่างอะไรจากอัตตาในเรื่องอื่นๆ ..
เรียบเรียงจากบทความ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ใน ‘ปัจจุบันขณะ’ หนังสือ ฅ.คน ฉบับเดือนเมษายน ๒๕๕๐
ดาวน์โหลด PDF ไฟล์ที่
http://rapidshare.com/files/26916759/Saksan.pdf.html
พ่อไม้