ประเพณีลากพระทางน้ำข้ามทะเล ณ บ้านปากปรน อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 หรือ วันแรม 8 ค่ำ เดือน 11
**ก่อนอื่นบอกเลยนะครับว่าเป็นการเขียนกะทู้รีวิวการไปเที่ยวเป็นครั้งแรกของ จขกท. หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้
ไม่รอช้า !!! มาทำความรู้จักกับ 'บ้านปากปรน' กันก่อนนะครับ.....
บ้านปากปรน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
โดยบ้านปากปรนจะแบ่งออกเป็นบ้าน 2 บ้าน ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า 'บ้านปากปรนท่าออก' กับ 'บ้านปากปรนท่าตก' แบ่งเส้นอาณาเขตด้วยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ นั่นคือ คลองปากปรน
เนื่องด้วยวิถีชีวิตชาวบ้านปากปรน มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำลำคลองและทะเลอันดามัน ทำให้ผู้คนที่นี่มีความผูกพันกับสายน้ำ และท้องทะเลอันดามัน สมัยก่อนการเดินทางโดยทางบกเป็นไปด้วยความยากลำบาก (ปกติวัดอื่นๆ จะลากเรือพระทางบกจากวัดตัวเองไปยังสนามกีฬาทุ่งแจ้งในตัวอำเภอเมือง จังหวัดตรังกัน) ประกอบกับช่วงเวลาการทำประมงของชาวบ้านส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงที่ทะเลขึ้นสูง หรือ น้ำใหญ่ ระหว่าง 13 ค่ำ ถึง 5 ค่ำ จำเป็นต้องออกทำการประมง ไม่มีเวลาเข้าร่วมลากพระที่วัดต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการประมง
ดังนั้น ในช่วงออกพรรษา วันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงที่ว่างเว้นจากการประกอบอาชีพ จึงเป็นจุดกำเนิดงานประเพณีลากพระทางน้ำของชาวบ้านปากปรนขึ้น ชาวบ้านปากปรนในอดีตซึ่งมีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับการใช้เรือเพื่อการคมนาคมและการประกอบอาชีพทางการประมง จึงร่วมกันนำเอาเรือที่ใช้ทำประมงมาประกอบตกแต่งเป็นเรือพระแล้วใช้เรือลำอื่นๆ ผูกลากไปในคลองปากปรนเพื่อนำออกสู่ทะเลและลากไปยังแหลมจุโหย เกาะลิบง นับจากนั้นก็ได้จัดติดต่อจนเป็นประเพณีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยการริเริ่มของประชาชนบ้านปากปรน มีองค์การบริหารส่วนตำบลให้การสนับสนุน และมีชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ ได้มีโอกาสเข้าร่วมในงานประเพณีนี้ด้วย โดยทุกวันออกพรรษาทุกคนจะร่วมแรงร่วมใจกันจัดข้าวปลาอาหารลงเรือ เพื่อร่วมขบวนลากพระไปตามลำคลองในหมู่บ้าน และข้ามทะเลไปยังเกาะลิบง แหล่งอาศัยของพะยูน ระหว่างนั้นได้มีการประกอบพิธีลอยพระเคราะห์ เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา และขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้อาชีพจุนเจือครอบครัว ประเพณีลากพระทางทะเลนับเป็นประเพณีโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวใน จ.ตรัง
ซึ่งการจัดงานนี้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเพณีดังกล่าว และได้จัดให้มีการแข่งขันเรือพาย เพื่อเป็นการร่วมทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ สร้างชุมชนให้เข้มแข็งและเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีให้สืบทอดต่อไป
ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันตกแต่งเรือพระ 1 ลำ สำหรับใช้ลาก ภายในเรือจะมีพระลากประจำเรือ และนิมนต์พระสงฆ์จากวัดปากปรน ซึ่งเป็นวัดในชุมชนมานั่งประจำเรือพร้อมทั้งใส่เครื่องดนตรี โพน กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ ไว้คอยส่งสัญญาณให้จังหวะในการลาก และก่อนถึงวันลาก 3 วันชาวบ้านจะมีการทำเรือจำลองขึ้นมาอีก1 ลำ เพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์กลางทะเล โดยชาวบ้านจะตัดเล็บ ตัดผม ใส่ไว้ในเรือจำลอง และมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดให้ศีลให้พรก่อนวันลาก 1 วัน เมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ ชาวบ้านจะมาพร้อมเพรียงกันบริเวณท่าเรือบ้านปากปรน
ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 แต่เริ่มงานวันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยคืนวันที่ 3 มีการจัดการแสดงของชาวบ้านและเยาวชนในชุมชน การจับสอยดาว และมีการขายของต่างๆ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของชาวบ้านในชุมชน
จขกท.กับเพื่อนอีก 1 คน เดินทางไปถึงบ้านปากปรน ในตอนเย็นวันที่ 3 ตามคำชักชวนคะยั้นคะยอซะเหลือเกินของเพื่อนของ จขกท.ที่เป็นคนปากปรนเอง (ขอบอก ที่พัก ฟรี นะจ้ะ!!!) มาถึงพวกเราก็ไม่รีรอ เดินเที่ยวในงาน จับสอยดาว ซื้อของกิน เดินเล่นไปที่ท่าเรือบ้านปากปรน ไปดูเรือพระที่กำลังตกแต่งด้วยสีสันที่สวยงาม
แล้วก็เดินไปยังเวทีในช่วงค่ำ มีการแสดงต่างๆของชาวบ้านและเยาวชนตัวเล็กๆ น่ารักๆ บนเวที หลังจากนั้นก็เดินกลับบ้านไปรับประทานปูกันแบบฟรีๆ อีก คุณแม่ของเพื่อนเป็นคนแกะปูไว้ให้ เนื้อปูอร่อย เพราะเป็นปูสดๆ ฮ่าๆๆๆๆ ฟินง่ะ (ขออภัยนะจุดๆ นี้ ไม่มีภาพปูตัวใหญ่ๆ ยืนยัน มัวแต่กินอยู่)
มาถึงเช้าวันที่ 4 จขกท. ตื่นตั้งแต่หกโมงเช้า เพราะกำหนดการที่จะมาการลากเรือพระทางน้ำอยู่ประมาณแปดโมงกว่าๆ วันนี้ฟ้าครึ้ม ฝนตกเล็กน้อย ตั้งแต่เช้า
...แปดโมงครึ่ง เสียงประทัดดังขึ้น นั่นมีความหมายว่า ถึงฤกษ์เวลาออกเรือพระแล้ว แต่จขทก. กับเพื่อนยังตื่นเต้น ยังอยู่บนฝั่งอยู่เลย เลยมาดูขบวนลากเรือพระที่ท่าน้ำ พร้อมกับชาวบ้านที่นี่ ในขบวนลากเรือพระมีเรือหางยาวที่มีคนนั่งพายเรือลากนำจำนวน 10-12 ลำ ลากเรือพระ ผูกลากไปในคลองปากปรน ยาวเป็นแนวสีสันของเสื้อผ้าของคนพายกับเรือพระยังสวยงาม ที่พวกเรายังไม่ได้ลงเรือต้องให้เรือพระออกจากคลองปากปรนลงทะเลไปก่อน เพราะพวกเราจะไปต้องไปกับเรือเรือหางยาวตามหลังไปเรือพระไป
และแล้วพวกเราก็ได้ลงเรือหางยาวซะทีครับ ในเรือเรามีทั้งหมด 7 คน รวมกัปตันเรือหรือนายหัวเรือผู้ใจดีครับ
ออกเรือแล้วครับ และเรืออีกหลายลำกำลังจะตามมา...
เรือกำลังจากออกจากคลองปากปรนสู่ทะเล ระหว่างสองฝั่งคลองแสดงถึงวิถึชีวิตของชาวบ้านบริเวณนี้ครับ นั่นคือ การทำประมง
ตอนนี้พวกเราเริ่มเห็นขบวนลากเรือพระแต่ไกล น่าจะเป็นบริเวณปากแม่น้ำตรัง ซึ่งเป็นจุดรวมของแม่น้ำตรังกับแม่น้ำปะเหลียน
บรรยากาศยามเช้า บริเวณปากน้ำแม่น้ำตรังวิวดีมากๆ ทั้งพื้นน้ำ ป่าชายเลน ภูเขาจากฝั่งกันตัง หมอก กลิ่นไอทะเล
แม้ฟ้าฝนจะไม่อำนวย แต่ไม่รู้สึกร้อนจากแสงแดดกับคลื่นทะเลที่สงบ
แต่ได้ใส่เสื้อแขนยาวกับหมวกปิดเอายาว เผื่อกันแดดออกช่วงเที่ยงครับ
ลุงกัปตันครับ กับเรือหางยาวที่กำลังตามหลังมา
แล้วเรือหางยาวก็มาตามขบวนลากเรือพระมาทัน ของจริงขบวนเรือสวยมากๆ ครับ
ลุงกัปตันบังคับหันเรือหางยาวกลับหลังไปยังขบวนเรือพระ เพื่อให้พวกเราได้เห็นเรืออีกด้านหนึ่ง
มีทีมนักข่าวจากสำนักต่างๆ มาร่วมทำข่าวประชาสัมพันธ์ด้วยครับ ทั้งสื่อโทรทัศน์ต่างๆ และก็สื่อท้องถิ่น
ตลอดเส้นทางการลาก จะมีการบรรเลงดนตรีอย่างครึกครื้นสนุกสนาน มีการซัดต้ม ผลไม้ ระหว่างเรือร่วมขบวน
เมื่อขบวนเรือเดินทางถึงกลางทะเล เรียกว่า “จุดทางน้ำ 4 แพรก” ซึ่งจุดนี้เรือทุกลำจะหยุดร่วมทำพิธีปล่อยเรือสะเดาะเคราะห์ที่ได้เตรียมไว้ ลอยไปกลางทะเล จากนั้น เสียงโดนส่งสัญญาณจากเรือลากจะดังขึ้นอีกครั้ง ขบวนเรือทั้งหมดก็จะลากเรือพระสู่แหลมจุโหย เกาะลิบง
และนี่เป็นปิ่นโตใส่อาหารคาวหวานที่พวกเราร่วมรับประทานอาหารกลางวันด้วยกันบนแหลมจุโหย เกาะลิบง
และข้อสำคัญของการนำอาหารลงเรือคือ
ห้ามนำอาหารที่ทำจากเนื้อสุกรลงเรือเป็นอันขาด เพราะมีความเชื่อที่ว่าแม่ย่านางของเรือเป็นมุสลิม
บรรยากาศในทะเลอันดามันบริเวณน่านน้ำตรัง จะเห็นเรือประมง ฉากหลังเป็นเกาะต่างๆ จากซ้ายมือ ไปยังขวามือ เช่น เกาะสุกร เกาะตะรุเตา(สตูล) เกาะเภตรา เกาะเหลาเหลียง เกาะลิบง เกาะนก เกาะกระดาน และเกาะมุก และสามารถมองเห็นชายหาดได้ทั้งฝั่งอำเภอหาดสำราญ และอำเภอกันตัง
และตอนนี้ลุงกัปตันพาเรามุ่งหน้าสู่แหลมจุโหย เกาะลิบง ขึ้นฝั่งก่อนที่ขบวนเรือพระตามมาถึง Let it Go...
ก่อนถึงแหลมจุโหย เกาะลิบง จะผ่านเกาะเล็กๆ ที่เรียกว่า 'เกาะนก'
และนี่ปลายแหลมจุโหย เกาะลิบง ฉากหลังคือเกาะเหลาเหลียง สวยมากครับ
ถึงเกาะลิบงแล้ว............!!! ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือบ้านปากปรน ถึง แหลมจุโหย เกาะลิบง ประมาณ 1 ชั่วโมง
หลังจากนั้น พวกเราก็ถ่ายรูปรอขบวนลากเรือพระ ฆ่าเวลากัน เมื่อขบวนลากเรือพระมาถึงแหลมจุโหย เกาะลิบง ชาวบ้านต่างจับจองหาพื้นที่รับประทานอาหารด้วยกัน และนำกับข้าวมาแบ่งปันกัน เมื่อรับประทานอาหารกันเสร็จแล้ว ชาวบ้านก็มารวมตัวกันที่หาดทรายเพื่อร่วมการละเล่นพื้นบ้าน เช่น ชักเย่อ วิ่งกระสอบ และกิจกรรมริมชายหาดต่างๆ เป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนในหมู่บ้าน
เมื่อถึงเวลาเที่ยง ชาวบ้านก็พาขบวนลากเรือกลับเข้าฝั่งที่ท่าเรือบ้านปากปรนอีกครั้ง
ช่วงบ่าย มีการแข่งขันเรือพายซึ่งมี 5 ประเภท คือ ประเภทประชาชนทั่วไป16 ฝีพายชาย ประเภทประชาชนทั่วไป 16 ฝีพายหญิง ประเภทประชาชนทั่วไปชาย-หญิง 7 ฝีพาย ประเภทอาวุโส 7 ฝีพาย และประเภทหน่วยงาน 7 ฝีพาย
โดยถือปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมานับหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งได้กลายเป็นประเพณีประจำถิ่นที่ยังหลงเหลือเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้ปรากฏคงอยู่สืบไป
การเดินทาง จากตัวเมืองตรัง โดยสารรถตู้ปรับอากาศ หรือรถแท็กซี่สายตรัง-ย่านตาขาว หรือรถโดยสารประจำทางตรัง-สตูล แล้วลงที่ย่านตาขาว จากตลาดย่านตาขาวมีรถสองแถวสายย่านตาขาว-ปากปรน ถ้าขับรถไปเองเมื่อเลยตลาดอำเภอย่านตาขาวไปประมาณ 8 กม. ถึงสี่แยกบ้านนา เลี้ยวขวาเข้าไปในถนนหาดสำราญ ขับรถตรงไป ประมาณ 20 กม. ก่อนถึงหาดสำราญ จะเจอป้ายบอกเลี้ยวขวาไปยังบ้านปากปรน
[SR] [Review] ประเพณีลากพระทางน้ำข้ามทะเล ณ บ้านปากปรน หนึ่งเดียวในโลก จังหวัดตรัง
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 หรือ วันแรม 8 ค่ำ เดือน 11
**ก่อนอื่นบอกเลยนะครับว่าเป็นการเขียนกะทู้รีวิวการไปเที่ยวเป็นครั้งแรกของ จขกท. หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้
ไม่รอช้า !!! มาทำความรู้จักกับ 'บ้านปากปรน' กันก่อนนะครับ.....
บ้านปากปรน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
โดยบ้านปากปรนจะแบ่งออกเป็นบ้าน 2 บ้าน ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า 'บ้านปากปรนท่าออก' กับ 'บ้านปากปรนท่าตก' แบ่งเส้นอาณาเขตด้วยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ นั่นคือ คลองปากปรน
เนื่องด้วยวิถีชีวิตชาวบ้านปากปรน มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำลำคลองและทะเลอันดามัน ทำให้ผู้คนที่นี่มีความผูกพันกับสายน้ำ และท้องทะเลอันดามัน สมัยก่อนการเดินทางโดยทางบกเป็นไปด้วยความยากลำบาก (ปกติวัดอื่นๆ จะลากเรือพระทางบกจากวัดตัวเองไปยังสนามกีฬาทุ่งแจ้งในตัวอำเภอเมือง จังหวัดตรังกัน) ประกอบกับช่วงเวลาการทำประมงของชาวบ้านส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงที่ทะเลขึ้นสูง หรือ น้ำใหญ่ ระหว่าง 13 ค่ำ ถึง 5 ค่ำ จำเป็นต้องออกทำการประมง ไม่มีเวลาเข้าร่วมลากพระที่วัดต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการประมง
ดังนั้น ในช่วงออกพรรษา วันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงที่ว่างเว้นจากการประกอบอาชีพ จึงเป็นจุดกำเนิดงานประเพณีลากพระทางน้ำของชาวบ้านปากปรนขึ้น ชาวบ้านปากปรนในอดีตซึ่งมีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับการใช้เรือเพื่อการคมนาคมและการประกอบอาชีพทางการประมง จึงร่วมกันนำเอาเรือที่ใช้ทำประมงมาประกอบตกแต่งเป็นเรือพระแล้วใช้เรือลำอื่นๆ ผูกลากไปในคลองปากปรนเพื่อนำออกสู่ทะเลและลากไปยังแหลมจุโหย เกาะลิบง นับจากนั้นก็ได้จัดติดต่อจนเป็นประเพณีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยการริเริ่มของประชาชนบ้านปากปรน มีองค์การบริหารส่วนตำบลให้การสนับสนุน และมีชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ ได้มีโอกาสเข้าร่วมในงานประเพณีนี้ด้วย โดยทุกวันออกพรรษาทุกคนจะร่วมแรงร่วมใจกันจัดข้าวปลาอาหารลงเรือ เพื่อร่วมขบวนลากพระไปตามลำคลองในหมู่บ้าน และข้ามทะเลไปยังเกาะลิบง แหล่งอาศัยของพะยูน ระหว่างนั้นได้มีการประกอบพิธีลอยพระเคราะห์ เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา และขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้อาชีพจุนเจือครอบครัว ประเพณีลากพระทางทะเลนับเป็นประเพณีโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวใน จ.ตรัง
ซึ่งการจัดงานนี้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเพณีดังกล่าว และได้จัดให้มีการแข่งขันเรือพาย เพื่อเป็นการร่วมทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ สร้างชุมชนให้เข้มแข็งและเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีให้สืบทอดต่อไป
ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันตกแต่งเรือพระ 1 ลำ สำหรับใช้ลาก ภายในเรือจะมีพระลากประจำเรือ และนิมนต์พระสงฆ์จากวัดปากปรน ซึ่งเป็นวัดในชุมชนมานั่งประจำเรือพร้อมทั้งใส่เครื่องดนตรี โพน กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ ไว้คอยส่งสัญญาณให้จังหวะในการลาก และก่อนถึงวันลาก 3 วันชาวบ้านจะมีการทำเรือจำลองขึ้นมาอีก1 ลำ เพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์กลางทะเล โดยชาวบ้านจะตัดเล็บ ตัดผม ใส่ไว้ในเรือจำลอง และมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดให้ศีลให้พรก่อนวันลาก 1 วัน เมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ ชาวบ้านจะมาพร้อมเพรียงกันบริเวณท่าเรือบ้านปากปรน
ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 แต่เริ่มงานวันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยคืนวันที่ 3 มีการจัดการแสดงของชาวบ้านและเยาวชนในชุมชน การจับสอยดาว และมีการขายของต่างๆ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของชาวบ้านในชุมชน
จขกท.กับเพื่อนอีก 1 คน เดินทางไปถึงบ้านปากปรน ในตอนเย็นวันที่ 3 ตามคำชักชวนคะยั้นคะยอซะเหลือเกินของเพื่อนของ จขกท.ที่เป็นคนปากปรนเอง (ขอบอก ที่พัก ฟรี นะจ้ะ!!!) มาถึงพวกเราก็ไม่รีรอ เดินเที่ยวในงาน จับสอยดาว ซื้อของกิน เดินเล่นไปที่ท่าเรือบ้านปากปรน ไปดูเรือพระที่กำลังตกแต่งด้วยสีสันที่สวยงาม
แล้วก็เดินไปยังเวทีในช่วงค่ำ มีการแสดงต่างๆของชาวบ้านและเยาวชนตัวเล็กๆ น่ารักๆ บนเวที หลังจากนั้นก็เดินกลับบ้านไปรับประทานปูกันแบบฟรีๆ อีก คุณแม่ของเพื่อนเป็นคนแกะปูไว้ให้ เนื้อปูอร่อย เพราะเป็นปูสดๆ ฮ่าๆๆๆๆ ฟินง่ะ (ขออภัยนะจุดๆ นี้ ไม่มีภาพปูตัวใหญ่ๆ ยืนยัน มัวแต่กินอยู่)
มาถึงเช้าวันที่ 4 จขกท. ตื่นตั้งแต่หกโมงเช้า เพราะกำหนดการที่จะมาการลากเรือพระทางน้ำอยู่ประมาณแปดโมงกว่าๆ วันนี้ฟ้าครึ้ม ฝนตกเล็กน้อย ตั้งแต่เช้า
...แปดโมงครึ่ง เสียงประทัดดังขึ้น นั่นมีความหมายว่า ถึงฤกษ์เวลาออกเรือพระแล้ว แต่จขทก. กับเพื่อนยังตื่นเต้น ยังอยู่บนฝั่งอยู่เลย เลยมาดูขบวนลากเรือพระที่ท่าน้ำ พร้อมกับชาวบ้านที่นี่ ในขบวนลากเรือพระมีเรือหางยาวที่มีคนนั่งพายเรือลากนำจำนวน 10-12 ลำ ลากเรือพระ ผูกลากไปในคลองปากปรน ยาวเป็นแนวสีสันของเสื้อผ้าของคนพายกับเรือพระยังสวยงาม ที่พวกเรายังไม่ได้ลงเรือต้องให้เรือพระออกจากคลองปากปรนลงทะเลไปก่อน เพราะพวกเราจะไปต้องไปกับเรือเรือหางยาวตามหลังไปเรือพระไป
และแล้วพวกเราก็ได้ลงเรือหางยาวซะทีครับ ในเรือเรามีทั้งหมด 7 คน รวมกัปตันเรือหรือนายหัวเรือผู้ใจดีครับ
ออกเรือแล้วครับ และเรืออีกหลายลำกำลังจะตามมา...
เรือกำลังจากออกจากคลองปากปรนสู่ทะเล ระหว่างสองฝั่งคลองแสดงถึงวิถึชีวิตของชาวบ้านบริเวณนี้ครับ นั่นคือ การทำประมง
ตอนนี้พวกเราเริ่มเห็นขบวนลากเรือพระแต่ไกล น่าจะเป็นบริเวณปากแม่น้ำตรัง ซึ่งเป็นจุดรวมของแม่น้ำตรังกับแม่น้ำปะเหลียน
บรรยากาศยามเช้า บริเวณปากน้ำแม่น้ำตรังวิวดีมากๆ ทั้งพื้นน้ำ ป่าชายเลน ภูเขาจากฝั่งกันตัง หมอก กลิ่นไอทะเล
แม้ฟ้าฝนจะไม่อำนวย แต่ไม่รู้สึกร้อนจากแสงแดดกับคลื่นทะเลที่สงบ
แต่ได้ใส่เสื้อแขนยาวกับหมวกปิดเอายาว เผื่อกันแดดออกช่วงเที่ยงครับ
ลุงกัปตันครับ กับเรือหางยาวที่กำลังตามหลังมา
แล้วเรือหางยาวก็มาตามขบวนลากเรือพระมาทัน ของจริงขบวนเรือสวยมากๆ ครับ
ลุงกัปตันบังคับหันเรือหางยาวกลับหลังไปยังขบวนเรือพระ เพื่อให้พวกเราได้เห็นเรืออีกด้านหนึ่ง
มีทีมนักข่าวจากสำนักต่างๆ มาร่วมทำข่าวประชาสัมพันธ์ด้วยครับ ทั้งสื่อโทรทัศน์ต่างๆ และก็สื่อท้องถิ่น
ตลอดเส้นทางการลาก จะมีการบรรเลงดนตรีอย่างครึกครื้นสนุกสนาน มีการซัดต้ม ผลไม้ ระหว่างเรือร่วมขบวน
เมื่อขบวนเรือเดินทางถึงกลางทะเล เรียกว่า “จุดทางน้ำ 4 แพรก” ซึ่งจุดนี้เรือทุกลำจะหยุดร่วมทำพิธีปล่อยเรือสะเดาะเคราะห์ที่ได้เตรียมไว้ ลอยไปกลางทะเล จากนั้น เสียงโดนส่งสัญญาณจากเรือลากจะดังขึ้นอีกครั้ง ขบวนเรือทั้งหมดก็จะลากเรือพระสู่แหลมจุโหย เกาะลิบง
และนี่เป็นปิ่นโตใส่อาหารคาวหวานที่พวกเราร่วมรับประทานอาหารกลางวันด้วยกันบนแหลมจุโหย เกาะลิบง
และข้อสำคัญของการนำอาหารลงเรือคือ ห้ามนำอาหารที่ทำจากเนื้อสุกรลงเรือเป็นอันขาด เพราะมีความเชื่อที่ว่าแม่ย่านางของเรือเป็นมุสลิม
บรรยากาศในทะเลอันดามันบริเวณน่านน้ำตรัง จะเห็นเรือประมง ฉากหลังเป็นเกาะต่างๆ จากซ้ายมือ ไปยังขวามือ เช่น เกาะสุกร เกาะตะรุเตา(สตูล) เกาะเภตรา เกาะเหลาเหลียง เกาะลิบง เกาะนก เกาะกระดาน และเกาะมุก และสามารถมองเห็นชายหาดได้ทั้งฝั่งอำเภอหาดสำราญ และอำเภอกันตัง
และตอนนี้ลุงกัปตันพาเรามุ่งหน้าสู่แหลมจุโหย เกาะลิบง ขึ้นฝั่งก่อนที่ขบวนเรือพระตามมาถึง Let it Go...
ก่อนถึงแหลมจุโหย เกาะลิบง จะผ่านเกาะเล็กๆ ที่เรียกว่า 'เกาะนก'
และนี่ปลายแหลมจุโหย เกาะลิบง ฉากหลังคือเกาะเหลาเหลียง สวยมากครับ
ถึงเกาะลิบงแล้ว............!!! ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือบ้านปากปรน ถึง แหลมจุโหย เกาะลิบง ประมาณ 1 ชั่วโมง
หลังจากนั้น พวกเราก็ถ่ายรูปรอขบวนลากเรือพระ ฆ่าเวลากัน เมื่อขบวนลากเรือพระมาถึงแหลมจุโหย เกาะลิบง ชาวบ้านต่างจับจองหาพื้นที่รับประทานอาหารด้วยกัน และนำกับข้าวมาแบ่งปันกัน เมื่อรับประทานอาหารกันเสร็จแล้ว ชาวบ้านก็มารวมตัวกันที่หาดทรายเพื่อร่วมการละเล่นพื้นบ้าน เช่น ชักเย่อ วิ่งกระสอบ และกิจกรรมริมชายหาดต่างๆ เป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนในหมู่บ้าน
เมื่อถึงเวลาเที่ยง ชาวบ้านก็พาขบวนลากเรือกลับเข้าฝั่งที่ท่าเรือบ้านปากปรนอีกครั้ง
ช่วงบ่าย มีการแข่งขันเรือพายซึ่งมี 5 ประเภท คือ ประเภทประชาชนทั่วไป16 ฝีพายชาย ประเภทประชาชนทั่วไป 16 ฝีพายหญิง ประเภทประชาชนทั่วไปชาย-หญิง 7 ฝีพาย ประเภทอาวุโส 7 ฝีพาย และประเภทหน่วยงาน 7 ฝีพาย
โดยถือปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมานับหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งได้กลายเป็นประเพณีประจำถิ่นที่ยังหลงเหลือเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้ปรากฏคงอยู่สืบไป
การเดินทาง จากตัวเมืองตรัง โดยสารรถตู้ปรับอากาศ หรือรถแท็กซี่สายตรัง-ย่านตาขาว หรือรถโดยสารประจำทางตรัง-สตูล แล้วลงที่ย่านตาขาว จากตลาดย่านตาขาวมีรถสองแถวสายย่านตาขาว-ปากปรน ถ้าขับรถไปเองเมื่อเลยตลาดอำเภอย่านตาขาวไปประมาณ 8 กม. ถึงสี่แยกบ้านนา เลี้ยวขวาเข้าไปในถนนหาดสำราญ ขับรถตรงไป ประมาณ 20 กม. ก่อนถึงหาดสำราญ จะเจอป้ายบอกเลี้ยวขวาไปยังบ้านปากปรน
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น