ผมมีโอกาสได้ไปอบรมในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในวาระครบรอบชาตะกาล 110 ปี”ศรีบูรพา” (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ซึ่งเป็นการเขียนนวนิยายโดยการแกะรอยนวนิยายของศรีบูพาเรื่อง “ข้างหลังภาพ” จัดโดยสถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับกองทุนศรีบูรพา ในวันที่ 17-18 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยการอบรมในครั้งนี้สำหรับผู้ที่ได้เคยอ่านนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” มาแล้ว ผมจึงขอสรุปคำบรรยายไว้สำหรับการกลับมาทบทวนในภายหน้า และเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจในการเขียนนวนิยายด้วย
โดยการอบรมในวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2558 ช่วงบ่ายเป็นการอบรมในหัวข้อ แกะรอยข้างหลังภาพ โดย อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง และอาจารย์จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ซึ่งผมขอสรุปเป็นหัวข้อดังนี้
อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง บอกว่า
-คนที่อ่านนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” แล้วจะรู้สึกอิ่มเอิบและเอาใจช่วยตัวละคร มรว.กีรติ เสมอ
-ที่ผ่านมา อ.ชมัยภร สอนวิธีการเขียนเป็นหลัก ในการอบรมคราวนี้เลยได้เอานวนิยายมาลองแกะดูเพื่อให้รู้ว่านวนิยายที่ดีเขาเขียนกันอย่างไร โดยการเลือกเอาอมตะนิยายของศรีบูรพาเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้มาเป็นต้นแบบในการแกะรอยวรรณกรรม
-การแกะรอย “ข้างหลังภาพ” ในครั้งนี้ก็เพื่อจะได้เห็นแก่ของเรื่อง ที่ศรีบูรพาตั้งใจนำเสนอ
-แก่นของเรื่องก็คือเรื่องของความรักต่างวัย ในสมัยนั้นถือว่าอายุของ มรว.กีรติและนพพรห่างกันมาก และเรื่องของความรักต่างวัยเป็นข้อห้ามทางสังคม และแก่นของเรื่องอีกประการก็คือความรักที่ไม่สมหวังด้วยฐานะที่แตกต่างกัน ดังนั้นแก่นของเรื่องจึงเป็นเรื่องของความรักต่างวัย+ต่างฐานะ
อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย บอกว่า
-เรื่อง “ข้างหลังภาพ” ถือว่ามีพล็อตเป็นสูตรสำเร็จแบบ “ชายพบหญิง ชายรักหญิง ชายจากหญิงไป”
-มุมมองของการเล่าเรื่องเป็นการเล่าเรื่องผ่านตัวละครนพพรเป็นการใช้มุมมองแบบจำกัด ไม่ได้ใช้มุมมองแบบพระเจ้า ทำให้ผู้อ่านรู้แค่เพียงบางเรื่อง บางเรื่องก็ไม่รู้เลย และบางเรื่องผู้อ่านก็รู้ดี
-จดหมายถือว่าเป็นบทสนทนาอย่างหนึ่ง จึงทำให้ทั้งเรื่องนี้เป็นเล่าผ่านบทสนทนาทั้งหมด แทบจะไม่มีบทการกระทำเลย (มีน้อยมาก)
-สำหรับการวางโครงเรื่องนั้น ในตอนแรกเปิดเรื่องด้วยตอนในอนาคต (คือตอนปัจจุบันในเรื่อง) ส่วนที่เหลือไปจนถึงท้ายเรื่องนั้น (จนถึงตอนจบของเรื่อง) เป็นการเล่าย้อนกลับไปโดยเล่าผ่านความคิดคำนึงที่เป็นเรื่องเล่าของตัวละคร (ตัวนพพร)
-เล่าเริ่มต้นจากมีการพบกันของตัวละคร ทำให้รู้จักกันอย่างรวดเร็ว เป็นส่วนที่ทำให้เรื่องเดินไปข้างหน้าได้ (ภายในระยะ 8 สัปดาห์ที่ญี่ปุ่น)
-ในเรื่องตัวละครนพพรจะเป็นฝ่ายรุกเสมอ ส่วนตัวละคร มรว.กีรติ นั้นจะเป็นฝ่ายรับตลอดเช่นกัน ซึ่งเป็นการรุกรับกันเปรียบเทียบเหมือนดอกไม้กับแมลง ที่ดอกไม้จะหลอกล่อให้แมลงบินเข้าหาเสมอ (ตัวละคร มรว.กีรติ เหมือนมีแรงดึงดูดเพศชาย ด้วยคำพูดที่ไพเราะยั่วยวน) ทำให้แมลงหลงใหลไม่ยอมบินหนีไปจากดอกไม้เลย
-ฉากสำคัญที่สุดในเรื่องคือฉากที่มิตาเกะ มันคือห้องลับในที่โล่งสำหรับตัวละครทั้งสอง เป็นการพูดคุยกันสองต่อสองโดยไม่ต้องกระซิบกระซาบหรือพูดกันเบา ๆ เลย (พูดได้เต็มที่โดยไม่ต้องกลัวใครได้ยิน) ที่มิตาเกะนี้ตัวละคร มรว.กีรติ เผยความในใจให้ตัวละครนพพรทราบ เรื่องที่เธอจำใจต้องไปแต่งงานกับเจ้าคุณอธิการ นพพรจึงกล้าที่จะทำอะไรบางอย่าง (นพพรจูบ มรว.กีรติ)
-เหตุการณ์ที่มิตาเกะนั้นทำให้ทั้งคู่รักกันแล้ว (มีความรักชัดเจนทั้งคู่) แต่การแสดงออกนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่มิตาเกะนี้เป็นจุดสูงสุดของเรื่อง หลังจากนั้นเรื่องก็หันหัวลงเมื่อ มรว.กีรติ บอกให้นพพรทำตัวปกติเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าคุณอธิการ ความรู้สึกในใจของนพพรจึงได้ผ่อนลง
-เหตุการณ์ที่ท่าเรือ (ตอนส่งคุณหญิงกีรติขึ้นเรือกลับเมืองไทย) ถึงแม้เป็นที่โล่งเป็นที่สาธารณะ แต่ตัวละครทั้งสองกลับต้องพูดกันด้วยเสียงเบา ๆ ต้องแอบคุยกระซิบกัน และคุณหญิงกีรติพูดอะไรที่เป็นสัญลักษณ์บางอย่างด้วยคำพูดว่า “ลาก่อนคนดีของฉัน” ซึ่งการพูดว่าลาก่อนหลาย ๆ ครั้งนั้นก็คือการปฏิเสธนั้นเอง
-การจับมือกันของตัวละครทั้งสอง (ที่มิตาเกะ) เป็นการจับมือเพื่อเชื่อมตัวละครทั้งสองเข้าด้วยกันโดยการลดพื้นที่ว่างระหว่างกันไม่ให้เหลือเลย ถือว่าเป็นภาษากายอย่างหนึ่ง
-ในช่วงครึ่งหลังของเรื่อง ตัวละครทั้งสองได้สนทนากันผ่านจดหมายเท่านั้น คือหลังจากที่คุณหญิงกีรติขึ้นเรือกลับเมืองไทยจนถึงช่วงเวลาก่อนที่นพพรจะกลับเมืองไทยเป็นระยะ 6 ปี ดูแล้วอาจจะไม่สมดุลกับระยะเวลา 8 สัปดาห์ที่ทั้งสองอยู่ด้วยกัน คงเป็นความตั้งใจของศรีบูรพาผู้เขียนถึงความไม่สมดุลนี้
-จุดเปลี่ยนสำคัญอีกจุดหนึ่งในเรื่องก็คือ ตอนที่ท่านเจ้าคุณอธิการเสีย หลังจากนั้นมีคนมาจีบ มรว.กีรติ แต่เธอไม่สนใจ เหมือนเป็นสัญลักษณ์บอกว่าเธอกำลังรออะไรบางอย่างอยู่ก็ได้
-วันที่นพพรกลับถึงเมืองไทย มรว.กีรติจงใจใส่เสื้อน้ำเงินลายดอกขาวตัวเดิมไปรอรับนพพร เพื่อบอกเป็นนัยว่านัยเป็น “ฉันคนเดิม”
-หลังจากที่นพพรกลับมาอยู่เมืองไทยแล้ว นพพรไปเยี่ยม มรว.กีรติ 2 ครั้ง ครั้งแรกอยู่คุยกันยาวถึง 4 ชม. แต่ในครั้งที่ 2 พูดคุยกันไม่นานเพราะว่า มรว.กีรติป่วย เหมือนจะแสดงให้เห็นว่าใกล้จะถึงจุดจบของชีวิตแล้ว
-อ.จรูญพร บอกว่า ถ้าแบ่งเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ออกเป็น 2 ก้อนใหญ่ ๆ จะได้ดังนี้
ก้อนที่ 1 คือระยะเวลาที่ มรว.กีรติมีอิทธิพลต่อนพพร ช่วงที่ทำให้นพพรเกิดความรัก มรว.กีรติ
ก้อนที่ 2 คือระยะเวลาที่นพพรมีอิทธิพลต่อ มรว.กีรติ การ์ดแต่งงานของนพพรเหมือนคำสั่งประหารชีวิต มรว.กีรติ
-โดยเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้ถ้ามองที่ตรีมหลัก (Theme) และมองที่คาแรกเตอร์หรือบุคลิกแล้ว ถือได้ว่า มรว.กีรติคือตัวละครหลักในเรื่อง เพราะเป็นการเล่าถึง มรว.กีรติ ตัวนพพรเป็นแค่ผู้เล่าเรื่องเท่านั้น
อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง บอกว่า
-บุคลิกของคุณชนิด สายประดิษฐ์ (ภรรยาของศรีบูรพา) คือบุคลิกของตัวละคร มรว.กีรติ คือทั้งคู่ต่างก็งามสง่าและไม่แสดงออกเหมือนกัน
-การสร้างตัวละคร มรว.กีรตินั้น ศรีบูรพาสร้างผ่านคำบอกเล่าของตัวละครนพพร
-โดยทั่วไปแล้วนักเขียนมักจะเอาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเองนำมาเขียน มีข้อสังเกตบางประการว่า ชุดสีน้ำเงินลายดอกขาวของ มรว.กีรติ และชุดเครื่องแบบนักศึกษาของนพพร อาจจะมาจากการที่ศรีบูรพาชอบสีน้ำเงินก็เป็นได้
-ศรีบูรพาทำให้เราเห็นภาพแรกของ มรว.กีรติคือ สง่างาม , อ่อนโยนและชดช้อย ซึ่งเป็นบุคลิกในแวบแรกที่นพพรเห็น
-เวลาที่นักเขียนสร้างตัวละครนั้น ภาพแรกของตัวละครเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้คนอ่านติดตามและประทับใจ อีกทั้งการสร้างตัวละครนั้นให้เอาจุดเด่นของตัวละครขึ้นมาก่อน ตัวอย่างเช่น มรว.กีรติ มีริมฝีปากที่สวยงามมองดูแล้วเห็นเป็นสามเหลี่ยมสามชิ้น อีกทั้งความชดช้อยก็เป็นจริตที่งดงามของผู้หญิงด้วย
-ตัวละครท่านเจ้าคุณอธิการแทบจะไม่มีบทบาทมากเท่าไหร่เลย ในเรื่องศรีบูรพาสามารถทิ้งตัวละครท่านเจ้าคุณอธิการได้โดยจงใจไม่เล่าถึงเลย แต่ตัวละครท่านเจ้าคุณต้องมีอยู่ในเรื่อง เพราะท่านเจ้าคุณอธิการเป็นอุปสรรคในเรื่อง คือเป็นปัญหาของตัวละคร มรว.กีรติ
-ตัวละครท่านเจ้าคุณอธิการจึงมีประโยชน์ต่อเรื่องคือ 1.ได้นำพาตัวละครให้มาเจอกัน 2.เป็นอุปสรรคเป็นปัญหาของ มรว.กีรติ
-ฉากที่มิตาเกะนั้นศรีบูรพาทำให้ผู้อ่านเห็นถึงธรรมชาติของผู้หญิงที่กำลังมีความรักเกิดขึ้น ผู้หญิงจะมีสติและควบคุมตัวเองได้ เหมือนตัวละคร มรว.กีรติที่ควบคุมโฮโมนในตัวไม่ให้เพ่นพล่านได้ ผิดจากพฤติกรรมของตัวละครนพพรที่ยังเด็กกว่า จึงมีพลังโฮโมนที่รุนแรงกว่า เนื่องจากผู้หญิงบางคนมีเสน่ห์ทางเพศสูง เช่น มรว.กีรติ เป็นต้น
-ศรีบูรพาเขียนเล่าเรื่องผู้หญิงได้มหัศจรรย์มาก เป็นผู้ชายที่เล่าเรื่องผู้หญิง เพราะศรีบูรพาได้รับข้อมูลจากผู้หญิงมาเยอะ โดยวิธีการนำเสนอนั้นในบางครั้งก็ใส่เป็นนัยยะ บางครั้งก็ใส่เป็นบทสนทนา เช่น พฤติกรรมที่ มรว.กีรติ ซ่อมเนคไทให้นพพรนั้น เป็นการแสดงออกว่ารัก เพราะถ้าไม่รักจะไม่ทำให้แน่ ๆ
-ฉากที่นพพรเอามือจับเท้าของ มรว.กีรติ แล้วบอกว่าเท่าสวยกว่าลำคอของเขานั้น ถือว่าเป็นพฤติกรรมของตัวละครท่ผู้อ่านจดจำได้เช่นกัน
-เรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้เหมือนว่าศรีบูรพาเอาชุดใส่ให้แก่ผู้หญิง เพราะว่าให้รายละเอียดของผหญิงได้ดีถึงขนาดนี้
-วิธีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครนพพรนั้นทำ-ให้สามารถควบคุมตัวละครได้ อีกทั้งก็สามารถจะตัดตัวละครทิ้งได้เช่นกัน เช่นตัดตัวละครเจ้าคุณอธิการทิ้ง เป็นต้น
-ในเรื่องมีความสัมพันธ์ระหว่างฉากกับตัวละครด้วย เช่นฉากที่มิตาเกะ เหมือนเป็นห้องลับในที่โล่งอย่างที่ อ.จรูญพรบอกไว้ , ฉากที่ท่าเรือ เหมือนเป็นความลับทั้ง ๆ ที่เป็นสถานที่สาธารณะ , ฉากที่บ้านของ มรว.กีรติ ที่บางกะปิคุณหญิงกีรติต้องแต่งตัวให้ดูดีก่อนที่จะเจอกับนพพร ฯลฯ
-ศรีบูรพาไดให้รายละเอียดถึงความสงบไว้ในฉกที่บ้านของ มรว.กีรติที่บางกะปิ โดยไม่ได้อธิบายรายละเอียดถึงอาการป่วยของคุณหญิงกีรติที่เป็นโรควัณโรค อาจจะเป็นเพราะศรีบูรพาไม่ต้องการให้ผู้อ่านสะเทือนใจมากก็เป็นได้
-ฉากที่ มรว.กีรติ ใกล้จะตาย ที่นพพรไปเยี่ยมในครั้งสุดท้ายนั้น คุณหญิงกีรติพยายามใส่เสื้อผ้าปกปิดไว้ให้มิด เพื่อไม่ให้นพพรเห็นร่างกายที่เปลี่ยนไปจากการป่วยเป็นวัณโรค
-การที่ตัวละครนพพรถาม มรว.กีรติบ่อยมากกว่า “คุณหญิงรักผมไหม?” นั้น แสดงว่านพพรมีจริตในวัยเด็กอยู่ คือเป็นเด็กกว่าเยอะ (อายุ 22 ปีในขณะนั้น) และการที่ตัวละคร มรว.กีรติ มักจะเรียกนพพรว่า “คนดีของฉัน” แทนที่จะใช้คำว่า “ที่รัก” แสดงให้เห็นถึงวัยวุฒิที่สูงกว่าของ มรว.กีรติ
-เวลาที่เราจะสร้างตัวละคร เราควรเริ่มที่จุดเด่นของตัวละครก่อน เช่น ตัวละคร มรว.กีรติ มีริมฝีปากที่งดงาม นพพรมองเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม 3 ชิ้น แสดงเป็นนัยยะว่าปาก (คำพูด) เป็นจุกสำคัญของตัวละครนี้
-อ.ชมัยภร ให้ข้อสังเกตว่า ตัวละครที่เป็นนางเอกของ ทมยันตรี มักจะมีรูปร่างผอมบางดูตัวเล็ก และพระเอกต้องมีตัว (ร่างกาย) ที่ใหญ่และหนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเวลาที่นักเขียนสร้างตัวละครนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายบอกทั้งตัว ให้เลือกจุดเด่นมาสร้างเป็นรูปลักษณ์ที่โดดเด่นได้ ส่วนตัวละครประกอบนั้นอาจจะไม่มีรูปลักษณ์ที่ชัดเจนมากก็ได้
-ภาพวาดวิวมิตาเกะในเรื่องนั้นเป็นภาพวาดสีน้ำ ไม่ใช่สีน้ำมัน เรื่องนี้มีการถกเถียงกันจนได้ข้อสรุปแล้วว่าเป็นภาพวาดสีน้ำ เพราะ มรว.กีรติ เอาภาพวาดนี้มานอนหนุนตัวแอบไว้ก่อนจะให้แก่นพพร
แกะรอยข้างหลังภาพ โดย อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง และอ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
โดยการอบรมในวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2558 ช่วงบ่ายเป็นการอบรมในหัวข้อ แกะรอยข้างหลังภาพ โดย อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง และอาจารย์จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ซึ่งผมขอสรุปเป็นหัวข้อดังนี้
อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง บอกว่า
-คนที่อ่านนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” แล้วจะรู้สึกอิ่มเอิบและเอาใจช่วยตัวละคร มรว.กีรติ เสมอ
-ที่ผ่านมา อ.ชมัยภร สอนวิธีการเขียนเป็นหลัก ในการอบรมคราวนี้เลยได้เอานวนิยายมาลองแกะดูเพื่อให้รู้ว่านวนิยายที่ดีเขาเขียนกันอย่างไร โดยการเลือกเอาอมตะนิยายของศรีบูรพาเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้มาเป็นต้นแบบในการแกะรอยวรรณกรรม
-การแกะรอย “ข้างหลังภาพ” ในครั้งนี้ก็เพื่อจะได้เห็นแก่ของเรื่อง ที่ศรีบูรพาตั้งใจนำเสนอ
-แก่นของเรื่องก็คือเรื่องของความรักต่างวัย ในสมัยนั้นถือว่าอายุของ มรว.กีรติและนพพรห่างกันมาก และเรื่องของความรักต่างวัยเป็นข้อห้ามทางสังคม และแก่นของเรื่องอีกประการก็คือความรักที่ไม่สมหวังด้วยฐานะที่แตกต่างกัน ดังนั้นแก่นของเรื่องจึงเป็นเรื่องของความรักต่างวัย+ต่างฐานะ
อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย บอกว่า
-เรื่อง “ข้างหลังภาพ” ถือว่ามีพล็อตเป็นสูตรสำเร็จแบบ “ชายพบหญิง ชายรักหญิง ชายจากหญิงไป”
-มุมมองของการเล่าเรื่องเป็นการเล่าเรื่องผ่านตัวละครนพพรเป็นการใช้มุมมองแบบจำกัด ไม่ได้ใช้มุมมองแบบพระเจ้า ทำให้ผู้อ่านรู้แค่เพียงบางเรื่อง บางเรื่องก็ไม่รู้เลย และบางเรื่องผู้อ่านก็รู้ดี
-จดหมายถือว่าเป็นบทสนทนาอย่างหนึ่ง จึงทำให้ทั้งเรื่องนี้เป็นเล่าผ่านบทสนทนาทั้งหมด แทบจะไม่มีบทการกระทำเลย (มีน้อยมาก)
-สำหรับการวางโครงเรื่องนั้น ในตอนแรกเปิดเรื่องด้วยตอนในอนาคต (คือตอนปัจจุบันในเรื่อง) ส่วนที่เหลือไปจนถึงท้ายเรื่องนั้น (จนถึงตอนจบของเรื่อง) เป็นการเล่าย้อนกลับไปโดยเล่าผ่านความคิดคำนึงที่เป็นเรื่องเล่าของตัวละคร (ตัวนพพร)
-เล่าเริ่มต้นจากมีการพบกันของตัวละคร ทำให้รู้จักกันอย่างรวดเร็ว เป็นส่วนที่ทำให้เรื่องเดินไปข้างหน้าได้ (ภายในระยะ 8 สัปดาห์ที่ญี่ปุ่น)
-ในเรื่องตัวละครนพพรจะเป็นฝ่ายรุกเสมอ ส่วนตัวละคร มรว.กีรติ นั้นจะเป็นฝ่ายรับตลอดเช่นกัน ซึ่งเป็นการรุกรับกันเปรียบเทียบเหมือนดอกไม้กับแมลง ที่ดอกไม้จะหลอกล่อให้แมลงบินเข้าหาเสมอ (ตัวละคร มรว.กีรติ เหมือนมีแรงดึงดูดเพศชาย ด้วยคำพูดที่ไพเราะยั่วยวน) ทำให้แมลงหลงใหลไม่ยอมบินหนีไปจากดอกไม้เลย
-ฉากสำคัญที่สุดในเรื่องคือฉากที่มิตาเกะ มันคือห้องลับในที่โล่งสำหรับตัวละครทั้งสอง เป็นการพูดคุยกันสองต่อสองโดยไม่ต้องกระซิบกระซาบหรือพูดกันเบา ๆ เลย (พูดได้เต็มที่โดยไม่ต้องกลัวใครได้ยิน) ที่มิตาเกะนี้ตัวละคร มรว.กีรติ เผยความในใจให้ตัวละครนพพรทราบ เรื่องที่เธอจำใจต้องไปแต่งงานกับเจ้าคุณอธิการ นพพรจึงกล้าที่จะทำอะไรบางอย่าง (นพพรจูบ มรว.กีรติ)
-เหตุการณ์ที่มิตาเกะนั้นทำให้ทั้งคู่รักกันแล้ว (มีความรักชัดเจนทั้งคู่) แต่การแสดงออกนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่มิตาเกะนี้เป็นจุดสูงสุดของเรื่อง หลังจากนั้นเรื่องก็หันหัวลงเมื่อ มรว.กีรติ บอกให้นพพรทำตัวปกติเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าคุณอธิการ ความรู้สึกในใจของนพพรจึงได้ผ่อนลง
-เหตุการณ์ที่ท่าเรือ (ตอนส่งคุณหญิงกีรติขึ้นเรือกลับเมืองไทย) ถึงแม้เป็นที่โล่งเป็นที่สาธารณะ แต่ตัวละครทั้งสองกลับต้องพูดกันด้วยเสียงเบา ๆ ต้องแอบคุยกระซิบกัน และคุณหญิงกีรติพูดอะไรที่เป็นสัญลักษณ์บางอย่างด้วยคำพูดว่า “ลาก่อนคนดีของฉัน” ซึ่งการพูดว่าลาก่อนหลาย ๆ ครั้งนั้นก็คือการปฏิเสธนั้นเอง
-การจับมือกันของตัวละครทั้งสอง (ที่มิตาเกะ) เป็นการจับมือเพื่อเชื่อมตัวละครทั้งสองเข้าด้วยกันโดยการลดพื้นที่ว่างระหว่างกันไม่ให้เหลือเลย ถือว่าเป็นภาษากายอย่างหนึ่ง
-ในช่วงครึ่งหลังของเรื่อง ตัวละครทั้งสองได้สนทนากันผ่านจดหมายเท่านั้น คือหลังจากที่คุณหญิงกีรติขึ้นเรือกลับเมืองไทยจนถึงช่วงเวลาก่อนที่นพพรจะกลับเมืองไทยเป็นระยะ 6 ปี ดูแล้วอาจจะไม่สมดุลกับระยะเวลา 8 สัปดาห์ที่ทั้งสองอยู่ด้วยกัน คงเป็นความตั้งใจของศรีบูรพาผู้เขียนถึงความไม่สมดุลนี้
-จุดเปลี่ยนสำคัญอีกจุดหนึ่งในเรื่องก็คือ ตอนที่ท่านเจ้าคุณอธิการเสีย หลังจากนั้นมีคนมาจีบ มรว.กีรติ แต่เธอไม่สนใจ เหมือนเป็นสัญลักษณ์บอกว่าเธอกำลังรออะไรบางอย่างอยู่ก็ได้
-วันที่นพพรกลับถึงเมืองไทย มรว.กีรติจงใจใส่เสื้อน้ำเงินลายดอกขาวตัวเดิมไปรอรับนพพร เพื่อบอกเป็นนัยว่านัยเป็น “ฉันคนเดิม”
-หลังจากที่นพพรกลับมาอยู่เมืองไทยแล้ว นพพรไปเยี่ยม มรว.กีรติ 2 ครั้ง ครั้งแรกอยู่คุยกันยาวถึง 4 ชม. แต่ในครั้งที่ 2 พูดคุยกันไม่นานเพราะว่า มรว.กีรติป่วย เหมือนจะแสดงให้เห็นว่าใกล้จะถึงจุดจบของชีวิตแล้ว
-อ.จรูญพร บอกว่า ถ้าแบ่งเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ออกเป็น 2 ก้อนใหญ่ ๆ จะได้ดังนี้
ก้อนที่ 1 คือระยะเวลาที่ มรว.กีรติมีอิทธิพลต่อนพพร ช่วงที่ทำให้นพพรเกิดความรัก มรว.กีรติ
ก้อนที่ 2 คือระยะเวลาที่นพพรมีอิทธิพลต่อ มรว.กีรติ การ์ดแต่งงานของนพพรเหมือนคำสั่งประหารชีวิต มรว.กีรติ
-โดยเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้ถ้ามองที่ตรีมหลัก (Theme) และมองที่คาแรกเตอร์หรือบุคลิกแล้ว ถือได้ว่า มรว.กีรติคือตัวละครหลักในเรื่อง เพราะเป็นการเล่าถึง มรว.กีรติ ตัวนพพรเป็นแค่ผู้เล่าเรื่องเท่านั้น
อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง บอกว่า
-บุคลิกของคุณชนิด สายประดิษฐ์ (ภรรยาของศรีบูรพา) คือบุคลิกของตัวละคร มรว.กีรติ คือทั้งคู่ต่างก็งามสง่าและไม่แสดงออกเหมือนกัน
-การสร้างตัวละคร มรว.กีรตินั้น ศรีบูรพาสร้างผ่านคำบอกเล่าของตัวละครนพพร
-โดยทั่วไปแล้วนักเขียนมักจะเอาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเองนำมาเขียน มีข้อสังเกตบางประการว่า ชุดสีน้ำเงินลายดอกขาวของ มรว.กีรติ และชุดเครื่องแบบนักศึกษาของนพพร อาจจะมาจากการที่ศรีบูรพาชอบสีน้ำเงินก็เป็นได้
-ศรีบูรพาทำให้เราเห็นภาพแรกของ มรว.กีรติคือ สง่างาม , อ่อนโยนและชดช้อย ซึ่งเป็นบุคลิกในแวบแรกที่นพพรเห็น
-เวลาที่นักเขียนสร้างตัวละครนั้น ภาพแรกของตัวละครเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้คนอ่านติดตามและประทับใจ อีกทั้งการสร้างตัวละครนั้นให้เอาจุดเด่นของตัวละครขึ้นมาก่อน ตัวอย่างเช่น มรว.กีรติ มีริมฝีปากที่สวยงามมองดูแล้วเห็นเป็นสามเหลี่ยมสามชิ้น อีกทั้งความชดช้อยก็เป็นจริตที่งดงามของผู้หญิงด้วย
-ตัวละครท่านเจ้าคุณอธิการแทบจะไม่มีบทบาทมากเท่าไหร่เลย ในเรื่องศรีบูรพาสามารถทิ้งตัวละครท่านเจ้าคุณอธิการได้โดยจงใจไม่เล่าถึงเลย แต่ตัวละครท่านเจ้าคุณต้องมีอยู่ในเรื่อง เพราะท่านเจ้าคุณอธิการเป็นอุปสรรคในเรื่อง คือเป็นปัญหาของตัวละคร มรว.กีรติ
-ตัวละครท่านเจ้าคุณอธิการจึงมีประโยชน์ต่อเรื่องคือ 1.ได้นำพาตัวละครให้มาเจอกัน 2.เป็นอุปสรรคเป็นปัญหาของ มรว.กีรติ
-ฉากที่มิตาเกะนั้นศรีบูรพาทำให้ผู้อ่านเห็นถึงธรรมชาติของผู้หญิงที่กำลังมีความรักเกิดขึ้น ผู้หญิงจะมีสติและควบคุมตัวเองได้ เหมือนตัวละคร มรว.กีรติที่ควบคุมโฮโมนในตัวไม่ให้เพ่นพล่านได้ ผิดจากพฤติกรรมของตัวละครนพพรที่ยังเด็กกว่า จึงมีพลังโฮโมนที่รุนแรงกว่า เนื่องจากผู้หญิงบางคนมีเสน่ห์ทางเพศสูง เช่น มรว.กีรติ เป็นต้น
-ศรีบูรพาเขียนเล่าเรื่องผู้หญิงได้มหัศจรรย์มาก เป็นผู้ชายที่เล่าเรื่องผู้หญิง เพราะศรีบูรพาได้รับข้อมูลจากผู้หญิงมาเยอะ โดยวิธีการนำเสนอนั้นในบางครั้งก็ใส่เป็นนัยยะ บางครั้งก็ใส่เป็นบทสนทนา เช่น พฤติกรรมที่ มรว.กีรติ ซ่อมเนคไทให้นพพรนั้น เป็นการแสดงออกว่ารัก เพราะถ้าไม่รักจะไม่ทำให้แน่ ๆ
-ฉากที่นพพรเอามือจับเท้าของ มรว.กีรติ แล้วบอกว่าเท่าสวยกว่าลำคอของเขานั้น ถือว่าเป็นพฤติกรรมของตัวละครท่ผู้อ่านจดจำได้เช่นกัน
-เรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้เหมือนว่าศรีบูรพาเอาชุดใส่ให้แก่ผู้หญิง เพราะว่าให้รายละเอียดของผหญิงได้ดีถึงขนาดนี้
-วิธีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครนพพรนั้นทำ-ให้สามารถควบคุมตัวละครได้ อีกทั้งก็สามารถจะตัดตัวละครทิ้งได้เช่นกัน เช่นตัดตัวละครเจ้าคุณอธิการทิ้ง เป็นต้น
-ในเรื่องมีความสัมพันธ์ระหว่างฉากกับตัวละครด้วย เช่นฉากที่มิตาเกะ เหมือนเป็นห้องลับในที่โล่งอย่างที่ อ.จรูญพรบอกไว้ , ฉากที่ท่าเรือ เหมือนเป็นความลับทั้ง ๆ ที่เป็นสถานที่สาธารณะ , ฉากที่บ้านของ มรว.กีรติ ที่บางกะปิคุณหญิงกีรติต้องแต่งตัวให้ดูดีก่อนที่จะเจอกับนพพร ฯลฯ
-ศรีบูรพาไดให้รายละเอียดถึงความสงบไว้ในฉกที่บ้านของ มรว.กีรติที่บางกะปิ โดยไม่ได้อธิบายรายละเอียดถึงอาการป่วยของคุณหญิงกีรติที่เป็นโรควัณโรค อาจจะเป็นเพราะศรีบูรพาไม่ต้องการให้ผู้อ่านสะเทือนใจมากก็เป็นได้
-ฉากที่ มรว.กีรติ ใกล้จะตาย ที่นพพรไปเยี่ยมในครั้งสุดท้ายนั้น คุณหญิงกีรติพยายามใส่เสื้อผ้าปกปิดไว้ให้มิด เพื่อไม่ให้นพพรเห็นร่างกายที่เปลี่ยนไปจากการป่วยเป็นวัณโรค
-การที่ตัวละครนพพรถาม มรว.กีรติบ่อยมากกว่า “คุณหญิงรักผมไหม?” นั้น แสดงว่านพพรมีจริตในวัยเด็กอยู่ คือเป็นเด็กกว่าเยอะ (อายุ 22 ปีในขณะนั้น) และการที่ตัวละคร มรว.กีรติ มักจะเรียกนพพรว่า “คนดีของฉัน” แทนที่จะใช้คำว่า “ที่รัก” แสดงให้เห็นถึงวัยวุฒิที่สูงกว่าของ มรว.กีรติ
-เวลาที่เราจะสร้างตัวละคร เราควรเริ่มที่จุดเด่นของตัวละครก่อน เช่น ตัวละคร มรว.กีรติ มีริมฝีปากที่งดงาม นพพรมองเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม 3 ชิ้น แสดงเป็นนัยยะว่าปาก (คำพูด) เป็นจุกสำคัญของตัวละครนี้
-อ.ชมัยภร ให้ข้อสังเกตว่า ตัวละครที่เป็นนางเอกของ ทมยันตรี มักจะมีรูปร่างผอมบางดูตัวเล็ก และพระเอกต้องมีตัว (ร่างกาย) ที่ใหญ่และหนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเวลาที่นักเขียนสร้างตัวละครนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายบอกทั้งตัว ให้เลือกจุดเด่นมาสร้างเป็นรูปลักษณ์ที่โดดเด่นได้ ส่วนตัวละครประกอบนั้นอาจจะไม่มีรูปลักษณ์ที่ชัดเจนมากก็ได้
-ภาพวาดวิวมิตาเกะในเรื่องนั้นเป็นภาพวาดสีน้ำ ไม่ใช่สีน้ำมัน เรื่องนี้มีการถกเถียงกันจนได้ข้อสรุปแล้วว่าเป็นภาพวาดสีน้ำ เพราะ มรว.กีรติ เอาภาพวาดนี้มานอนหนุนตัวแอบไว้ก่อนจะให้แก่นพพร