ผมมีโอกาสได้ไปอบรมในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในวาระครบรอบชาตะกาบ 110 ปี”ศรีบูรพา” (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ซึ่งเป็นการเขียนนวนิยายโดยการแกะรอยนวนิยายของศรีบูพาเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ซึ่งจัดโดยสถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับกองทุนศรีบูรพา ในวันที่ 17-18 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยการอบรมในครั้งนี้สำหรับผู้ที่ได้เคยอ่านนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” มาแล้ว ผมจึงขอสรุปคำบรรยายไว้สำหรับการกลับมาทบทวนในภายหน้า และเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจในการเขียนนวนิยาย
โดยการอบรมในวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2558 เริ่มต้นด้วยการบรรยายในหัวข้อ คุณค่าอมตะของ “ข้างหลังภาพ” ของศรีบูรพา บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ผู้อำนวยการศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผมขอสรุปเป็นหัวข้อดังนี้
-การแกะรอยก็คือการติดตามตัวบทของเรื่องนั้นเอง
-อ.ตรีศิลป์ บอกว่าเคยทำหนังสือ “100 ปีบทวิจารณ์วรรณกรรมไทย” ทำให้พบว่านวนิยายที่มีคนหยิบมาวิจารณ์มากที่สุดก็คือเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เพราะว่าเป็นวรรณกรรมที่เป็นอมตะ คือสามารถเติบโตไปตามกาลเวลา คือคนเขียนอาจจะเขียนไปตามบริบทในยุคสมัยหนึ่งแต่เรื่องอาจจะไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะมันไม่ได้ผูกพันติดอยู่กับบริบท (ในยุคนั้น) นั้นอย่างแน่นแฟ้น จึงทำให้อ่านได้ในทุกยุคทุกสมัย
-ภาษาที่ใช้ในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เป็นภาษาโบราณในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นภาษาที่แตกต่างจากในปัจจุบันแต่กลับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้
-ลักษณะการเขียนของนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้เป็นการเขียนในลักษณะย้อนกลับไปหวนหาอดีต หรือที่เรียกว่าเป็นแนวน็อตโซเฟียล (ภาษาอังกฤษเขียนไงหว่า?)
-อ.บุญเหลือ (หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ) เคยวิจารณ์นวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ไว้ว่า เป็นนวนิยายแนวพาฝันที่มีการจบแบบสะเทือนอารมณ์ เรื่องเล่าผ่านตัวนพพรทำให้ผู้อ่านรู้จักหม่อมราชวงศ์กีรติผ่านมุมมองของนพพรเท่านั้น เป็นนวนิยายที่มีวาทศิลป์ดีมาก ในเรื่องเต็มไปด้วยคำพูดและวาทะกรรม การที่มองหม่อมราชวงศ์กีรติผ่านตัวนพพรนั้นทำให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจในตัวเธอได้อย่างถ่องแท้มากนัก
-ในยุคสมัยที่ศรีบูรพาเขียนเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้เป็นช่วงเวลาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในช่วงหลังมีกระแสวรรณกรรมร่วมสมัยที่จบลงแบบโศกเศร้าหรือที่เรียกว่าโศกนาฏกรรมเกิดขึ้นเยอะพอสมควร อาทิเช่น เรื่อง “ละครแห่งชิวิต” ของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ , เรื่อง “ผู้ดี” ของดอกไม้สด (หม่อมหลวงบุปผา กุญชร) ฯลฯ
-ในเรื่อง “ผู้ดี” ของดอกไม้สดนั้น คำว่าผู้ดีแปลว่าคนดี เป็นวรรณกรรมไทยเรื่องแรก ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในระบบศักดินา
-อ.ตรีศิลป์ บอกว่า หม่อมราชวงศ์กีรตินั้นเป็นผู้หญิงที่ฉลาดมาก และเป็นผู้หญิงที่เข้าใจถึงความเป็นหญิงในชนชั้นของตัวเอง (ชนชั้นศักดินา) โดยดูได้จากประโยคแรก ๆ ที่หม่อมราชวงศ์กีรติกล่าวถึงตัวเองให้นพพรฟังว่า “เราไม่ได้ถูกอบรมให้เป็นคนช่างคิด ....”
-ในการที่เราจะวิเคราะห์นวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เราต้องย้อนเวลากลับไปในบริบทสมัยนั้น สตรีในยุคสมัยนั้นมีมายาคติที่จะต้องเป็นคนสวยและเป็นคนดี ศรีบูรพาจึงใช้ตัวละคร มรว.กีรติ เป็นตัวแทนของมายาคติของสตรีในยุคสมัยนั้น โดยเขียนให้ มรว.กีรติใช้คำพูดที่สวย พูดแล้วกลายเป็นวาทะกรรม เรียกได้ว่าเป็นผู้หญิงที่เต็มไปด้วยอุดมทัศนีย์ (อุดม แปลว่า สูงสุด เลิศ บริบูรณ์ , ทัศนีย์ แปลว่า งาม น่าดู )
-ในเชิงวรรณกรรมมีการอ่านหนังสือเล่มเดียวกันแต่มีการวิจารณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเราเรียกว่า “ชุมชนวรรณกรรม” ซึ่งเป็นเรื่องของการอ่านและการตีความ ซึ่งการตีความวรรณกรรมที่เป็นอมตะนั้นจะต้องใช้เหตุผลมาประกอบด้วย
-ตัวละครนพพรเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ (ในสมัยนั้น) ที่แต่งงานโดยปราศจากความรัก แต่ตัวละคร มรว.กีรตินั้นติดอยู่กับมายาคติของสตรีในเรื่องความรัก โดยคิดว่าความรักเป็นที่สุดและต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรัก เช่น รอคอยความรักได้ เป็นต้น
-ตัวละคร มรว.กีรติ ถือว่าเป็นกุลสตรีไทย แต่ก็ใช่ว่าจะไร้เสน่ห์หรือไร้มารยาเอาเสียเลย ที่ผ่านมาตัวละครที่เป็นนางในวรรณคดีไทยก็มีจริตมารยาเยอะพอสมควร บางครั้งมากกว่า มรว.กีรติเสียอีก เช่น นางพิมถวายผ้าห่มให้เณรพลายแก้ว เป็นต้น ผู้หญิงที่มีเสน่ห์มารยาแบบนี้มีมานานแล้วในวรรณคดีไทย และตัวละครที่เป็นหญิงไทยก็มีทางออกให้แก่ความปรารถนาของตัวเองในรูปแบบที่เป็นพาราด็อกซ์ ซึ่งพาราด็อกซ์คือการย้อนแย้งกันเอง เช่น รักแต่ต้องทำเป็นไม่รัก ไม่แสดงออก เป็นต้น
-อ.ตรีศิลป์ แนะนำให้ลองไปศึกษาจากในวรรณคดีเก่า ๆ ดู ดูพฤติกรรมของตัวละครหญิง อาทิเช่น เรื่องพระเพื่อนพระแพงที่ทำเสน่ห์ เป็นต้น
-อ.ตรีศิลป์ ตั้งข้อสังเกตว่า นักเขียนผู้ชายมักจะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแทนของความคิดในเชิงอุดมคติ เช่น เสนีย์ เสาวพงศ์ ใช้ตัวละครรัชนีในนวนิยายเรื่อง “ปีศาจ” เป็นตัวแทนของความคิดทางอุดมคติ โดยเขียนให้รัชนีเป็นปีศาจที่คอยหลอกหลอนคนในชนชั้นเดียวกันกับเธอ (ชนชั้นศักดินา)
-ศรีบูรพาเอาต้นแบบของ มรว.กีรติมาจากหม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ ที่ศรีบูรพาเคยพบเจอ
-ศรีบูรพาเป็นมาร์กซิสต์ ศรีบูรพาเคยแปล “ปรัชญามาร์กซิสต์” เป็นภาษาไทย แต่มีข้อสงสัยประการหนึ่งว่า ทำไมมาร์กซิสต์ถึงมองเห็นสุนทรียะของศิลปะแบบกรีซ แสดงว่าความงามเป็นสากล
-ตัวละคร มรว.กีรติ เป็นแม่แบบของสตรีไทยที่เห็นว่างาม ซึ่งใช้ชีวิตเหมาะสมถูกต้องตามแบบฉบับของกุลสตรีไทยอันเป็นวิถีที่งดงาม
-นวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้มีพลังของเรื่องเล่าที่ยังรุนแรงอยู่ ถึงแม้ว่าจะอ่านในยุคสมัยใดก็ยังอ่านได้ดีอยู่เสมอ เรื่องนี้อ่านแล้วช่วยยกระดับจิตใจของผู้อ่านได้ เช่น อ่านแล้วสงสาร มรว.กีรติ เป็นต้น
-พลังของเรื่องเล่า “ข้างหลังภาพ” นี้มีอยู่ 2 ชั้น
-1. อ่านแล้วคิดว่า มรว. กีรติ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? คุณหญิงทำไมทำแบบนั้น? เราอ่านแล้วก็ช่วยลุ้นและรู้สึกเศร้าตามเธอไปด้วย อ่านแล้วต้องตั้งคำถามในใจว่า “ทำไมเธอจึงเป็นเช่นนี้? ทำไมเธอถึงทำอย่างนี้?” อ่านแล้วรู้สึกเป็นวิถีที่รันทดแต่งดงาม
-อ่านเรื่อง “ข้างหลังภาพ” แล้วก็ลองคิดตามดูว่า มีตัวละครในวรรณคดีไทยตัวไหนบ้าง? ที่เราอยากเอาเป็นแม่แบบให้เดินตาม
-2. ถ้อยคำของ มรว.กีรติ ในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” คือมายาคติของผู้หญิงในระบบศักดินา ในเรื่องเต็มไปด้วยถ้อยคำ มีภาษาที่สวยงาม มีการเปรียบเทียบโดยใช้สีบอกอารมณ์ความรู้สึก เช่น ชุดสีน้ำเงินลายดอกขาวที่ มรว.กีรติ ใส่ตอนที่พบกับนพพรครั้งแรก , ชุดนักศึกษาสีน้ำเงินของนพพร ที่เป็นเครื่องแบบประจำตัวของเขา ฯลฯ
-เรา (ผู้อ่าน) ไม่ตำหนิตัวละครนพพร เพราะเขาดำเนินชีวิตไปตามแบบของเขา
-เมื่อได้อ่านเรื่อง “ข้างหลังภาพ” แล้ว เราจะได้ความรู้สึกที่ขัดแย้งในใจ รู้สึกได้ถึงความย้อนแย้งของชีวิต ซึ่งเป็นการแกะรอยวรรณกรรมในเชิงจิตวิทยา ที่เน้นในเรื่องการสร้างตัวละครเป็นหลัก
-เป็นนักเขียนต้องศึกษาเรื่องจิตวิทยาของคนด้วย เพื่อที่จะสร้างความขัดแย้งขึ้นในใจตัวละครได้
-อุดมคติทัศนีย์ คือ ความรักคือที่สุดของชีวิต
-ข้อแตกต่างประการหนึ่งระหว่างเรื่อง “ข้างหลังภาพ” กับเรื่อง “สงครามชีวิต” คือ ในเรื่องสงครามชีวิตศรีบูรพาวิพากษ์เรื่องชนชั้น แต่เรื่องข้างหลังภาพศรีบูรพาวิพากษ์เรื่องสตรี
-ฉากต่างแดนในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” อาจมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์หมายถึงการหลุดพ้นไปจากพันธนาการทางสังคมก็ได้ (เพราะไปอยู่ญี่ปุ่นไม่มีคนไทยเลย)
-ถ้าดูถึงความเป็นสากลของบริบท ในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” จะเต็มไปด้วยความรักที่โรแมนติค ความรักที่ควรจะจบลงแบบที่มันเป็น (แต่ไม่เป็นไปตามนั้น)
-ความเป็นอมตะของ “ข้างหลังภาพ” ทำให้มีกระแสวิจารณ์เรื่องนี้เยอะมากในทุกยุคทุกสมัย ด้วยความเป็นอมตะนี้เองที่ทำให้ “ข้างหลังภาพ” กลายเป็นสมบัติของสาธารณะชนไทยไปแล้ว
-และความลุ่มรวยทางภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้งานเขียนเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เป็นอมตะ
-สรุปได้ว่าพลังความเป็นอมตะของนวนิยาย “ข้างหลังภาพ” เกิดจากองค์ประกอบดังนี้
1. เป็นไพรัชนิยาย ที่เป็นนิยายต่างแดน มีฉากที่งดงาม (ฉากมิตาเกะ)
2. มีความโดดเด่นของตัวละคร โดยเฉพาะตัวละครหลักซึ่งก็คือ หม่อมราชวงศ์กีรติ
3. มีวรรณศิลป์ที่งดงาม คำพูดของตัวละครกลายเป็นวาทะกรรมอมตะ
4. มีความซับซ้อนและมีความย้อนแย้งของในจิตใจของตัวละคร
-ศรีบูรพาจะให้ความสำคัญกับตัวละครผู้หญิงเสมอ เช่น มรว.กีรติ จาก “ข้างหลังภาพ” , เขียนบทความเรื่องนางฟ้า ฯลฯ
-ถ้าจะให้คำนิยามของนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้ อาจได้คำนิยามว่า “เรื่องของความรักที่เป็นอมตะ ไม่ตกยุคไม่ตกสมัย อยู่ได้เพราะมีคนอ่านตลอด จึงเป็นอมตะตลอดกาล”
-กลวิธีการเขียนที่สำคัญในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้คือวิธีการเขียนที่บอกเล่าเพื่อแค่เป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินเรื่องเท่านั้น เป็นการบอกเล่าเพื่ออธิบายการกระทำของตัวละคร แต่ไม่บอกหมดทุกอย่าง
-อ.ตรีศิลป์ แนะนำให้ผู้ที่สนใจเรื่องราวของศรีบูรพาไปดูวีดีทัศน์ชุด “สยามศิลปิน” ตอนศรีบูรพา
-ศรีบูรพาวิพากษ์ผู้หญิงในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เพราะศรีบูรพาคิดว่าในอนาคตผู้หญิงต้องเปลี่ยนแปลง
-นวนิยายเรื่อง “ป่าในชีวิต” ของศรีบูรพาเป็นเรื่องที่พูดถึงผู้หญิงที่มีสามีติดคุก (คดีกบฏบวรเดช) มีลักษณะคล้ายเรื่อง “เมืองนิมิตร” (ของ มรว.นิมิตรมงคล นวรัตน์)
-มีข้อมูลปรากฏว่าเพลง “มวลมหาประชาชน” ที่ใช้ในช่วง 14 ตุลา นั้นศรีบูรพาเป็นผู้แต่ง
-ศรีบูรพาต่อสู้เพื่อเสรีภาพทางวรรณศิลป์ พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยพลังแห่งวรรณกรรม
-อ.ตรีศิลป์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เราต้องอ่านนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ เพื่อวิเคราะห์ เพื่อวิจารณ์ เพื่อความเป็นอมตะตลอดไป”
ท้ายสุดนี้ผมขอขอบคุณท่านรองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับผม รวมทั้งขอขอบคุณสถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมและกองทุนศรีบูรพา ที่ให้โอกาสผมได้เข้ารับอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้
ขอบคุณครับ
คุณค่าอมตะของ “ข้างหลังภาพ” ของศรีบูรพา โดยอาจารย์ตรีศิลป์ บุญขจร
โดยการอบรมในวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2558 เริ่มต้นด้วยการบรรยายในหัวข้อ คุณค่าอมตะของ “ข้างหลังภาพ” ของศรีบูรพา บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ผู้อำนวยการศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผมขอสรุปเป็นหัวข้อดังนี้
-การแกะรอยก็คือการติดตามตัวบทของเรื่องนั้นเอง
-อ.ตรีศิลป์ บอกว่าเคยทำหนังสือ “100 ปีบทวิจารณ์วรรณกรรมไทย” ทำให้พบว่านวนิยายที่มีคนหยิบมาวิจารณ์มากที่สุดก็คือเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เพราะว่าเป็นวรรณกรรมที่เป็นอมตะ คือสามารถเติบโตไปตามกาลเวลา คือคนเขียนอาจจะเขียนไปตามบริบทในยุคสมัยหนึ่งแต่เรื่องอาจจะไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะมันไม่ได้ผูกพันติดอยู่กับบริบท (ในยุคนั้น) นั้นอย่างแน่นแฟ้น จึงทำให้อ่านได้ในทุกยุคทุกสมัย
-ภาษาที่ใช้ในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เป็นภาษาโบราณในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นภาษาที่แตกต่างจากในปัจจุบันแต่กลับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้
-ลักษณะการเขียนของนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้เป็นการเขียนในลักษณะย้อนกลับไปหวนหาอดีต หรือที่เรียกว่าเป็นแนวน็อตโซเฟียล (ภาษาอังกฤษเขียนไงหว่า?)
-อ.บุญเหลือ (หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ) เคยวิจารณ์นวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ไว้ว่า เป็นนวนิยายแนวพาฝันที่มีการจบแบบสะเทือนอารมณ์ เรื่องเล่าผ่านตัวนพพรทำให้ผู้อ่านรู้จักหม่อมราชวงศ์กีรติผ่านมุมมองของนพพรเท่านั้น เป็นนวนิยายที่มีวาทศิลป์ดีมาก ในเรื่องเต็มไปด้วยคำพูดและวาทะกรรม การที่มองหม่อมราชวงศ์กีรติผ่านตัวนพพรนั้นทำให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจในตัวเธอได้อย่างถ่องแท้มากนัก
-ในยุคสมัยที่ศรีบูรพาเขียนเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้เป็นช่วงเวลาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในช่วงหลังมีกระแสวรรณกรรมร่วมสมัยที่จบลงแบบโศกเศร้าหรือที่เรียกว่าโศกนาฏกรรมเกิดขึ้นเยอะพอสมควร อาทิเช่น เรื่อง “ละครแห่งชิวิต” ของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ , เรื่อง “ผู้ดี” ของดอกไม้สด (หม่อมหลวงบุปผา กุญชร) ฯลฯ
-ในเรื่อง “ผู้ดี” ของดอกไม้สดนั้น คำว่าผู้ดีแปลว่าคนดี เป็นวรรณกรรมไทยเรื่องแรก ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในระบบศักดินา
-อ.ตรีศิลป์ บอกว่า หม่อมราชวงศ์กีรตินั้นเป็นผู้หญิงที่ฉลาดมาก และเป็นผู้หญิงที่เข้าใจถึงความเป็นหญิงในชนชั้นของตัวเอง (ชนชั้นศักดินา) โดยดูได้จากประโยคแรก ๆ ที่หม่อมราชวงศ์กีรติกล่าวถึงตัวเองให้นพพรฟังว่า “เราไม่ได้ถูกอบรมให้เป็นคนช่างคิด ....”
-ในการที่เราจะวิเคราะห์นวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เราต้องย้อนเวลากลับไปในบริบทสมัยนั้น สตรีในยุคสมัยนั้นมีมายาคติที่จะต้องเป็นคนสวยและเป็นคนดี ศรีบูรพาจึงใช้ตัวละคร มรว.กีรติ เป็นตัวแทนของมายาคติของสตรีในยุคสมัยนั้น โดยเขียนให้ มรว.กีรติใช้คำพูดที่สวย พูดแล้วกลายเป็นวาทะกรรม เรียกได้ว่าเป็นผู้หญิงที่เต็มไปด้วยอุดมทัศนีย์ (อุดม แปลว่า สูงสุด เลิศ บริบูรณ์ , ทัศนีย์ แปลว่า งาม น่าดู )
-ในเชิงวรรณกรรมมีการอ่านหนังสือเล่มเดียวกันแต่มีการวิจารณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเราเรียกว่า “ชุมชนวรรณกรรม” ซึ่งเป็นเรื่องของการอ่านและการตีความ ซึ่งการตีความวรรณกรรมที่เป็นอมตะนั้นจะต้องใช้เหตุผลมาประกอบด้วย
-ตัวละครนพพรเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ (ในสมัยนั้น) ที่แต่งงานโดยปราศจากความรัก แต่ตัวละคร มรว.กีรตินั้นติดอยู่กับมายาคติของสตรีในเรื่องความรัก โดยคิดว่าความรักเป็นที่สุดและต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรัก เช่น รอคอยความรักได้ เป็นต้น
-ตัวละคร มรว.กีรติ ถือว่าเป็นกุลสตรีไทย แต่ก็ใช่ว่าจะไร้เสน่ห์หรือไร้มารยาเอาเสียเลย ที่ผ่านมาตัวละครที่เป็นนางในวรรณคดีไทยก็มีจริตมารยาเยอะพอสมควร บางครั้งมากกว่า มรว.กีรติเสียอีก เช่น นางพิมถวายผ้าห่มให้เณรพลายแก้ว เป็นต้น ผู้หญิงที่มีเสน่ห์มารยาแบบนี้มีมานานแล้วในวรรณคดีไทย และตัวละครที่เป็นหญิงไทยก็มีทางออกให้แก่ความปรารถนาของตัวเองในรูปแบบที่เป็นพาราด็อกซ์ ซึ่งพาราด็อกซ์คือการย้อนแย้งกันเอง เช่น รักแต่ต้องทำเป็นไม่รัก ไม่แสดงออก เป็นต้น
-อ.ตรีศิลป์ แนะนำให้ลองไปศึกษาจากในวรรณคดีเก่า ๆ ดู ดูพฤติกรรมของตัวละครหญิง อาทิเช่น เรื่องพระเพื่อนพระแพงที่ทำเสน่ห์ เป็นต้น
-อ.ตรีศิลป์ ตั้งข้อสังเกตว่า นักเขียนผู้ชายมักจะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแทนของความคิดในเชิงอุดมคติ เช่น เสนีย์ เสาวพงศ์ ใช้ตัวละครรัชนีในนวนิยายเรื่อง “ปีศาจ” เป็นตัวแทนของความคิดทางอุดมคติ โดยเขียนให้รัชนีเป็นปีศาจที่คอยหลอกหลอนคนในชนชั้นเดียวกันกับเธอ (ชนชั้นศักดินา)
-ศรีบูรพาเอาต้นแบบของ มรว.กีรติมาจากหม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ ที่ศรีบูรพาเคยพบเจอ
-ศรีบูรพาเป็นมาร์กซิสต์ ศรีบูรพาเคยแปล “ปรัชญามาร์กซิสต์” เป็นภาษาไทย แต่มีข้อสงสัยประการหนึ่งว่า ทำไมมาร์กซิสต์ถึงมองเห็นสุนทรียะของศิลปะแบบกรีซ แสดงว่าความงามเป็นสากล
-ตัวละคร มรว.กีรติ เป็นแม่แบบของสตรีไทยที่เห็นว่างาม ซึ่งใช้ชีวิตเหมาะสมถูกต้องตามแบบฉบับของกุลสตรีไทยอันเป็นวิถีที่งดงาม
-นวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้มีพลังของเรื่องเล่าที่ยังรุนแรงอยู่ ถึงแม้ว่าจะอ่านในยุคสมัยใดก็ยังอ่านได้ดีอยู่เสมอ เรื่องนี้อ่านแล้วช่วยยกระดับจิตใจของผู้อ่านได้ เช่น อ่านแล้วสงสาร มรว.กีรติ เป็นต้น
-พลังของเรื่องเล่า “ข้างหลังภาพ” นี้มีอยู่ 2 ชั้น
-1. อ่านแล้วคิดว่า มรว. กีรติ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? คุณหญิงทำไมทำแบบนั้น? เราอ่านแล้วก็ช่วยลุ้นและรู้สึกเศร้าตามเธอไปด้วย อ่านแล้วต้องตั้งคำถามในใจว่า “ทำไมเธอจึงเป็นเช่นนี้? ทำไมเธอถึงทำอย่างนี้?” อ่านแล้วรู้สึกเป็นวิถีที่รันทดแต่งดงาม
-อ่านเรื่อง “ข้างหลังภาพ” แล้วก็ลองคิดตามดูว่า มีตัวละครในวรรณคดีไทยตัวไหนบ้าง? ที่เราอยากเอาเป็นแม่แบบให้เดินตาม
-2. ถ้อยคำของ มรว.กีรติ ในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” คือมายาคติของผู้หญิงในระบบศักดินา ในเรื่องเต็มไปด้วยถ้อยคำ มีภาษาที่สวยงาม มีการเปรียบเทียบโดยใช้สีบอกอารมณ์ความรู้สึก เช่น ชุดสีน้ำเงินลายดอกขาวที่ มรว.กีรติ ใส่ตอนที่พบกับนพพรครั้งแรก , ชุดนักศึกษาสีน้ำเงินของนพพร ที่เป็นเครื่องแบบประจำตัวของเขา ฯลฯ
-เรา (ผู้อ่าน) ไม่ตำหนิตัวละครนพพร เพราะเขาดำเนินชีวิตไปตามแบบของเขา
-เมื่อได้อ่านเรื่อง “ข้างหลังภาพ” แล้ว เราจะได้ความรู้สึกที่ขัดแย้งในใจ รู้สึกได้ถึงความย้อนแย้งของชีวิต ซึ่งเป็นการแกะรอยวรรณกรรมในเชิงจิตวิทยา ที่เน้นในเรื่องการสร้างตัวละครเป็นหลัก
-เป็นนักเขียนต้องศึกษาเรื่องจิตวิทยาของคนด้วย เพื่อที่จะสร้างความขัดแย้งขึ้นในใจตัวละครได้
-อุดมคติทัศนีย์ คือ ความรักคือที่สุดของชีวิต
-ข้อแตกต่างประการหนึ่งระหว่างเรื่อง “ข้างหลังภาพ” กับเรื่อง “สงครามชีวิต” คือ ในเรื่องสงครามชีวิตศรีบูรพาวิพากษ์เรื่องชนชั้น แต่เรื่องข้างหลังภาพศรีบูรพาวิพากษ์เรื่องสตรี
-ฉากต่างแดนในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” อาจมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์หมายถึงการหลุดพ้นไปจากพันธนาการทางสังคมก็ได้ (เพราะไปอยู่ญี่ปุ่นไม่มีคนไทยเลย)
-ถ้าดูถึงความเป็นสากลของบริบท ในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” จะเต็มไปด้วยความรักที่โรแมนติค ความรักที่ควรจะจบลงแบบที่มันเป็น (แต่ไม่เป็นไปตามนั้น)
-ความเป็นอมตะของ “ข้างหลังภาพ” ทำให้มีกระแสวิจารณ์เรื่องนี้เยอะมากในทุกยุคทุกสมัย ด้วยความเป็นอมตะนี้เองที่ทำให้ “ข้างหลังภาพ” กลายเป็นสมบัติของสาธารณะชนไทยไปแล้ว
-และความลุ่มรวยทางภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้งานเขียนเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เป็นอมตะ
-สรุปได้ว่าพลังความเป็นอมตะของนวนิยาย “ข้างหลังภาพ” เกิดจากองค์ประกอบดังนี้
1. เป็นไพรัชนิยาย ที่เป็นนิยายต่างแดน มีฉากที่งดงาม (ฉากมิตาเกะ)
2. มีความโดดเด่นของตัวละคร โดยเฉพาะตัวละครหลักซึ่งก็คือ หม่อมราชวงศ์กีรติ
3. มีวรรณศิลป์ที่งดงาม คำพูดของตัวละครกลายเป็นวาทะกรรมอมตะ
4. มีความซับซ้อนและมีความย้อนแย้งของในจิตใจของตัวละคร
-ศรีบูรพาจะให้ความสำคัญกับตัวละครผู้หญิงเสมอ เช่น มรว.กีรติ จาก “ข้างหลังภาพ” , เขียนบทความเรื่องนางฟ้า ฯลฯ
-ถ้าจะให้คำนิยามของนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้ อาจได้คำนิยามว่า “เรื่องของความรักที่เป็นอมตะ ไม่ตกยุคไม่ตกสมัย อยู่ได้เพราะมีคนอ่านตลอด จึงเป็นอมตะตลอดกาล”
-กลวิธีการเขียนที่สำคัญในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” นี้คือวิธีการเขียนที่บอกเล่าเพื่อแค่เป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินเรื่องเท่านั้น เป็นการบอกเล่าเพื่ออธิบายการกระทำของตัวละคร แต่ไม่บอกหมดทุกอย่าง
-อ.ตรีศิลป์ แนะนำให้ผู้ที่สนใจเรื่องราวของศรีบูรพาไปดูวีดีทัศน์ชุด “สยามศิลปิน” ตอนศรีบูรพา
-ศรีบูรพาวิพากษ์ผู้หญิงในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” เพราะศรีบูรพาคิดว่าในอนาคตผู้หญิงต้องเปลี่ยนแปลง
-นวนิยายเรื่อง “ป่าในชีวิต” ของศรีบูรพาเป็นเรื่องที่พูดถึงผู้หญิงที่มีสามีติดคุก (คดีกบฏบวรเดช) มีลักษณะคล้ายเรื่อง “เมืองนิมิตร” (ของ มรว.นิมิตรมงคล นวรัตน์)
-มีข้อมูลปรากฏว่าเพลง “มวลมหาประชาชน” ที่ใช้ในช่วง 14 ตุลา นั้นศรีบูรพาเป็นผู้แต่ง
-ศรีบูรพาต่อสู้เพื่อเสรีภาพทางวรรณศิลป์ พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยพลังแห่งวรรณกรรม
-อ.ตรีศิลป์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เราต้องอ่านนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ เพื่อวิเคราะห์ เพื่อวิจารณ์ เพื่อความเป็นอมตะตลอดไป”
ท้ายสุดนี้ผมขอขอบคุณท่านรองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับผม รวมทั้งขอขอบคุณสถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมและกองทุนศรีบูรพา ที่ให้โอกาสผมได้เข้ารับอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้
ขอบคุณครับ