สองกระทู้ติดเลยนะ แหม่
ภาพขณะที่เรือเหาะตรวจจับขีปนาวุธค่อยๆ ตกลงสู่พื้นที่เทศมณฑลมอนทัวร์ รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อวันที่ 28 ต.ค. หลังหลุดลอยออกจากเขตทหารในรัฐแมริแลนด์
เอเจนซีส์ – กองทัพสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 2 ลำออกติดตาม “เรือเหาะ” ตรวจจับขีปนาวุธ ซึ่งหลุดลอยออกจากเขตทหารในรัฐแมริแลนด์ พร้อมลากสายเคเบิลยาวกว่า 1 ไมล์ดึงเสาไฟฟ้าล้มระเนระนาด ขณะที่มันลอยข้ามไปยังเขตรัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อวานนี้ (28 ต.ค.)
เรือเหาะทหารลำนี้ลอยเข้าไปในเขตน่านฟ้าพลเรือน หลังหลุดออกจากพื้นที่ทหาร เอเบอร์ดีน พรูฟวิง กราวนด์ (Aberdeen Proving Ground) ในรัฐแมริแลนด์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองบัลติมอร์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 64 กิโลเมตร
เจ้าหน้าที่เพนตากอน ระบุว่า พวกเขายังไม่มั่นใจว่าเรือเหาะยาว 242 ฟุตลำนี้หลุดออกไปได้อย่างไรเมื่อเวลา 12.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น (23.20 น. ในประเทศไทย) และทหารต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงเพื่อหาวิธีดึงมันกลับลงมาสู่พื้น ทว่าสุดท้ายเรือเหาะก็ค่อยๆ ยุบตัวลง และตกลงสู่พื้นดินที่เทศมณฑลมอนทัวร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งอยู่ห่างจาก อาเบอร์ดีน พรูฟวิง กราวนด์ ไปทางเหนือราว 150 ไมล์
จอห์น โทมัส โฆษกสำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินประจำเทศมณฑลโคลัมเบีย ระบุว่า ตนยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการตกของเรือเหาะ เพราะ “พื้นที่แถบนั้นเป็นเขตชนบทห่างไกลพอสมควร” ทว่าไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ
การเดินทางของเรือเหาะลำนี้สร้างความปั่นป่วนต่อชุมชนมากพอสมควร เนื่องจากสายเคเบิลที่ติดอยู่กับตัวมันไปฉุดเสาไฟฟ้าล้มระเนระนาด และทำให้ประชาชนราว 30,000 คนในรัฐเพนซิลเวเนียไม่มีไฟฟ้าใช้อยู่พักใหญ่
“สายเคเบิลที่ล่ามเรือเหาะเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ทั่วเพนซิลเวเนีย” คำแถลงจากสำนักงานของ ทอม วูลฟ์ ผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย ระบุ
อุบัติเหตุซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยๆ นี้ยังกลายเป็นกระแสดังในสื่อสังคมออนไลน์ของอเมริกา โดย #Blimpflood หรือ #Blimpmemes ได้กลายเป็นแฮชแท็กยอดนิยมทางทวิตเตอร์ในรอบวัน
เรือเหาะลำนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับขีปนาวุธ (Joint Land-Attack Cruise Missile Elevated Netted Sensor System - JLENS) มูลค่า 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเคยถูกปรับโครงสร้างใหญ่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่กองทัพประเมินเอาไว้ ตามข้อมูลของสำนักงานบัญชีกลางสหรัฐฯ เมื่อปี 2014
นาวาเอก สก็อตต์ มิลเลอร์ โฆษกกองบัญชาการป้องกันอากาศยานอเมริกาเหนือ (NORAD) ระบุว่า โครงการนี้ประกอบด้วยเรือเหาะ 2 ลำซึ่งมีความยาว 242 ฟุตเท่ากัน โดยลำที่สองกำลังจะถูกดึงลงสู่พื้นเพื่อรับการตรวจสภาพ และค้นหาสาเหตุที่ทำให้เรือเหาะหลุดออกจากฐาน
โครงการเรือเหาะนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบ โดยบริษัท เรย์ธีออน ซึ่งเป็นผู้ผลิตชี้ว่า มันจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ช่วยปกป้องเขตมหานคร วอชิงตัน ดี.ซี. ต่อไป
ข้อมูลจากเว็บไซต์เรย์ธีออน ระบุว่า เรือเหาะจะต้องถูกล่ามไว้กับพื้นดินด้วย “สายเคเบิลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 11/8 นิ้วที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ” และสามารถต้านทานกระแสลมที่มีความเร็วถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยจะมีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเคเบิลขึ้นไปยังเรดาร์ที่อยู่ในตัวเรือเหาะ
NORAD ระบุว่า เรือเหาะลำนี้หลุดลอยไปขณะอยู่ที่ความสูง 6,600 ฟุต ซึ่งยังต่ำกว่าระดับความสูงที่แนะนำไว้ไม่เกิน 10,000 ฟุต ทว่าในช่วงบ่ายมันได้ลอยสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 16,000 ฟุต และเข้าไปยังเขตรัฐเพนซิลเวเนีย
เรือเหาะลำนี้ไม่เพียงสามารถตรวจจับขีปนาวุธร่อน แต่ยังรวมถึงภัยคุกคามรูปแบบอื่นๆ เช่น อากาศยานไร้คนขับ และ “เป้าหมายภาคพื้นดินที่เคลื่อนไหวได้” เช่น กองเรือและรถถัง เป็นต้น
เรือเหาะซึ่งผลิตโดย เรย์ธีออน ในโครงการพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับขีปนาวุธ (Joint Land-Attack Cruise Missile Elevated Netted Sensor System – JLENS) ที่ฐานยิงขีปนาวุธไวท์แซนด์ส รัฐนิวเม็กซิโก เมื่อปี 2012 (ภาพ - รอยเตอร์)
ที่มา
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000120661
สหรัฐฯส่ง F-16 ไล่ตาม “เรือเหาะ” หลุดจากเขตทหาร-ลากสายเคเบิลยาวเฟื้อยทำ “ไฟดับ” ในเพนซิลเวเนีย
ภาพขณะที่เรือเหาะตรวจจับขีปนาวุธค่อยๆ ตกลงสู่พื้นที่เทศมณฑลมอนทัวร์ รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อวันที่ 28 ต.ค. หลังหลุดลอยออกจากเขตทหารในรัฐแมริแลนด์
เอเจนซีส์ – กองทัพสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 2 ลำออกติดตาม “เรือเหาะ” ตรวจจับขีปนาวุธ ซึ่งหลุดลอยออกจากเขตทหารในรัฐแมริแลนด์ พร้อมลากสายเคเบิลยาวกว่า 1 ไมล์ดึงเสาไฟฟ้าล้มระเนระนาด ขณะที่มันลอยข้ามไปยังเขตรัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อวานนี้ (28 ต.ค.)
เรือเหาะทหารลำนี้ลอยเข้าไปในเขตน่านฟ้าพลเรือน หลังหลุดออกจากพื้นที่ทหาร เอเบอร์ดีน พรูฟวิง กราวนด์ (Aberdeen Proving Ground) ในรัฐแมริแลนด์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองบัลติมอร์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 64 กิโลเมตร
เจ้าหน้าที่เพนตากอน ระบุว่า พวกเขายังไม่มั่นใจว่าเรือเหาะยาว 242 ฟุตลำนี้หลุดออกไปได้อย่างไรเมื่อเวลา 12.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น (23.20 น. ในประเทศไทย) และทหารต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงเพื่อหาวิธีดึงมันกลับลงมาสู่พื้น ทว่าสุดท้ายเรือเหาะก็ค่อยๆ ยุบตัวลง และตกลงสู่พื้นดินที่เทศมณฑลมอนทัวร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งอยู่ห่างจาก อาเบอร์ดีน พรูฟวิง กราวนด์ ไปทางเหนือราว 150 ไมล์
จอห์น โทมัส โฆษกสำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินประจำเทศมณฑลโคลัมเบีย ระบุว่า ตนยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการตกของเรือเหาะ เพราะ “พื้นที่แถบนั้นเป็นเขตชนบทห่างไกลพอสมควร” ทว่าไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ
การเดินทางของเรือเหาะลำนี้สร้างความปั่นป่วนต่อชุมชนมากพอสมควร เนื่องจากสายเคเบิลที่ติดอยู่กับตัวมันไปฉุดเสาไฟฟ้าล้มระเนระนาด และทำให้ประชาชนราว 30,000 คนในรัฐเพนซิลเวเนียไม่มีไฟฟ้าใช้อยู่พักใหญ่
“สายเคเบิลที่ล่ามเรือเหาะเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ทั่วเพนซิลเวเนีย” คำแถลงจากสำนักงานของ ทอม วูลฟ์ ผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย ระบุ
อุบัติเหตุซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยๆ นี้ยังกลายเป็นกระแสดังในสื่อสังคมออนไลน์ของอเมริกา โดย #Blimpflood หรือ #Blimpmemes ได้กลายเป็นแฮชแท็กยอดนิยมทางทวิตเตอร์ในรอบวัน
เรือเหาะลำนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับขีปนาวุธ (Joint Land-Attack Cruise Missile Elevated Netted Sensor System - JLENS) มูลค่า 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเคยถูกปรับโครงสร้างใหญ่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่กองทัพประเมินเอาไว้ ตามข้อมูลของสำนักงานบัญชีกลางสหรัฐฯ เมื่อปี 2014
นาวาเอก สก็อตต์ มิลเลอร์ โฆษกกองบัญชาการป้องกันอากาศยานอเมริกาเหนือ (NORAD) ระบุว่า โครงการนี้ประกอบด้วยเรือเหาะ 2 ลำซึ่งมีความยาว 242 ฟุตเท่ากัน โดยลำที่สองกำลังจะถูกดึงลงสู่พื้นเพื่อรับการตรวจสภาพ และค้นหาสาเหตุที่ทำให้เรือเหาะหลุดออกจากฐาน
โครงการเรือเหาะนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบ โดยบริษัท เรย์ธีออน ซึ่งเป็นผู้ผลิตชี้ว่า มันจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ช่วยปกป้องเขตมหานคร วอชิงตัน ดี.ซี. ต่อไป
ข้อมูลจากเว็บไซต์เรย์ธีออน ระบุว่า เรือเหาะจะต้องถูกล่ามไว้กับพื้นดินด้วย “สายเคเบิลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 11/8 นิ้วที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ” และสามารถต้านทานกระแสลมที่มีความเร็วถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยจะมีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเคเบิลขึ้นไปยังเรดาร์ที่อยู่ในตัวเรือเหาะ
NORAD ระบุว่า เรือเหาะลำนี้หลุดลอยไปขณะอยู่ที่ความสูง 6,600 ฟุต ซึ่งยังต่ำกว่าระดับความสูงที่แนะนำไว้ไม่เกิน 10,000 ฟุต ทว่าในช่วงบ่ายมันได้ลอยสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 16,000 ฟุต และเข้าไปยังเขตรัฐเพนซิลเวเนีย
เรือเหาะลำนี้ไม่เพียงสามารถตรวจจับขีปนาวุธร่อน แต่ยังรวมถึงภัยคุกคามรูปแบบอื่นๆ เช่น อากาศยานไร้คนขับ และ “เป้าหมายภาคพื้นดินที่เคลื่อนไหวได้” เช่น กองเรือและรถถัง เป็นต้น
เรือเหาะซึ่งผลิตโดย เรย์ธีออน ในโครงการพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับขีปนาวุธ (Joint Land-Attack Cruise Missile Elevated Netted Sensor System – JLENS) ที่ฐานยิงขีปนาวุธไวท์แซนด์ส รัฐนิวเม็กซิโก เมื่อปี 2012 (ภาพ - รอยเตอร์)
ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000120661