เห็นว่าช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลรับปริญญาของปีการศึกษาที่ผ่านมาแล้ว และเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า งานรับปริญญาเป็นความภาคภูมิใจของเราและครอบครัว รวมทั้งมิตรสหายทั้งหลาย ที่หาได้เพียงครั้งเดียว (ถ้าไม่เรียนต่อป.โท นะ) เมื่อใกล้จะถึงวันรับปริญญาของสถาบันต่างๆ สิ่งที่น้องๆ ว่าที่บัณฑิตทั้งหลายมักจริงจังมากเป็นพิเศษก็คือ “ฉันจะต้องสวย หล่อ เริดแบบชิกสุดๆ ในงานนี้เลย” ดังนั้น ทั้งรูปลักษณ์ เสื้อผ้าหน้าผมจึงต้องเป๊ะและดูดีเป็นพิเศษเพื่องานนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ความภาคภูมิใจเหล่านี้ล้วนต้องจ่ายด้วยเงินทั้งนั้น และด้วยความที่งานรับปริญญาเป็นเทศกาลรวมญาติ รวมเพื่อน ก็ต้องมีบ้างที่จะนัดพบปะสังสรรค์กัน และความสนุกสนานเหล่านี้แหละที่จะทำให้ว่าที่บัณฑิตใหม่หลงลืมอะไรบางอย่างไป
ก็คือ “ลืมตัว” ไง หลายคนเพลิดเพลินจนลืมไปเลยว่า เงินในกระเป๋าของเราหมดไปเท่าไหร่แล้ว ลองคิดดูว่า ค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับงานรับปริญญาหนึ่งครั้งมันมากมายเท่าไหร่ บางคนอาจหมดไปเท่ากับจำนวนเงินเดือนเลยก็ได้ แต่ถ้าหากน้องๆ ยินดีทุ่มสุดตัวโดยไม่เดือดร้อนคนรอบข้างก็ไม่ว่ากัน เข้าใจว่าเป็นครั้งเดียวในชีวิตที่จะมีโมเมนต์แบบนี้ (จขกท. ผ่านช่วงชีวิตนี้มาแล้ว)
แต่มันจะดีกว่าไหม ถ้าเราหันมาควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้เหมาะสม เมื่อถึงเวลาที่ความสุขเหล่านี้หมดไปแล้วกลับมาควักดูกระเป๋าเงินอีกที จะได้ไม่ต้องมาเสียใจทีหลัง
1. ค่าบูมบัณฑิต
เข้าใจว่าเป็นธรรมเนียมที่พี่ๆ จะต้องให้เงินน้องๆ เมื่อเรียนจบ (ก็ตอนเป็นน้องดันไปขอบูมซะเยอะเลยนี่) แต่เราควรจะพิจารณาและลำดับความสำคัญของสายสัมพันธ์ตอนเรียนด้วยว่า สมควรที่จะให้น้องๆ กลุ่มไหนบ้าง เช่น เราเรียนคณะอะไร วิชาเอกอะไร เคยทำกิจกรรมอยู่สโมสรหรือชมรมอะไรบ้าง ก็จัดสรรมากน้อยตามลำดับความสำคัญของน้องเอง ไม่ใช่มีน้องจากไหนก็ไม่รู้มาขอบูมก็บ้าจี้ให้บูมแล้วสุดท้ายก็ต้องควักแบงก์แดง แบงก์ม่วง หรือแบงก์เทาจ่ายให้น้องไปตามระเบียบ (จะชิ่งก็ไม่ทันแล้วเพราะสายตาน้องๆ ช่างดูกดดันเหลือเกิน) ทั้งๆ ที่ตอนเรียนเราก็ไม่เคยมีสานสัมพันธ์กับน้องกลุ่มนี้มาก่อนเลย เพราะฉะนั้น อย่ากลัวที่จะกล้าปฏิเสธน้องๆ ที่มาขอบูม (ถ้าไม่ได้สนิทกันขนาดนั้น) หลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยงบ้างเถอะ
2. ค่ากินเลี้ยงสังสรรค์
กรณีขอพูดถึงตอนสังสรรค์กับเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง เพราะเป็นกรณีที่เรามีโอกาสหลงระเริงจนต้องควักเอาๆ จนกระเป๋าเงินแฟบโดยไม่รู้ตัว (โดยเฉพาะตอนเหล้าเข้าปาก) ดังนั้น เวลากินเลี้ยงปาร์ตี้อะไรก็ตามสิ่งที่เจ้าภาพรวมทั้งหุ้นส่วนควรจะจำกัดให้พอเหมาะพอควรก็มี 2 อย่างหลักๆ ก็คือ
จำนวนคน
เพราะพอกินไปได้สักพัก เชื่อว่าก็จะเริ่มมีบุคคลแปลกหน้าบ้าง เพื่อนหรือรุ่นน้องต่างกลุ่มบ้าง ตีเนียนมาร่วมโต๊ะด้วย (กรณีที่เลี้ยงชุดใหญ่) แต่พอบิลวางบนโต๊ะเท่านั้นแหละครับ ปรากฏว่าเพื่อนร่วมโต๊ะทั้งหลายของเรา ถ้าไม่เมาแอ๋สลบไสลอยู่กับโต๊ะก็ชิ่งหนีตอนเมาได้ที่นั่นแหละ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นเจ้าภาพอย่างบัณฑิตที่ต้องควักกระเป๋าจ่าย (ไม่ใช่น้อยๆ แน่นอน)
ของเสพติดมึนเมาทั้งหลาย
ข้อนี้ขอเหมารวมเป็นของมึนเมาดีกว่า เพราะทุกอย่างล้วนเป็นอะไรที่สิ้นเปลืองสุดๆ ดังนั้นสิ่งที่จขกท. เตือนได้ก็คือ จะกินมากน้อยแค่ไหนต้องกินอย่างมีสติ ต้องรู้ว่ากินไปเท่าไหร่แล้ว มิฉะนั้นแล้ว ค่าของมึนเมาจะพุ่งขึ้นจากงบที่มีอยู่เป็นหลายเท่าตัว พอตื่นเช้ามาก็จะรู้สึกเสียดายกับเงินที่บินหนีไป
3. ค่าถ่ายรูป
ปฏิเสธไม่ได้ว่า บัณฑิตทุกคนทุกเพศอยากได้รูปภาพแห่งความทรงจำที่สวยและดูดีที่สุด บางคนถึงกับจ้างช่างภาพระดับสตูดิโอมาถ่ายเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ก็ไม่ผิดครับ อยากได้ช่างภาพที่มีความสามารถระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับกำลังเงินที่เรามี แต่สิ่งที่จขกท. จะบอกในข้อนี้ก็คือ ถ้าอยากจะจ่ายแพงจริงๆ ควรจะไปหาเพื่อนร่วมแก๊งอย่างน้อยสักสองสามคนมาร่วมแชร์ค่าเหนื่อยด้วยกันกับเราดีกว่า ประหยัดไปตั้งเยอะ แถมยังได้รูปที่ดูดีมีสไตล์ไปอีกแบบด้วยนะ
4. ค่าที่พักระหว่างช่วงซ้อม
บัณฑิตทุกคนอยากพักผ่อนแบบสบายๆ ยิ่งในห้องพักมีแอร์และเตียงนุ่มๆ ด้วยจะเป็นอะไรที่มีความสุขมาก (ช่วงเวลาซ้อมและเข้าพิธีจะเหนื่อยสุดๆ แน่นอน) จขกท. อยากให้บัณฑิตทุกคนคิดอย่างรอบคอบก่อนเลือกที่พักช่วงซ้อมด้วยว่า เวลาที่เราจะได้ใช้ชีวิตในที่พักจริงๆ คือตอนกลางคืนเท่านั้น และสิ่งที่ทุกคนต้องการจากที่พักคือ นอน ลองคิดว่าแต่ละคืนเราจะได้นอนอย่างมากกี่ชั่วโมง ซึ่งบางคนนอนได้ไม่ทันไรก็ต้องตื่นแต่กลางดึกออกไปแต่งหน้าทำผมละ ถามว่า มันคุ้มกันไหมสำหรับเราที่นอนโรงแรมคืนละหลักพันแต่มีเวลานอนจริงๆ แค่สามสี่ชั่วโมง เราเสพความสบายจากห้องพักได้คุ้มกับเงินที่เสียไปหรือเปล่า (กรณีที่ครอบครัวไมได้มานอนด้วยนะ) ดังนั้น เราควรเลือกที่พักที่มีราคาและความสบายที่เหมาะสมกับเวลาที่เราได้พักผ่อนจริงๆ จะดีกว่า อ๋อ ! หาเพื่อนมาเป็นรูมเมทช่วยแชร์ค่าห้องด้วยนะ (แล้วแต่เลยว่าจะนอนกี่คน)
5. ค่าอัดรูป รวมทั้งกรอบรูป
ไม่ว่าจะอัดรูปและกรอบรูป ต่อให้เป็นระดับพรีเมียมแค่ไหน สุดท้ายทุกคนแทบจะไม่มองกรอบรูปเลย มองแต่รูปถ่ายทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเวลาเลือกกรอบรูปก็ไม่จำเป็นต้องเลือกแบบหรูเว่อร์หรอก ควรไปให้ความสำคัญกับการเลือกขนาดและคุณภาพของรูปจะดีกว่า เพราะสุดท้ายคนที่ภาคภูมิใจกับความสำเร็จในครั้งนี้จริงๆ ก็มีแค่ตัวบัณฑิตเองกับคนสำคัญแค่ไม่กี่คนเท่านั้นแหละ
“ครั้งเดียวในชีวิต จะงกไปทำไม เสียได้เสียไปเถอะ”
เชื่อว่ามีบัณฑิตรวมทั้งครอบครัวหลายคนที่คิดแบบนี้ แต่ จขกท. ไม่ได้ต้องการให้บัณฑิตเป็นคนงก แต่อยากให้ทุกคนมองให้กว้างและไกลกว่านี้อีกสักหน่อยว่า หลังรับปริญญาเสร็จบัณฑิตก็ต้องกินต้องใช้เหมือนคนทั่วไป ก็ลองคิดดูว่า เมื่อเราควักกระเป๋าตังค์ออกมาดูเงินที่เหลืออยู่หลังจากรับปริญญาเสร็จแล้ว ปรากฏว่าเหลือแต่เศษเหรียญและแบงก์เขียว เราจะรู้สึกอย่างไรบ้างล่ะ เพราะฉะนั้น การควบคุมค่าใช้จ่ายช่วงรับปริญญาให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่บัณฑิตทุกคนควรจะคิดให้รอบคอบ เมื่อถึงเวลาที่กลับมาใช้ชีวิตตามปกติจะได้ไม่ต้องมาเสียใจ บ่นรู้สึกแย่แล้วตีโพยตีพายในภายหลัง
เตือนว่าที่บัณฑิตใหม่ป้ายแดง จ่ายแพงเกินไปกับค่าเหล่านี้ ระวังเงินบินหนีไม่รู้ตัว
ก็คือ “ลืมตัว” ไง หลายคนเพลิดเพลินจนลืมไปเลยว่า เงินในกระเป๋าของเราหมดไปเท่าไหร่แล้ว ลองคิดดูว่า ค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับงานรับปริญญาหนึ่งครั้งมันมากมายเท่าไหร่ บางคนอาจหมดไปเท่ากับจำนวนเงินเดือนเลยก็ได้ แต่ถ้าหากน้องๆ ยินดีทุ่มสุดตัวโดยไม่เดือดร้อนคนรอบข้างก็ไม่ว่ากัน เข้าใจว่าเป็นครั้งเดียวในชีวิตที่จะมีโมเมนต์แบบนี้ (จขกท. ผ่านช่วงชีวิตนี้มาแล้ว)
แต่มันจะดีกว่าไหม ถ้าเราหันมาควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้เหมาะสม เมื่อถึงเวลาที่ความสุขเหล่านี้หมดไปแล้วกลับมาควักดูกระเป๋าเงินอีกที จะได้ไม่ต้องมาเสียใจทีหลัง
1. ค่าบูมบัณฑิต
เข้าใจว่าเป็นธรรมเนียมที่พี่ๆ จะต้องให้เงินน้องๆ เมื่อเรียนจบ (ก็ตอนเป็นน้องดันไปขอบูมซะเยอะเลยนี่) แต่เราควรจะพิจารณาและลำดับความสำคัญของสายสัมพันธ์ตอนเรียนด้วยว่า สมควรที่จะให้น้องๆ กลุ่มไหนบ้าง เช่น เราเรียนคณะอะไร วิชาเอกอะไร เคยทำกิจกรรมอยู่สโมสรหรือชมรมอะไรบ้าง ก็จัดสรรมากน้อยตามลำดับความสำคัญของน้องเอง ไม่ใช่มีน้องจากไหนก็ไม่รู้มาขอบูมก็บ้าจี้ให้บูมแล้วสุดท้ายก็ต้องควักแบงก์แดง แบงก์ม่วง หรือแบงก์เทาจ่ายให้น้องไปตามระเบียบ (จะชิ่งก็ไม่ทันแล้วเพราะสายตาน้องๆ ช่างดูกดดันเหลือเกิน) ทั้งๆ ที่ตอนเรียนเราก็ไม่เคยมีสานสัมพันธ์กับน้องกลุ่มนี้มาก่อนเลย เพราะฉะนั้น อย่ากลัวที่จะกล้าปฏิเสธน้องๆ ที่มาขอบูม (ถ้าไม่ได้สนิทกันขนาดนั้น) หลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยงบ้างเถอะ
2. ค่ากินเลี้ยงสังสรรค์
กรณีขอพูดถึงตอนสังสรรค์กับเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง เพราะเป็นกรณีที่เรามีโอกาสหลงระเริงจนต้องควักเอาๆ จนกระเป๋าเงินแฟบโดยไม่รู้ตัว (โดยเฉพาะตอนเหล้าเข้าปาก) ดังนั้น เวลากินเลี้ยงปาร์ตี้อะไรก็ตามสิ่งที่เจ้าภาพรวมทั้งหุ้นส่วนควรจะจำกัดให้พอเหมาะพอควรก็มี 2 อย่างหลักๆ ก็คือ
จำนวนคน
เพราะพอกินไปได้สักพัก เชื่อว่าก็จะเริ่มมีบุคคลแปลกหน้าบ้าง เพื่อนหรือรุ่นน้องต่างกลุ่มบ้าง ตีเนียนมาร่วมโต๊ะด้วย (กรณีที่เลี้ยงชุดใหญ่) แต่พอบิลวางบนโต๊ะเท่านั้นแหละครับ ปรากฏว่าเพื่อนร่วมโต๊ะทั้งหลายของเรา ถ้าไม่เมาแอ๋สลบไสลอยู่กับโต๊ะก็ชิ่งหนีตอนเมาได้ที่นั่นแหละ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นเจ้าภาพอย่างบัณฑิตที่ต้องควักกระเป๋าจ่าย (ไม่ใช่น้อยๆ แน่นอน)
ของเสพติดมึนเมาทั้งหลาย
ข้อนี้ขอเหมารวมเป็นของมึนเมาดีกว่า เพราะทุกอย่างล้วนเป็นอะไรที่สิ้นเปลืองสุดๆ ดังนั้นสิ่งที่จขกท. เตือนได้ก็คือ จะกินมากน้อยแค่ไหนต้องกินอย่างมีสติ ต้องรู้ว่ากินไปเท่าไหร่แล้ว มิฉะนั้นแล้ว ค่าของมึนเมาจะพุ่งขึ้นจากงบที่มีอยู่เป็นหลายเท่าตัว พอตื่นเช้ามาก็จะรู้สึกเสียดายกับเงินที่บินหนีไป
3. ค่าถ่ายรูป
ปฏิเสธไม่ได้ว่า บัณฑิตทุกคนทุกเพศอยากได้รูปภาพแห่งความทรงจำที่สวยและดูดีที่สุด บางคนถึงกับจ้างช่างภาพระดับสตูดิโอมาถ่ายเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ก็ไม่ผิดครับ อยากได้ช่างภาพที่มีความสามารถระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับกำลังเงินที่เรามี แต่สิ่งที่จขกท. จะบอกในข้อนี้ก็คือ ถ้าอยากจะจ่ายแพงจริงๆ ควรจะไปหาเพื่อนร่วมแก๊งอย่างน้อยสักสองสามคนมาร่วมแชร์ค่าเหนื่อยด้วยกันกับเราดีกว่า ประหยัดไปตั้งเยอะ แถมยังได้รูปที่ดูดีมีสไตล์ไปอีกแบบด้วยนะ
4. ค่าที่พักระหว่างช่วงซ้อม
บัณฑิตทุกคนอยากพักผ่อนแบบสบายๆ ยิ่งในห้องพักมีแอร์และเตียงนุ่มๆ ด้วยจะเป็นอะไรที่มีความสุขมาก (ช่วงเวลาซ้อมและเข้าพิธีจะเหนื่อยสุดๆ แน่นอน) จขกท. อยากให้บัณฑิตทุกคนคิดอย่างรอบคอบก่อนเลือกที่พักช่วงซ้อมด้วยว่า เวลาที่เราจะได้ใช้ชีวิตในที่พักจริงๆ คือตอนกลางคืนเท่านั้น และสิ่งที่ทุกคนต้องการจากที่พักคือ นอน ลองคิดว่าแต่ละคืนเราจะได้นอนอย่างมากกี่ชั่วโมง ซึ่งบางคนนอนได้ไม่ทันไรก็ต้องตื่นแต่กลางดึกออกไปแต่งหน้าทำผมละ ถามว่า มันคุ้มกันไหมสำหรับเราที่นอนโรงแรมคืนละหลักพันแต่มีเวลานอนจริงๆ แค่สามสี่ชั่วโมง เราเสพความสบายจากห้องพักได้คุ้มกับเงินที่เสียไปหรือเปล่า (กรณีที่ครอบครัวไมได้มานอนด้วยนะ) ดังนั้น เราควรเลือกที่พักที่มีราคาและความสบายที่เหมาะสมกับเวลาที่เราได้พักผ่อนจริงๆ จะดีกว่า อ๋อ ! หาเพื่อนมาเป็นรูมเมทช่วยแชร์ค่าห้องด้วยนะ (แล้วแต่เลยว่าจะนอนกี่คน)
5. ค่าอัดรูป รวมทั้งกรอบรูป
ไม่ว่าจะอัดรูปและกรอบรูป ต่อให้เป็นระดับพรีเมียมแค่ไหน สุดท้ายทุกคนแทบจะไม่มองกรอบรูปเลย มองแต่รูปถ่ายทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเวลาเลือกกรอบรูปก็ไม่จำเป็นต้องเลือกแบบหรูเว่อร์หรอก ควรไปให้ความสำคัญกับการเลือกขนาดและคุณภาพของรูปจะดีกว่า เพราะสุดท้ายคนที่ภาคภูมิใจกับความสำเร็จในครั้งนี้จริงๆ ก็มีแค่ตัวบัณฑิตเองกับคนสำคัญแค่ไม่กี่คนเท่านั้นแหละ
“ครั้งเดียวในชีวิต จะงกไปทำไม เสียได้เสียไปเถอะ”
เชื่อว่ามีบัณฑิตรวมทั้งครอบครัวหลายคนที่คิดแบบนี้ แต่ จขกท. ไม่ได้ต้องการให้บัณฑิตเป็นคนงก แต่อยากให้ทุกคนมองให้กว้างและไกลกว่านี้อีกสักหน่อยว่า หลังรับปริญญาเสร็จบัณฑิตก็ต้องกินต้องใช้เหมือนคนทั่วไป ก็ลองคิดดูว่า เมื่อเราควักกระเป๋าตังค์ออกมาดูเงินที่เหลืออยู่หลังจากรับปริญญาเสร็จแล้ว ปรากฏว่าเหลือแต่เศษเหรียญและแบงก์เขียว เราจะรู้สึกอย่างไรบ้างล่ะ เพราะฉะนั้น การควบคุมค่าใช้จ่ายช่วงรับปริญญาให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่บัณฑิตทุกคนควรจะคิดให้รอบคอบ เมื่อถึงเวลาที่กลับมาใช้ชีวิตตามปกติจะได้ไม่ต้องมาเสียใจ บ่นรู้สึกแย่แล้วตีโพยตีพายในภายหลัง