ท่ามกลางกระแสฟุตบอลไทยที่เพิ่มมากขึ้นอย่างล้นหลามในปัจจุบัน แน่นอนว่าแฟนบอลที่ติดตามทีมชาติไทยจำนวนมากขนาดนี้ ต่างก็อยากจะเข้าไปดูทีมชาติอันเป็นที่รักในสนามจริงกันมากขึ้นตามไปด้วย แต่ด้วยความต้องการที่มากกว่าจำนวนที่นั่งในสนาม ทำให้เกิดสิ่งที่ตามมาก็คือการขาย “ตั๋วผี” จากผู้อาศัยโอกาสเก็งกำไรขายตั๋วเข้าชมในราคาที่มากกว่าราคาหน้าตั๋ว (Face Value) เป็นจำนวนมาก
พฤติกรรมการขายตั๋วผีพบได้ทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย ในรายการกีฬาที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ราคาตั๋วผีในบางครั้งอาจสูงกว่าราคาหน้าตั๋วถึง 10-100 เท่า ซึ่งการกระทำดังกล่าวยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงความเหมาะสมในแง่มุมต่างๆ กระทู้นี้จึงเขียนขึ้นเพื่อนำเสนอมุมมองและประเด็นปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ กฎหมาย และศีลธรรม เกี่ยวกับเรื่องนี้
1. มุมเศรษฐศาสตร์
1.1 หลักการพื้นฐานของการจัดสรรตั๋ว (Ticket Allocations)
ตามแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ การจัดสรรตั๋วที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น ผู้จัดสรรควรจัดสรรตั๋วให้แก่ผู้ที่มีความต้องการสิ่งนั้นมากที่สุดเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์สูงสุด ซึ่งแนวทางการจัดสรรตั๋วโดยทั่วไป อาจมีได้ 3 วิธี ดังนี้
1.1.1 การใช้กลไกราคา (Pricing) เป็นการใช้ราคาเป็นตัวกำหนดโดยมีพื้นฐานว่าคนที่ต้องการจ่ายเงินเพื่อตั๋วนั้นมากที่สุด คือคนที่เห็นคุณค่าของตั๋วนั้นมากที่สุด ก็ควรเป็นได้รับตั๋วนั้นไปครอบครอง การใช้วิธีนี้สามารถทำได้โดยวิธีการตั้งราคาตั๋วให้สูงที่สุดเท่าที่จะสามารถขายพอดีกับจำนวนที่นั่ง หรือใช้วิธีประมูล เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของวิธีการนี้ก็คือ คนที่จ่ายมากที่สุดอาจไม่ใช่คนที่อยากดู
ที่สุดก็ได้ เนื่องจากว่าเป็นการวัดจากกำลังซื้อ (เงิน) ดังนั้น ผู้ที่มีข้อจำกัดในเรื่องเงินอาจไม่ได้รับโอกาสจัดสรรด้วยวิธีการนี้
1.1.2 ใครมาก่อนได้ก่อน (First Come, First Serve) วิธีการนี้เราจะคุ้นเคยในระบบการเข้าแถวต่อคิว การเข้าจองในอินเตอร์เน็ต เป็นต้น วิธีจัดสรรแบบนี้จะไม่คำนึงว่าใครจ่ายมากกว่า แต่จะวัดจากการพยายาม การขวนขวาย ความตั้งใจของผู้ซื้อว่าใครที่มาก่อนย่อมเป็นผู้ที่มีความต้องการของนั้นมากที่สุด ก็ควรได้รับของนั้นไป วิธีการนี้มีข้อบกพร่องก็คือ ผู้จะซื้อบางคนอาจมีข้อจำกัดในด้านเวลา เช่น ต้องทำงานในเวลาที่เปิดขาย สถานที่พักอาศัยไกลจากจุดขาย หรือด้านเทคโนโลยีที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการซื้อได้ ทำให้ไม่สามารถซื้อได้ทัน แม้จะมีความต้องการตั๋วไม่แพ้คนที่มาก่อนก็ตาม เป็นต้น
1.1.3 การสุ่ม/จับสลาก (Lottery) วิธีนี้จะให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อแสดงความจำนงที่จะซื้อก่อน ถ้ามีจำนวนมากกว่าตั๋วที่มี ก็จะทำการสุ่มผู้ที่โชคดีที่จะได้รับตั๋วนั้นไป วิธีการสุ่มจะช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องใครมาก่อนได้ก่อน จึงมีวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง แต่ข้อเสียสำคัญของวิธีนี้คือผู้ที่โชคดีอาจไม่ใช่ผู้ที่ต้องการตั๋วนั้นมากที่สุดก็ได้
สำหรับกรณีการแข่งขันของทีมชาติไทย ใช้การจัดสรรตั๋วแบบใครมาก่อนได้ก่อน (First Come, First Serve) โดยผู้จัดกำหนดราคาที่ไม่แพงจนเกินไปเพื่อต้องการให้แฟนบอลทุกระดับมีโอกาสได้ดู และใช้ระบบการจองซื้อผ่านช่องทางต่างๆ โดยลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคในการจองต่างๆ โดยกระจายช่องทางการจำหน่ายให้ครอบคลุม และให้เข้าถึงได้จากทุกที่จากอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม การจัดสรรตั๋วด้วยระบบนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดตั๋วผีมากที่สุดเช่นกัน เนื่องจากยังมีระดับราคาที่ที่คนยังยอมจ่ายในราคาที่สูงกว่าราคาหน้าตั๋วพอสมควร
1.2 ปัญหาเชิงเศรษฐศาสตร์ กับ “ตั๋วผี”
แม้ว่าบางแนวคิดยังคงเห็นว่าการขายตั๋วผีเป็นเรื่องปกติของเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม แต่ “ตั๋วผี” นำมาซึ่งปัญหาในทางเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เป็นการบิดเบือนวัตถุประสงค์ที่ผู้จัดต้องการ ซึ่งโดยหลักแล้วคนที่มาจองได้ก่อนควรเป็นผู้ที่มีความต้องการตั๋วนั้นมากที่สุด แต่กลับเป็นว่าคนที่จองได้ก่อนไม่ใช่คนที่ต้องการเข้าชมจริงๆ แต่เพียงเพื่อต้องการเก็งกำไรเท่านั้น ประการที่สอง ส่วนต่างกำไรที่เกิดจากการที่มีผู้ยอมซื้อในระดับราคานั้น ในความเป็นจริงก็เป็นระดับราคาที่ผู้จัดสามารถขายราคานั้นได้เช่นกัน แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายแทนที่กำไรเช่นนั้นจะไปสู่ทีมชาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจริงๆ แต่กำไรนั้นกลับไปตกกับกลุ่มผู้ฉวยโอกาสเหล่านั้น
2. มุมธุรกิจ
2.1 การทำธุรกิจของผู้จัดจำหน่ายตั๋ว
เป้าหมายหลักของผู้จัดจำหน่ายตั๋วคือทำอย่างไรให้ตั๋วขายได้หมดหรือมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขบางอย่างของผู้จัดการแข่งขัน เช่น เรื่องราคา หรือ โควตา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้จัดจำหน่ายเมื่อมีคนซื้อและจ่ายเงินครบ ก็จะไม่สนใจแล้วว่าคนที่ซื้อไปจะเป็นเก็งกำไรหรือไม่แล้ว อย่างไร
2.2 ควรเพิ่มความรับผิดชอบให้กับผู้จัดจำหน่าย เพื่อป้องกัน “ตั๋วผี” หรือไม่
แม้ผู้จัดจำหน่ายสามารถสร้างมาตรการในการป้องกัน“ตั๋วผี” ได้ เช่น การกำหนดให้ระบุชื่อในตั๋ว ผูกกับบัตรประชาชน ใครไม่มีชื่อในตั๋วเข้าสนามไม่ได้ เป็นต้น มาตรการเช่นนี้ก็เป็นวิธีในการป้องกันตั๋วผีได้ดีอย่างหนึ่ง แต่ทางธุรกิจการเพิ่มมาตรการเข้าไปย่อมก่อให้เกิด “ต้นทุน” ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคงเป็นเรื่องยากที่ผู้จัดจำหน่ายตั๋วจะยอมลดกำไรลง เว้นเสียแต่ จะสามารถตั้งราคาขายให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยต้นทุน หรือ ภาครัฐจะยอมรับผิดชอบต้นทุนส่วนนั้นแทนให้
นอกจากนี้การเพิ่มมาตรการก็เป็นการสร้างความยุ่งยากในการจอง ส่งผลให้การตัดสินใจซื้อตั๋วของแฟนบอลยากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ในวันที่คนต้องการชมน้อยลง หากให้การซื้อตั๋วยุ่งยาก จะทำให้คนต้องการดูในสนามน้อยลงไปอีก
3. มุมกฎหมาย
3.1 “ตั๋วผี” ผิดกฎหมายหรือไม่
สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับในเรื่องนี้โดยตรง แม้ว่าเราจะมีกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมการค้าภายใน แต่กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมราคาของสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการอุปโภคหรือบริโภคของประชาชนเท่านั้น โดยปัจจุบันในทางกฎหมาย หากจะเอาผิดผู้ขายคงดูได้แค่ว่าการกระทำของผู้ขายอาจไปเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญา เช่น การก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น เป็นต้น
3.2 ควรบัญญัติให้การขายตั๋วผีเป็นเรื่องผิดกฎหมายหรือไม่
ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่าในทางกฎหมาย ผู้ขายในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตั๋วย่อมมีสิทธิในการจำหน่ายจ่ายโอน และการซื้อขายย่อมมีความชอบธรรมภายใต้หลักเสรีภาพในการทำสัญญา การที่รัฐจะออกกฎหมายเพื่อบังคับแก่กรณีดังกล่าวจะต้องชั่งน้ำหนักว่าการไปจำกัดสิทธิดังกล่าวนั้น สาธารณะหรือประชาชนจะได้รับประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยมากเพียงใด ซึ่งเป็นจุดที่ยากที่สุดของประเด็นนี้
อย่างไรก็ตามในหลายประเทศบัญญัติให้การขายตั๋วผีเป็นความผิด เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกาในบางมลรัฐ แคนาดา เนเธอแลนด์ เป็นต้น ยกตัวอย่างของประเทศอังกฤษ ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตทำการขาย เสนอขายตั๋วเข้าชมฟุตบอล ฝ่าฝืนเป็นความผิดอาญา ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย the Criminal Justice and Public Order Act 1994 (Section 166)
(อ้างอิงจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Ticket_resale)
4. มุมศีลธรรม
แม้ในแง่ “ศีลธรรม” นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันทั่วโลกว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมหรือไม่ บางพวกเห็นว่าไม่ผิดอะไรเพราะมองว่าเป็นสิทธิของคนซื้อคนขาย บางกลุ่มมองว่า การขายตั๋วผี “เป็นสิ่งที่ผิด” เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เป็นการเอารัดเอาเปรียบ แต่อย่างไรก็ตามบรรทัดฐานทางศีลธรรมของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป แม้ในกลุ่มคนที่เห็นว่าผิดก็ยังแตกต่างกัน บางคนยอมรับการขายตั๋วผีไม่ได้ทุกกรณี บางคนเห็นว่าถ้าราคาไม่แพงกว่าหน้าตั๋วมากจนเกินไปก็ยอมรับได้
5. แนวทางต่างๆในการแก้ไขปัญหา
5.1 แนวทางเศรษฐศาสตร์
5.1.1 เปลี่ยนวิธีการจัดสรรตั๋วแบบใหม่ การเปลี่ยนวิธีการจัดสรรตั๋วอาจช่วยลดปัญหาตั๋วผีได้ทางหนึ่ง เช่น การกำหนดให้ตั๋วมีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ขายตั๋วผีมีโอกาสขายตั๋วผีได้น้อยลง เนื่องจากราคาหน้าตั๋วสูงอยู่แล้ว อีกทั้งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ผู้ที่จะคิดจะเก็งกำไรจากตั๋วผี หรือ การจัดสรรตั๋วแบบสุ่มจะทำให้โอกาสในการได้รับตั๋วของพ่อค้าลดลง เป็นต้น แต่วิธีต่างๆ ก็มีข้อเสียอย่างที่ว่าไปแล้วตอนต้น
5.1.2 ต้องไม่มีการซื้อตั๋วผีต่อไป การไม่ซื้อเป็นแนวทางที่ได้ผลมากที่สุด หากไม่มีความต้องการซื้อแล้ว ผู้ขายก็จะไม่นำของมาขาย และการไม่ซื้อนั้นต้องไม่ซื้อแม้กระทั่งในราคาที่ขายถูกกว่าหน้าตั๋ว เพื่อให้ผู้ขายขาดทุนมากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องไม่ซื้อในราคาที่แพงกว่าราคาหน้าตั๋วเพื่อลดแรงจูงใจในการนำมาขายครั้งต่อไป
5.2 แนวทางธุรกิจ
5.2.1 ออกแบบตั๋วให้ “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “ให้เปลี่ยนมือได้ยาก” ทำได้หลายวิธีโดยการกำหนดการจองตั๋วต้องมีการผูกพันกับบัตรประจำตัวประชาชน และต้องมีการตรวจสอบชื่อให้ตรงกับตั๋วถึงจะเข้าสนามได้ ตั๋วแต่ละใบไม่สามารถโอนให้ผู้อื่นได้ หรือ ถ้าจะทำการโอนต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิก่อน เป็นต้น ซึ่งจะต้องหาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและทางธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ในบางประเทศมีการจัดตั้งบริษัทตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนตั๋วทำนองเดียวกับตลาดหุ้น รองรับตลาดรอง (Secondary Market) สำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายตั๋ว โดยไม่อนุญาตใครให้เสนอขายตั๋วกันเองได้
5.2.2 ผู้จัดการแข่งขัน ผู้จัดจำหน่ายควรเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับจำนวนตั๋ว การกระจายตั๋ว ที่ออกจำหน่าย รายละเอียดเงื่อนไขที่จำเป็นให้ประชาชนรับทราบข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจว่าจะใช้วิธีใดในการจองซื้อ เช่น เคาท์เตอร์ขายจำนวนเท่าไหร่ ออนไลน์เท่าไหร่ เป็นต้น นอกจากนี้การบริหารจัดการตั๋วของสปอนเซอร์ต่างๆ ควรจัดการให้เหมาะสม แยกชนิดกับตั๋วธรรมดาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการนำตั๋วฟรีมาแสวงหากำไรอย่างไม่เหมาะสม
5.3 แนวทางกฎหมาย
การออกกฎหมายบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดกฎหมาย และมีบทกำหนดโทษที่เหมาะสม ก็สามารถช่วยลดการขายได้ทางหนึ่ง
5.4 แนวทางศีลธรรม
แนวทางศีลธรรม ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนในสังคมใช้มาตรการลงโทษทางศีลธรรม (Social Sanction) เช่น การประณาม รณรงค์ต่อต้านการซื้อขาย เป็นต้น
ทั้งหมดที่ว่าไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งจุดที่พอดีสำหรับเรื่องนี้จะอยู่ที่ใดคงต้องศึกษากันให้ดีต่อไป แต่สิ่งที่ทำได้เร็วแล้วไม่ต้องรอใครก็คือต้องไม่ช่วยกันซื้อหรือสนับสนุนตั๋วผีเหล่านั้นครับ ดูในสนาม นอกสนาม เชียร์ที่ไหน...ก็ไฟแรงเฟร่อ เหมือนกัน ไทยแลนด์ ปู้นนๆๆ
[กระทู้ชวนขบคิด] เรื่องตั๋วผี...ในมุมมองเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ กฎหมาย และศีลธรรม
พฤติกรรมการขายตั๋วผีพบได้ทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย ในรายการกีฬาที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ราคาตั๋วผีในบางครั้งอาจสูงกว่าราคาหน้าตั๋วถึง 10-100 เท่า ซึ่งการกระทำดังกล่าวยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงความเหมาะสมในแง่มุมต่างๆ กระทู้นี้จึงเขียนขึ้นเพื่อนำเสนอมุมมองและประเด็นปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ กฎหมาย และศีลธรรม เกี่ยวกับเรื่องนี้
1. มุมเศรษฐศาสตร์
1.1 หลักการพื้นฐานของการจัดสรรตั๋ว (Ticket Allocations)
ตามแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ การจัดสรรตั๋วที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น ผู้จัดสรรควรจัดสรรตั๋วให้แก่ผู้ที่มีความต้องการสิ่งนั้นมากที่สุดเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์สูงสุด ซึ่งแนวทางการจัดสรรตั๋วโดยทั่วไป อาจมีได้ 3 วิธี ดังนี้
1.1.1 การใช้กลไกราคา (Pricing) เป็นการใช้ราคาเป็นตัวกำหนดโดยมีพื้นฐานว่าคนที่ต้องการจ่ายเงินเพื่อตั๋วนั้นมากที่สุด คือคนที่เห็นคุณค่าของตั๋วนั้นมากที่สุด ก็ควรเป็นได้รับตั๋วนั้นไปครอบครอง การใช้วิธีนี้สามารถทำได้โดยวิธีการตั้งราคาตั๋วให้สูงที่สุดเท่าที่จะสามารถขายพอดีกับจำนวนที่นั่ง หรือใช้วิธีประมูล เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของวิธีการนี้ก็คือ คนที่จ่ายมากที่สุดอาจไม่ใช่คนที่อยากดู
ที่สุดก็ได้ เนื่องจากว่าเป็นการวัดจากกำลังซื้อ (เงิน) ดังนั้น ผู้ที่มีข้อจำกัดในเรื่องเงินอาจไม่ได้รับโอกาสจัดสรรด้วยวิธีการนี้
1.1.2 ใครมาก่อนได้ก่อน (First Come, First Serve) วิธีการนี้เราจะคุ้นเคยในระบบการเข้าแถวต่อคิว การเข้าจองในอินเตอร์เน็ต เป็นต้น วิธีจัดสรรแบบนี้จะไม่คำนึงว่าใครจ่ายมากกว่า แต่จะวัดจากการพยายาม การขวนขวาย ความตั้งใจของผู้ซื้อว่าใครที่มาก่อนย่อมเป็นผู้ที่มีความต้องการของนั้นมากที่สุด ก็ควรได้รับของนั้นไป วิธีการนี้มีข้อบกพร่องก็คือ ผู้จะซื้อบางคนอาจมีข้อจำกัดในด้านเวลา เช่น ต้องทำงานในเวลาที่เปิดขาย สถานที่พักอาศัยไกลจากจุดขาย หรือด้านเทคโนโลยีที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการซื้อได้ ทำให้ไม่สามารถซื้อได้ทัน แม้จะมีความต้องการตั๋วไม่แพ้คนที่มาก่อนก็ตาม เป็นต้น
1.1.3 การสุ่ม/จับสลาก (Lottery) วิธีนี้จะให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อแสดงความจำนงที่จะซื้อก่อน ถ้ามีจำนวนมากกว่าตั๋วที่มี ก็จะทำการสุ่มผู้ที่โชคดีที่จะได้รับตั๋วนั้นไป วิธีการสุ่มจะช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องใครมาก่อนได้ก่อน จึงมีวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง แต่ข้อเสียสำคัญของวิธีนี้คือผู้ที่โชคดีอาจไม่ใช่ผู้ที่ต้องการตั๋วนั้นมากที่สุดก็ได้
สำหรับกรณีการแข่งขันของทีมชาติไทย ใช้การจัดสรรตั๋วแบบใครมาก่อนได้ก่อน (First Come, First Serve) โดยผู้จัดกำหนดราคาที่ไม่แพงจนเกินไปเพื่อต้องการให้แฟนบอลทุกระดับมีโอกาสได้ดู และใช้ระบบการจองซื้อผ่านช่องทางต่างๆ โดยลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคในการจองต่างๆ โดยกระจายช่องทางการจำหน่ายให้ครอบคลุม และให้เข้าถึงได้จากทุกที่จากอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม การจัดสรรตั๋วด้วยระบบนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดตั๋วผีมากที่สุดเช่นกัน เนื่องจากยังมีระดับราคาที่ที่คนยังยอมจ่ายในราคาที่สูงกว่าราคาหน้าตั๋วพอสมควร
1.2 ปัญหาเชิงเศรษฐศาสตร์ กับ “ตั๋วผี”
แม้ว่าบางแนวคิดยังคงเห็นว่าการขายตั๋วผีเป็นเรื่องปกติของเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม แต่ “ตั๋วผี” นำมาซึ่งปัญหาในทางเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เป็นการบิดเบือนวัตถุประสงค์ที่ผู้จัดต้องการ ซึ่งโดยหลักแล้วคนที่มาจองได้ก่อนควรเป็นผู้ที่มีความต้องการตั๋วนั้นมากที่สุด แต่กลับเป็นว่าคนที่จองได้ก่อนไม่ใช่คนที่ต้องการเข้าชมจริงๆ แต่เพียงเพื่อต้องการเก็งกำไรเท่านั้น ประการที่สอง ส่วนต่างกำไรที่เกิดจากการที่มีผู้ยอมซื้อในระดับราคานั้น ในความเป็นจริงก็เป็นระดับราคาที่ผู้จัดสามารถขายราคานั้นได้เช่นกัน แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายแทนที่กำไรเช่นนั้นจะไปสู่ทีมชาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจริงๆ แต่กำไรนั้นกลับไปตกกับกลุ่มผู้ฉวยโอกาสเหล่านั้น
2. มุมธุรกิจ
2.1 การทำธุรกิจของผู้จัดจำหน่ายตั๋ว
เป้าหมายหลักของผู้จัดจำหน่ายตั๋วคือทำอย่างไรให้ตั๋วขายได้หมดหรือมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขบางอย่างของผู้จัดการแข่งขัน เช่น เรื่องราคา หรือ โควตา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้จัดจำหน่ายเมื่อมีคนซื้อและจ่ายเงินครบ ก็จะไม่สนใจแล้วว่าคนที่ซื้อไปจะเป็นเก็งกำไรหรือไม่แล้ว อย่างไร
2.2 ควรเพิ่มความรับผิดชอบให้กับผู้จัดจำหน่าย เพื่อป้องกัน “ตั๋วผี” หรือไม่
แม้ผู้จัดจำหน่ายสามารถสร้างมาตรการในการป้องกัน“ตั๋วผี” ได้ เช่น การกำหนดให้ระบุชื่อในตั๋ว ผูกกับบัตรประชาชน ใครไม่มีชื่อในตั๋วเข้าสนามไม่ได้ เป็นต้น มาตรการเช่นนี้ก็เป็นวิธีในการป้องกันตั๋วผีได้ดีอย่างหนึ่ง แต่ทางธุรกิจการเพิ่มมาตรการเข้าไปย่อมก่อให้เกิด “ต้นทุน” ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคงเป็นเรื่องยากที่ผู้จัดจำหน่ายตั๋วจะยอมลดกำไรลง เว้นเสียแต่ จะสามารถตั้งราคาขายให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยต้นทุน หรือ ภาครัฐจะยอมรับผิดชอบต้นทุนส่วนนั้นแทนให้
นอกจากนี้การเพิ่มมาตรการก็เป็นการสร้างความยุ่งยากในการจอง ส่งผลให้การตัดสินใจซื้อตั๋วของแฟนบอลยากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ในวันที่คนต้องการชมน้อยลง หากให้การซื้อตั๋วยุ่งยาก จะทำให้คนต้องการดูในสนามน้อยลงไปอีก
3. มุมกฎหมาย
3.1 “ตั๋วผี” ผิดกฎหมายหรือไม่
สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับในเรื่องนี้โดยตรง แม้ว่าเราจะมีกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมการค้าภายใน แต่กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมราคาของสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการอุปโภคหรือบริโภคของประชาชนเท่านั้น โดยปัจจุบันในทางกฎหมาย หากจะเอาผิดผู้ขายคงดูได้แค่ว่าการกระทำของผู้ขายอาจไปเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญา เช่น การก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น เป็นต้น
3.2 ควรบัญญัติให้การขายตั๋วผีเป็นเรื่องผิดกฎหมายหรือไม่
ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่าในทางกฎหมาย ผู้ขายในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตั๋วย่อมมีสิทธิในการจำหน่ายจ่ายโอน และการซื้อขายย่อมมีความชอบธรรมภายใต้หลักเสรีภาพในการทำสัญญา การที่รัฐจะออกกฎหมายเพื่อบังคับแก่กรณีดังกล่าวจะต้องชั่งน้ำหนักว่าการไปจำกัดสิทธิดังกล่าวนั้น สาธารณะหรือประชาชนจะได้รับประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยมากเพียงใด ซึ่งเป็นจุดที่ยากที่สุดของประเด็นนี้
อย่างไรก็ตามในหลายประเทศบัญญัติให้การขายตั๋วผีเป็นความผิด เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกาในบางมลรัฐ แคนาดา เนเธอแลนด์ เป็นต้น ยกตัวอย่างของประเทศอังกฤษ ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตทำการขาย เสนอขายตั๋วเข้าชมฟุตบอล ฝ่าฝืนเป็นความผิดอาญา ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย the Criminal Justice and Public Order Act 1994 (Section 166)
(อ้างอิงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Ticket_resale)
4. มุมศีลธรรม
แม้ในแง่ “ศีลธรรม” นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันทั่วโลกว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมหรือไม่ บางพวกเห็นว่าไม่ผิดอะไรเพราะมองว่าเป็นสิทธิของคนซื้อคนขาย บางกลุ่มมองว่า การขายตั๋วผี “เป็นสิ่งที่ผิด” เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เป็นการเอารัดเอาเปรียบ แต่อย่างไรก็ตามบรรทัดฐานทางศีลธรรมของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป แม้ในกลุ่มคนที่เห็นว่าผิดก็ยังแตกต่างกัน บางคนยอมรับการขายตั๋วผีไม่ได้ทุกกรณี บางคนเห็นว่าถ้าราคาไม่แพงกว่าหน้าตั๋วมากจนเกินไปก็ยอมรับได้
5. แนวทางต่างๆในการแก้ไขปัญหา
5.1 แนวทางเศรษฐศาสตร์
5.1.1 เปลี่ยนวิธีการจัดสรรตั๋วแบบใหม่ การเปลี่ยนวิธีการจัดสรรตั๋วอาจช่วยลดปัญหาตั๋วผีได้ทางหนึ่ง เช่น การกำหนดให้ตั๋วมีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ขายตั๋วผีมีโอกาสขายตั๋วผีได้น้อยลง เนื่องจากราคาหน้าตั๋วสูงอยู่แล้ว อีกทั้งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ผู้ที่จะคิดจะเก็งกำไรจากตั๋วผี หรือ การจัดสรรตั๋วแบบสุ่มจะทำให้โอกาสในการได้รับตั๋วของพ่อค้าลดลง เป็นต้น แต่วิธีต่างๆ ก็มีข้อเสียอย่างที่ว่าไปแล้วตอนต้น
5.1.2 ต้องไม่มีการซื้อตั๋วผีต่อไป การไม่ซื้อเป็นแนวทางที่ได้ผลมากที่สุด หากไม่มีความต้องการซื้อแล้ว ผู้ขายก็จะไม่นำของมาขาย และการไม่ซื้อนั้นต้องไม่ซื้อแม้กระทั่งในราคาที่ขายถูกกว่าหน้าตั๋ว เพื่อให้ผู้ขายขาดทุนมากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องไม่ซื้อในราคาที่แพงกว่าราคาหน้าตั๋วเพื่อลดแรงจูงใจในการนำมาขายครั้งต่อไป
5.2 แนวทางธุรกิจ
5.2.1 ออกแบบตั๋วให้ “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “ให้เปลี่ยนมือได้ยาก” ทำได้หลายวิธีโดยการกำหนดการจองตั๋วต้องมีการผูกพันกับบัตรประจำตัวประชาชน และต้องมีการตรวจสอบชื่อให้ตรงกับตั๋วถึงจะเข้าสนามได้ ตั๋วแต่ละใบไม่สามารถโอนให้ผู้อื่นได้ หรือ ถ้าจะทำการโอนต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิก่อน เป็นต้น ซึ่งจะต้องหาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและทางธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ในบางประเทศมีการจัดตั้งบริษัทตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนตั๋วทำนองเดียวกับตลาดหุ้น รองรับตลาดรอง (Secondary Market) สำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายตั๋ว โดยไม่อนุญาตใครให้เสนอขายตั๋วกันเองได้
5.2.2 ผู้จัดการแข่งขัน ผู้จัดจำหน่ายควรเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับจำนวนตั๋ว การกระจายตั๋ว ที่ออกจำหน่าย รายละเอียดเงื่อนไขที่จำเป็นให้ประชาชนรับทราบข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจว่าจะใช้วิธีใดในการจองซื้อ เช่น เคาท์เตอร์ขายจำนวนเท่าไหร่ ออนไลน์เท่าไหร่ เป็นต้น นอกจากนี้การบริหารจัดการตั๋วของสปอนเซอร์ต่างๆ ควรจัดการให้เหมาะสม แยกชนิดกับตั๋วธรรมดาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการนำตั๋วฟรีมาแสวงหากำไรอย่างไม่เหมาะสม
5.3 แนวทางกฎหมาย
การออกกฎหมายบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดกฎหมาย และมีบทกำหนดโทษที่เหมาะสม ก็สามารถช่วยลดการขายได้ทางหนึ่ง
5.4 แนวทางศีลธรรม
แนวทางศีลธรรม ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนในสังคมใช้มาตรการลงโทษทางศีลธรรม (Social Sanction) เช่น การประณาม รณรงค์ต่อต้านการซื้อขาย เป็นต้น
ทั้งหมดที่ว่าไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งจุดที่พอดีสำหรับเรื่องนี้จะอยู่ที่ใดคงต้องศึกษากันให้ดีต่อไป แต่สิ่งที่ทำได้เร็วแล้วไม่ต้องรอใครก็คือต้องไม่ช่วยกันซื้อหรือสนับสนุนตั๋วผีเหล่านั้นครับ ดูในสนาม นอกสนาม เชียร์ที่ไหน...ก็ไฟแรงเฟร่อ เหมือนกัน ไทยแลนด์ ปู้นนๆๆ