The Little Prince หรือ เจ้าชายน้อย เป็นหนังอีกเรื่องหนึ่ง ที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเยาวชนชื่อเดียวกันกับภาพยนตร์ ที่โด่งดังไปทั่วโลกของ อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี่ (Antoine de Saint-Exupéry) วรรณกรรมเรื่องนี้ถูกแปลไปแล้วกว่า 190 ภาษา แน่นอนว่ารวมไปถึงภาษาไทยของเราด้วย และมียอดจัดจำหน่ายทั่วโลกมากกว่า 80 ล้านเล่ม ซึ่งก่อนที่จะอ่านต่อจากนี้ขอทำความเข้าใจก่อนว่า อาจจะมีการพูดถึงเนื้อหาบางส่วน (สปอยล์) ของหนังสือและหนัง ดังนั้นถ้าท่านใดไม่เคยอ่านหนังสือมาก่อน และอยากสัมผัสเนื้อหาของหนังอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ต้องบอกก่อนเลยว่า รีวิวต่อไปนี้อาจจะมีการพูดถึงเนื้อหาบางส่วน (สปอยล์) ของหนังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นะครับ ขอให้รับทราบกันเอาไว้ก่อน ส่วนถ้าท่านใดเคยอ่านหนังสือมาแล้วหรืออยากรู้ว่าหนังรวมๆ เป็นอย่างไร เชิญมาติดตามกันได้เลยครับ
ก่อนเริ่มขอชี้แจงอีกเรื่องนะครับว่า ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้เคยได้มีโอกาสอ่านวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้ ผมจึงตั้งใจเข้าไปสัมผัสเจ้าชายน้อยในโรงหนังแบบไม่เคยรู้เพล็อตมาก่อนเช่นเดียวกัน
เหตุผล ตรรกะ อาวางไว้นอกโรงหนังก่อนเลย
พอหนังเริ่มฉาย บอกได้เลยช่วงแรกผมดูไม่ค่อยรู้เรื่องเลย (เคยได้ยินมาว่าหนังสือเล่มนี้แฝงปรัญชาเอาไว้มากมาย แต่ไม่คิดว่าจะมากขนาดนี้ หรือว่าผมฉลาดน้อยแปลงสารที่หนังสื่อสารมาไม่ได้ก็ไม่ทราบ 555+) มันมีคำถามในหัวมากมายเต็มไปหมดเหมือนกับเด็กหญิงที่ถามชายชราเมื่อได้อ่านนิทานเรื่อง เจ้าชายน้อย ในสองหน้าแรก แต่พอดูไปเรื่อยๆ เอาตรรกะเอาเหตุผลวางไว้นอกโรงก่อนเท่านั้นแหละครับ ผมรู้สึกได้ถึง “อะไรบางอย่าง” ที่ต้องบอกได้เลยว่าหากเราเปิดใจรับรู้เรื่องราว มันจะสนุกสนานกว่าการใช้สมองและเหตุผลในการดูแน่นอน
งานของเด็กคือการเล่น
ตอนที่ได้อ่านเรื่องย่อหนังเรื่องนี้ รู้สึกสนใจเกี่ยวกับปมของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่จะต้องพยายามทำตัวให้มี “คุณค่า” เพื่อที่จะได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ดีเยี่ยมที่สุด ซึ่งเธอต้องใช้เวลาช่วงปิดเทอมฤดูร้อนในการเตรียมตัวเอง (ซึ่งนั่นก็คือต้องอ่านหนังสือทุกวัน โอ้ว… น้องครับ ปิดเทอมนะครับ ไม่ใช่เตรียมสอบเอ้นทรานซ์)
โดยคนที่เป็นแรงผลักดันเธอก็ คือ “คุณแม่” ของเธอนั่นละ ซึ่งหากดูไปก็คงคล้ายกับสังคมสมัยนี้ที่จะต้อง “ยัด” กิจกรรมต่างๆให้กับลูกตลอดเวลาทั้งการเรียนพิเศษ การเรียนภาษา การเรียนดนตรี การเรียนวาดรูป และการเรียนอีกมากมาย ฯลฯ จนทำให้คุณแม่ในเรื่องหลงลืมไปเลยว่า งานของเด็กนั้นแท้จริงคือ การเล่นและสนุกกับจินตนาการให้มากที่สุดสมกับวัยนั่นเอง เพราะพวกเราผู้ใหญ่ (ส่วนตัวยังไม่มีลูกแต่ก็พอเข้าใจความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะครับ ที่อยากให้ลูกเก่งในทุกๆ ด้าน) จะต้องไม่ลืมว่าน้องๆเขาเป็นเด็กได้แค่ครั้งเดียวในชีวิต ต้องใช้เวลาในความเป็นเด็กให้คุ้มค่า ซึ่งเด็กน้อยก็ได้ใช้ชีวิตสมกับวัยเด็กอย่างที่ควร เมื่อเธอได้รู้จักคุณปู่นักบินและได้รับรู้เรื่องเล่าของเจ้าชายน้อย..
โรงเรียนที่ดีคืออะไร?
ปมหนึ่งที่ทำให้เรื่องราวทั้งหมดนี่เกิดขึ้นก็คือ การที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งไม่สามารถตอบคำถามเพื่อเข้าโรงเรียนที่ดีเยี่ยม ตามที่เธอและคุณแม่คาดหวังไว้ได้ ทั้งสองก็เลยต้องย้ายบ้านมาอยู่ในเขตพื้นที่ของโรงเรียนเพื่อเอาโควต้าอีกครั้งตอนเปิดเทอม จะว่าไปเรื่องนี้มันเป็นอะไรที่ “เสียดสี” สังคมไทยได้มากพอดูเลยทีเดียว เชื่อว่าพ่อแม่หลายคนคงพยายามทำอย่างนั้น ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นพ่อแม่หลายคนพยายามวิ่งหาที่เรียนพิเศษให้กับลูก วิ่งหาคนใหญ่คนโต วิ่งหาพรรคพวก เพื่อให้ลูกหลานเข้าเรียนที่ที่ดีที่สุด ซึ่งมาถึงตรงนี้ก็ตอบไม่ได้ว่ามันจะเป็นอย่างนี้ไปจนถึงเมื่อไร ซึ่งประโยคที่ลูกสาวตอบแม่ว่า “มันคือตารางชีวิตที่แม่ให้อยากให้หนูเป็น ไม่ใช่สิ่งที่หนูเป็น” พอได้ฟังประโยคแบบนี้แล้ว ก็สะท้อนค่านิยมของความคิดคุณพ่อ-คุณแม่สมัยก่อนรวมถึงตอนนี้ได้เป็นอย่างดี
ในมุมการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตั้งแต่ยังเด็กเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากเสนอคือ การให้น้องๆได้เรียนรู้ประสบการณ์ในชีวิตจริงด้วย เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน เพราะคงไม่อยากให้น้องๆเป็นเด็กที่เก่งวิชาการมากๆๆอย่างเดียว (เก่งแต่ทางด้าน IQ) แต่มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ต่ำ ปรับตัวเข้ากับสังคมและผู้คนรอบข้างไม่ได้ ซึ่งโรงเรียนที่ดีที่สุดอีกหนึ่งแห่งก็คือ โลกรอบๆตัวของน้องๆนี่หละครับ
จินตนาการ คือสิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
แนวหลักที่หนังพยายามสื่อสารกับคนดูตลอดเวลาก็คือ “การอย่าลืมความเป็นเด็ก” ถึงแม้ว่าพวกเราจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่กันแล้วก็ตามที เพราะการที่เจ้าชายน้อยตอนโตได้สติคิดว่าตัวเองนั้นเป็นใคร และทำอะไรอยู่นั้น ก็เป็นตอนนี้เค้าได้อ่านนิทานหน้าแรกที่เป็นกล่องใส่หมาป่าเอาไว้ จริงอยู่ว่านั่นคือกล่อง แต่ว่าการจินตนาการถึงสิ่งที่อยู่ในกล่องอย่างไม่สิ้นสุดนั่นแหละ คือสิ่งที่เด็กๆทำได้ดีที่สุดแต่กลับลืมไปเมื่อเติบโตขึ้น ทำให้ผมพอได้ดูฉากนี้ก็กลับมาสะท้อนตัวเองนะ ว่าเราขาด “จินตนการที่ไม่สิ้นสุด” ไปแล้วหรือยัง?
เพลงประกอบที่ไพเราะตลอดทั้งเรื่อง
นอกเหนือไปจากข้อคิดดีๆ ที่เราได้สัมผัสกันมาจากที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ เพลงประกอบภาพยนตร์ครับ ที่ต้องบอกว่าไพเราะสวยงามเหมาะกับหนังมากๆ โดยงานเพลงส่วนใหญ่จะเป็นแนวป๊อบผสมแจ๊สสไตล์ฝรั่งเศส ฟังแล้วลื่นหูมากๆ ในส่วนนี้ผมให้คะแนน 10/10 เลยสำหรับงานเสียงประกอบภาพยนตร์
บทสรุป
เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นอีกเรื่องที่ผมอยากแนะนำให้ทุกท่านได้ไปชมกัน โดยเฉพาะหากไปชมกันได้ทั้งครอบครัวจะดีมากๆเลยครับ เพราะหนังในข้อคิดได้ทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กไล่ไปจนถึงผู้ปกครองที่พาน้องๆไปดูด้วยเช่นกัน ข้อติของผมจุดเดียวเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้คือ การเดินเรื่องสลับไปมาระหว่างโลกในหนังสือกับโลกในความจริง ซึ่งโลกของหนังสือนั้นเดินเรื่องไปมาอย่างเร่งรัดไปซะหน่อย ทำให้คนที่ไม่เคยอ่านหนังสือและตั้งความหวังว่าอยากเสพเนื้อหาของหนังสือเน้นๆอย่างผม เข้าใจเนื้อหาของหนังสือได้ไม่จุใจเท่าที่ตั้งใจเอาไว้ แต่มาชดเชยด้วยเพลงประกอบที่ต้องบอกว่าเพราะทุกเพลงที่เปิดขึ้นมาให้ได้ยินกันครับ (^^)
ตัวอย่างภาพยนตร์
7.5/10
[CR] The Little Prince ภาพยนตร์อนิเมชั่นดีๆอีกเรื่องในปี 2015 [MOVIRISTA]
The Little Prince หรือ เจ้าชายน้อย เป็นหนังอีกเรื่องหนึ่ง ที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเยาวชนชื่อเดียวกันกับภาพยนตร์ ที่โด่งดังไปทั่วโลกของ อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี่ (Antoine de Saint-Exupéry) วรรณกรรมเรื่องนี้ถูกแปลไปแล้วกว่า 190 ภาษา แน่นอนว่ารวมไปถึงภาษาไทยของเราด้วย และมียอดจัดจำหน่ายทั่วโลกมากกว่า 80 ล้านเล่ม ซึ่งก่อนที่จะอ่านต่อจากนี้ขอทำความเข้าใจก่อนว่า อาจจะมีการพูดถึงเนื้อหาบางส่วน (สปอยล์) ของหนังสือและหนัง ดังนั้นถ้าท่านใดไม่เคยอ่านหนังสือมาก่อน และอยากสัมผัสเนื้อหาของหนังอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ต้องบอกก่อนเลยว่า รีวิวต่อไปนี้อาจจะมีการพูดถึงเนื้อหาบางส่วน (สปอยล์) ของหนังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นะครับ ขอให้รับทราบกันเอาไว้ก่อน ส่วนถ้าท่านใดเคยอ่านหนังสือมาแล้วหรืออยากรู้ว่าหนังรวมๆ เป็นอย่างไร เชิญมาติดตามกันได้เลยครับ
ก่อนเริ่มขอชี้แจงอีกเรื่องนะครับว่า ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้เคยได้มีโอกาสอ่านวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้ ผมจึงตั้งใจเข้าไปสัมผัสเจ้าชายน้อยในโรงหนังแบบไม่เคยรู้เพล็อตมาก่อนเช่นเดียวกัน
เหตุผล ตรรกะ อาวางไว้นอกโรงหนังก่อนเลย
พอหนังเริ่มฉาย บอกได้เลยช่วงแรกผมดูไม่ค่อยรู้เรื่องเลย (เคยได้ยินมาว่าหนังสือเล่มนี้แฝงปรัญชาเอาไว้มากมาย แต่ไม่คิดว่าจะมากขนาดนี้ หรือว่าผมฉลาดน้อยแปลงสารที่หนังสื่อสารมาไม่ได้ก็ไม่ทราบ 555+) มันมีคำถามในหัวมากมายเต็มไปหมดเหมือนกับเด็กหญิงที่ถามชายชราเมื่อได้อ่านนิทานเรื่อง เจ้าชายน้อย ในสองหน้าแรก แต่พอดูไปเรื่อยๆ เอาตรรกะเอาเหตุผลวางไว้นอกโรงก่อนเท่านั้นแหละครับ ผมรู้สึกได้ถึง “อะไรบางอย่าง” ที่ต้องบอกได้เลยว่าหากเราเปิดใจรับรู้เรื่องราว มันจะสนุกสนานกว่าการใช้สมองและเหตุผลในการดูแน่นอน
งานของเด็กคือการเล่น
ตอนที่ได้อ่านเรื่องย่อหนังเรื่องนี้ รู้สึกสนใจเกี่ยวกับปมของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่จะต้องพยายามทำตัวให้มี “คุณค่า” เพื่อที่จะได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ดีเยี่ยมที่สุด ซึ่งเธอต้องใช้เวลาช่วงปิดเทอมฤดูร้อนในการเตรียมตัวเอง (ซึ่งนั่นก็คือต้องอ่านหนังสือทุกวัน โอ้ว… น้องครับ ปิดเทอมนะครับ ไม่ใช่เตรียมสอบเอ้นทรานซ์)
โดยคนที่เป็นแรงผลักดันเธอก็ คือ “คุณแม่” ของเธอนั่นละ ซึ่งหากดูไปก็คงคล้ายกับสังคมสมัยนี้ที่จะต้อง “ยัด” กิจกรรมต่างๆให้กับลูกตลอดเวลาทั้งการเรียนพิเศษ การเรียนภาษา การเรียนดนตรี การเรียนวาดรูป และการเรียนอีกมากมาย ฯลฯ จนทำให้คุณแม่ในเรื่องหลงลืมไปเลยว่า งานของเด็กนั้นแท้จริงคือ การเล่นและสนุกกับจินตนาการให้มากที่สุดสมกับวัยนั่นเอง เพราะพวกเราผู้ใหญ่ (ส่วนตัวยังไม่มีลูกแต่ก็พอเข้าใจความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะครับ ที่อยากให้ลูกเก่งในทุกๆ ด้าน) จะต้องไม่ลืมว่าน้องๆเขาเป็นเด็กได้แค่ครั้งเดียวในชีวิต ต้องใช้เวลาในความเป็นเด็กให้คุ้มค่า ซึ่งเด็กน้อยก็ได้ใช้ชีวิตสมกับวัยเด็กอย่างที่ควร เมื่อเธอได้รู้จักคุณปู่นักบินและได้รับรู้เรื่องเล่าของเจ้าชายน้อย..
โรงเรียนที่ดีคืออะไร?
ปมหนึ่งที่ทำให้เรื่องราวทั้งหมดนี่เกิดขึ้นก็คือ การที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งไม่สามารถตอบคำถามเพื่อเข้าโรงเรียนที่ดีเยี่ยม ตามที่เธอและคุณแม่คาดหวังไว้ได้ ทั้งสองก็เลยต้องย้ายบ้านมาอยู่ในเขตพื้นที่ของโรงเรียนเพื่อเอาโควต้าอีกครั้งตอนเปิดเทอม จะว่าไปเรื่องนี้มันเป็นอะไรที่ “เสียดสี” สังคมไทยได้มากพอดูเลยทีเดียว เชื่อว่าพ่อแม่หลายคนคงพยายามทำอย่างนั้น ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นพ่อแม่หลายคนพยายามวิ่งหาที่เรียนพิเศษให้กับลูก วิ่งหาคนใหญ่คนโต วิ่งหาพรรคพวก เพื่อให้ลูกหลานเข้าเรียนที่ที่ดีที่สุด ซึ่งมาถึงตรงนี้ก็ตอบไม่ได้ว่ามันจะเป็นอย่างนี้ไปจนถึงเมื่อไร ซึ่งประโยคที่ลูกสาวตอบแม่ว่า “มันคือตารางชีวิตที่แม่ให้อยากให้หนูเป็น ไม่ใช่สิ่งที่หนูเป็น” พอได้ฟังประโยคแบบนี้แล้ว ก็สะท้อนค่านิยมของความคิดคุณพ่อ-คุณแม่สมัยก่อนรวมถึงตอนนี้ได้เป็นอย่างดี
ในมุมการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตั้งแต่ยังเด็กเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากเสนอคือ การให้น้องๆได้เรียนรู้ประสบการณ์ในชีวิตจริงด้วย เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน เพราะคงไม่อยากให้น้องๆเป็นเด็กที่เก่งวิชาการมากๆๆอย่างเดียว (เก่งแต่ทางด้าน IQ) แต่มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ต่ำ ปรับตัวเข้ากับสังคมและผู้คนรอบข้างไม่ได้ ซึ่งโรงเรียนที่ดีที่สุดอีกหนึ่งแห่งก็คือ โลกรอบๆตัวของน้องๆนี่หละครับ
จินตนาการ คือสิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
แนวหลักที่หนังพยายามสื่อสารกับคนดูตลอดเวลาก็คือ “การอย่าลืมความเป็นเด็ก” ถึงแม้ว่าพวกเราจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่กันแล้วก็ตามที เพราะการที่เจ้าชายน้อยตอนโตได้สติคิดว่าตัวเองนั้นเป็นใคร และทำอะไรอยู่นั้น ก็เป็นตอนนี้เค้าได้อ่านนิทานหน้าแรกที่เป็นกล่องใส่หมาป่าเอาไว้ จริงอยู่ว่านั่นคือกล่อง แต่ว่าการจินตนาการถึงสิ่งที่อยู่ในกล่องอย่างไม่สิ้นสุดนั่นแหละ คือสิ่งที่เด็กๆทำได้ดีที่สุดแต่กลับลืมไปเมื่อเติบโตขึ้น ทำให้ผมพอได้ดูฉากนี้ก็กลับมาสะท้อนตัวเองนะ ว่าเราขาด “จินตนการที่ไม่สิ้นสุด” ไปแล้วหรือยัง?
เพลงประกอบที่ไพเราะตลอดทั้งเรื่อง
นอกเหนือไปจากข้อคิดดีๆ ที่เราได้สัมผัสกันมาจากที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ เพลงประกอบภาพยนตร์ครับ ที่ต้องบอกว่าไพเราะสวยงามเหมาะกับหนังมากๆ โดยงานเพลงส่วนใหญ่จะเป็นแนวป๊อบผสมแจ๊สสไตล์ฝรั่งเศส ฟังแล้วลื่นหูมากๆ ในส่วนนี้ผมให้คะแนน 10/10 เลยสำหรับงานเสียงประกอบภาพยนตร์
บทสรุป
เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นอีกเรื่องที่ผมอยากแนะนำให้ทุกท่านได้ไปชมกัน โดยเฉพาะหากไปชมกันได้ทั้งครอบครัวจะดีมากๆเลยครับ เพราะหนังในข้อคิดได้ทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กไล่ไปจนถึงผู้ปกครองที่พาน้องๆไปดูด้วยเช่นกัน ข้อติของผมจุดเดียวเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้คือ การเดินเรื่องสลับไปมาระหว่างโลกในหนังสือกับโลกในความจริง ซึ่งโลกของหนังสือนั้นเดินเรื่องไปมาอย่างเร่งรัดไปซะหน่อย ทำให้คนที่ไม่เคยอ่านหนังสือและตั้งความหวังว่าอยากเสพเนื้อหาของหนังสือเน้นๆอย่างผม เข้าใจเนื้อหาของหนังสือได้ไม่จุใจเท่าที่ตั้งใจเอาไว้ แต่มาชดเชยด้วยเพลงประกอบที่ต้องบอกว่าเพราะทุกเพลงที่เปิดขึ้นมาให้ได้ยินกันครับ (^^)
ตัวอย่างภาพยนตร์
7.5/10