ฟังไม่ผิดหรอกครับ ขับรถเพียง 3 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ ก็สามารถชิมสตรอเบอรี่สดๆจากสวนสบายๆ ที่แก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
ขอท้าวความกันก่อนครับ พื้นที่แห่งนี้คือต.แก่นมะกรูด ที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงโปว์นับพันชีวิต อาชีพของชาวบ้านที่นี่ 100% คือเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง มะละกอ และพืชอื่นๆ ชาวบ้านที่นี่เค้าไม่นิยมออกไปทำงานนอกพื้นที่กันครับ
สภาพพื้นที่ ที่นี่เป็นภูเขา ความสูงเฉลี่ยประมาณ 400-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ฤดูหนาวนี่หนาวพอๆกับเชียงใหม่เลยครับ
เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นแนวขอบของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มรดกโลก การทำการเกษตรพืชเชิงเดี่ยวเริ่มมีแนวโน้มกระทบต่อเขตป่าบ้างแล้ว หลายๆหน่วยงานเริ่มเข้ามาป้องกันแก้ไขปัญหา เช่น ป่าไม้เอง มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ เป็นต้น
การปลูกสตรอเบอรี่ที่นี่มีมาหลายปีแล้ว แต่เริ่มฮิตอีกครั้งเมื่อมีโครงการปิดทองหลังพระเข้าไปพัฒนาในพื้นที่ ชวนชาวบ้านมาแก้ปัญหาของพวกเขาเอง หาพืชทางเลือกที่ได้ราคาดีมาปลูกแทนพืชเชิงเดี่ยวแบบเดิมๆ ที่พอหักลบกลบหนี้แล้วไม่เหลืออะไรเลย ทำให้ชาวบ้านเริ่มเห็นช่องทางทำมาหากิน เริ่มหันมาปลูกสตรอเบอรี่กันเยอะๆ เป็นปีที่ 2 แล้ว
สตรอเบอรี่ที่นี่เค้าเอาพันธุ์มาจากเชียงใหม่ จะเป็นพันธุ์พระราชทาน 80 ครับบางส่วนก็ต่อไหล เพาะพันธุ์ไว้ปลูกเอง จนในปีนี้มีชาวบ้านปลูกถึง 64 ราย และรวมกลุ่มกันวางแผนการปลูกและจำหน่าย ส่วนรสชาตินะเหรอครับ หอมหวานกว่าเชียงใหม่ อันนี้ผมคอนเฟิร์ม
จนขณะนี้ปลายเดือนตุลาคม 2558 เริ่มมีสตรอเบอรี่ของเกษตรกรบางรายที่ปลูกตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2558 โผล่ออกมาให้ได้ชิมกันแล้ว และคาดว่าส่วนใหญ่จะเริ่มสุกตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/pidthonguthai
ชิมสตรอเบอรี่ใกล้กรุง เพียง 3 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ
ฟังไม่ผิดหรอกครับ ขับรถเพียง 3 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ ก็สามารถชิมสตรอเบอรี่สดๆจากสวนสบายๆ ที่แก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
ขอท้าวความกันก่อนครับ พื้นที่แห่งนี้คือต.แก่นมะกรูด ที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงโปว์นับพันชีวิต อาชีพของชาวบ้านที่นี่ 100% คือเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง มะละกอ และพืชอื่นๆ ชาวบ้านที่นี่เค้าไม่นิยมออกไปทำงานนอกพื้นที่กันครับ
สภาพพื้นที่ ที่นี่เป็นภูเขา ความสูงเฉลี่ยประมาณ 400-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ฤดูหนาวนี่หนาวพอๆกับเชียงใหม่เลยครับ
เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นแนวขอบของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มรดกโลก การทำการเกษตรพืชเชิงเดี่ยวเริ่มมีแนวโน้มกระทบต่อเขตป่าบ้างแล้ว หลายๆหน่วยงานเริ่มเข้ามาป้องกันแก้ไขปัญหา เช่น ป่าไม้เอง มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ เป็นต้น
การปลูกสตรอเบอรี่ที่นี่มีมาหลายปีแล้ว แต่เริ่มฮิตอีกครั้งเมื่อมีโครงการปิดทองหลังพระเข้าไปพัฒนาในพื้นที่ ชวนชาวบ้านมาแก้ปัญหาของพวกเขาเอง หาพืชทางเลือกที่ได้ราคาดีมาปลูกแทนพืชเชิงเดี่ยวแบบเดิมๆ ที่พอหักลบกลบหนี้แล้วไม่เหลืออะไรเลย ทำให้ชาวบ้านเริ่มเห็นช่องทางทำมาหากิน เริ่มหันมาปลูกสตรอเบอรี่กันเยอะๆ เป็นปีที่ 2 แล้ว
สตรอเบอรี่ที่นี่เค้าเอาพันธุ์มาจากเชียงใหม่ จะเป็นพันธุ์พระราชทาน 80 ครับบางส่วนก็ต่อไหล เพาะพันธุ์ไว้ปลูกเอง จนในปีนี้มีชาวบ้านปลูกถึง 64 ราย และรวมกลุ่มกันวางแผนการปลูกและจำหน่าย ส่วนรสชาตินะเหรอครับ หอมหวานกว่าเชียงใหม่ อันนี้ผมคอนเฟิร์ม
จนขณะนี้ปลายเดือนตุลาคม 2558 เริ่มมีสตรอเบอรี่ของเกษตรกรบางรายที่ปลูกตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2558 โผล่ออกมาให้ได้ชิมกันแล้ว และคาดว่าส่วนใหญ่จะเริ่มสุกตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/pidthonguthai