คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
จากกระทู้เก่าที่เคยตอบไว้นะครับ
ขอขยายความเรื่องนามสกุลที่มี "ณ" ให้เข้าใจกันก่อน
หลายคนมักเข้าใจว่า เจ้าเมืองหรือเชื้อสายเจ้าเมืองหรือเจ้าผู้ครองนครในสมัยก่อนจะต้องได้รับนามสกุล ณ ตามด้วยชื่อเมือง ประกอบหรือต่อท้าย ทุกๆเมือง ความจริงไม่ใช่แบบนั้น
การมีนามสกุล ณ เป็นกรณีพิเศษที่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมือง "บางเมือง" เท่านั้น (คนละกรณีกับราชสกุลอันสืบเชื้อสายจากพระราชวงศ์จักรี ที่จะต้องต่อท้ายด้วย ณ อยุธยา เป็นปฐมอยู่แล้ว) นามสกุลที่มี ณ ประกอบนามสกุลได้ จะต้องเป็นนามสกุลที่ทรงมีพระบรมราชานุญาตเท่านั้น ซึ่งใครเอาไปตั้งเองมีโทษตามประกาศพระบรมราชโองการ (แต่ปัจจุบันก็มีบางตระกูลที่ตั้งนามสกุลตัวเองให้มี ณ โดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต...) ซึ่งในรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้เพียงสกุล ดังนี้
หัวเมืองล้านนา
๑. ณ เชียงใหม่ พระราชทานให้ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙
๒. ณ ลำปาง พระราชทานให้ เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๓
๓. ณ ลำพูน พระราชทานให้ เจ้าจักรคำขจร เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐
๔. ณ น่าน พระราชทานให้ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๔
หัวเมืองอีสาน
๑. ณ จัมปาศักดิ์ พระราชทานให้ เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบง) สืบสาย พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) ปฐมกษัตริย์จำปาศักดิ์
๒. ณ อุบล พระราชทานให้ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ) กรมการเมืองอุบล สืบสาย พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองคนแรก
๓. ณ หนองคาย พระราชทานให้ พระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ผู้ว่าการเมืองหนองคาย สืบสาย พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) เจ้าเมืองคนแรก
๔. ณ กาฬสินธุ์ พระราชทานให้ พระยาไชยสุนทร (เก) ผู้ว่าการเมืองกาฬสินธุ์ สืบสาย พระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร์) เจ้าเมืองคนแรก
๕. ณ ร้อยเอ็จ พระราชทานให้ พระยาขัติยะวงศา (เหลา) ผู้ว่าการเมืองร้อยเอ็ด สืบสาย พระยาขัติยะวงศา (เจ้าสุทน) เจ้าเมืองคนแรก
๖. ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม พระราชทานให้ พระเจริญราชเดช (อุ่น) ผู้ว่าการเมืองมหาสารคาม สืบสาย พระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองคนแรก
๗. พรหมสาขา ณ สกลนคร พระราชทานให้ พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ผู้ว่าการเมืองสกลนคร สืบสาย พระบรมราชา (พรหมา) เจ้าเมือง
หัวเมืองปักษ์ใต้
๑. ณ นคร พระราชทานให้ เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม) สืบสาย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)
- (สกุลย่อย) โกมารกุล ณ นคร พระราชทานให้ พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม) สืบสายมาทาง เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยเมือง)
๒. ณ สงขลา พระราชทานให้ พระยาพฤกษาภิรมย์ (ฑิตย์) สืบสาย เจ้าพระยาสงขลา (เยี่ยง แซ่เหงา) เจ้าเมืองสงขลา
๓. ณ ระนอง พระราชทานให้ พระยารัตนเศรษฐี (ยู่หงี แซ่คอ) สืบเชื้อสาย พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (ซู้เจียง แซ่คอ) เจ้าเมืองระนอง
๔. ณ ตะกั่วทุ่ง พระราชทานให้ หลวงราชภักดี (หร่าย) สืบสาย พระยาโลหะภูมิพิสัย เจ้าเมืองตะกั่วป่า
๕. รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พระราชทานให้ หลวงวรเทพภักดี (เดช) สืบสาย พระภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (แก้ว)
๖. ณ ถลาง พระราชทานให้ พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี) สืบสาย พระยาถลาง (ฤกษ์)
- (สกุลย่อย) ประทีป ณ ถลาง พระราชทานให้ หลวงราชอาณัติ (กล่อม) ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตะกั่วป่า
๗. ณ พัทลุง พระราชทานให้ หลวงวิบูลย์บุรขันฑ์ (นพ) สืบสาย พระยาพัทลุง (ขุน)
- (สกุลย่อย) สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง พระราชทานให้ มหาดเล็กสำรองสมบุญ
หัวเมืองภาคกลาง
๑. ณ มโนรม พระราชทานให้ หลวงวินิจสารา (ดวง) สืบสาย ผู้ว่าราชการเมืองมโนรม
๒. ณ วิเชียร พระราชทานให้ พระยาประเสริฐสงคราม (ใจ) สืบสาย ผู้ว่าราชการเมืองวิเชียรบุรี (เพชรบูรณ์)
ตั้งตามถิ่นฐานเดิมของบรรพบุรุษ
๑. ณ บางช้าง พระราชทานให้ หลวงขจรเนาวรัฐ (หลำ) สืบสาย เจ้าคุณแก้ว พระน้องนางเธอพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ มีถิ่นฐานเดิมที่บางช้าง
๒. ณ ป้อมเพชร์ พระราชทานให้ พระยาเพชร์ชฎ (ขำ) มีถิ่นฐานเดิมที่ป้อมเพชร์ เมืองกรุงเก่า
๓. ณ มหาไชย พระราชทานให้ พระยาเทพทวาราวดี (สาย) สืบสาย พระยานรนารถภักดี ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ตำบลมหาไชย
๔. สุนทรกุล ณ ชลบุรี พระราชทานให้ หม่อมหลวงจาบ สืบสาย กรมขุนสุนทรภูเบศร์ พระนามเดิมว่าเรืองหรือจีนเรือง เดิมเป็นชาวเมืองชลบุรี
พิเศษ
ณ พิศนุโลก พระราชทานให้ หม่อมคัทริน พระชายาในกรมหลวงพิศนุโลกประชานารถ ภายหลังเปลี่ยนเป็น จักรพงศ์
อนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ ณ ต่อท้ายสกุลผู้สืบเชื้อสายแต่เจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอิน) เจ้าเมืองนครราชสีมา สองสกุลคือ "ณ ราชสีมา" และ "อินทรกำแหง ณ ราชสีมา"
จะเห็นว่า นามสกุลที่ใช้ ณ ประกอบนามสกุล มีจำนวนจำกัด และไม่ได้อนุญาตให้ใช้กับนามสกุลเจ้าเมืองหรือผู้ครองนครทุกเมือง บางเมืองจะพระราชทานนามสกุลอื่นให้แต่ไม่ให้มี ณ ต่อท้าย เช่น สกุลเจ้าเมืองมุกดาหาร พระราชทานว่า จันทรสาขา เป็นต้น
การมี ณ ประกอบนามสกุลนั้นๆ จึงต้องเป็นกรณีพิเศษจริงๆ และต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเท่านั้น
ขอขยายความเรื่องนามสกุลที่มี "ณ" ให้เข้าใจกันก่อน
หลายคนมักเข้าใจว่า เจ้าเมืองหรือเชื้อสายเจ้าเมืองหรือเจ้าผู้ครองนครในสมัยก่อนจะต้องได้รับนามสกุล ณ ตามด้วยชื่อเมือง ประกอบหรือต่อท้าย ทุกๆเมือง ความจริงไม่ใช่แบบนั้น
การมีนามสกุล ณ เป็นกรณีพิเศษที่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมือง "บางเมือง" เท่านั้น (คนละกรณีกับราชสกุลอันสืบเชื้อสายจากพระราชวงศ์จักรี ที่จะต้องต่อท้ายด้วย ณ อยุธยา เป็นปฐมอยู่แล้ว) นามสกุลที่มี ณ ประกอบนามสกุลได้ จะต้องเป็นนามสกุลที่ทรงมีพระบรมราชานุญาตเท่านั้น ซึ่งใครเอาไปตั้งเองมีโทษตามประกาศพระบรมราชโองการ (แต่ปัจจุบันก็มีบางตระกูลที่ตั้งนามสกุลตัวเองให้มี ณ โดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต...) ซึ่งในรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้เพียงสกุล ดังนี้
หัวเมืองล้านนา
๑. ณ เชียงใหม่ พระราชทานให้ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙
๒. ณ ลำปาง พระราชทานให้ เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๓
๓. ณ ลำพูน พระราชทานให้ เจ้าจักรคำขจร เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐
๔. ณ น่าน พระราชทานให้ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๔
หัวเมืองอีสาน
๑. ณ จัมปาศักดิ์ พระราชทานให้ เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบง) สืบสาย พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) ปฐมกษัตริย์จำปาศักดิ์
๒. ณ อุบล พระราชทานให้ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ) กรมการเมืองอุบล สืบสาย พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองคนแรก
๓. ณ หนองคาย พระราชทานให้ พระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ผู้ว่าการเมืองหนองคาย สืบสาย พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) เจ้าเมืองคนแรก
๔. ณ กาฬสินธุ์ พระราชทานให้ พระยาไชยสุนทร (เก) ผู้ว่าการเมืองกาฬสินธุ์ สืบสาย พระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร์) เจ้าเมืองคนแรก
๕. ณ ร้อยเอ็จ พระราชทานให้ พระยาขัติยะวงศา (เหลา) ผู้ว่าการเมืองร้อยเอ็ด สืบสาย พระยาขัติยะวงศา (เจ้าสุทน) เจ้าเมืองคนแรก
๖. ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม พระราชทานให้ พระเจริญราชเดช (อุ่น) ผู้ว่าการเมืองมหาสารคาม สืบสาย พระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองคนแรก
๗. พรหมสาขา ณ สกลนคร พระราชทานให้ พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ผู้ว่าการเมืองสกลนคร สืบสาย พระบรมราชา (พรหมา) เจ้าเมือง
หัวเมืองปักษ์ใต้
๑. ณ นคร พระราชทานให้ เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม) สืบสาย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)
- (สกุลย่อย) โกมารกุล ณ นคร พระราชทานให้ พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม) สืบสายมาทาง เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยเมือง)
๒. ณ สงขลา พระราชทานให้ พระยาพฤกษาภิรมย์ (ฑิตย์) สืบสาย เจ้าพระยาสงขลา (เยี่ยง แซ่เหงา) เจ้าเมืองสงขลา
๓. ณ ระนอง พระราชทานให้ พระยารัตนเศรษฐี (ยู่หงี แซ่คอ) สืบเชื้อสาย พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (ซู้เจียง แซ่คอ) เจ้าเมืองระนอง
๔. ณ ตะกั่วทุ่ง พระราชทานให้ หลวงราชภักดี (หร่าย) สืบสาย พระยาโลหะภูมิพิสัย เจ้าเมืองตะกั่วป่า
๕. รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พระราชทานให้ หลวงวรเทพภักดี (เดช) สืบสาย พระภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (แก้ว)
๖. ณ ถลาง พระราชทานให้ พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี) สืบสาย พระยาถลาง (ฤกษ์)
- (สกุลย่อย) ประทีป ณ ถลาง พระราชทานให้ หลวงราชอาณัติ (กล่อม) ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตะกั่วป่า
๗. ณ พัทลุง พระราชทานให้ หลวงวิบูลย์บุรขันฑ์ (นพ) สืบสาย พระยาพัทลุง (ขุน)
- (สกุลย่อย) สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง พระราชทานให้ มหาดเล็กสำรองสมบุญ
หัวเมืองภาคกลาง
๑. ณ มโนรม พระราชทานให้ หลวงวินิจสารา (ดวง) สืบสาย ผู้ว่าราชการเมืองมโนรม
๒. ณ วิเชียร พระราชทานให้ พระยาประเสริฐสงคราม (ใจ) สืบสาย ผู้ว่าราชการเมืองวิเชียรบุรี (เพชรบูรณ์)
ตั้งตามถิ่นฐานเดิมของบรรพบุรุษ
๑. ณ บางช้าง พระราชทานให้ หลวงขจรเนาวรัฐ (หลำ) สืบสาย เจ้าคุณแก้ว พระน้องนางเธอพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ มีถิ่นฐานเดิมที่บางช้าง
๒. ณ ป้อมเพชร์ พระราชทานให้ พระยาเพชร์ชฎ (ขำ) มีถิ่นฐานเดิมที่ป้อมเพชร์ เมืองกรุงเก่า
๓. ณ มหาไชย พระราชทานให้ พระยาเทพทวาราวดี (สาย) สืบสาย พระยานรนารถภักดี ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ตำบลมหาไชย
๔. สุนทรกุล ณ ชลบุรี พระราชทานให้ หม่อมหลวงจาบ สืบสาย กรมขุนสุนทรภูเบศร์ พระนามเดิมว่าเรืองหรือจีนเรือง เดิมเป็นชาวเมืองชลบุรี
พิเศษ
ณ พิศนุโลก พระราชทานให้ หม่อมคัทริน พระชายาในกรมหลวงพิศนุโลกประชานารถ ภายหลังเปลี่ยนเป็น จักรพงศ์
อนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ ณ ต่อท้ายสกุลผู้สืบเชื้อสายแต่เจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอิน) เจ้าเมืองนครราชสีมา สองสกุลคือ "ณ ราชสีมา" และ "อินทรกำแหง ณ ราชสีมา"
จะเห็นว่า นามสกุลที่ใช้ ณ ประกอบนามสกุล มีจำนวนจำกัด และไม่ได้อนุญาตให้ใช้กับนามสกุลเจ้าเมืองหรือผู้ครองนครทุกเมือง บางเมืองจะพระราชทานนามสกุลอื่นให้แต่ไม่ให้มี ณ ต่อท้าย เช่น สกุลเจ้าเมืองมุกดาหาร พระราชทานว่า จันทรสาขา เป็นต้น
การมี ณ ประกอบนามสกุลนั้นๆ จึงต้องเป็นกรณีพิเศษจริงๆ และต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
นามสกุล ณ ของจังหวัดต่างๆเมืองไทยมีที่มาจากไหน และมีทุกจังหวัดไหมครับ
แล้วที่เคยเห็นก็มี ณ สงขลา ณ ระนอง แล้วจังหวัดอื่นๆมีอีกไหมครับ แล้วนามสกุลเหล่านี้ได้มาอย่างไรครับ
เข้าใจว่าเป็นเจ้าผู้ครองเมืองหรทอเปล่าครับ แล้วเจ้าผู้ครองทุกเมือง สายตระกูล มี ณ ทุกเมืองหรือเปล่าครับแล้วทำไมบางเมืองไม่มี