เกือบ 6 เดือนเต็มตั้งแต่ที่ประเทศไทย และเอกชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าประมงส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เริ่มเจอผลกระทบจากเรื่องการค้ามนุษย์ ทำประมงผิดกฎหมาย และทำประมงที่ไม่มีความยั่งยืน
จนทำให้รัฐบาลโดยการนำของนายกฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาจัดระเบียบเรื่องการทำประมงของไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพรบ.การประมงที่ไม่มีการแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2490 ไปจนถึงเรือประมงที่ผิดกฎหมายต่างๆ (ไม่ขึ้นทะเบียนเรือ และลงทะเบียนอุปกรณ์ในการทำประมง จนทำให้มีการประกาศใช้ม.44 ในการสั่งระงับการเดินเรือสำหรับเรือที่ทำผิดกฎหมายดังกล่าว) จนทำให้ทะเลไทยค่อยๆ ฟื้นฟูกลับคืนมา จนทำให้ปัจจุบันทะเลไทยเริ่มมีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยจับได้แต่สัตว์น้ำขนาดเล็ก ก็ได้ขนาดใหญ่ขึ้น จากที่เคยต้องออกไปห่างฝั่งไกลๆ ก็จับใกล้ฝั่งมากขึ้น รวมทั้งปริมาณสัตว์น้ำในทะเลก็มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
จากการให้ความร่วมมือตามคำสั่งของคณะรัฐบาลของทุกภาคส่วนตั้งแต่ชาวประมง (ทั้งประมงพาณิชย์ และประมงพื้นบ้าน) ไปจนถึงภาคเอกชน (ที่มีการออกนโยบายตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของการรับซื้อปลาป่นในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์) และภาครัฐบาลในการเข้มงวดตรวจสอบเรือประมงที่จะออกไปจับสัตว์น้ำมากขึ้น จนทำให้วันนี้บริษัทนำเข้าสัตว์น้ำยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปมีความมั่นใจมากขึ้นกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยว่าจะมีการควบคุม และส่งเสริมความยั่งยืนมากขึ้น
หากเป็นรัฐบาลชุดอื่นๆ การแก้ไขปัญหาเรื่องประมงของไทย อาจจะไม่มีความคืบหน้ามากเท่านี้มาก่อน เนื่องจากปัญหาประมงเป็นปัญหาที่มีการสะสมมานาน และไม่มีรัฐบาลไหนสามารถเข้าไปแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงได้เลย ต้องขอยกความดีความชอบ และยกให้เป็นผลงานของรัฐบาลชุดนี้ได้เลย
*** ปล. หนูขอเป็น
ติ่งลุงตู่นะ ดีเราก็ต้องชม ไม่ชอบก็ต้องขอวิจารณ์ อย่าเอาหนูไปปรับทัศนะคตินะ ***
ผู้นำเข้ากุ้งสหรัฐฯ-อียูร่วมมือรัฐบาลไทย แก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย-การค้ามนุษย์
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 ได้นำคณะทำงานร่วมเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานกุ้ง นำโดยบริษัทนำเข้ากุ้งยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป อาทิ Costco CP Foods (UK) Morrison’s และ Marine Gold เป็นต้น เข้าพบหารือกับผู้บัญชาการทหารเรือ (พลเรือเอกณะ อารีนิจ) ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ผบ.ศปมผ.) เพื่อติดตามการดำเนินการของไทยในการแก้ไขปัญหาแรงงานการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ การทำประมงผิดกฎหมาย ในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลของไทย และเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานสินค้าประมงของไทย ปราศจากแรงงานบังคับ และแรงงานผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้เสนอแนะแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาแรงงานการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยการเพิ่มความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ เพิ่มความถี่ในการลาดตระเวนเพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบเรือประมงอย่างทั่วถึง โดยเน้นย้ำว่าการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่องของไทยเพื่อเพิ่มระดับความเชื่อมั่นของประชาคมโลก มีความสำคัญ โดยเฉพาะต่อผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เนื่องจากมีผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค นอกจากนี้ คณะทำงานฯ พร้อมที่จะเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ภาครัฐ และเอกชนของสหรัฐฯ รวมทั้งสหภาพยุโรป และยินดีให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาบุคลากร การซ่อมบำรุงเรือลาดตระเวน และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง เป็นต้น
หากไทยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการเสริมสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับคณะทำงานดังกล่าว จะส่งผลดีต่อการรักษาส่วนแบ่งการส่งออกกุ้งและสินค้าประมงของไทยในตลาดดังกล่าว โดยในปี 2014 ไทยส่งออกกุ้งสด แช่เย็น แช่แข็งไปตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย คิดเป็นมูลค่า 791 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 42.64 ของการส่งออกกุ้งของไทย
ที่มา : "ผู้นำเข้ากุ้งสหรัฐฯ-อียูร่วมมือรัฐบาลไทย แก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย-การค้ามนุษย์" :
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1445346017
ปัญหาประมง...ได้รับการแก้ไขจนได้จากฝีมือของรัฐบาลลุงตู่
จนทำให้รัฐบาลโดยการนำของนายกฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาจัดระเบียบเรื่องการทำประมงของไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพรบ.การประมงที่ไม่มีการแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2490 ไปจนถึงเรือประมงที่ผิดกฎหมายต่างๆ (ไม่ขึ้นทะเบียนเรือ และลงทะเบียนอุปกรณ์ในการทำประมง จนทำให้มีการประกาศใช้ม.44 ในการสั่งระงับการเดินเรือสำหรับเรือที่ทำผิดกฎหมายดังกล่าว) จนทำให้ทะเลไทยค่อยๆ ฟื้นฟูกลับคืนมา จนทำให้ปัจจุบันทะเลไทยเริ่มมีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยจับได้แต่สัตว์น้ำขนาดเล็ก ก็ได้ขนาดใหญ่ขึ้น จากที่เคยต้องออกไปห่างฝั่งไกลๆ ก็จับใกล้ฝั่งมากขึ้น รวมทั้งปริมาณสัตว์น้ำในทะเลก็มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
จากการให้ความร่วมมือตามคำสั่งของคณะรัฐบาลของทุกภาคส่วนตั้งแต่ชาวประมง (ทั้งประมงพาณิชย์ และประมงพื้นบ้าน) ไปจนถึงภาคเอกชน (ที่มีการออกนโยบายตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของการรับซื้อปลาป่นในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์) และภาครัฐบาลในการเข้มงวดตรวจสอบเรือประมงที่จะออกไปจับสัตว์น้ำมากขึ้น จนทำให้วันนี้บริษัทนำเข้าสัตว์น้ำยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปมีความมั่นใจมากขึ้นกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยว่าจะมีการควบคุม และส่งเสริมความยั่งยืนมากขึ้น
หากเป็นรัฐบาลชุดอื่นๆ การแก้ไขปัญหาเรื่องประมงของไทย อาจจะไม่มีความคืบหน้ามากเท่านี้มาก่อน เนื่องจากปัญหาประมงเป็นปัญหาที่มีการสะสมมานาน และไม่มีรัฐบาลไหนสามารถเข้าไปแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงได้เลย ต้องขอยกความดีความชอบ และยกให้เป็นผลงานของรัฐบาลชุดนี้ได้เลย
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 ได้นำคณะทำงานร่วมเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานกุ้ง นำโดยบริษัทนำเข้ากุ้งยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป อาทิ Costco CP Foods (UK) Morrison’s และ Marine Gold เป็นต้น เข้าพบหารือกับผู้บัญชาการทหารเรือ (พลเรือเอกณะ อารีนิจ) ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ผบ.ศปมผ.) เพื่อติดตามการดำเนินการของไทยในการแก้ไขปัญหาแรงงานการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ การทำประมงผิดกฎหมาย ในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลของไทย และเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานสินค้าประมงของไทย ปราศจากแรงงานบังคับ และแรงงานผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้เสนอแนะแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาแรงงานการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยการเพิ่มความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ เพิ่มความถี่ในการลาดตระเวนเพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบเรือประมงอย่างทั่วถึง โดยเน้นย้ำว่าการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่องของไทยเพื่อเพิ่มระดับความเชื่อมั่นของประชาคมโลก มีความสำคัญ โดยเฉพาะต่อผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เนื่องจากมีผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค นอกจากนี้ คณะทำงานฯ พร้อมที่จะเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ภาครัฐ และเอกชนของสหรัฐฯ รวมทั้งสหภาพยุโรป และยินดีให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาบุคลากร การซ่อมบำรุงเรือลาดตระเวน และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง เป็นต้น
หากไทยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการเสริมสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับคณะทำงานดังกล่าว จะส่งผลดีต่อการรักษาส่วนแบ่งการส่งออกกุ้งและสินค้าประมงของไทยในตลาดดังกล่าว โดยในปี 2014 ไทยส่งออกกุ้งสด แช่เย็น แช่แข็งไปตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย คิดเป็นมูลค่า 791 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 42.64 ของการส่งออกกุ้งของไทย
ที่มา : "ผู้นำเข้ากุ้งสหรัฐฯ-อียูร่วมมือรัฐบาลไทย แก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย-การค้ามนุษย์" : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1445346017