พระนาลกะเถระเจ้า พระอรหันต์ผู้ปฏิบัติอุกฤต ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ท่านเป็นหลานอสิตะดาบส ที่นิพพานเร็วกว่าพระสาวกรูปอื่น
พระนาลกะ เป็นพระอรหันตสาวกที่พุทธบริษัทไม่ค่อยคุ้นนัก ท่านบวชหลังกลุ่มพระปัญจวัคคีย์เพียง ๗ วัน แต่หลังจากบรรลุอรหัตผลได้เพียง ๗ เดือนก็นิพพาน
๏ ชีวิตฆราวาส
พระนาลกะมีนามเดิมว่า ‘นาลกะ’ ท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์ที่เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ท่านเป็นหลานของฤาษีอสิตะผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าสุทโธทนะ โดยโยมมารดาของท่านเป็นน้องสาวของฤาษีอสิตะนั้น ดังนั้นตระกูลของท่านจึงถือได้ว่าเป็นตระกูลขุนนางที่ทรงเกียรติตระกูลหนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์
๏ การออกบวช
ท่านออกบวชเป็นฤาษีตั้งแต่อายุยังน้อยตามคำแนะนำของฤาษีอสิตะผู้เป็นลุง ที่เปี่ยมล้นด้วยความรักและปรารถนาดี
ดังมีเรื่องเล่าว่า
หลังจากฤาษีอสิตะได้รับพระราชานุญาตจากพระเจ้าสุทโธทนะให้ออกบวช และได้บรรลุสมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอภิญญา ๕ แล้ว
ฤาษีอสิตะมักจะอาศัยอำนาจฤทธิ์หายตัวไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ อาทิ ป่าหิมพานต์ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
วันหนึ่ง ฤาษีอสิตะหายตัวไปพักผ่อน ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โดยนั่งเข้าฌานอยู่ในวิมานหลังหนึ่งที่เกิดขึ้นด้วยบุญของท่านเอง
หลังออกจากฌานแล้วท่านได้ยืนอยู่ที่ประตูวิมานและมองไปรอบๆ เห็นธงทิวของเทวดาปลิวไสวอยู่ตามท้องถนน ซึ่งกว้างใหญ่ ๖๐ โยชน์ ทั้งยังได้เห็นและได้ยินเสียงท้าวสักกะ (พระอินทร์) และเทวดาชาวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่างฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรีปรบมือแสดงความ ยินดีสนุกสนานอยู่ท่ามกลางถนน พร้อมทั้งกล่าวสรรเสริญคุณของพระโพธิสัตว์ จึงถามด้วยความแปลกใจว่า
มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นหรือ ทวยเทพทังหลายถึงได้แสดงความยินดีกันเหลือเกิน ท่านทั้งหลายโบกสะบัดผ้าทิพย์กันทำไม อะไรทำให้ท่านขนพองสยองเกล้า
เทวดาทั้งหลายกล่าวตอบว่า
ท่านอสิตะ พระโพธิสัตว์อุบัติขึ้นแล้วในโลกมนุษย์ พระองค์ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีของเจ้าศากยะเมื่อสักครู่นี้เอง เหตุนี้แหละที่ทำให้เราทั้งหลายดีใจ
ท่านอสิตะ ท่านไม่ทราบหรือว่า พระโพธิสัตว์เป็นผู้สูงสุดในหมู่สัตว์ พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จักประกาศธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสีแคว้นกาสี ด้วยพุทธลีลาอันอาจ หาญดุจพญาราชสีห์
คำตอบของเทวดาทำให้ฤาษีอสิตะไม่สามารถอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อไปได้ ท่านรีบลงมาเข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะทันที และทูลขอโอกาสเฝ้าพระราชกุมารด้วย
พระเจ้าสุทโธทนะทรงอนุญาตให้ตามที่ท่านประสงค์ ทรงรับสั่งให้พระอภิบาลอุ้มพระราชกุมารออกมาให้ท่านได้เฝ้าพระราชกุมารทรงมีพระฉวีวรรณงดงาม ฤาษีอสิตะเห็นแล้วก็ทราบได้ทันทีด้วยอำนาจอภิญญาว่า พระราชกุมารนี้คือพระโพธิสัตว์อย่างที่เทวดาบอกกล่าว จึงกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะว่า
พระราชกุมารนี้ไม่มีใครยิ่งใหญ่ไปกว่าได้ พระองค์ทรงสูงสุดในบรรดาสรรพสัตว์ทวิบท (สัตว์ ๒ เท้า) พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ครั้นกราบทูลแล้วฤาษีอสิตะก็ร้องไห้น้ำตาไหลพรากด้วยความเสียใจว่า ตนเองชราแล้ว มีอายุอยู่ไม่ทันได้เห็นพระราชกุมารตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งเสียใจ ว่าเมื่อตายแล้วก็จะไปเกิดเป็นอรูปพรหม ไม่มีรูปร่าง หมดโอกาสที่จะได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
ฤาษีอสิตะเข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะและพระราชกุมาร พอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทูลลากลับ ท่านนึกเสียดายเรื่องที่จะไม่ได้อยู่ทันพระราชกุมารได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา
ท่านนึกถึงเด็กชาย ‘นาลกะ’ ลูกของน้องสาวขึ้นมาได้ และเห็นว่าหลานชายคนนี้มีอุปนิสัยน้อมไปในการออกบวช จึงไปหาน้องสาวเพื่อขออนุญาต นำหลานชายออกบวชเป็นฤาษีเช่นเดียวกับท่าน เมื่อน้องสาวอนุญาตแล้ว ท่านก็ได้ดำเนินการตามที่ประสงค์
วันหนึ่งขณะนั่งพักผ่อนอิริยาบถอยู่ด้วยกัน ฤาษีอสิตะได้บอกแก่ฤาษีนาลกะว่า…
วันข้างหน้าหากได้ยินเสียงกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ขอให้เข้าใจเถิดว่า พระราชกุมารเสด็จออกผนวช และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เจ้าจงไปเข้าเฝ้าและทูลถามเรื่องที่อยากรู้ และจงบวชเป็นสาวกของพระองค์เถิด
ฤาษีนาลกะรับคำด้วยความเคารพ ท่านรอคอยฟังเสียงว่า ‘พระพุทธเจ้า’ อยู่ตลอดเวลา จนมาเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากท่านบวช เป็นฤาษีแล้ว ๓๕ ปี ท่านก็ได้ยินเสียงเทวดาป่าวร้องอื้ออึงว่า
พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
พระองค์ทรงแสดงธรรมจักรแล้ว
ฤาษีนาลกะดีใจมากที่วันเวลาแห่งการรอคอยมาถึง ๗ วันหลังจากนั้นเมื่อพระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุอรหัตผลแล้ว
ท่านได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เป็นหลานของฤาษีอสิตะ รอคอยเวลาที่จะได้เข้าเฝ้าพระองค์มานานแล้วถึง ๓๕ ปี บัดนี้จึงได้สมปรารถนา ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกข้อปฏิบัติของมุนี แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด เพื่อข้าพระองค์ผู้เป็น มุนีไม่มีเรือน เที่ยวเลี้ยงชีพด้วยภิกขาจาร จะได้ยึดถือปฏิบัติต่อไป
พระพุทธเจ้าทรงทราบอุปนิสัยของท่านดี จึงตรัสโมเนยยปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของมุนี) ให้ท่านฟัง ความว่า
เธอจงทำใจให้มั่นคง วางตนให้เหมือนกันทั้งแก่คนที่ด่า และยกมือไหว้ ไม่มีความเย่อหยิ่ง (จงระลึกไว้เสมอว่า) รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ไม่ต่างอะไรไปจากเปลวไฟในป่า (ย่อมไหม้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
มุนีทั้งหลายย่อมถูกนารีเล้าโลมให้หลงใหลด้วยอิตถีลีลาต่างๆ อาทิ การหัวเราะ การพูด และการร้องไห้ เธออย่าถูกเล้าโลมเหมือนอย่างนั้นเลย
มุนีต้องละกาม งดเว้นจากเมถุนธรรม
มุนีต้องรักสัตว์อื่นให้เหมือนรักตัวเอง โดยยกตนเป็นที่เปรียบว่า เราเป็นฉันใด สัตว์อื่นๆ ก็เป็นฉันนั้น
ความปรารถนาและความอยากได้จนเกินไป ทำให้ปุถุชนข้องอยู่ มุนีจงละความปรารถนาและความอยากได้เกินไปนั้นเสีย จงละความอยากไม่หยุดในเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นเหตุให้ประกอบมิจฉาชีพ
มุนีต้องไม่เห็นแก่กิน บริโภคอาหารแต่พอประมาณ มักน้อย ต้องทำตนให้หายหิว หมดความอยาก ดับความเร่าร้อนให้ได้ทุกเมื่อ
มุนีเที่ยวภิกขาจารได้อาหารแล้วจงไปยังชายป่า นั่งบริโภคตามโคนต้นไม้ จากนั้นจงบำเพ็ญฌาน ใช้ชีวิตอยู่ในป่า รุ่งเช้า จึงค่อยเข้าหมู่บ้านเที่ยวภิกขาจาร ได้อาหารอย่างใดก็บริโภคอย่างนั้น ไม่หวังอาหารที่ยังไม่ได้ ขณะฉันอาหารไม่ควรพูด
มุนีจงทำใจให้ได้ว่า จะได้หรือไม่ได้ก็ดี ทั้งนั้น เพราะทั้งการได้และไม่ได้ย่อมทำให้ พ้นทุกข์ ขณะภิกขาจารมุนีแม้ไม่เป็นใบ้ ก็ควรทำตนให้เหมือนคนใบ้ ไม่ควรดูหมิ่น ทานว่าเล็กน้อย ไม่ควรดูถูกบุคคลผู้ให้
ในการบำเพ็ญเพียรตามหลักที่มุนีปฏิบัติกันมา คือ ใช้ลิ้นกดเพดาน (กลั้นลม หายใจ) เดิน ยืน นั่ง นอน แต่ผู้เดียวในที่สงัด
นาลกะ เธอจงรู้ไว้เถิดว่า น้ำในแม่น้ำน้อย ในหนอง ในห้วย ย่อมไหลดัง แต่น้ำในแม่น้ำใหญ่ย่อมไหลเงียบ สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นย่อมมีเสียงดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นย่อม ไม่มีเสียงดัง คนโง่ ย่อมทำตนเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเพียงครึ่งเดียว ส่วนคนฉลาดย่อมทำตนเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม เพราะเป็นผู้สงบ
สมณะใดรู้อยู่ สำรวมตน รู้เหตุแห่งความเสื่อม และความทุกข์แล้ว ไม่พูดมาก สมณะนั้นแล ได้ชื่อว่าเป็นมุนี ได้ชื่อว่าปฏิบัติตามปฏิปทาของมุนีได้อย่างเหมาะสม และได้ชื่อว่าได้บรรลุธรรมที่ทำให้เป็นมุนีแล้ว
๏ การบรรลุอรหัตผล
ฤาษีนาลกะได้ฟังข้อปฏิบัติของมุนีจากพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้ทูลขอบวชทันที ครั้นบวชแล้วก็ยึดถือปฏิบัติตามหลักมักน้อย ๓ ประการ คือ มักน้อยในการเห็น มักน้อยในการฟัง และมักน้อยในการถาม
มักน้อยในการเห็น พระนาลกะไม่ได้ปรารถนาอีกว่า เมื่อไปอยู่ป่าแล้วขอให้ได้ พบพระพุทธเจ้าอีก
มักน้อยในการฟัง พระนาลกะไม่ได้ปรารถนาอีกว่า ขอให้ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าอีก
มักน้อยในการถาม พระนาลกะไม่ได้ ปรารถนาอีกว่า ขอให้ได้ทูลถามถึงข้อปฏิบัติของมุนีอีก
พระนาลกะครั้นตั้งจิตยึดถือตามหลักมักน้อย ๓ ประการนี้แล้ว ก็ทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่เชิงเขา ตามลำพัง ท่านปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของ มุนีอย่างเคร่งครัด คือไม่อยู่ในป่าแห่งเดียวถึง ๒ วัน ไม่นั่งที่โคนต้นไม้ต้นเดียวกันถึง ๒ วัน ไม่บิณฑบาตที่บ้านเดียวถึง ๒ วัน ดังนั้นท่านจึงออกจากป่าโน้นไปยังป่านี้ ออกจากต้นไม้นี้ไปยังต้นไม้โน้น ท่านปฏิบัติโดยเคร่งครัดอย่างนี้ไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตผล
๏ อดีตชาติ
พระนาลกะมิได้รับแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ทั้งนี้เป็นด้วยท่านตั้งจิต ปรารถนาเพียงเพื่อเป็นพระมหาสาวกเท่านั้น แต่มิได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อได้ตำแหน่งเอตทัคคะ ส่วนเรื่องราวในอดีต ชาติของท่านมีกล่าวว่า ท่านได้พบพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุอรหัตผลและเป็นพระมหาสาวก
ซึ่งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงพยากรณ์ว่า ท่านจะได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิด เป็นหลานของฤาษีอสิตะในเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผลดังกล่าวแล้ว และเป็นพระมหาสาวกรูปหนึ่งในศาสนาของพระองค์
๏ บั้นปลายชีวิต
ตามปกติ โมเนยยปฏิปทา หรือข้อปฏิบัติของมุนีเพื่อความเป็นมุนีผู้นิ่งเงียบนั้น ถือได้ว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค คือทำตนเองให้ลำบาก แต่เพราะเหตุที่ผู้ปฏิบัติไม่ยึดติดใน สัสสตทิฎฐิและอุจเฉททิฏฐิ ตรงกันข้ามกลับมีความเข้าใจถูกต้องที่ปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจาก ความเกิด ความแก่ และความตาย พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ปฏิบัติ
เพราะเหตุที่โมเนยยปฏิปทาเป็นวิธีปฏิบัติแบบอัตตกิลมถานุโยคดังกล่าว จึงมีผลอย่างสำคัญต่อสุขภาพ กล่าวคือ ผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นต้นหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๑๖ ปี ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นกลางหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ ปี ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นสูงสุด หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ เดือน
พระนาลกะปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างเคร่งครัดขั้นสูงสุด เพราะฉะนั้นหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านจึงมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ เดือนเท่านั้น เนื่องจากร่างกายบอบช้ำหนักนั่นเอง
มีกล่าวไว้ว่าวันที่จะนิพพานนั้น ท่านรู้ตัวดีจึงสรงน้ำชำระกายแล้วครองผ้าอย่างเรียบร้อย ท่านยืนหันหน้าไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ซึ่งคาดว่าขณะนั้นพระพุทธเจ้าคงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ จากนั้นท่านก็ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นยืนพิงภูเขาหิงคุละ ประนมมือนิพพานด้วยอาการสงบ เมื่อทรงทราบว่าพระนาลกะนิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จมายังภูเขาหิงคุละพร้อมด้วยพระสาวกหลายรูป ครั้นรับสั่งให้ฌาปนกิจศพท่านแล้วก็ทรงรับสั่งให้นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะ
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระนาลกะบวชหลังกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ๗ วัน ดังนั้น หากนับลำดับกันแล้ว ท่านก็เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้ารูปที่ ๖ และเป็นพระอรหันต์รูปที่ ๗ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์รูปแรก แต่ถึงคราวที่พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนานั้นกลับไม่มีท่านรวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย ทั้งนี้คงเป็นด้วยเพราะท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในข้อปฏิบัติของมุนีนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ท่านเป็นอยู่อย่างอิสระ และไม่ทรงเรียกประชุมในคราวส่งพระสาวก ไปประกาศพระพุทธศาสนา
โดยเหตุที่ท่านไม่มีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในครั้งนั้น และนิพพานเร็วกว่าพระสาวกรูปอื่นในยุคเดียวกัน จึงไม่มีงานสำคัญอันใดเหลือ ไว้ อันเป็นเหตุให้ชื่อท่านเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจนกลายเป็นชื่อที่แปลกตาสำหรับนักศึกษายุคปัจจุบัน
“ดูก่อนนาลกะ...มุนีทั้งหลายย่อมถูกนารีเล้าโลมให้หลงใหลด้วยอิตถีลีลาต่างๆ...“
ท่านเป็นหลานอสิตะดาบส ที่นิพพานเร็วกว่าพระสาวกรูปอื่น
พระนาลกะ เป็นพระอรหันตสาวกที่พุทธบริษัทไม่ค่อยคุ้นนัก ท่านบวชหลังกลุ่มพระปัญจวัคคีย์เพียง ๗ วัน แต่หลังจากบรรลุอรหัตผลได้เพียง ๗ เดือนก็นิพพาน
๏ ชีวิตฆราวาส
พระนาลกะมีนามเดิมว่า ‘นาลกะ’ ท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์ที่เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ท่านเป็นหลานของฤาษีอสิตะผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าสุทโธทนะ โดยโยมมารดาของท่านเป็นน้องสาวของฤาษีอสิตะนั้น ดังนั้นตระกูลของท่านจึงถือได้ว่าเป็นตระกูลขุนนางที่ทรงเกียรติตระกูลหนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์
๏ การออกบวช
ท่านออกบวชเป็นฤาษีตั้งแต่อายุยังน้อยตามคำแนะนำของฤาษีอสิตะผู้เป็นลุง ที่เปี่ยมล้นด้วยความรักและปรารถนาดี
ดังมีเรื่องเล่าว่า
หลังจากฤาษีอสิตะได้รับพระราชานุญาตจากพระเจ้าสุทโธทนะให้ออกบวช และได้บรรลุสมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอภิญญา ๕ แล้ว
ฤาษีอสิตะมักจะอาศัยอำนาจฤทธิ์หายตัวไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ อาทิ ป่าหิมพานต์ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
วันหนึ่ง ฤาษีอสิตะหายตัวไปพักผ่อน ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โดยนั่งเข้าฌานอยู่ในวิมานหลังหนึ่งที่เกิดขึ้นด้วยบุญของท่านเอง
หลังออกจากฌานแล้วท่านได้ยืนอยู่ที่ประตูวิมานและมองไปรอบๆ เห็นธงทิวของเทวดาปลิวไสวอยู่ตามท้องถนน ซึ่งกว้างใหญ่ ๖๐ โยชน์ ทั้งยังได้เห็นและได้ยินเสียงท้าวสักกะ (พระอินทร์) และเทวดาชาวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่างฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรีปรบมือแสดงความ ยินดีสนุกสนานอยู่ท่ามกลางถนน พร้อมทั้งกล่าวสรรเสริญคุณของพระโพธิสัตว์ จึงถามด้วยความแปลกใจว่า
มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นหรือ ทวยเทพทังหลายถึงได้แสดงความยินดีกันเหลือเกิน ท่านทั้งหลายโบกสะบัดผ้าทิพย์กันทำไม อะไรทำให้ท่านขนพองสยองเกล้า
เทวดาทั้งหลายกล่าวตอบว่า
ท่านอสิตะ พระโพธิสัตว์อุบัติขึ้นแล้วในโลกมนุษย์ พระองค์ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีของเจ้าศากยะเมื่อสักครู่นี้เอง เหตุนี้แหละที่ทำให้เราทั้งหลายดีใจ
ท่านอสิตะ ท่านไม่ทราบหรือว่า พระโพธิสัตว์เป็นผู้สูงสุดในหมู่สัตว์ พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จักประกาศธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสีแคว้นกาสี ด้วยพุทธลีลาอันอาจ หาญดุจพญาราชสีห์
คำตอบของเทวดาทำให้ฤาษีอสิตะไม่สามารถอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อไปได้ ท่านรีบลงมาเข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะทันที และทูลขอโอกาสเฝ้าพระราชกุมารด้วย
พระเจ้าสุทโธทนะทรงอนุญาตให้ตามที่ท่านประสงค์ ทรงรับสั่งให้พระอภิบาลอุ้มพระราชกุมารออกมาให้ท่านได้เฝ้าพระราชกุมารทรงมีพระฉวีวรรณงดงาม ฤาษีอสิตะเห็นแล้วก็ทราบได้ทันทีด้วยอำนาจอภิญญาว่า พระราชกุมารนี้คือพระโพธิสัตว์อย่างที่เทวดาบอกกล่าว จึงกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะว่า
พระราชกุมารนี้ไม่มีใครยิ่งใหญ่ไปกว่าได้ พระองค์ทรงสูงสุดในบรรดาสรรพสัตว์ทวิบท (สัตว์ ๒ เท้า) พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ครั้นกราบทูลแล้วฤาษีอสิตะก็ร้องไห้น้ำตาไหลพรากด้วยความเสียใจว่า ตนเองชราแล้ว มีอายุอยู่ไม่ทันได้เห็นพระราชกุมารตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งเสียใจ ว่าเมื่อตายแล้วก็จะไปเกิดเป็นอรูปพรหม ไม่มีรูปร่าง หมดโอกาสที่จะได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
ฤาษีอสิตะเข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะและพระราชกุมาร พอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทูลลากลับ ท่านนึกเสียดายเรื่องที่จะไม่ได้อยู่ทันพระราชกุมารได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา
ท่านนึกถึงเด็กชาย ‘นาลกะ’ ลูกของน้องสาวขึ้นมาได้ และเห็นว่าหลานชายคนนี้มีอุปนิสัยน้อมไปในการออกบวช จึงไปหาน้องสาวเพื่อขออนุญาต นำหลานชายออกบวชเป็นฤาษีเช่นเดียวกับท่าน เมื่อน้องสาวอนุญาตแล้ว ท่านก็ได้ดำเนินการตามที่ประสงค์
วันหนึ่งขณะนั่งพักผ่อนอิริยาบถอยู่ด้วยกัน ฤาษีอสิตะได้บอกแก่ฤาษีนาลกะว่า…
วันข้างหน้าหากได้ยินเสียงกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ขอให้เข้าใจเถิดว่า พระราชกุมารเสด็จออกผนวช และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เจ้าจงไปเข้าเฝ้าและทูลถามเรื่องที่อยากรู้ และจงบวชเป็นสาวกของพระองค์เถิด
ฤาษีนาลกะรับคำด้วยความเคารพ ท่านรอคอยฟังเสียงว่า ‘พระพุทธเจ้า’ อยู่ตลอดเวลา จนมาเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากท่านบวช เป็นฤาษีแล้ว ๓๕ ปี ท่านก็ได้ยินเสียงเทวดาป่าวร้องอื้ออึงว่า
พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
พระองค์ทรงแสดงธรรมจักรแล้ว
ฤาษีนาลกะดีใจมากที่วันเวลาแห่งการรอคอยมาถึง ๗ วันหลังจากนั้นเมื่อพระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุอรหัตผลแล้ว
ท่านได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เป็นหลานของฤาษีอสิตะ รอคอยเวลาที่จะได้เข้าเฝ้าพระองค์มานานแล้วถึง ๓๕ ปี บัดนี้จึงได้สมปรารถนา ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกข้อปฏิบัติของมุนี แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด เพื่อข้าพระองค์ผู้เป็น มุนีไม่มีเรือน เที่ยวเลี้ยงชีพด้วยภิกขาจาร จะได้ยึดถือปฏิบัติต่อไป
พระพุทธเจ้าทรงทราบอุปนิสัยของท่านดี จึงตรัสโมเนยยปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของมุนี) ให้ท่านฟัง ความว่า
เธอจงทำใจให้มั่นคง วางตนให้เหมือนกันทั้งแก่คนที่ด่า และยกมือไหว้ ไม่มีความเย่อหยิ่ง (จงระลึกไว้เสมอว่า) รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ไม่ต่างอะไรไปจากเปลวไฟในป่า (ย่อมไหม้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
มุนีทั้งหลายย่อมถูกนารีเล้าโลมให้หลงใหลด้วยอิตถีลีลาต่างๆ อาทิ การหัวเราะ การพูด และการร้องไห้ เธออย่าถูกเล้าโลมเหมือนอย่างนั้นเลย
มุนีต้องละกาม งดเว้นจากเมถุนธรรม
มุนีต้องรักสัตว์อื่นให้เหมือนรักตัวเอง โดยยกตนเป็นที่เปรียบว่า เราเป็นฉันใด สัตว์อื่นๆ ก็เป็นฉันนั้น
ความปรารถนาและความอยากได้จนเกินไป ทำให้ปุถุชนข้องอยู่ มุนีจงละความปรารถนาและความอยากได้เกินไปนั้นเสีย จงละความอยากไม่หยุดในเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นเหตุให้ประกอบมิจฉาชีพ
มุนีต้องไม่เห็นแก่กิน บริโภคอาหารแต่พอประมาณ มักน้อย ต้องทำตนให้หายหิว หมดความอยาก ดับความเร่าร้อนให้ได้ทุกเมื่อ
มุนีเที่ยวภิกขาจารได้อาหารแล้วจงไปยังชายป่า นั่งบริโภคตามโคนต้นไม้ จากนั้นจงบำเพ็ญฌาน ใช้ชีวิตอยู่ในป่า รุ่งเช้า จึงค่อยเข้าหมู่บ้านเที่ยวภิกขาจาร ได้อาหารอย่างใดก็บริโภคอย่างนั้น ไม่หวังอาหารที่ยังไม่ได้ ขณะฉันอาหารไม่ควรพูด
มุนีจงทำใจให้ได้ว่า จะได้หรือไม่ได้ก็ดี ทั้งนั้น เพราะทั้งการได้และไม่ได้ย่อมทำให้ พ้นทุกข์ ขณะภิกขาจารมุนีแม้ไม่เป็นใบ้ ก็ควรทำตนให้เหมือนคนใบ้ ไม่ควรดูหมิ่น ทานว่าเล็กน้อย ไม่ควรดูถูกบุคคลผู้ให้
ในการบำเพ็ญเพียรตามหลักที่มุนีปฏิบัติกันมา คือ ใช้ลิ้นกดเพดาน (กลั้นลม หายใจ) เดิน ยืน นั่ง นอน แต่ผู้เดียวในที่สงัด
นาลกะ เธอจงรู้ไว้เถิดว่า น้ำในแม่น้ำน้อย ในหนอง ในห้วย ย่อมไหลดัง แต่น้ำในแม่น้ำใหญ่ย่อมไหลเงียบ สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นย่อมมีเสียงดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นย่อม ไม่มีเสียงดัง คนโง่ ย่อมทำตนเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเพียงครึ่งเดียว ส่วนคนฉลาดย่อมทำตนเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม เพราะเป็นผู้สงบ
สมณะใดรู้อยู่ สำรวมตน รู้เหตุแห่งความเสื่อม และความทุกข์แล้ว ไม่พูดมาก สมณะนั้นแล ได้ชื่อว่าเป็นมุนี ได้ชื่อว่าปฏิบัติตามปฏิปทาของมุนีได้อย่างเหมาะสม และได้ชื่อว่าได้บรรลุธรรมที่ทำให้เป็นมุนีแล้ว
๏ การบรรลุอรหัตผล
ฤาษีนาลกะได้ฟังข้อปฏิบัติของมุนีจากพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้ทูลขอบวชทันที ครั้นบวชแล้วก็ยึดถือปฏิบัติตามหลักมักน้อย ๓ ประการ คือ มักน้อยในการเห็น มักน้อยในการฟัง และมักน้อยในการถาม
มักน้อยในการเห็น พระนาลกะไม่ได้ปรารถนาอีกว่า เมื่อไปอยู่ป่าแล้วขอให้ได้ พบพระพุทธเจ้าอีก
มักน้อยในการฟัง พระนาลกะไม่ได้ปรารถนาอีกว่า ขอให้ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าอีก
มักน้อยในการถาม พระนาลกะไม่ได้ ปรารถนาอีกว่า ขอให้ได้ทูลถามถึงข้อปฏิบัติของมุนีอีก
พระนาลกะครั้นตั้งจิตยึดถือตามหลักมักน้อย ๓ ประการนี้แล้ว ก็ทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่เชิงเขา ตามลำพัง ท่านปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของ มุนีอย่างเคร่งครัด คือไม่อยู่ในป่าแห่งเดียวถึง ๒ วัน ไม่นั่งที่โคนต้นไม้ต้นเดียวกันถึง ๒ วัน ไม่บิณฑบาตที่บ้านเดียวถึง ๒ วัน ดังนั้นท่านจึงออกจากป่าโน้นไปยังป่านี้ ออกจากต้นไม้นี้ไปยังต้นไม้โน้น ท่านปฏิบัติโดยเคร่งครัดอย่างนี้ไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตผล
๏ อดีตชาติ
พระนาลกะมิได้รับแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ทั้งนี้เป็นด้วยท่านตั้งจิต ปรารถนาเพียงเพื่อเป็นพระมหาสาวกเท่านั้น แต่มิได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อได้ตำแหน่งเอตทัคคะ ส่วนเรื่องราวในอดีต ชาติของท่านมีกล่าวว่า ท่านได้พบพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุอรหัตผลและเป็นพระมหาสาวก
ซึ่งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงพยากรณ์ว่า ท่านจะได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิด เป็นหลานของฤาษีอสิตะในเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผลดังกล่าวแล้ว และเป็นพระมหาสาวกรูปหนึ่งในศาสนาของพระองค์
๏ บั้นปลายชีวิต
ตามปกติ โมเนยยปฏิปทา หรือข้อปฏิบัติของมุนีเพื่อความเป็นมุนีผู้นิ่งเงียบนั้น ถือได้ว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค คือทำตนเองให้ลำบาก แต่เพราะเหตุที่ผู้ปฏิบัติไม่ยึดติดใน สัสสตทิฎฐิและอุจเฉททิฏฐิ ตรงกันข้ามกลับมีความเข้าใจถูกต้องที่ปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจาก ความเกิด ความแก่ และความตาย พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ปฏิบัติ
เพราะเหตุที่โมเนยยปฏิปทาเป็นวิธีปฏิบัติแบบอัตตกิลมถานุโยคดังกล่าว จึงมีผลอย่างสำคัญต่อสุขภาพ กล่าวคือ ผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นต้นหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๑๖ ปี ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นกลางหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ ปี ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นสูงสุด หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ เดือน
พระนาลกะปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างเคร่งครัดขั้นสูงสุด เพราะฉะนั้นหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านจึงมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ เดือนเท่านั้น เนื่องจากร่างกายบอบช้ำหนักนั่นเอง
มีกล่าวไว้ว่าวันที่จะนิพพานนั้น ท่านรู้ตัวดีจึงสรงน้ำชำระกายแล้วครองผ้าอย่างเรียบร้อย ท่านยืนหันหน้าไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ซึ่งคาดว่าขณะนั้นพระพุทธเจ้าคงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ จากนั้นท่านก็ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นยืนพิงภูเขาหิงคุละ ประนมมือนิพพานด้วยอาการสงบ เมื่อทรงทราบว่าพระนาลกะนิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จมายังภูเขาหิงคุละพร้อมด้วยพระสาวกหลายรูป ครั้นรับสั่งให้ฌาปนกิจศพท่านแล้วก็ทรงรับสั่งให้นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะ
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระนาลกะบวชหลังกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ๗ วัน ดังนั้น หากนับลำดับกันแล้ว ท่านก็เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้ารูปที่ ๖ และเป็นพระอรหันต์รูปที่ ๗ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์รูปแรก แต่ถึงคราวที่พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนานั้นกลับไม่มีท่านรวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย ทั้งนี้คงเป็นด้วยเพราะท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในข้อปฏิบัติของมุนีนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ท่านเป็นอยู่อย่างอิสระ และไม่ทรงเรียกประชุมในคราวส่งพระสาวก ไปประกาศพระพุทธศาสนา
โดยเหตุที่ท่านไม่มีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในครั้งนั้น และนิพพานเร็วกว่าพระสาวกรูปอื่นในยุคเดียวกัน จึงไม่มีงานสำคัญอันใดเหลือ ไว้ อันเป็นเหตุให้ชื่อท่านเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจนกลายเป็นชื่อที่แปลกตาสำหรับนักศึกษายุคปัจจุบัน