เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2558 ที่ผ่านมา บจก. บางกอกเว็บ โซลูชั่น ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงานเสวนา “โซเชียลมีเดีย ดราม่ากันหนัก รุก-รับ อย่างไรดี” ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช 1 ชั้น 20 อาคาร ต.040 กฟผ. สำนักงานใหญ่ โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ คุณกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ. ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีต สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และรองคณบดีคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณเจตน์เมริน เจตน์ระวีโชติ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการตลาดดิจิตอล งานออกแบบและผลิตสื่อองค์กร และงานบริหารการจัดกิจกรรม คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักธุรกิจชื่อดัง โดยมีคุณปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
คุณกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ กล่าวว่า ประเด็นดราม่าบนโลกโซเชียลเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งที่และช่วยให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจง่ายขึ้น หากไม่มีประเด็นดราม่านั้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารก็อาจจะไม่ได้อรรถรสเท่าที่ควร เป็นเรื่องปกติที่ทางกฟผ.จะมีประเด็นดราม่าเกิดขึ้น พร้อมย้ำว่าทางกฟผ.ไม่สามารถตอบโต้ประเด็นต่างๆอย่างมีสีสรรค์ต่อประชาชนได้เพราะต้องรักษาภาพพจน์ขององค์กร จำเป็นต้องชี้แจงด้วยข้อเท็จจริงแบบประนีประนอม เพราะประชาชนแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป พร้อมกล่าวทิ้งท้ายด้วยคำพูดที่ว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการสิ่งนั้นอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กล่าวว่า ประเด็นดราม่าบนโลกโซเชียลนั้นแบ่งออกเป็นหลายระดับ ถ้าเป็นประเด็นทั่วไปก็จะเป็นแค่ความบันเทิงของประชาชน แต่หากขยับขึ้นมาเป็นระดับที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในสังคม อินเทอร์เน็ตก็ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน หากเกิดประเด็นดราม่าต่อองค์กร แนะนำให้เอาข้อมูลของบุคลากรผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเก็บไว้ที่หน่วยงานกลาง อย่าให้องค์กรเป็นฝ่ายชี้แจง เพราะคนส่วนใหญ่มองว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้น
คุณเจตน์เมริน เจตน์ระวีโชติ กล่าวว่า ประเด็นดราม่าบนโซเชียลหากไม่มีเลยมันก็จะขาดสีสรรค์และความบันเทิง ประเด็นดราม่านั้นเกิดขึ้นเพราะ 2 ปัจจัย คือ การขัดแย้งทางทัศนคติ และ มุมมองที่แตกต่างในเรื่องของข้อเท็จจริง ส่วนตัวมองว่าไม่ผิดหากแต่ละองค์กรจะเกิดประเด็นดราม่า แต่สำคัญที่องค์กรนั้นจะรับมือแก้ปัญหาอย่างไรให้ถูกต้อง และฝากถึงประชาชนทุกท่านว่า อย่ามองกระแสโซเชียลในประเด็นดราม่าที่เป็นด้านไม่ดีอย่างเดียว ให้มองถึงกระแสโซเชียลที่ส่งผลดีต่อสังคมเพิ่มมากขึ้น
คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล กล่าวว่า ในยุคสมัยใหม่นั้นอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับมนุษย์ ปัจจุบันความน่าเชื่อถือไม่ได้มาจากสื่อ หรือ ดาราต่างๆ แต่กลับเป็น บุคคลทั่วไป เพราะว่าบุคคลเหล่านี้ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมาจากองค์กรต่างๆ โดยส่วนตัวมองว่า การที่ประชาชนคนรุ่นใหม่เสพติดโซเชียลกันมากขึ้นนั้นไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายอะไร เพราะโครงสร้างแต่ละยุคสมัยนั้นเปลี่ยนไปตามเวลา
คุณปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ กล่าวสรุปว่า ก่อนจะโพสหรือแชร์ข้อมูลต่างๆบนโลกโซเชียลนั้น ให้ตั้งสติไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน และตั้งคำถามต่อตนเองอยู่เสมอว่านั่นประเด็นนั้นเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ ท่านมีความจำเป็นต้องรู้ประเด็นนั้นหรือไม่ และเมื่อรู้แล้วมันเกิดประโยชน์ต่อท่านอย่างไร เพราะหลายๆครั้งสิ่งที่ท่านเห็นก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ท่านคิด และโลกโซเชียลมีเดียก็มักจะเป็นเช่นนั้นเสมอ และต้องการให้ประชาชนทุกคนร่วมกันสร้างสังคมที่ดีบนโลกโซเชียลมีเดียบนพื้นฐานแห่งความจริง
[SR] กฟผ. จัดเสวนาเรื่อง “โซเชียลมีเดีย ดราม่ากันหนัก รุก-รับ อย่างไรดี”
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2558 ที่ผ่านมา บจก. บางกอกเว็บ โซลูชั่น ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงานเสวนา “โซเชียลมีเดีย ดราม่ากันหนัก รุก-รับ อย่างไรดี” ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช 1 ชั้น 20 อาคาร ต.040 กฟผ. สำนักงานใหญ่ โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ คุณกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ. ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีต สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และรองคณบดีคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณเจตน์เมริน เจตน์ระวีโชติ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการตลาดดิจิตอล งานออกแบบและผลิตสื่อองค์กร และงานบริหารการจัดกิจกรรม คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักธุรกิจชื่อดัง โดยมีคุณปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
คุณกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ กล่าวว่า ประเด็นดราม่าบนโลกโซเชียลเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งที่และช่วยให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจง่ายขึ้น หากไม่มีประเด็นดราม่านั้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารก็อาจจะไม่ได้อรรถรสเท่าที่ควร เป็นเรื่องปกติที่ทางกฟผ.จะมีประเด็นดราม่าเกิดขึ้น พร้อมย้ำว่าทางกฟผ.ไม่สามารถตอบโต้ประเด็นต่างๆอย่างมีสีสรรค์ต่อประชาชนได้เพราะต้องรักษาภาพพจน์ขององค์กร จำเป็นต้องชี้แจงด้วยข้อเท็จจริงแบบประนีประนอม เพราะประชาชนแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป พร้อมกล่าวทิ้งท้ายด้วยคำพูดที่ว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการสิ่งนั้นอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กล่าวว่า ประเด็นดราม่าบนโลกโซเชียลนั้นแบ่งออกเป็นหลายระดับ ถ้าเป็นประเด็นทั่วไปก็จะเป็นแค่ความบันเทิงของประชาชน แต่หากขยับขึ้นมาเป็นระดับที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในสังคม อินเทอร์เน็ตก็ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน หากเกิดประเด็นดราม่าต่อองค์กร แนะนำให้เอาข้อมูลของบุคลากรผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเก็บไว้ที่หน่วยงานกลาง อย่าให้องค์กรเป็นฝ่ายชี้แจง เพราะคนส่วนใหญ่มองว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้น
คุณเจตน์เมริน เจตน์ระวีโชติ กล่าวว่า ประเด็นดราม่าบนโซเชียลหากไม่มีเลยมันก็จะขาดสีสรรค์และความบันเทิง ประเด็นดราม่านั้นเกิดขึ้นเพราะ 2 ปัจจัย คือ การขัดแย้งทางทัศนคติ และ มุมมองที่แตกต่างในเรื่องของข้อเท็จจริง ส่วนตัวมองว่าไม่ผิดหากแต่ละองค์กรจะเกิดประเด็นดราม่า แต่สำคัญที่องค์กรนั้นจะรับมือแก้ปัญหาอย่างไรให้ถูกต้อง และฝากถึงประชาชนทุกท่านว่า อย่ามองกระแสโซเชียลในประเด็นดราม่าที่เป็นด้านไม่ดีอย่างเดียว ให้มองถึงกระแสโซเชียลที่ส่งผลดีต่อสังคมเพิ่มมากขึ้น
คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล กล่าวว่า ในยุคสมัยใหม่นั้นอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับมนุษย์ ปัจจุบันความน่าเชื่อถือไม่ได้มาจากสื่อ หรือ ดาราต่างๆ แต่กลับเป็น บุคคลทั่วไป เพราะว่าบุคคลเหล่านี้ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมาจากองค์กรต่างๆ โดยส่วนตัวมองว่า การที่ประชาชนคนรุ่นใหม่เสพติดโซเชียลกันมากขึ้นนั้นไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายอะไร เพราะโครงสร้างแต่ละยุคสมัยนั้นเปลี่ยนไปตามเวลา
คุณปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ กล่าวสรุปว่า ก่อนจะโพสหรือแชร์ข้อมูลต่างๆบนโลกโซเชียลนั้น ให้ตั้งสติไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน และตั้งคำถามต่อตนเองอยู่เสมอว่านั่นประเด็นนั้นเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ ท่านมีความจำเป็นต้องรู้ประเด็นนั้นหรือไม่ และเมื่อรู้แล้วมันเกิดประโยชน์ต่อท่านอย่างไร เพราะหลายๆครั้งสิ่งที่ท่านเห็นก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ท่านคิด และโลกโซเชียลมีเดียก็มักจะเป็นเช่นนั้นเสมอ และต้องการให้ประชาชนทุกคนร่วมกันสร้างสังคมที่ดีบนโลกโซเชียลมีเดียบนพื้นฐานแห่งความจริง