ทีโอทีปักธงอินเทอร์เน็ตไร้สาย
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558
โพสต์ทูเดย์ กสทช.เห็นชอบทีโอทีอัพเกรดคลื่น 2300 MHz ทำอินเทอร์ เน็ตไร้สายความเร็วสูงปั้นรายได้
นายอุตตม สาวนายน รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และนางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที เข้าหารือกับ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เพื่อเจรจาขอให้บริษัท ทีโอที อัพเกรดการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ที่มีอยู่ 64 MHz จากเดิมที่ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบท มาให้บริการอินเทอร์เน็ต ไร้สายความเร็วสูงแทน จนกว่าใบอนุญาตจะหมดอายุในปี 2568
นายอุตตม ชี้แจงว่า ทีโอทีต้องการจัดทำแผนงานเพื่อใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงต้องการอัพเกรดการใช้งานคลื่น 2300 MHz เพื่อสร้างรายได้ และจากการหารือ กสทช.ก็ให้ความ มั่นใจว่ามีความเป็นไปได้ในการดำเนินการ หลังจากนี้ทีโอทีต้อง จัดทำแผนทางธุรกิจให้มีความ เหมาะสม
สำหรับคลื่น 900 MHz ที่ ทีโอทียืนยันว่ามีสิทธิในการใช้งานหลังหมดสัมปทานและอาจฟ้องร้องให้ระงับการประมูลที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย.นั้น นายอุตตม กล่าวว่า คงต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารของทีโอทีว่าจะตัดสินใจอย่างไร
นางทรงพร กล่าวว่า ทีโอทีต้องปรับปรุงแผนธุรกิจเพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่การอัพเกรดคลื่น 2300 MHz ไม่ได้มองในเชิงพาณิชย์อย่างเดียว แต่ต้องสามารถนำมาให้บริการในพื้นที่ห่างไกลได้ด้วย
พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ได้พิจารณาในทางกฎหมายแล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และ กสทช.มีหน้าที่ทำให้คลื่นความถี่มีการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดอยู่แล้ว ตอนนี้อยู่ที่แผนธุรกิจของทีโอที
จี้ยกเลิกบริการ'TOT 3G' พบผู้ใช้แค่7หมื่น/'คนร.'ชี้สู้เอกชนไม่ได้
แนวหน้า ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558
"ซูเปอร์ บอร์ด" แนะ "ทีโอที" ถอนตัวจากบริการ 3G หลังทำธุรกิจสู้เอกชนไม่ได้ ขณะที่ "กสท" เร่งเคลียร์ข้อพิพาทเรื่องเสา อุปกรณ์โครงข่าย กับ "ทรู" เร่งยุติข้อพิพาทก่อนสิ้นปีนี้
นายบรรยง พงษ์พานิช หนึ่งในคณะกรรมการ นโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซูเปอร์บอร์ด กล่าวถึง บทบาทของรัฐวิสาหกิจที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ว่า อย่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือTOT และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งรัฐวิสาหกิจไม่ใช่หลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องทำอย่างไร ให้องค์กรอยู่รอดได้ ซึ่ง ทีโอที กับ กสท. มีอยู่ 2-3 ประเด็นคือ 1.ทำอย่างไรให้องค์กรประสบความสำเร็จ ยั้งยืนและเห็นผลในระยะยาว 2.ทำอย่างไรให้ทรัพย์สินทั้งสองแห่ง เพื่อให้ระงับข้อพิพาทกับเอกชนไม่ถูกทิ้งไป ซึ่งขณะนี้ได้มีการเจรจากันแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้อย่างอยู่ในขั้นตอนระดับไหน
"สินทรัพย์ทั้งหมดของ ทีโอทีและ กสท เพื่อยุติข้อพิพาทและโอนทรัพย์สินทั้งหมดจะให้โอนไปอยู่ภายใต้การบริหารบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือ ซูเปอร์โฮลดิ้ง เพื่อให้บริการธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์)" นายบรรยง กล่าว
นอกจากนี้ พบว่าบริษัท ทีโอที มีคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ให้บริการ 3G หรือ TOT3G มีการลงทุนมาก่อนผู้ให้บริการเอกชนบางราย แต่ ทีโอที กลับมีลูกค้าแค่ 7 หมื่นราย สะท้อนให้เห็นทีโอที ต้องถอยออกไปจากการแข่งขันกับเอกชน"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีโอที ได้เริ่มทดลองเปิดให้บริการ TOT 3G เมื่อปี 2552 และได้เปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อปลายปี 2554 ด้วยเงินลงทุนไปกว่า 20,000 ล้านบาทแต่พบว่า ณ ปลายปี 2556 มีลูกค้าบนโครงข่าย TOT 3G มีทั้งหมด 4.2 แสนราย
ทั้งนี้ ทีโอที ได้ให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ให้บริการในลักษณะการขายส่ง ขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ เอ็มวีเอ็นโอ อาทิ
บริษัท เอ็มคอมซัลท์เอเชีย จำกัด ให้บริการภายใต้ แบรนด์ MOJO3G, บริษัท ล็อกซเล่ย์ โมบาย จำกัด ในเครือ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ให้บริการ ภายใต้แบรนด์ TuneTalk, บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ในเครือ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือไออีซี ให้บริการภายใต้แบรนด์ IEC 3G และบริษัท ไอ-โมบายพลัส จำกัด ในเครือ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) หรือ SIM แบรนด์ i-mobile3GX
โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การทำตลาดมียอด ลูกค้าต่ำกว่าเป้าหมายมาจากโครงข่ายที่ไม่ครอบคลุม พื้นที่ ขณะที่เอกชนที่ทำตลาดแบบเอ็มวีเอ็นโอไม่สามารถสร้างยอดลูกค้าตามเป้า ประกอบกับมีการย้ายค่ายเบอร์เดิม (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) ไปอยู่กับผู้ให้บริการค่ายใหญ่อื่นๆ
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง ความคืบหน้าในการเจรจายุติข้อพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมประมาณ 10,000 ต้น ระหว่าง กสท โทรคมนาคม และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)หลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นลง ว่า ขณะนี้เพิ่งตั้งทีม เจรจาจากตัวแทนของทั้ง 2 บริษัท เพื่อเจรจากันทุกๆ 2 อาทิตย์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้
ส่วนเรื่องการเจรจายุติข้อพิพาทกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ซึ่งได้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในข้อพิพาท ทั้งเรื่องเสาโทรคมนาคม และสายไฟเบอร์ ออพติกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทั้ง 2 บริษัทจะนำทรัพย์สินมาทำธุรกิจในรูปแบบ ของการร่วมลงทุน (Joint Venture) โดย กสท โทรคมนาคม จะถือหุ้น 49% และดีแทค ถือหุ้น 51% ด้วยการตั้ง 2 บริษัทใหม่ แบ่งเป็น บริษัทที่ดูเรื่องเสาโทรคมนาคม และบริษัทที่ดูเรื่องไฟเบอร์ออพติก เพื่อในอนาคตจะสะดวกต่อการนำโครงข่ายไปดำเนินการร่วมกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ต้องการนำทรัพยากรด้านโครงสร้าง พื้นฐานโทรคมนาคมมาใช้ร่วมกัน
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
ทีโอทีปักธงอินเทอร์เน็ตไร้สาย
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า A2)
จี้ยกเลิกบริการ'TOT 3G' พบผู้ใช้แค่7หมื่น/'คนร.'ชี้สู้เอกชนไม่ได้
หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 9)
'ทีโอที' ปักธงอินเทอร์เน็ตไร้สาย จี้ยกเลิกบริการ 'TOT 3G' พบผู้ใช้แค่ 7 หมื่นคน
ทีโอทีปักธงอินเทอร์เน็ตไร้สาย
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558
โพสต์ทูเดย์ กสทช.เห็นชอบทีโอทีอัพเกรดคลื่น 2300 MHz ทำอินเทอร์ เน็ตไร้สายความเร็วสูงปั้นรายได้
นายอุตตม สาวนายน รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และนางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที เข้าหารือกับ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เพื่อเจรจาขอให้บริษัท ทีโอที อัพเกรดการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ที่มีอยู่ 64 MHz จากเดิมที่ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบท มาให้บริการอินเทอร์เน็ต ไร้สายความเร็วสูงแทน จนกว่าใบอนุญาตจะหมดอายุในปี 2568
นายอุตตม ชี้แจงว่า ทีโอทีต้องการจัดทำแผนงานเพื่อใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงต้องการอัพเกรดการใช้งานคลื่น 2300 MHz เพื่อสร้างรายได้ และจากการหารือ กสทช.ก็ให้ความ มั่นใจว่ามีความเป็นไปได้ในการดำเนินการ หลังจากนี้ทีโอทีต้อง จัดทำแผนทางธุรกิจให้มีความ เหมาะสม
สำหรับคลื่น 900 MHz ที่ ทีโอทียืนยันว่ามีสิทธิในการใช้งานหลังหมดสัมปทานและอาจฟ้องร้องให้ระงับการประมูลที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย.นั้น นายอุตตม กล่าวว่า คงต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารของทีโอทีว่าจะตัดสินใจอย่างไร
นางทรงพร กล่าวว่า ทีโอทีต้องปรับปรุงแผนธุรกิจเพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่การอัพเกรดคลื่น 2300 MHz ไม่ได้มองในเชิงพาณิชย์อย่างเดียว แต่ต้องสามารถนำมาให้บริการในพื้นที่ห่างไกลได้ด้วย
พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ได้พิจารณาในทางกฎหมายแล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และ กสทช.มีหน้าที่ทำให้คลื่นความถี่มีการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดอยู่แล้ว ตอนนี้อยู่ที่แผนธุรกิจของทีโอที
จี้ยกเลิกบริการ'TOT 3G' พบผู้ใช้แค่7หมื่น/'คนร.'ชี้สู้เอกชนไม่ได้
แนวหน้า ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558
"ซูเปอร์ บอร์ด" แนะ "ทีโอที" ถอนตัวจากบริการ 3G หลังทำธุรกิจสู้เอกชนไม่ได้ ขณะที่ "กสท" เร่งเคลียร์ข้อพิพาทเรื่องเสา อุปกรณ์โครงข่าย กับ "ทรู" เร่งยุติข้อพิพาทก่อนสิ้นปีนี้
นายบรรยง พงษ์พานิช หนึ่งในคณะกรรมการ นโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซูเปอร์บอร์ด กล่าวถึง บทบาทของรัฐวิสาหกิจที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ว่า อย่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือTOT และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งรัฐวิสาหกิจไม่ใช่หลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องทำอย่างไร ให้องค์กรอยู่รอดได้ ซึ่ง ทีโอที กับ กสท. มีอยู่ 2-3 ประเด็นคือ 1.ทำอย่างไรให้องค์กรประสบความสำเร็จ ยั้งยืนและเห็นผลในระยะยาว 2.ทำอย่างไรให้ทรัพย์สินทั้งสองแห่ง เพื่อให้ระงับข้อพิพาทกับเอกชนไม่ถูกทิ้งไป ซึ่งขณะนี้ได้มีการเจรจากันแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้อย่างอยู่ในขั้นตอนระดับไหน
"สินทรัพย์ทั้งหมดของ ทีโอทีและ กสท เพื่อยุติข้อพิพาทและโอนทรัพย์สินทั้งหมดจะให้โอนไปอยู่ภายใต้การบริหารบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือ ซูเปอร์โฮลดิ้ง เพื่อให้บริการธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์)" นายบรรยง กล่าว
นอกจากนี้ พบว่าบริษัท ทีโอที มีคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ให้บริการ 3G หรือ TOT3G มีการลงทุนมาก่อนผู้ให้บริการเอกชนบางราย แต่ ทีโอที กลับมีลูกค้าแค่ 7 หมื่นราย สะท้อนให้เห็นทีโอที ต้องถอยออกไปจากการแข่งขันกับเอกชน"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีโอที ได้เริ่มทดลองเปิดให้บริการ TOT 3G เมื่อปี 2552 และได้เปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อปลายปี 2554 ด้วยเงินลงทุนไปกว่า 20,000 ล้านบาทแต่พบว่า ณ ปลายปี 2556 มีลูกค้าบนโครงข่าย TOT 3G มีทั้งหมด 4.2 แสนราย
ทั้งนี้ ทีโอที ได้ให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ให้บริการในลักษณะการขายส่ง ขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ เอ็มวีเอ็นโอ อาทิ
บริษัท เอ็มคอมซัลท์เอเชีย จำกัด ให้บริการภายใต้ แบรนด์ MOJO3G, บริษัท ล็อกซเล่ย์ โมบาย จำกัด ในเครือ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ให้บริการ ภายใต้แบรนด์ TuneTalk, บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ในเครือ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือไออีซี ให้บริการภายใต้แบรนด์ IEC 3G และบริษัท ไอ-โมบายพลัส จำกัด ในเครือ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) หรือ SIM แบรนด์ i-mobile3GX
โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การทำตลาดมียอด ลูกค้าต่ำกว่าเป้าหมายมาจากโครงข่ายที่ไม่ครอบคลุม พื้นที่ ขณะที่เอกชนที่ทำตลาดแบบเอ็มวีเอ็นโอไม่สามารถสร้างยอดลูกค้าตามเป้า ประกอบกับมีการย้ายค่ายเบอร์เดิม (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) ไปอยู่กับผู้ให้บริการค่ายใหญ่อื่นๆ
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง ความคืบหน้าในการเจรจายุติข้อพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมประมาณ 10,000 ต้น ระหว่าง กสท โทรคมนาคม และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)หลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นลง ว่า ขณะนี้เพิ่งตั้งทีม เจรจาจากตัวแทนของทั้ง 2 บริษัท เพื่อเจรจากันทุกๆ 2 อาทิตย์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้
ส่วนเรื่องการเจรจายุติข้อพิพาทกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ซึ่งได้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในข้อพิพาท ทั้งเรื่องเสาโทรคมนาคม และสายไฟเบอร์ ออพติกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทั้ง 2 บริษัทจะนำทรัพย์สินมาทำธุรกิจในรูปแบบ ของการร่วมลงทุน (Joint Venture) โดย กสท โทรคมนาคม จะถือหุ้น 49% และดีแทค ถือหุ้น 51% ด้วยการตั้ง 2 บริษัทใหม่ แบ่งเป็น บริษัทที่ดูเรื่องเสาโทรคมนาคม และบริษัทที่ดูเรื่องไฟเบอร์ออพติก เพื่อในอนาคตจะสะดวกต่อการนำโครงข่ายไปดำเนินการร่วมกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ต้องการนำทรัพยากรด้านโครงสร้าง พื้นฐานโทรคมนาคมมาใช้ร่วมกัน
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
ทีโอทีปักธงอินเทอร์เน็ตไร้สาย
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า A2)
จี้ยกเลิกบริการ'TOT 3G' พบผู้ใช้แค่7หมื่น/'คนร.'ชี้สู้เอกชนไม่ได้
หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 9)