ประวัติศาสตร์จารึก นักวิทยาศาสตร์จีน ถู โยวโยว สตรีคนแรกของจีนที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยได้รับในสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ จากผลงาน “การค้นพบนวัตกรรมบำบัดต้านมาลาเรีย” ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์จีนโบราณ อันปราศจากทั้งวุฒิการแพทย์สมัยใหม่ หรือวุฒิปริญญาเอก อีกทั้งไม่เคยทำงานนอกแผ่นดินจีน (ภาพเซาท์ไชน่า มอร็นิงโพสต์)
เอเจนซี - ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา (5 ต.ค.) นักวิทยาศาสตร์จีน ถู โยวโยว กลายเป็นสตรีประวัติศาสตร์คนแรกของจีนที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยได้รับในสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ จากผลงาน “การค้นพบนวัตกรรมบำบัดต้านมาลาเรีย” อันเป็นกระบวนการพิชิตโรคมาลาเรียซึ่งอยู่กับมนุษยชาติมานานนับพันปี
คำประกาศของคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ระบุว่า โรคมาลาเรียซึ่งอยู่กับมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน มีสาเหตุจากปรสิตเซลล์เดียวที่มียุงเป็นพาหะได้เข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง จนทำให้เกิดไข้ ในกรณีร้ายแรงก็เป็นเหตุให้สมองถูกทำลายและตาย โดยแต่ละปีมีรายงานยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 450,000 คน และประชากรโลกมากกว่า 3.4 พันล้านคนมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อมาลาเรีย
ขณะที่การรักษาโรคมาลาเรียด้วยยาคลอโรควิน (chloroquine) หรือ ควินิน (quinine) เริ่มไม่ได้ผล โดยเมื่อช่วงปลายทศวรรษ 1960 ความพยายามในการกำจัดมาลาเรียล้มเหลว และการติดโรคเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงเวลานั้นถูโ ยวโยว นักวิทยาศาสตร์จีนได้เปลี่ยนยาสมุนไพรดั้งเดิมสู่การพัฒนาการบำบัดมาลาเรียแบบใหม่ เธอได้ศึกษาการบำบัดโรคมาลาเรียในสัตว์ด้วยสมุนไพร และเห็นว่าพืชสมุนไพรหวานกลุ้ม โกฐจุฬาลัมพา หรือที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “อาร์ติมิเซียแอนนัว” (Artemisia annua) นั้นเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
ในตอนเริ่มต้นการรักษาด้วย อาร์ทีมิเซียแอนนัวได้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน โยวโยวจึงศึกษาตำรายาโบราณเพื่อเป็นแนวทางในการสกัดสารประกอบสำคัญจากสมุนไพรดังกล่าว และเป็นคนแรกที่แสดงให้เห็นว่าสารประกอบซึ่งภายหลังเรียกว่า “อาร์ติมิซินิน” (Artemisinin) นั้นให้ประสิทธิภาพสูงในการต้านปรสิตก่อโรคมาลาเรีย ทั้งที่ก่อโรคในสัตว์และที่ก่อโรคในคน และเป็นสารบำบัดตัวใหม่ที่ฆ่าเชื้อปรสิตก่อโรคมาลาเรียได้อย่างรวดเร็วในระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความสำเร็จในการรักษาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
คณะกรรมการโนเบลระบุว่า การรักษานั้นได้ผลดีจนโรคเหล่านี้มาถึงจุดที่จะหมดสิ้น ซึ่งจะกลายเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์วงการแพทย์ของมนุษยชาติ มาลาเรียนั้นก่อโรคในคนเกือบ 200 ล้านรายในแต่ละปี และยาอาร์ติมิซินินได้ถูกใช้ไปในทุกพื้นที่ของโรคที่มีมาลาเรียซ่อนอยู่ เมื่อใช้ร่วมกับการบำบัดรักษาอย่างอื่นช่วยลดการตายจากโรคมาลาเรียได้มากกว่า 20% และมากกว่า 30 % ในเด็ก เฉพาะที่แอฟริกาแห่งเดียวมีผู้รอดชีวิตมากกว่าปีละ 100,000 ชีวิต
บีบีซี รายงานประวัติชีวิตและการทำงานอันมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวชนิดไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมว่า ถู โยวโยว เป็นสตรีชาวจีนคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล เธอเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1930 ในจีนและเป็นพลเมืองจีนแท้ๆ หนทางสู่เกียรติยศของเธอนั้น เป็นผลผลิตโดยแท้ของภูมิปัญญาจีน แม้จะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ แต่ตัวเธอไม่ได้สำเร็จวุฒิการศึกษาการแพทย์แต่อย่างใด
ถู โยวโยว สำเร็จศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแพทย์ปักกิ่ง (Beijing Medical University) เมื่อปี ค.ศ. 1955 โยวโยวทำงานไม่นานก็ได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของบัณฑิตยสภาจีนทางด้านการแพทย์จีนโบราณ (China Academy of Traditional Chinese Medicine)(ค.ศ. 1965-1978)
ในจีนนั้น โยวโยว ถูกเรียกว่าเป็นผู้พิชิตที่ "สามไม่มี" นั่นคือเธอไม่มีวุฒิการแพทย์ ไม่มีปริญญาเอก และไม่มีประสบการณ์ทำงานนอกแผ่นดินจีน
ถู โยวโยว เริ่มค้นคว้าวิจัยด้านมาลาเรีย หลังจากที่เธอถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมงานกับหน่วยลับของรัฐบาลที่ขนานนามว่า "ภารกิจ 523"
ในปี ค.ศ.1967 ประธานเหมาเจ๋อตง สั่งการให้เป็นการต่อสู้กับโรคมาลาเรียภารกิจเร่งด่วนของชาติ จำเป็นต้องคิดค้นหาหนทางพิชิตโรคนี้ให้ได้ ซึ่งในเวลานั้น เป็นช่วงศึกสงครามเวียดนาม และมาลาเรียได้คร่าชีวิตทหารจีนไปจำนวนมาก ดังนั้น หน่วงานวิจัยลับนี้ จึงถูกตั้งขึ้นเพื่อภารกิจนี้
2 ปีต่อมา ถู โยวโยวได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วย 523 ซึ่งเธอทุ่มเททำงาน ถึงกับฝากลูกสาววัย 4 ขวบไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน ย้ายตัวเองไปใช้ชีวิตที่เกาะไห่หนาน ซึ่งมีภูมิอากาศเขตร้อนเพื่อศึกษาว่ามาลาเรียคุกคามมนุษย์อย่างไร ขณะที่ก็ต้องห่างจากสามีที่ถูกพิษการเมืองในพรรคคอมมิวนิสต์ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ส่งตัวไปทำงานค่ายแรงงานชนบทห่างไกล
ตำรายาจีนสมัยโบราณ ได้จุดประกายการวิจัยฯ จนเป็นที่มาแห่งเกียรติยศ ด้วยหน่วย 523 นี้ กว้านตำรับยาจีนโบราณทั้งหลายที่มี เพื่อค้นหาและนำวิธีการในอดีตมาต่อสู้กับมาลาเรีย โดยในเวลาเดียวกับที่เธอเริ่มต้นศึกษานั้น ทั่วโลกมีความพยายามหาสารประกอบชนิดต่างๆ กว่า 240,000 รายการเพื่อทดสอบกับโรคร้ายนี้ แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จเลย
คณะทำงานของหน่วยฯ ก็ได้อ่านพบในตำราว่าสารประกอบตัวหนึ่ง จากพืชสมุนไพรพืชประเภทพุ่ม โกฐจุฬาลัมพา เคยใช้รักษาโรคมาลาเรียในจีนเมื่อราวปี ค.ศ. 400
อย่างไรก็ตาม สารประกอบที่มีในพืชสมุนไพรนี้ ภายหลังเรียกว่า “อาร์ติมิซินิน” (Artemisinin) แม้จะให้ประสิทธิภาพสูงในการต้านปรสิตก่อโรคมาลาเรีย แต่การทดลองของคณะทำงานยังไม่ได้ผลดีเท่าใด จนกระทั่ง ถู โยวโยว กลับไปศึกษาตำรับโบราณอีกครั้งอย่างละเอียด ไม่ยอมล้มเลิกและทดลองใช้ความร้อนในการแยกสารประกอบในระดับที่ยังไม่ถึงจุดเดือดของสารประกอบตัวนั้นๆ
ในที่สุด โยวโยว ก็มั่นใจว่าได้สารประกอบสำคัญที่สามารถทดสอบเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย และมีความปลอดภัย ดังนั้นเมื่อทดสอบผลสำเร็จกับหนูและลิงในห้องทดลองแล้ว เธอจึงอาสาเป็นมนุษย์คนแรกที่ใช้ยาตัวนี้เอง
"ในฐานะที่ฉันเป็นหัวหน้าหน่วยฯ ฉันพึงมีความรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" โยวโยว กล่าวเมื่อครั้งนั้น และต่อมาไม่นาน ยานี้ก็เริ่มถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยในค่ายแรงงานฯ
แม้จะเป็นบุคคลสำคัญในความสำเร็จนี้ แต่ภารกิจในหน่วย 523 ของโยวโยว กลับไม่เคยเป็นที่รู้จักในสาธารณะ และเมื่อครั้งที่ โยวโยว ได้เขียนอัตชีวประวัติการทำงานวิจัยของเธอ ในปี ค.ศ. 2009 กลับถูกแรงต้านจากคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่าเธอแอบอ้างผลงานของเพื่อนร่วมงานฯ
ผู้กล่าวหานั้นบอกว่า มีนักวิจัยฯ 2 คนที่เคยเสนองานวิจัยสารประกอบจากสมุนไพรฯ นี้ ก่อนหน้าที่ โยวโยว จะเข้าร่วมหน่วย 523 ด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม ประวัติการทำงานแสดงให้ประจักษ์ว่า โยวโยว คือนักวิจัยที่ยืนหยัดอ้างอิงตำราโบราณอย่างจริงจังเด็ดเดี่ยว ในการสกัดสารประกอบจากสมุนไพรดังกล่าว เพื่อใช้เป็นยารักษาโรค
อดีตเพื่อนร่วมงานของโยวโยว พูดว่า "โยวโยวเป็นคนที่ค่อนข้างโผงผาง ตรงไปตรงมา" และเสริมว่า "ถ้าเธอไม่เห็นด้วยกับวิธีการใด เธอจะพูดออกมา" ขณะที่ ฝูหมิง เหลียว เพื่อนผู้ร่วมงานกับเธอมากว่า 40 ปี บอกว่า โยวโยวนั้นเป็นสตรีที่แกร่งไม่ยอมคน ไม่มีล้มเลิก ความหัวแข็งกัดไม่ปล่อยของเธอนั้นขนาดที่ว่า ยอมทุ่มเทชีวิตนานหลายทศวรรษ เพื่อศึกษารวบรวมตำรายาโบราณทั้งหลาย และบูรณาการภูมิปัญญานี้ กลับมาใช้ในวงการวิจัยร่วมสมัยฯ ซึ่งมีคุณูปการยิ่งในการช่วยชีวิตผู้คนมากมายหลายล้านฯ ด้วยความสำเร็จในกระบวนการรักษาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ที่มา
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000116260
ถู โยวโยว หญิงแกร่งจีนคนแรก ผู้คว้าโนเบล ใช้สมุนไพรพิชิตโรคมาลาเรีย
ประวัติศาสตร์จารึก นักวิทยาศาสตร์จีน ถู โยวโยว สตรีคนแรกของจีนที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยได้รับในสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ จากผลงาน “การค้นพบนวัตกรรมบำบัดต้านมาลาเรีย” ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์จีนโบราณ อันปราศจากทั้งวุฒิการแพทย์สมัยใหม่ หรือวุฒิปริญญาเอก อีกทั้งไม่เคยทำงานนอกแผ่นดินจีน (ภาพเซาท์ไชน่า มอร็นิงโพสต์)
เอเจนซี - ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา (5 ต.ค.) นักวิทยาศาสตร์จีน ถู โยวโยว กลายเป็นสตรีประวัติศาสตร์คนแรกของจีนที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยได้รับในสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ จากผลงาน “การค้นพบนวัตกรรมบำบัดต้านมาลาเรีย” อันเป็นกระบวนการพิชิตโรคมาลาเรียซึ่งอยู่กับมนุษยชาติมานานนับพันปี
คำประกาศของคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ระบุว่า โรคมาลาเรียซึ่งอยู่กับมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน มีสาเหตุจากปรสิตเซลล์เดียวที่มียุงเป็นพาหะได้เข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง จนทำให้เกิดไข้ ในกรณีร้ายแรงก็เป็นเหตุให้สมองถูกทำลายและตาย โดยแต่ละปีมีรายงานยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 450,000 คน และประชากรโลกมากกว่า 3.4 พันล้านคนมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อมาลาเรีย
ขณะที่การรักษาโรคมาลาเรียด้วยยาคลอโรควิน (chloroquine) หรือ ควินิน (quinine) เริ่มไม่ได้ผล โดยเมื่อช่วงปลายทศวรรษ 1960 ความพยายามในการกำจัดมาลาเรียล้มเหลว และการติดโรคเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงเวลานั้นถูโ ยวโยว นักวิทยาศาสตร์จีนได้เปลี่ยนยาสมุนไพรดั้งเดิมสู่การพัฒนาการบำบัดมาลาเรียแบบใหม่ เธอได้ศึกษาการบำบัดโรคมาลาเรียในสัตว์ด้วยสมุนไพร และเห็นว่าพืชสมุนไพรหวานกลุ้ม โกฐจุฬาลัมพา หรือที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “อาร์ติมิเซียแอนนัว” (Artemisia annua) นั้นเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
ในตอนเริ่มต้นการรักษาด้วย อาร์ทีมิเซียแอนนัวได้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน โยวโยวจึงศึกษาตำรายาโบราณเพื่อเป็นแนวทางในการสกัดสารประกอบสำคัญจากสมุนไพรดังกล่าว และเป็นคนแรกที่แสดงให้เห็นว่าสารประกอบซึ่งภายหลังเรียกว่า “อาร์ติมิซินิน” (Artemisinin) นั้นให้ประสิทธิภาพสูงในการต้านปรสิตก่อโรคมาลาเรีย ทั้งที่ก่อโรคในสัตว์และที่ก่อโรคในคน และเป็นสารบำบัดตัวใหม่ที่ฆ่าเชื้อปรสิตก่อโรคมาลาเรียได้อย่างรวดเร็วในระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความสำเร็จในการรักษาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
คณะกรรมการโนเบลระบุว่า การรักษานั้นได้ผลดีจนโรคเหล่านี้มาถึงจุดที่จะหมดสิ้น ซึ่งจะกลายเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์วงการแพทย์ของมนุษยชาติ มาลาเรียนั้นก่อโรคในคนเกือบ 200 ล้านรายในแต่ละปี และยาอาร์ติมิซินินได้ถูกใช้ไปในทุกพื้นที่ของโรคที่มีมาลาเรียซ่อนอยู่ เมื่อใช้ร่วมกับการบำบัดรักษาอย่างอื่นช่วยลดการตายจากโรคมาลาเรียได้มากกว่า 20% และมากกว่า 30 % ในเด็ก เฉพาะที่แอฟริกาแห่งเดียวมีผู้รอดชีวิตมากกว่าปีละ 100,000 ชีวิต
บีบีซี รายงานประวัติชีวิตและการทำงานอันมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวชนิดไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมว่า ถู โยวโยว เป็นสตรีชาวจีนคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล เธอเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1930 ในจีนและเป็นพลเมืองจีนแท้ๆ หนทางสู่เกียรติยศของเธอนั้น เป็นผลผลิตโดยแท้ของภูมิปัญญาจีน แม้จะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์ แต่ตัวเธอไม่ได้สำเร็จวุฒิการศึกษาการแพทย์แต่อย่างใด
ถู โยวโยว สำเร็จศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแพทย์ปักกิ่ง (Beijing Medical University) เมื่อปี ค.ศ. 1955 โยวโยวทำงานไม่นานก็ได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของบัณฑิตยสภาจีนทางด้านการแพทย์จีนโบราณ (China Academy of Traditional Chinese Medicine)(ค.ศ. 1965-1978)
ในจีนนั้น โยวโยว ถูกเรียกว่าเป็นผู้พิชิตที่ "สามไม่มี" นั่นคือเธอไม่มีวุฒิการแพทย์ ไม่มีปริญญาเอก และไม่มีประสบการณ์ทำงานนอกแผ่นดินจีน
ถู โยวโยว เริ่มค้นคว้าวิจัยด้านมาลาเรีย หลังจากที่เธอถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมงานกับหน่วยลับของรัฐบาลที่ขนานนามว่า "ภารกิจ 523"
ในปี ค.ศ.1967 ประธานเหมาเจ๋อตง สั่งการให้เป็นการต่อสู้กับโรคมาลาเรียภารกิจเร่งด่วนของชาติ จำเป็นต้องคิดค้นหาหนทางพิชิตโรคนี้ให้ได้ ซึ่งในเวลานั้น เป็นช่วงศึกสงครามเวียดนาม และมาลาเรียได้คร่าชีวิตทหารจีนไปจำนวนมาก ดังนั้น หน่วงานวิจัยลับนี้ จึงถูกตั้งขึ้นเพื่อภารกิจนี้
2 ปีต่อมา ถู โยวโยวได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วย 523 ซึ่งเธอทุ่มเททำงาน ถึงกับฝากลูกสาววัย 4 ขวบไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน ย้ายตัวเองไปใช้ชีวิตที่เกาะไห่หนาน ซึ่งมีภูมิอากาศเขตร้อนเพื่อศึกษาว่ามาลาเรียคุกคามมนุษย์อย่างไร ขณะที่ก็ต้องห่างจากสามีที่ถูกพิษการเมืองในพรรคคอมมิวนิสต์ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ส่งตัวไปทำงานค่ายแรงงานชนบทห่างไกล
ตำรายาจีนสมัยโบราณ ได้จุดประกายการวิจัยฯ จนเป็นที่มาแห่งเกียรติยศ ด้วยหน่วย 523 นี้ กว้านตำรับยาจีนโบราณทั้งหลายที่มี เพื่อค้นหาและนำวิธีการในอดีตมาต่อสู้กับมาลาเรีย โดยในเวลาเดียวกับที่เธอเริ่มต้นศึกษานั้น ทั่วโลกมีความพยายามหาสารประกอบชนิดต่างๆ กว่า 240,000 รายการเพื่อทดสอบกับโรคร้ายนี้ แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จเลย
คณะทำงานของหน่วยฯ ก็ได้อ่านพบในตำราว่าสารประกอบตัวหนึ่ง จากพืชสมุนไพรพืชประเภทพุ่ม โกฐจุฬาลัมพา เคยใช้รักษาโรคมาลาเรียในจีนเมื่อราวปี ค.ศ. 400
อย่างไรก็ตาม สารประกอบที่มีในพืชสมุนไพรนี้ ภายหลังเรียกว่า “อาร์ติมิซินิน” (Artemisinin) แม้จะให้ประสิทธิภาพสูงในการต้านปรสิตก่อโรคมาลาเรีย แต่การทดลองของคณะทำงานยังไม่ได้ผลดีเท่าใด จนกระทั่ง ถู โยวโยว กลับไปศึกษาตำรับโบราณอีกครั้งอย่างละเอียด ไม่ยอมล้มเลิกและทดลองใช้ความร้อนในการแยกสารประกอบในระดับที่ยังไม่ถึงจุดเดือดของสารประกอบตัวนั้นๆ
ในที่สุด โยวโยว ก็มั่นใจว่าได้สารประกอบสำคัญที่สามารถทดสอบเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย และมีความปลอดภัย ดังนั้นเมื่อทดสอบผลสำเร็จกับหนูและลิงในห้องทดลองแล้ว เธอจึงอาสาเป็นมนุษย์คนแรกที่ใช้ยาตัวนี้เอง
"ในฐานะที่ฉันเป็นหัวหน้าหน่วยฯ ฉันพึงมีความรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" โยวโยว กล่าวเมื่อครั้งนั้น และต่อมาไม่นาน ยานี้ก็เริ่มถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยในค่ายแรงงานฯ
แม้จะเป็นบุคคลสำคัญในความสำเร็จนี้ แต่ภารกิจในหน่วย 523 ของโยวโยว กลับไม่เคยเป็นที่รู้จักในสาธารณะ และเมื่อครั้งที่ โยวโยว ได้เขียนอัตชีวประวัติการทำงานวิจัยของเธอ ในปี ค.ศ. 2009 กลับถูกแรงต้านจากคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่าเธอแอบอ้างผลงานของเพื่อนร่วมงานฯ
ผู้กล่าวหานั้นบอกว่า มีนักวิจัยฯ 2 คนที่เคยเสนองานวิจัยสารประกอบจากสมุนไพรฯ นี้ ก่อนหน้าที่ โยวโยว จะเข้าร่วมหน่วย 523 ด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม ประวัติการทำงานแสดงให้ประจักษ์ว่า โยวโยว คือนักวิจัยที่ยืนหยัดอ้างอิงตำราโบราณอย่างจริงจังเด็ดเดี่ยว ในการสกัดสารประกอบจากสมุนไพรดังกล่าว เพื่อใช้เป็นยารักษาโรค
อดีตเพื่อนร่วมงานของโยวโยว พูดว่า "โยวโยวเป็นคนที่ค่อนข้างโผงผาง ตรงไปตรงมา" และเสริมว่า "ถ้าเธอไม่เห็นด้วยกับวิธีการใด เธอจะพูดออกมา" ขณะที่ ฝูหมิง เหลียว เพื่อนผู้ร่วมงานกับเธอมากว่า 40 ปี บอกว่า โยวโยวนั้นเป็นสตรีที่แกร่งไม่ยอมคน ไม่มีล้มเลิก ความหัวแข็งกัดไม่ปล่อยของเธอนั้นขนาดที่ว่า ยอมทุ่มเทชีวิตนานหลายทศวรรษ เพื่อศึกษารวบรวมตำรายาโบราณทั้งหลาย และบูรณาการภูมิปัญญานี้ กลับมาใช้ในวงการวิจัยร่วมสมัยฯ ซึ่งมีคุณูปการยิ่งในการช่วยชีวิตผู้คนมากมายหลายล้านฯ ด้วยความสำเร็จในกระบวนการรักษาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ที่มา http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000116260