หมอจากเป็นเทพกลายเป็นอสูร

กระทู้สนทนา
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


แต่ก่อนนานมาแล้ว ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ
หรือที่ประเทศที่ขนานนามว่า แหลมทอง
ก่อนที่จะมีสามสิบรูปีรักษาทุกโรค
ตามโองการหลักประกันสุขภาพ
คนไข้ไม่มีเงิน คนไข้ยากจน คนไข้อนาถา
ที่ต้องได้รับการสงเคราะห์จากหมอ
หมอก็จะทะยอยเบิกจ่ายยาจากคนไข้ที่มีเงิน
มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้จากหน่วยงาน
เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คนใช้สิทธิประกันชีวิต เป็นต้น

เข่น ยารักษาความดัน ยารักษาโรคกระเพาะ
ยาบางตัวจะมีราคาแพงมาก
ถ้าคนไข้มีเงิน/มีสิทธิ์ต้องใช้ยาจริง 50 เม็ด
หมอก็จะเบิกมา 75-100 เม็ด
แล้วเอาไปให้คนไข้จริง 25-50 เม็ด
รอจ่ายให้คนไข้ไม่มีเงิน คนไข้ยากจน  คนไข้อนาถา ต่อไป

ระบบแบบนี้ก็เป็นไปด้วยดี win/win
ด้วยกันทุก ๆ ฝ่าย  ไม่มีใครเดือดร้อน
แม้จะมีบางคนค่อนแคะหรือคิดว่าผิดจริยธรรม
หรือเป็นคอรัปชั่นเเล็กน้อย ก็ตามแต่

ต่อมามีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ
หรือ 30 รูปีรักษาทุกโรค
มีการประกาศยาสามัญประจำชาติ
ยาพื้นฐานในรายการยาแห่งชาติ
ระบุคนไข้มีสิทธิ์ใช้ฟรี  ไม่ต้องจ่ายเงิน
ยานอกเหนือรายการที่ระบุจึงต้องจ่ายเงินค่ายา
หลังจากต้องจ่ายเงินเบื้องต้น 30 รูปีแล้ว

จริง ๆ 30 รูปีรักษาทุกโรค
มีคนชาตินี้ใช้สิทธิ์นี้ประมาณ 47 ล้านคน
จากแรกเริ่มคือรัฐจ่ายต่อหัวคนละ 1,250  รูปี
ต่อมาปรับเพิ่มเป็นจ่ายต่อหัวละ 2,895 รูปี
หรือประมาณ 136,065,000,000 รูปี/ปี
กระจายกันไปทั่วเพราะคงไม่มีคนชาตินี้ทุกคน
แห่เข้ามาใช้บริการพร้อมกันทั้งประเทศ
ทำให้โรงพยาบาลบางแห่ง
ที่มีคนไข้ทำบัตรนี้หรือขึ้นทะเบียนไว้มาก
แต่คนไข้มาใช้สิทธิ์น้อยมาก
จะมีเงินเหลือมากบางแห่งหรือเงินขาดบางแห่ง
ตามที่โวยวายกันจนทุกวันนี้

ระบบดังกล่าวนี้ทำให้โรงพยาบาลไหนคนไข้มาก
ยาพื้นฐานหรือยาราคาแพงมักจะไม่พอจ่าย
ต้องให้คนไข้ไปซื้อยาจากร้านยาข้างนอก
คนไข้บางคนหรือญาติคนไข้บางคนก็ยอมไปซื้อเอง

แต่สันดานคนไข้นิสัยไม่ดีบางคนก็โวยวายว่า
ฮามีสิทธิ์ ทำไมฮาต้องจ่ายเงิน
บรรพบุรุษฝ่ายพ่อฝ่ายแม่
พี่น้องเพื่อนฝูงนิสัยไม่ดีของฮา
ยืนยันว่า ฮามีสิทธิ์ตามโองการ
คิงมีหน้าที่ต้องทำต้องหามาจ่ายให้กับฮา

พฤติกรรมในสายเลือดคนส่วนมากของคนในชาตินี้
ของฟรีมักจะรีบเอา รีบแย่งชิงอยากได้
แต่ไม่สนใจคุณค่าหรือน้ำใจคนให้
ว่าเป็นของมีค่าหรือมากด้วยน้ำใจอย่างไร

เพื่อตัดปัญหาหรือไม่ต้องทะเลาะกับพวกคนประเภทนี้
โรงพยาบาลบางแห่งเลยรีบจ่ายยาราคาถูก
เช่น ยาพาราเซสตามอน  ยาธาตุน้ำแดง
ให้คนไข้กินประทังแก้ปวด แก้ไข้
เลยมีเรื่องเล่าลือสืบต่อกันมาว่า
สามสิบรูปีมีตายทุกโรค

โรงพยาบาลเล็ก ๆ บางแห่ง
ก็ส่งต่อคนไข้ไปโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่า
ที่มีหมอเก่งกว่า หรือมียาเหลือจำนวนมาก
ในระยะแรกทุกโรงพยาบาลก็เอื้อเฟื้อกันดี
แต่พอคนไข้มากเข้า ๆ ยาต้องจ่ายมากขึ้น
หมอพยาบาลต้องทำงานกันหนักขึ้น
ก็เริ่มกระทบต่อการรักษา การเก็บรักษายา การสั่งยา
การบริหารการเงินภายในโรงพยาบาล
เรื่องราวเริ่มลุกลามเหมือนสนิมเนื้อร้าย
ที่ชักจะกินเนื้อเหล็กเข้าไปเรื่อย ๆ ช้า ๆ
ผลประกอบการทางบัญชีจึงขาดทุนอยู่เรื่อย

โรงพยาบาลบางแห่งจึงเริ่มมาตรการไล่แขก
เรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาลต้นทางที่ส่งคนไข้มา
หรือถ้าส่งคนไข้มาก็บอกยาหมดแล้ว
ถ้าคนไข้จำเป็นต้องไปซื้อยาเอง
หรือจ่ายยาราคาถูกแก้ขัดไปก่อน เป็นต้น

ปัญหาเรื่องยาขาดแคลน
และคนไข้ต้องรอคิวหมอตรวจนานมาก
จึงเริ่มเรื้อรังส่ออาการมากขึ้น  ๆ
เพราะคนแหลมทองทุกคน
มีสิทธิ์ตามโองการ/กฎหมาย
ที่ใช้สิทธิ์ 30 รูปีรักษาทุกโรค
ต่างแห่แหนไปใช้บริการรักษา
ยกเว้นแต่มีสิทธิ์อื่นอยู่แล้ว เช่น
ข้าราชการ ประกันสังคม
หรือไม่อยากจะใช้สิทธิ์เอง
จะขอเข้าโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น

คนไข้ที่มีเส้นสายพรรคพวก
หรือรู้จักหมอหรือพยาบาล
ที่ทำงานอยู่ภายในโรงพยาบาล
จึงมักจะขอลัดคิว/แทรกคิว
แทนการรอคิวตามปรกติที่มักจะนานมาก
ดังจะเห็นได้จากโรงพยาบาลรัฐหลายแห่ง

ส่วนยาที่โรงพยาบาลบอกว่าหมด
หรือไม่มีในรายการยาพื้นฐานยาหลักแห่งชาติ
ก็มักจะขอให้หมอ พยาบาล เภสัชกร
ถ้าก็มีช่วยจ่ายยาให้
หรือถ้าต้องซื้อยานอกรายการ
ก็ขอซื้อจากโรงพยาบาล
เพราะราคายังไงก็ถูกกว่าข้างนอกมาก
โดยใช้ชื่อหมอ พยาบาล เภสัชกร เป็นคนซื้อแทน

ระบบนี้ก็เป็นไปด้วยดี
จนกระทั่งต่อมารายการทุกอย่าง
ต้องเข้าในระบบคอมพิวเตอร์
มีระบบตรวจสอบคอมพิวเตอร์
เข้ามาทำงานช่วยเหลืองานให้เร็วขึ้น
ก็เริ่มมีระบบตรวจสอบยืนยัน
จึงเริ่มพบข้อผิดสังเกตว่า
ทำไมหมอ พยาบาล เภสัชกร
ลางคนสั่งจ่ายยา/เบิกยาตัวนี้มากกว่าคนอื่น ๆ

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลที่โง่ที่สุดหรือฉลาดที่สุด
อยู่ที่คนใช้งานสั่งให้มันทำงานตามที่ต้องการ
เคยคุยกับคนเขียนโปรแกรมจัดเก็บภาษีกรมเก็บภาษี

" หลักการสถิติง่าย ๆ ยิ่งจำนวนคนมาก
แนวโน้มเข้าส่วนกลางก็มากขึ้น
ระดับความเชื่อมั่นก็เพิ่มสูงขึ้นมาก
ฐานข้อมูลคนเสียภาษีของแหลมทอง
แต่ละประเภทธุรกิจมีเกินหมื่นคนอยู่แล้ว
นำจำนวนเงินรายได้คนที่มาเสียภาษี
มาคำนวณหาค่าสูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย Mean
แล้วก็สั่งให้พิมพ์แยกบุคคลแยกประเภทออกมา

กลุ่มคนที่มีรายการเสียภาษีมากสุด
มักจะเป็นพวกที่เสียภาษีถูกต้อง
หรือหลีกเลี่ยงหลบภาษีไม่เก่ง
กลุ่มไหนที่เสียภาษีต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หรือ Mean
ก็เรียกมาตรวจสอบหรือสอบสวนหาสาเหตุ "

แต่ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบาย/ปรัชญาคนทำงานว่า
จะรีดเลือดจากวัวแบบชนเผ่ามาไซอัฟริกา
กรีดเลือดที่คอวัวให้พอหยดลงถังน้ำไปใช้งาน
แล้วหยุดเลือดที่ไหลรินออกมา
ปีหนึ่งจะกรีดเลือดวัวได้หลายหน

แต่ถ้าจะกรีดเลือดจากแพะ จากแกะ
ก็ต้องรอปีละหน ไม่นั้นพวกมันจะตาย
แต่ถ้ากรีดหลาย ๆ ตัว ก็ได้หลาย ๆ หยด
เพียงพอกับการใช้งานเช่นกัน

โดยหลักการทำงานแบบสถิติ
ที่มีรายงานออกจากคอมพิวเตอร์
แยกตามรายบุคคล รายการยา
ถ้ามีข้อสงสัยหรือผิดสังเกตหรือจะหาเรื่องกัน
ก็ไล่บี้ตรวจย้อนรอยกลับไปที่คนไข้
หรือตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ถามว่าจ่ายยาให้คนไข้คนไหน
เป็นหมอที่รักษาโรคนี้จริงหรือไม่
หรือชำนาญเรื่องโรคนี้จริงหรือไม่

ทำให้คนทำงานหลายคนต่างวิตกจริต
มักจะหลีกเลี่ยงเรื่องการรับฝากซื้อยา เช่น
อ้างลืม ไม่ว่าง ติดประชุมสัมนา
ไม่ได้เข้าวอร์ด หรือยุ่งกับการบริหาร
เพราะนิสัยส่วนมากคนขาตินี้มักจะหน้าบาง
หรือรักษาเหลี่ยมคูไว้  ไม่กล้าพูดอะไรตรง ๆ
ชอบพูดแบบคลุม ๆ เครือ ๆ ไม่ชัดเจน
หรือบางคนก็บอกเลิกยุ่งกับเรื่องแบบนี้ไปเลย
มักจะให้คนไข้มาติดต่อเอง
หรือไปหาญาติมารับยากันเอง

เรื่องแบบนี้ พวกพลเมืองเผือก
ต้องใช้คำนี้แทน ส ใน pantip
หลีกเลี่ยงการถูกบล็อค
ก็มักจะบอกต่อกันหรือเล่าสู่กันฟังว่า
หมอ พยาบาล เภสัข ที่ไม่ยอมกั๊กยา หรือซื้อยาให้
เป็นคนไร้น้ำใจ ไม่ข่วยเหลือกัน ไม่แน่จริง
มีอำนาจซะเปล่า ไม่กล้าใช้  บลาๆๆๆ

แต่น่าจะมีคำถามกลับว่า
ถ้าหมอ พยาบาล เภสัชกร ถูกลงโทษ
ข้อหาทุจริต/บกพร่องทางหน้าที่ราชการ
พวกคิงมีปัญญาช่วยเหลือเยียวยา
หรือแก้ไขหรือหางานให้พวกเขาไหม
อย่าดีแต่เห่าหอน (มีเสียงกระซิบบอกข้างหู)

เรื่องนี้ที่ทำงานของเพื่อนคน
คนงานรายหนึ่งมักจะใจอ่อน
ใครใช้ให้ทำอะไรก็อาสาทำไปหมด
จนงานการชักจะติด ๆ ขัด ๆ เสียหายอยู่เรื่อย ๆ
แกเลยปิดประกาศประชดไว้ที่โตีะทำงานคนนั้นเลยว่า

อย่าชวนให้จ๋าเสียงาน
เดี๋ยวเจ้านายเกิดรำคาญ
จะพาลให้จ๋าตกงาน
คุณพูดได้แต่สงสาร
ไร้ปัญญาหางานให้จ๋าทำ

เคยมีเคสหนึ่ง คนไข้อยู่ที่ดินแดนลองกองดีที่สุด
ทางโรงพยาบาลที่นั่นไม่ยอมส่งตัวมารักษาที่เมืองห.ใ
เพราะจะถูกเรียกเก็บค่ายาค่ารักษาแพง
หมอเลยแนะนำให้ย้ายทะเบียนบ้านมาที่นี่
แล้วขอใช้สิทธิ์สามสิบรูปีที่นี่เลย

โรคของแกไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลบ่อย
แค่รับยาไปกินต่อเนื่องเท่านั้น
พอเดือนหนึ่งแกก็นั่งเกวียนมารับยา
แต่ต้องรอคิวตรวจ/รับยาเป็นเวลานาน
เลยปรึกษากับหมอที่รักษาประจำเรื่องนี้

หมอคนนี้เกิดใจดีเลยจัดหายาให้
แต่ต้องใช้ชื่อคนไข้อีกคนหนึ่ง
พอแกนั่งเกวียนมารับยาตามเวลา
รับยาเสร็จ  แกพูดแบบไม่พอใจว่า
" ทำไมไม่ใส่ชื่อคิงเป็นคนไข้ "
หมอเลยเลิกยุ่งไม่ทำให้คนไข้นี้อีกต่อไป
(เสียงกระซิบข้างหูว่า คนแบบนี้สมควรรีบตายไปไวไว)

คนไข้อีกคนหนึ่งเป็นเคส
ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลป้าดตาลุง
ต้องมาทำคีโมรักษาโรคมะเร็งที่ ห.ใ  เป็นประจำ
ขอใช้สิทธิ์สามสิบรูปีรักษาทุกโรค
แต่ยาคีโมจริง ๆ เข็มละหนึ่งหมื่นรูปี
เป็นรายการยาหลักแห่งชาติ
ทางโรงพยาบาลจำต้องฉีดให้
แล้วค่อยเบิกกับหลวงต่อไป
หรือตัดจ่ายที่โรงพยาบาลที่ส่งตัวมา

คนไข้กับญาติ ๆ  ก็ร่ำร้องงอแง
บอกไม่สะดวกมา  ลำบากอย่างนั้นอย่างนี้
ญาติบอก เพื่อนบอกว่า คีโมที่ไหนก็ทำได้
ไม่จำเป็นต้องมาทำที่โรงพยาบาล ห.ใ

หมอตัดความรำคาญ
ไม่อยากชี้แจงอธิบายมาก
เพราะเสียเวลาคุยมาก
เลยลงชื่อส่งตัวกลับ
พอกลับไปที่ป้าดตาลุง
ทางนั้นบอกไม่มียา/ผลิตยานี้ไม่ได้
ก็ต้องส่งตัวกลับมาที่ห.ใ อีก

ดีที่แกกับญาติ ๆ ไม่หน้าด้าน/ไม่กาก
จะแก้อายแก้เขินในเรื่องนี้
โทษว่าเป็นความผิดหมอที่ไม่บอก
(มีเสียงกระซิบแว่ว ๆ ข้างหูว่า
คนดื้อด้านพวกนี้น่าจะตายไปเร็ว ๆ เช่นกัน)

ยาคีโมบางตัวจะต้องผสมและผลิตขึ้นมา
เพื่อใช้งานภายในระยะเวลาที่กำหนด
บางตัวต้องหล่อเย็นก่อนจะนำมาใช้
มีเวลาขนส่งไปที่โรงพยาบาลอีกแห่ง

ยาคีโมรักษาโรคมะเร็งมี 200 กว่าตัว
มีทั้งแบบการกิน แบบฉีด แบบผสมให้ทางน้ำเกลือ
การรักษาตามอาการและระยะที่เป็นโรคมะเร็ง
ยาบางตัวฉีดหรือให้ทางน้ำเกลือ
เพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหรือหกชั่วโมงก็ให้กลับบ้านได้
ยาบางตัวต้องให้ทางน้ำเกลือเป็นเวลาสองวันก็มี
คนไข้บางคนก็แพ้คีโมหนักมาก
ฉีดเข็มแรกตายคาเข็มก็เคยเจอ
บางคนต้องเข็มที่สามที่สี่จึงจะเริ่มแพ้
หรือบางคนก็ไม่แพ้เลยก็มี

เรื่องยาคีโมก็เหมือนกัน
ชาวบ้านบางคนชอบพูดชอบคุยหรือขี้โม้
เหมือนกับบางคนที่รับรู้มา
หรือรู้แบบงู ๆ ปลา ๆ วัว ควาย
แล้วนำมาพูดกระจายไปหมด
ก็ไม่ผิดเพราะเป็นสัตว์เหมือนกัน
แต่สัตว์ละประเภทเดียวกัน
ย่อมไม่เหมือนกันอยู่แล้ว




เรื่องสิทธิรักษาข้าราชการ
มีข้าราชการคิดชั่วบางคน
เห็นช่องทางทำมาหากิน
โดยเฉพาะที่เมืองหลวง
มักจะกระทำการเช่นนี้

เช้าก็ไปโรงพยาบาลราชะ
รับยาโรคกระเพาะ หรือยารักษาความดัน
บ่ายก็ไปโรงพยาบาลราชพิธี
หรือรุ่งขึ้นก็ไปโรงพยาบาลสามย่าน
พอได้ยาก็สะสมไว้เรื่อย ๆ
แล้วเอาไปขายต่อที่ร้านขายยา
เพราะยาบางตัวเม็ดละ 50-100 รูปี เป็นต้น

บางครั้งก็เกณฑ์พ่อแม่ลูกเมียไปทำแบบนี้
เพราะสิทธิ์ข้าราชการครอบคลุมไปทั่วทั้งโคตร
ธุรกิจนี้ดำเนินไปด้วยดี มีรายได้ดี
จนกระทั่งมีการตรวจสอบด้วยคอมพิวเตอร์
ก็เริ่มพบข้อพิรุธในบางรายว่า
ข้าราชการหรือครอบครัวคนที่ทำแบบนี้
น่าจะตายได้ตั้งนานแล้ว
เพราะยาที่รับไปทั้งหมด
เอาไปกินวันละ 10 เม็ด
ใช้เวลา 100 ปีก็ยังไม่หมด

ดังปรากฏว่า ค่ายาของข้าราชการขั่ว ๆ บางคน
ใช้สิทธิ์ไปเป็นล้านรูปีเลยทีเดียว
ต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ/สอบสวน
ไล่ล่าหาความจริงหรือขอเรียกคืนเงินกัน

แต่เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีระบบนี้
ก็เหมือนกับเพลงเต๋อ เรวัติ พุทธินันท์
ที่แล้วก็แล้วไป
ไม่เคยตะขิดตะขวงใจ
ขอยังไงให้เธอรับกรรม
ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า สาธุ สาธุ

จึงเริ่มมีระบบให้ข้าราชการกับครอบครัว
ต้องเป็นคนไข้ตรงประจำที่โรงพยาบาล
หักจ่ายเงินกับกรมบัญชีกลาง/ต้นสังกัด
จะได้ไม่ต้องควักเงินสดจ่ายเองก่อน
เพื่อตัดช่องทางทำมาหากินของคนชั่ว
กับตรวจสอบได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
เพราะย้อนรอยไปตรวจที่หมอที่สั่งจ่ายยาได้ด้วย




30 รูปีรักษาทุกโรคในแหลมทอง
มีการถกเเถียงกันมายาวนานว่า
พวก NCD (Non Communicate Disease)
พวกกินเหล้าเมายา สูบบุหรี่ ชอบเสี่ยงตาย
ไม่ควรได้สิทธิ์นี้เลย  เพราะแส่หาเรื่องเอง

แต่ก็มีวาทะกรรมจากพวกโลกสวย
ทำตัวมีเมตตาเหลือล้นดุจพระโพธิสัตว์
อยากให้สัตว์นรกทุกตัวบรรลุนิพพานทั้งหมด
ตนเองค่อยบรรลุหลังสุดตามหลักนิกายมหายาน
คนพวกนี้เหมือนกามนิตนั่งชิดติดกับพระศาสดา
แต่ไม่รับรู้เรื่องศาสนา วิ่งออกไปถูกวัวขวิดตาย
เพราะจะเร่งรีบไปพบพระพุทธเจ้า

พระองค์เคยตรัสบอกคนเลี้ยงม้า
ถ้าม้าไม่ได้เรื่องก็ต้องฆ่าทิ้ง
เหมือนนักบวชในศาสนาพระองค์
หรือพวกบัวสี่เหล่าเป็นต้น

#จบนิทานหมอจากเทพกลายเป็นอสูร

ขอยืนยัน นั่งยัน นอนยัน  กระโดดยันว่า
เรื่องนี้เป็นจินตนาการเป็นนิทาน ๆ ๆ ไม่ใช่เรื่องจริง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่