ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ว่ากสทช.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาบริษัท Inter Connect Communications จำกัด จากอังกฤษเพื่อศึกษาการใช้หมายเลขโทรศัพท์ในไทย โดยมองการใช้ไปอีก 10-20 ปีข้างหน้า ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นเสนอให้เพิ่มหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานให้เป็นเลขหมาย 10 หลัก จากปัจจุบัน 9 หลัก เช่น โทรพื้นฐานกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑลขึ้นต้นด้วย 02-201-xxxx จะเปลี่ยนเป็น 012-201-xxxx ซึ่งการเพิ่มอีก 1 หลักจะทำให้มีเลขหมายเพิ่มขึ้นอีก 500 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบันมี 50 ล้านเลขหมาย นอกจากจะทำให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลแล้ว ยังลดปัญหาขาดแคลนเลขหมายในอนาคต ที่สำคัญผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบน้อยกว่าผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ เพราะมีผู้ใช้บริการไม่เกิน 10 ล้านเลขหมาย
ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องลงทุนปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคมและระบบให้ทันสมัย ซึ่งทีโอทีขอเวลา 7 ปีแต่กสทช.ให้ทบทวนแผนให้สั้นลงแล้วนำกลับมาเสนอใหม่ เพราะเวลา 7 ปี อาจทำให้ไทยอาจล้าหลังประเทศอื่นๆ คาดจะใช้เวลาเปลี่ยนผ่านไม่เกิน 3-5 ปี ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การศึกษาการใช้เลขหมายเพื่อทบทวนแผนเลขหมายโทรคมนาคมทั้งหมดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และรองรับการให้บริการ 4 จี "ผลการศึกษายังเป็นแค่เบื้องต้น ต้องเสนอคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และทำตามกฎหมายอีกหลายขั้นตอน กว่าจะมีผลบังคับใช้น่าจะอีก 1-2 ปี"
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558
จ้างฝรั่งศึกษาเลขหมายโทรคมนาคมไทย รองรับ 4 จี-แก้ปัญหาขาดแคลนในอนาคต
กสทช. ตีกลับ 'ทีโอที' ขอเวลา 7 ปี ศึกษาแผนการปรับปรุงเพิ่มเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ว่ากสทช.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาบริษัท Inter Connect Communications จำกัด จากอังกฤษเพื่อศึกษาการใช้หมายเลขโทรศัพท์ในไทย โดยมองการใช้ไปอีก 10-20 ปีข้างหน้า ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นเสนอให้เพิ่มหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานให้เป็นเลขหมาย 10 หลัก จากปัจจุบัน 9 หลัก เช่น โทรพื้นฐานกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑลขึ้นต้นด้วย 02-201-xxxx จะเปลี่ยนเป็น 012-201-xxxx ซึ่งการเพิ่มอีก 1 หลักจะทำให้มีเลขหมายเพิ่มขึ้นอีก 500 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบันมี 50 ล้านเลขหมาย นอกจากจะทำให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลแล้ว ยังลดปัญหาขาดแคลนเลขหมายในอนาคต ที่สำคัญผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบน้อยกว่าผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ เพราะมีผู้ใช้บริการไม่เกิน 10 ล้านเลขหมาย
ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องลงทุนปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคมและระบบให้ทันสมัย ซึ่งทีโอทีขอเวลา 7 ปีแต่กสทช.ให้ทบทวนแผนให้สั้นลงแล้วนำกลับมาเสนอใหม่ เพราะเวลา 7 ปี อาจทำให้ไทยอาจล้าหลังประเทศอื่นๆ คาดจะใช้เวลาเปลี่ยนผ่านไม่เกิน 3-5 ปี ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การศึกษาการใช้เลขหมายเพื่อทบทวนแผนเลขหมายโทรคมนาคมทั้งหมดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และรองรับการให้บริการ 4 จี "ผลการศึกษายังเป็นแค่เบื้องต้น ต้องเสนอคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และทำตามกฎหมายอีกหลายขั้นตอน กว่าจะมีผลบังคับใช้น่าจะอีก 1-2 ปี"
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558
จ้างฝรั่งศึกษาเลขหมายโทรคมนาคมไทย รองรับ 4 จี-แก้ปัญหาขาดแคลนในอนาคต