แวร์เดิง (Verdun), หนึ่งในสมรภูมิที่ดุเดือดที่สุดในสงครามโลกครั้งแรก ทั้งฝ่ายจักรวรรดิเยอรมันและฝรั่งเศสต่างสูญเสียหนักด้วยกันทั้งคู่ บาดเจ็บล้มตายรวมเกือบ 1 ล้านนาย สาเหตุหลักมากจากกระสุนปืนใหญ่ที่ปลิวว่อนทั่วสนามรบตลอดเวลา สิ่งที่ช่วยให้หารปืนใหญ่เยอรมันยิงได้อย่างแม่นยำคือเหล่าบอลลูนตรวจการณ์ที่ลอยอยู่เต็มแนวหน้า การฝ่าเข้าไปจัดการนั้นต้องผ่านด่านปืนต่อสู้อากาศยานและเครื่องบินขับไล่ที่บินคุ้มกันโดยรอบ ยังไม่นับรวมบอลลูนลวงที่จะจุดระเบิดขึ้นเมื่อเครื่องบินข้าศึกเข้ามาใกล้ แต่ก็ยังไม่ยากเท่าตอนฝ่าออกมาอยู่ดี
มีความพยายามพัฒนายุทธวิธีที่ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ใช้ปืนลำกล้องที่ใหญ่มากขึ้น, โจมตีจากด้านบนเพื่อหนีเปลวไฟจากบอลลูนตอนระเบิด แต่สิ่งที่เป็นเหมือนการปฏิวัติรูปโฉมของการรบทางอากาศไปตลอดกาลนั้นเริ่มต้นขึ้นในเช้าวันที่ 22 พฤษภาคมปี 1916 นักบินฝรั่งเศสใจกล้าได้เข้าจู่โจมบอลลูนตรวจการณ์จากด้านบน แต่แทนที่เครื่องบินพวกนั้นจะยิงปืนกลเข้าใส่ตัวบอลลูนหรือกอนโดลาที่ผู้ตรวจการณ์หน้าอยู่แบบปกตินั้น ทหารเยอรมันกลับเห็นแต่รอยควันโพยพุ่งออกมาหลายสายจากระหว่างปลายปีก 2 ชั้นของเครื่องนิเออปอรต์ เพียงแค่ชั่วพริบตา บอลลูนเยอรมัน 6 ลูกก็กลายเป็นลูกไฟร่วงลงสู่พื้นตามแรงโน้มถ่วง ทิ้งไว้แต่ปริศนาว่าจริง ๆ แล้วพวกเค้าโดนอะไรเข้าไป
ภาพวาดหน้ากล่องโมเดลจาก Eastern Express
ฟูเซ เลอ พรีเยอร์ (Fusées Le Prieur) ผลงานของวิศวกร ร.อ.อีฟ เลอ พรีเยอร์ (Yves Le Prieur) จรวดอากาศสู่อากาศแบบไม่นำวิถีรุ่นแรกของโลก ตัวจรวดทำจากกระดาษแข็งหุ้มดินปืนไว้ 200 กรัม ส่วนหัวรบนั้นทำจากไม้ทรงกรวย ก่อนที่จะนำมาติดตั้งนั้นทางร.อ.พรีเยอร์ได้ทำการทดลองติดตั้งบนรถยนต์ พิค-พิค ซึ่งเป็นรถยนต์ที่เร็วมากในสมัยนั้น สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับความเร็วของเครื่องบินปืกสองชั้นในช่วงสงครามโลกครั้งแรก แม้การทดลองบนพื้นดินจะทำทางกองทัพพอใจและสั่งให้เริ่มการผลิต แต่การใช้งานจริงนั้นยากมากเพราะจรวดชนิดนี้ไม่มีความแม่นเลยแม้แต่น้อย การเล็งใช้ศูนย์ปืนธรรมดาที่ไม่ได้เหมาะกับการยิงจรวดแบบนี้ เครื่องบินจะดิ่งลงมาจากด้านบนตามแนวยาวของบอลลูนเพื่อให้มีหน้าตัดของเป้าหมายใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ แถมการจุดระเบิดของจรวดเองก็มีดีเลย์ทำให้เพิ่มอัตราการพลาดเป้าหมายมากขึ้นไปอีก
แม้จะถูกใช้เป็นอาวุธหลักในการจัดการกับบอลลูนในแนวหน้าและคาดหวังว่าจะใช้จัดการกับพวกเรือเหาะเซปเปลินที่มาทิ้งระเบิดกรุงลอนดอนแต่ทางจรวดพรีเออร์นั้นก็ไม่เคยยิงเซปเปลินได้ตามที่หวังและโดนแทนที่ด้วยอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพและเสี่ยงน้อยกว่าหลังการคิดค้นกระสุนส่องวิถีและกระสุนเพลิงที่จุดไฟบอลลูนที่เต็มไปด้วยไฮโดรเจนพวกนี้ได้เร็วกว่า
Le Prieur rocket : จรวดอากาศสู่อากาศแบบแรก
มีความพยายามพัฒนายุทธวิธีที่ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ใช้ปืนลำกล้องที่ใหญ่มากขึ้น, โจมตีจากด้านบนเพื่อหนีเปลวไฟจากบอลลูนตอนระเบิด แต่สิ่งที่เป็นเหมือนการปฏิวัติรูปโฉมของการรบทางอากาศไปตลอดกาลนั้นเริ่มต้นขึ้นในเช้าวันที่ 22 พฤษภาคมปี 1916 นักบินฝรั่งเศสใจกล้าได้เข้าจู่โจมบอลลูนตรวจการณ์จากด้านบน แต่แทนที่เครื่องบินพวกนั้นจะยิงปืนกลเข้าใส่ตัวบอลลูนหรือกอนโดลาที่ผู้ตรวจการณ์หน้าอยู่แบบปกตินั้น ทหารเยอรมันกลับเห็นแต่รอยควันโพยพุ่งออกมาหลายสายจากระหว่างปลายปีก 2 ชั้นของเครื่องนิเออปอรต์ เพียงแค่ชั่วพริบตา บอลลูนเยอรมัน 6 ลูกก็กลายเป็นลูกไฟร่วงลงสู่พื้นตามแรงโน้มถ่วง ทิ้งไว้แต่ปริศนาว่าจริง ๆ แล้วพวกเค้าโดนอะไรเข้าไป
ภาพวาดหน้ากล่องโมเดลจาก Eastern Express
ฟูเซ เลอ พรีเยอร์ (Fusées Le Prieur) ผลงานของวิศวกร ร.อ.อีฟ เลอ พรีเยอร์ (Yves Le Prieur) จรวดอากาศสู่อากาศแบบไม่นำวิถีรุ่นแรกของโลก ตัวจรวดทำจากกระดาษแข็งหุ้มดินปืนไว้ 200 กรัม ส่วนหัวรบนั้นทำจากไม้ทรงกรวย ก่อนที่จะนำมาติดตั้งนั้นทางร.อ.พรีเยอร์ได้ทำการทดลองติดตั้งบนรถยนต์ พิค-พิค ซึ่งเป็นรถยนต์ที่เร็วมากในสมัยนั้น สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับความเร็วของเครื่องบินปืกสองชั้นในช่วงสงครามโลกครั้งแรก แม้การทดลองบนพื้นดินจะทำทางกองทัพพอใจและสั่งให้เริ่มการผลิต แต่การใช้งานจริงนั้นยากมากเพราะจรวดชนิดนี้ไม่มีความแม่นเลยแม้แต่น้อย การเล็งใช้ศูนย์ปืนธรรมดาที่ไม่ได้เหมาะกับการยิงจรวดแบบนี้ เครื่องบินจะดิ่งลงมาจากด้านบนตามแนวยาวของบอลลูนเพื่อให้มีหน้าตัดของเป้าหมายใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ แถมการจุดระเบิดของจรวดเองก็มีดีเลย์ทำให้เพิ่มอัตราการพลาดเป้าหมายมากขึ้นไปอีก
แม้จะถูกใช้เป็นอาวุธหลักในการจัดการกับบอลลูนในแนวหน้าและคาดหวังว่าจะใช้จัดการกับพวกเรือเหาะเซปเปลินที่มาทิ้งระเบิดกรุงลอนดอนแต่ทางจรวดพรีเออร์นั้นก็ไม่เคยยิงเซปเปลินได้ตามที่หวังและโดนแทนที่ด้วยอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพและเสี่ยงน้อยกว่าหลังการคิดค้นกระสุนส่องวิถีและกระสุนเพลิงที่จุดไฟบอลลูนที่เต็มไปด้วยไฮโดรเจนพวกนี้ได้เร็วกว่า