ชวนคุย ระบบอาวุธของ เครื่องบินโจมตี AT-6TH

ระบบอาวุธของ เครื่องบินโจมตี AT-6TH 

ระบบอาวุธของ เครื่องบินโจมตี AT-6TH มีพื้นฐานมาจาก AT-6B Wolverine และใช้ในภารกิจแบบเดียวกับเครื่องบินโจมตีแบบ A-10C Thunderbolt II และใช้ชุดเซนเซอร์ที่ปรับปรุงมาจากเครื่องบินลาดตระเวนหาข่าวแบบ MC-12W Liberty
กองทัพอากาศไทยจะปรับแต่งให้ เครื่องบินโจมตี AT-6TH ติดตั้งจรวดอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ IRIS-T ที่เป็นจรวดมาตรฐานของกองทัพอากาศในปัจจุบัน ถือเป็นครั้งแรกที่ T-6 Texan II จะสามารถติดตั้ง IRIS-T 

ซึ่งจะดำเนินการโดย RV Connex ที่เคยติดตั้ง IRIS-T บน F-5TH มาก่อน ระบบอาวุธจะสามารถใช้ปืนขนาด .50 นิ้ว หรือ 20 มม. รวมถึงการติดตั้งระบบ Datalink แบบ Link-TH ซึ่งเป็น Link มาตรฐานของกองทัพอากาศไทย 

ส่วนระบบอาวุธอากาศสู่พื้นนั้น AT-6TH สามารถติดตั้งได้หลายแบบเช่นจรวด AGR-20 Advanced Precision Kill Weapon System ซึ่งเป็นการติดตั้งชุดนำวิถีให้กับจรวดแบบ Hydra 70 ที่มีระยะยิง 5 กิโลเมตร หรือจรวดแบบ AGM-114 Hellfire ที่มีระยะยิง 8 กิโลเมตร 

ซึ่งกองทัพบกวางแผนที่จะใช้งานกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-6 ซึ่งถ้ากองทัพอากาศนำมาติดตั้งกับ AT-6TH ก็จะช่วยในเรื่องความเข้ากันได้ของระบบอาวุธ

สำหรับระเบิดนำวิถีนั้น AT-6TH สามารถติดตั้งระเบิดนำวิถีได้หลายแบบเช่น GBU-12 Paveway II ขนาด 500 ปอนด์ ระยะการทิ้งระเบิดที่ 14 กิโลเมตร ซึ่งกองทัพอากาศมีใช้งานอยู่แล้ว 

หรืออาจจะเลือกระเบิดที่ทันสมัยมากขึ้นอย่าง GBU-49 Enhanced Paveway II ระยะการทิ้งระเบิดที่ 14 กิโลเมตร หรืออาจจะมองไปที่ระเบิดที่มีขนาดเล็กลงเพื่อลดความเสียหายรอบ ๆ เป้าหมายเช่น GBU-58/59 ที่มีขนาด 250 ปอนด์ 

หรือแม้แต่เลือกระเบิดนำวิถีด้วยดาวเทียมแบบ GBU-38 JDAM ขนาด 500 ปอนด์ที่ระยะการทิ้งระเบิดที่ไกลกว่า 28 กิโลเมตร

หรือกองทัพอากาศอาจจะเลือกแบบระเบิดนำวิถี FFLMM ของ Thales ที่สำคัญคือเป็นระเบิดนำวิถีที่กองทัพอากาศเลือกมาใช้งานกับ RTAF U1M ซึ่งเป็นโดรนติดอาวุธแบบแรกของกองทัพอากาศ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่กองทัพอากาศจะติดตั้ง Fury บน AT-6TH เช่นกัน โดย Fury มีระยะยิงไกล 4 กิโลเมตร ติดหัวรบขนาดเล็กคือราว 4.5 ปอนด์

การเลือกแบบอาวุธที่จะใช้งาน พิจารณาจากภัยคุกคามที่อาจส่งผลต่อ AT-6TH ซึ่งเป็นเครื่องบินโจมตีและสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดที่อาจต้องรับมือกับปืนต่อสู้อากาศยานที่มีระยะยิงไกล 2 – 6 กิโลเมตร

 หรือจรวดต่อสู้อากาศยานประทับบ่าหรือ MANPADS ที่มีระยะยิงไกลราว 6 กิโลเมตรเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ระบบอาวุธนำวิถีที่เลือกมาติดตั้งควรมีทั้งระบบอาวุธระยะใกล้สำหรับการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดและภารกิจที่มีภัยคุกคามจากอาวุธต่อสู้อากาศยานของข้าศึกน้อย 

และอาวุธที่มีระยะยิงไกลเกินกว่า 6 กิโลเมตรเพื่อให้ AT-6TH สามารถอยู่นอกระยะยิงของอาวุธต่อสู้อากาศยานของข้าศึกได้ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยของเครื่อง
หาก AT-6TH ติดตั้งเซ็นเซอร์ MX-15Di ซึ่งสามารถชี้เป้าด้วยแสงเลเซอร์ได้ไกล 20 กิโลเมตรจากเพดานบินปานกลาง จึงสามารถใช้ระเบิดนำวิธีด้วยเลเซอร์ได้นอกระยะยิงของปืนต่อสู้อากาศยานและ MANPADS ของข้าศึกได้ 

โดยสามารถทิ้งระเบิดที่ระยะราว 8 – 14 กิโลเมตรจากเป้าหมายเพื่อให้ระเบิดเดินทางถึงเป้าหมายโดยไม่ต้องเข้าใกล้

ส่วนการป้องกันตนเองจากเครื่องบินขับไล่นั้น AT-6TH จะใช้งาน IRIS-T ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับป้องกันตนเอง แต่โดยปกติเครื่องบินโจมตีจะมีเครื่องบินขับไล่คุ้มกัน หรือปฏิบัติงานในสภาวะที่ฝ่ายเราครองอากาศได้อยู่ก่อนแล้ว 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ส่วนระบบสื่อสารก็จะติดตั้ง Link TH ของไทย ไม่ใช้ Link 16 ของสหรัฐ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่