ข่าวเก่าครับ (9 กรกฎาคม 2553)
http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000094316
กทม.เดินหน้าแผนพัฒนากรุงเทพฯ เงินกู้ออมสิน 20,000 ล้านบาทผ่านกรุงเทพธนาคม ประเดิมสกายวอร์ค 4 เส้นทาง ชิดลม-บางนา,สยาม-อนุสาวรีย์, สนามกีฬาหัวหมาก-แยกรามคำแหง,สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ แจ้งตึกไหนสนเชื่อมต่อสกายวอร์ค คิด 10 ล้านบาท พร้อมอัดงบ 1,300 ล.ปรับภูมิทัศน์คลองแสนแสบ ส่งเรือติดแอร์เดิน
ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงแผนการพัฒนากรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัย และเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนกรุงเทพฯว่า กทม.ได้ใช้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งกทม.ถือหุ้น 100% เพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนาโครงการต่างๆ โดยล่าสุดได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารออมสิน จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนพัฒนาดังกล่าว
ทั้งนี้กทม. มีแผนจะก่อสร้างทางเดินลอยฟ้า หรือ สกายวอร์ค จำนวน 4 เส้นทาง งบลงทุนกิโลเมตรละ 250 ล้านบาท เพื่อรองรับการก่อสร้างโครงการ โมโนเรล โดยสกายวอล์ค ดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ในการหลบแดด ฝน รวมไปถึงการจราจรและร้านค้าที่พลุกพล่านบริเวณด้านล่าง ได้เป็นอย่างดี โดยคนไทยต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว
สำหรับสกายวอร์ค 4 เส้นทางได้แก่ 1.เส้นทางต่อขยายจากชิดลม-บางนา ระยะทาง 8 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 2,000 ล้านบาท, 2.เส้นทางจากสยาม-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ระยะทาง 3 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 700 ล้านบาท 3. เส้นทางจากวงเวียนใหญ่-สะพานตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งบริเวณนี้จะทำเป็นพาร์ค&ไลฟ์ ด้วย 4. เส้นทางจากสนามกีฬาหัวหมาก – แยกรามคำแหง ระยะทาง1.5 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 300 ล้านบาท
โดยเส้นทางดังกล่าวผู้ประกอบการทั้งโครงการที่อยู่อาศัย ห้างสรรสินค้า หรืออาคารสำนักงานที่ต้องการเชื่อมต่อสะพานเข้าหาอาคารของตนเองสามารถแสดงความจำนงมายังกทม.ได้ โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อประมาณ 10 ล้านบาท ส่วนการก่อสร้างสะพานเชื่อมนั้นจะต้องมาเจรจากันอีกครั้งว่าใครจะเป็นผู้ลงทุน
“การเชื่อมต่อสกายวอร์ค เข้าตึกจะสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้อาคารและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อาคารอีกด้วย ส่วนการจ่ายค่าเชื่อมต่อเพียง 10 ล้านบาทนั้นถือว่าถูกมาก เมื่อเทียบกับการลงทุนเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายกว่า 100 ล้านบาท ส่วนการเก็บค่าเชื่อมต่อจะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ กทม.อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะเส้นทางสุขุมวิทที่มีโครงการคอนโดมิเนียมและอาคารต่างๆเกือบ 100 โครงการ”
นอกจากนี้สมาคมผู้ประกอบการราชประสงค์ จะร่วมกันลงทุนก่อสร้าง สกายวอร์ค บนแนวถนนราชดำริจากแยกราชประสงค์ - แยกประตูน้ำ โดยใช้เงินลงทุนของสมาคมฯ ซึ่งในวันที่ 12 ก.ค.นี้ กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าวจะเข้าพบ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.เพื่อหารืออีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ กทม.ยังเดินหน้าก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1.ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส สายบางหว้า อีก 4 สถานี 2.การปรับภูมิทัศน์คลองแสนแสบให้เหมือนคลองในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ อาทิ การทำแนวเขื่อนตลอดแนวให้สวยงาม และพัฒนาท่าเรือให้ทันสมัยเหมือนศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง อีกทั้งอาจขยายเส้นทางการเดินทางจากเดิมเริ่มต้นที่วัดศรีบุญเรือง ไปเริ่มต้นที่มีนบุรี นอกจากนี้ยังจะเพิ่มเรือปรับอากาศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และหากผู้ประกอบการการเดินเรือบริษัท ครอบครัวขนส่ง(2002) จำกัดที่เดินเรือในปัจจุบัน สนใจเข้าร่วมโครงการ ทางกทม.ก็ยินดี อีกทั้งยังจะมีการเพิ่มประตูรายบายน้ำอีก 1 จุด โดยใช้งบประมาณในการปรับปรุงทั้งสิ้น 1,300 ล้านบาท
โดยโครงการทั้งหมดนี้จะมีการขออนุมัติงบประมาณปี 54 จากสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 ก.ค.53 นี้ และคาดว่าโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง ก่อนหมดวาระของคณะผู้ว่ากทม.ยุคปัจจุบัน
กทม.ทุ่ม2หมื่นล.ผุดสกายวอร์ค เล็งเก็บค่าเปิดทางเชื่อมตึกเอกชน
http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000094316
กทม.เดินหน้าแผนพัฒนากรุงเทพฯ เงินกู้ออมสิน 20,000 ล้านบาทผ่านกรุงเทพธนาคม ประเดิมสกายวอร์ค 4 เส้นทาง ชิดลม-บางนา,สยาม-อนุสาวรีย์, สนามกีฬาหัวหมาก-แยกรามคำแหง,สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ แจ้งตึกไหนสนเชื่อมต่อสกายวอร์ค คิด 10 ล้านบาท พร้อมอัดงบ 1,300 ล.ปรับภูมิทัศน์คลองแสนแสบ ส่งเรือติดแอร์เดิน
ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงแผนการพัฒนากรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัย และเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนกรุงเทพฯว่า กทม.ได้ใช้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งกทม.ถือหุ้น 100% เพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนาโครงการต่างๆ โดยล่าสุดได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารออมสิน จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนพัฒนาดังกล่าว
ทั้งนี้กทม. มีแผนจะก่อสร้างทางเดินลอยฟ้า หรือ สกายวอร์ค จำนวน 4 เส้นทาง งบลงทุนกิโลเมตรละ 250 ล้านบาท เพื่อรองรับการก่อสร้างโครงการ โมโนเรล โดยสกายวอล์ค ดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ในการหลบแดด ฝน รวมไปถึงการจราจรและร้านค้าที่พลุกพล่านบริเวณด้านล่าง ได้เป็นอย่างดี โดยคนไทยต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว
สำหรับสกายวอร์ค 4 เส้นทางได้แก่ 1.เส้นทางต่อขยายจากชิดลม-บางนา ระยะทาง 8 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 2,000 ล้านบาท, 2.เส้นทางจากสยาม-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ระยะทาง 3 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 700 ล้านบาท 3. เส้นทางจากวงเวียนใหญ่-สะพานตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งบริเวณนี้จะทำเป็นพาร์ค&ไลฟ์ ด้วย 4. เส้นทางจากสนามกีฬาหัวหมาก – แยกรามคำแหง ระยะทาง1.5 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 300 ล้านบาท
โดยเส้นทางดังกล่าวผู้ประกอบการทั้งโครงการที่อยู่อาศัย ห้างสรรสินค้า หรืออาคารสำนักงานที่ต้องการเชื่อมต่อสะพานเข้าหาอาคารของตนเองสามารถแสดงความจำนงมายังกทม.ได้ โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อประมาณ 10 ล้านบาท ส่วนการก่อสร้างสะพานเชื่อมนั้นจะต้องมาเจรจากันอีกครั้งว่าใครจะเป็นผู้ลงทุน
“การเชื่อมต่อสกายวอร์ค เข้าตึกจะสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้อาคารและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อาคารอีกด้วย ส่วนการจ่ายค่าเชื่อมต่อเพียง 10 ล้านบาทนั้นถือว่าถูกมาก เมื่อเทียบกับการลงทุนเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายกว่า 100 ล้านบาท ส่วนการเก็บค่าเชื่อมต่อจะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ กทม.อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะเส้นทางสุขุมวิทที่มีโครงการคอนโดมิเนียมและอาคารต่างๆเกือบ 100 โครงการ”
นอกจากนี้สมาคมผู้ประกอบการราชประสงค์ จะร่วมกันลงทุนก่อสร้าง สกายวอร์ค บนแนวถนนราชดำริจากแยกราชประสงค์ - แยกประตูน้ำ โดยใช้เงินลงทุนของสมาคมฯ ซึ่งในวันที่ 12 ก.ค.นี้ กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าวจะเข้าพบ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.เพื่อหารืออีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ กทม.ยังเดินหน้าก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1.ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส สายบางหว้า อีก 4 สถานี 2.การปรับภูมิทัศน์คลองแสนแสบให้เหมือนคลองในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ อาทิ การทำแนวเขื่อนตลอดแนวให้สวยงาม และพัฒนาท่าเรือให้ทันสมัยเหมือนศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง อีกทั้งอาจขยายเส้นทางการเดินทางจากเดิมเริ่มต้นที่วัดศรีบุญเรือง ไปเริ่มต้นที่มีนบุรี นอกจากนี้ยังจะเพิ่มเรือปรับอากาศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และหากผู้ประกอบการการเดินเรือบริษัท ครอบครัวขนส่ง(2002) จำกัดที่เดินเรือในปัจจุบัน สนใจเข้าร่วมโครงการ ทางกทม.ก็ยินดี อีกทั้งยังจะมีการเพิ่มประตูรายบายน้ำอีก 1 จุด โดยใช้งบประมาณในการปรับปรุงทั้งสิ้น 1,300 ล้านบาท
โดยโครงการทั้งหมดนี้จะมีการขออนุมัติงบประมาณปี 54 จากสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 ก.ค.53 นี้ และคาดว่าโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง ก่อนหมดวาระของคณะผู้ว่ากทม.ยุคปัจจุบัน