เมืองสุโขทัย ๑๐ ต.ค.๕๘

กระทู้สนทนา
ภาพเก่าเล่าเรื่อง

เมือง สุโขทัย

จากพิษณุโลก ได้ไปเที่ยวที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ซึ่งไม่ไกลกันมากนัก

วัดศรีชุม สุโขทัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระอจนะ วัดศรีชุม เป็นที่เลื่องลือว่ามีเอกลักษณ์และมนต์เสน่ห์เฉพาะตัววัดศรีชุม หรือ วัดฤๅษีชุม เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ตัววัดเป็นโบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกกำแพงเมืองสุโขทัย

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและสักการะอย่างไม่ขาดสาย

ในปัจจุบันทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ไม่ห่างจากตัวโบราณสถานนัก มีวัดสร้างใหม่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ใช้ชื่อว่าวัดศรีชุมเช่นเดียวกัน




ประวัติ

พระอจนะ วัดศรีชุม มุมมองจากด้านบนมณฑป"วัดศรีชุม" คำว่า "ศรี" มาจากคำเรียกพื้นเมืองเดิมของไทยว่า "สะหลี" ซึ่งหมายถึง ต้นโพธิ์ ดังนั้นชื่อ ศรีชุม จึงหมายถึงดงของต้นโพธิ์ แต่ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่เข้าใจความหมายนี้แล้ว จึงเรียกสถานที่นั้นว่า "ฤๅษีชุม"

วัดศรีชุมนั้น สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ว่า " เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้...............มีพระอจนะ มีปราสาท" พระประธานในมณฑปจึงมีชื่อว่า "พระอจนะ"


ปี   

สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาปลุกปลอบใจขวัญทหาร ปฐมเหตุแห่งตำนาน "พระพูดได้" ( ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรดารารามฯ อยุธยา )

พระมณฑปกว้างด้านละ 32 เมตร สูง 15 เมตร ผนังหนา 3 เมตร ผนังด้านซ้ายเจาะเป็นทางทำบันได ในผนังขึ้นไปถึงหลังคา ตามฝาผนังอุโมงค์มีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด  เพดานผนังมีแผ่นหินชนวนสลักภาพลายเส้นเป็นเรื่องในชาดกต่างๆ มีจำนวน 50 ภาพ เรียงประดับต่อเนื่องกัน ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นงานจิตรกรรมไทยที่เก่าแก่ที่สุด

ในสมัยอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ. 2127 ที่เมืองแครง ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกเลิกการส่งส่วยให้กับพม่า แต่ยังมีเมืองเชลียง ( สวรรคโลก) ที่ไม่ยอมทำตามพระราชโองการของพระองค์ พระองค์จึงนำทัพเสด็จมาปราบเมืองเชลียง และได้มีการมาชุมนุมทัพที่วัดศรีชุมแห่งนี้ก่อนที่จะไปตีเมืองเชลียง และด้วยการรบในครั้งนั้นเป็นการรบระหว่างคนไทยกับคนไทยด้วยกัน ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบไม่อยากรบ

สมเด็จพระนเรศวรจึงได้วางแผนสร้างกำลังใจให้กับทหารโดยการให้ทหาร คนหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระ และพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร ทำให้ทหารเกิดกำลังใจที่จะต่อสู้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดตำนานพระพูดได้ที่วัดศรีชุมแห่งนี้ และพระนเรศวรยังได้มีการทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาขึ้นที่วัดแห่งนี้ด้วย




ตามหลักฐานระบุว่าวัดแห่งนี้ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าลิไท และมีการดูแลบูรณะเรื่อยมา สันนิษฐานว่าวัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย

จนกระทั่งในสมัย รัชกาลที่ 9 ได้มีโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ ในปี พ.ศ. 2495 โดยเริ่มมีการบูรณะพระพุทธรูปพระอจนะ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอาจารย์เขียน ยิ้มสิริ วัดจึงอยู่ในสภาพที่เห็นในปัจจุบัน

เราอุตสาหะขึ้นบันไดไปจนโผล่ด้านบนของพระวิหาร แล้วคลานไปนั่งถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
ข้าง ๆ ยอดพระเกตุของพระพุทธรูป ทั้ง ๆ ที่เป็นโรคกลัวความสูง




สาดเอยสาดน้ำ
ไม่ชอกช้ำเย็นชื่นระรื่นจิต
ทั้งชายหญิงแจ่มใสได้ใกล้ชิด
แน่นสนิทมิตรภาพอาบดวงมาน



ศรีเอยศรีชุม
มิได้กลุ้มมาสงกรานต์สำราญเหลือ
คิดว่าสุโขทัยจะใจเกลือ
แต่เหลือเชื่อมีเพื่อนหนุนค่อยอุ่นใจ
ได้เคลื่อนคล้อยจากศรีชุมได้ชุ่มจิต
มากมวลมิตรสุขสันต์สันต์สาดกันใหญ่
ต้องเปียกโชคตลอดตัวไม่กลัวใคร
สาดเข้าไปสาดเข้าไปเปียกใหญ่เอย





สุเอยสุโขทัย
ได้ครรไลยมาถึงซึ้งใจแสน
มีแต่เพื่อนใจดีมิคลอนแคลน
พาเราแล่นจากศรีชุมไม่กลุ้มใจ
อยากจะหาสาวน้อยคอยเมียงอยู่
มิได้รู้โฉมตรูนั้นอยู่ไหน
จะไปเยี่ยมถามหาเพื่อนว่าไกล
ต้องกลับไปพิษณุโลกแสนโศกเอย



   


กลับเอยกลับบ้าน
สิ้นสงกรานต์เสร็จสรรพคืนกลับหลัง
ได้พักผ่อนร้อนคลายสบายจัง
มิตรภาพฝังใจอยู่มิรู้จาง
ขอลาก่อนเพื่อนแก้วจงแคล้วทุกข์
ขอลาสุขโขทัยจำใจห่าง
พิษณุโลกที่เคยเยือนไม่เลือนราง
พอฟ้าสางต้องจำจรลาก่อนเอย





๑๕ เมษายน ๒๕๐๖
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่