无字碑 ศิลาที่ไร้ตัวอักษร

กระทู้คำถาม


己之功过,留待后人评说 "สิ่งที่ทำไปถูกหรือผิด ให้คนรุ่นหลังเป็นผู้ตัดสิน"

พระนางบูเช็กเทียน หรืออู่เจ๋อเทียน ทรงมีพระนามเดิมว่า 武则天 หวู่เจ๋อเทียน
หวู่เจ๋อเทียนเกิดในตระกูลคหบดี โดยถูกคัดเลือกเข้าวังครั้งแรกตอนอายุ ๑๔ ใน
ปลายรัชศกเจิ้นกวนแห่งรัชกาลถังไท่จง นางเข้ารับตำแหน่งในฐานะ 才人 "ไฉเหริน"
(มีศักดิ์เท่า "เจ้าจอมอยู่งาน" ของไทย) ซึ่งเป็นพระสนมระดับปลายแถวเท่านั้น
แต่เพราะรูปโฉมอันงดงาม ทำให้ถังไท่จงขานนามว่า "หวู่เม่ย" หรือ 武媚娘 "หวู่เหม่ยเนียง"
แปลว่า "โฉมสะคราญแซ่หวู่"



ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหานครซีอานของจีน เป็นที่ตั้งสุสานจักรพรรดิถังเกาจง
และจักรพรรดินีบูเช็คเทียน หน้าหลุมพระศพมีป้ายศิลาสูง 6.3 เมตร ตั้งตระหง่านเคียงคู่
กันสองป้าย ป้ายแรกอยู่ทางทิศตะวันตก จารึกข้อความสดุดีความดีงามมากมาย ที่ถังเกาจง
สะสมไว้ตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์

ข้อความเหล่านี้ จารึกตามคำบอกเล่าของจักรพรรดินีบูเช็คเทียน และจารึกในรูปแบบ
บทกวี 7 คำ จากองค์รัชทายาทถังจงจงป้ายศิลาตะวันออก สลักลวดลายมังกร 8 ตัว
พันอยู่ส่วนบนยอด บนขึ้นไปสลักเป็นฝูงม้าค้อมตัวดื่มน้ำ และกองทหารในเครื่องแบบ
งามสง่า สลับอยู่กับลวดลายปุยเมฆ

อะไรเป็นสาเหตุให้จักรพรรดินีบูเช็คเทียน ผู้จารึกคำสดุดีจักรพรรดิผู้เป็นพระสวามี แต่ไม่
ยอมจารึกสดุดีป้ายศิลาของพระนางเอง

ความว่างเปล่าบนป้ายศิลานี้ มีคนรุ่นหลังจำแนกข้อสันนิษฐานไว้ 3 ประการ

ประการแรก จักรพรรดินีบูเช็คเทียนเข้าพระทัยว่า คุณงามความดีที่ทรงสร้างไว้มากมายเหลือ
คณานับ จนแผ่นศิลาที่มีความสูงใหญ่ ไม่มีพื้นที่พอจารึก

ประการต่อมา บูเช็คเทียนยกระดับตัวเองจากพระสนมธรรมดา จนมีอิทธิพลมากพอช่วงชิงบัลลังก์
มาจากพระสวามีได้ เมื่อสิ้นพระชนม์ แล้ว จึงปล่อยพื้นที่ในแผ่นศิลาเอาไว้ให้คนรุ่นหลัง
จารึกชั่ว-ดีกันเอง

ประการที่ 3 กว่าจะได้อำนาจเป็นจักรพรรดินี บูเช็คเทียนก่อ กรรมทำเข็ญเอาไว้ไม่น้อย หากเขียนแต่
คำสดุดี คนรุ่นหลังจะถือเป็นจุดตั้งข้อครหา การปล่อยที่ว่างเอาไว้ น่าจะเกิดผลดีมากกว่า

ข้อสันนิษฐานเหล่านี้ ถกเถียงกันเรื่อยมา หลายยุคหลายสมัย ทุกข้อล้วนแต่มีเหตุผลชวนให้คิด

ต่อมาเมื่อ ค.ศ.1134 พระเชษฐาจักรพรรดิจินไท้จง ได้สลักกฎ มณเฑียรบาล ด้วย
อักษรชาวจีน (เผ่าหนึ่ง) ลงบนแผ่นหินที่ว่างเปล่า แล้วสลักอักษรฮั่นกำกับเป็นคำอธิบาย

ราว ค.ศ.1234 ช่วงเวลาราชวงศ์ซ่งและอาณาจักรจิน ได้มีผู้สลักอักษร 13 ข้อความเป็น
ภาษาชาวเผ่าซี่ตาน ชนเผ่าเจ้าของภาษาเคยสถาปนาอาณาจักรเหลียว (ค.ศ.907-1125)
ชนเผ่านี้ล่มสลาย ถึงสมัยราชวงศ์หยวน หาผู้อ่านภาษานี้ได้น้อยคน จนถึงสมัยราชวงศ์หมิง
ภาษาซี่ตานก็กลายเป็นภาษาตาย ไม่มีใครอ่านออกเขียนได้อีก

คุณประสิทธิ ฉกาจธรรม เขียนเรื่องนี้ไว้ใน "พลิกม่านไม้ไผ่" (หนังสือของอาศรมสยาม-จีนวิทยา
สมาคมปัญญาภิวัฒน์) ให้ บทสรุปว่า 13 ข้อความของเผ่าซี่ตาน ซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งใจเขียนวิจารณ์
จนถึงวันนี้ ยังไม่ใครรู้ว่าเป็นคำวิจารณ์แบบใด

เครดิต กิเลน ประลองเชิง

ชวนลองมา วิเคราะห์หาสิ่งดีๆที่ควรจะจารึกอยู่บนแผ่นศิลาไร้อักษร ของพระนางบูเช็คเทียน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่