เหตุใดพระอนุรุทธ จึงทราบวาระจิตของพระพุทธเจ้าขณะจะปรินิพพาน?

ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า

หลังจาก พระพุทธเจ้าตรัสปัจฉิมวาจาว่า
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=10&item=143&items=1&preline=0&pagebreak=0
[๑๔๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
             นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ



จากนั้น ก็ทรงประทับนอนนิ่งๆ (จริงๆ ทรงเข้าออกฌานต่างๆ อย่างรวดเร็ว แต่พระอานนท์ยังไม่ทราบ) พระอานนท์ได้ถามพระอนุรุทธะว่า "พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้วหรือ" ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า "พระผู้มีพระภาคยังไม่เสด็จปรินิพพาน ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ" ความดังนี้



http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=10&item=144&items=1&preline=0&pagebreak=0
[๑๔๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเข้าปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้ว
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว
ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว
ทรงเข้าอากาสนัญจายตนะ ออกจากอากาสนัญจายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯ
             ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวถามท่านพระอนุรุทธะว่าพระผู้มีพระภาค
เสด็จปรินิพพานแล้วหรือ ท่านพระอนุรุทธะตอบว่าอานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระ
ภาคยังไม่เสด็จปรินิพพาน ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯ
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสนัญจายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว
ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว
ทรงเข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับ (แห่งการพิจารณา
องค์จตุตถฌานนั้น) ฯ




มีคำถามที่รบกวนถามทุกท่านว่า
เหตุใด พระอนุรุทธท่านจึงทราบวาระจิตของพระพุทธเจ้า ได้ละเอียดเพียงนี้  ท่านทราบได้จริงๆ หรือ แล้วผู้อื่นที่นั่งอยู่ด้วย ไม่ทราบหรือ (เช่นพระอานนท์เป็นต้น)
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ความคิดเห็นที่ 10-1

ภาพข้างบนนี้หมายความอย่างไรกันแน่
๑.พระอนุรุทธะไม่ได้พูดตามข้อความ (หลักฐานเชื่อไม่ได้)
๒.พระอนุทธะ พูดจริงว่าได้ตามดูวาระจิตพระพุทธเจ้า แต่ พระคึกฤทธิ์ไม่ไว้ใจว่าพระอนุรุทธะ ตามดูวาระจิตได้จริงหรือ

ถ้าเชื่อตามที่พระคึกฤทธ์พูด เราจะวางใจอย่างไรกันดี

(ถามลอยๆ ถามทุกคน ไม่ได้ถาม เจ้าของความเห็นที่ ๑๐)


สมาชิกหมายเลข 2621080  
3 ชั่วโมงที่แล้ว

--------------------------

พระคึกฤทธิ์เข้าใจผิดว่า
- พระอรหันต์ยังมีราคะ โทสะ โมหะ
- พระอรหันต์ยังแสดงธรรมผิดได้
- พระอรหันต์ยังพูดผิด คิดผิด ทำผิด ได้

ถ้าจะเพิ่มว่า พระอรหันต์โกหกได้ ก็ไม่แปลก (สำหรับพระคึกฤทธิ์)



------------------------------

ถ้าเชื่อตามที่พระคึกฤทธ์พูด เราจะวางใจอย่างไรกันดี

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 11
[๔๕๑] พ. ดีละๆ อนุรุทธ ก็พวกเธอผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่ง
ตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษคือ ญาณทัสสนะอันประเสริฐ สามารถ
กว่าธรรมของมนุษย์อันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายอันได้บรรลุแล้วหรือ ฯ

             อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้า
เท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของพวกข้าพระองค์ ย่อมหายไปได้ พวก
ข้าพระองค์ยังไม่แทงตลอดนิมิตนั้น ฯ

             [๔๕๒] พ. ดูกรอนุรุทธ พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล แม้เราก็
เคยมาแล้ว เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อม
รู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็น
รูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มี
ความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุสมาธิของเรา
จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก
ทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้นแก่เราได้อีก ฯ




คำสอนของพระพุทธเจ้าชัดเจน
เจ้าสำนัก คึกริด อ่านไม่จบหน้านี้
ความคิดเห็นที่ 10
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่