กล่อมไม่สำเร็จญี่ปุ่นยืนกรานไม่ใช้ทางร่วม แยกระบบรถไฟความเร็วสูงกับรถไฟไทย-จีน
5 ตุลาคม 2558 06:13 น.
"อาคม"เผยญี่ปุ่นยืนกรานแยกระบบและรางรถไฟความเร็วสูงไม่ใช้ร่วมกับรถไฟไทย-จีน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาในอนาคต เผยปัญหาหลักเขตทางรถไฟไม่พอ อาจต้องเวนคืนเพิ่มหรือยกระดับเป็น 2 ชั้น หวั่นค่าก่อสร้างเพิ้ม ด้านญี่ปุ่นส่ง 3 ทีมลงพื้นที่สำรวจแนวกรุงเทพ-เชียงใหม่,กาญจนบุรี-สระแก้ว-แหลมฉบัง,แม่สอด-มุกดาหารแล้ว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-รัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบราง ว่า ในส่วนของศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC) รถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม.นั้น จะจัดสรรพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อให้กับญี่ปุ่น เนื่องจากในการให้บริการรถไฟความเร็วสูงจะต้องเชื่อมเข้าสู่สถานีใหญ่ เพื่อประโยชน์สูงสุด ส่วนรถไฟความเร็วปานกลาง เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กิโลเมตรซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-จีนนั้นศูนย์ควบคุมการเดินรถ จะอยู่ที่เชียงรากน้อย
ขณะที่ระบบอาณัติสัญญาณ(signaling) และระบบราง (track) นั้น มีความเป็นไปได้ที่ต้องพิจารณาแยกกันระหว่างรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นและรถไฟความเร็วปานกลางของจีน เนื่องจากคงไม่สามารถใช้ร่วมกันหรือ sharetTrack ได้ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น จะเกิดการโทษกันว่าเพราะมีการใช้ทางร่วมกัน ได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ล่าสุด ในการประชุมร่วมกันของคณะทำงานรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ทางญี่ปุ่นยังคงยืนยันว่า ต้องการแยกระบบของรถไฟรถไฟความเร็วสูง ระบบชินคันเซ็น ออกจากทุกระบบ 100% เนื่องจาก ชินคันเซ็นเป็นระบบเฉพาะที่หากมีการ share track หรือใช้ระบบอาณัติสัญญาณร่วม จะทำให้ไม่มั่นใจในการควบคุมดูแล ทั้งนี้ หากต้องไม่สามารถใช้ระบบและรางร่วมกันได้จะมีปัญหาเรื่องพื้นที่เขตทางรถไฟไม่เพียงพอในบางจุดโดยเฉพาะในเขตเมือง ตั้งแต่ดอนเมืองเป็นต้นไป ซึ่งจะต้องลงพื้นที่สำรวจและศึกษาออกแบบให้ชัดเจน
ซึ่งเมื่อพื้นที่เขตทางรถไฟไม่เพียงพอ จะสามารถเวนคืนที่เพิ่มได้หรือไม่ และหากไม่ได้ อาจต้องออกแบบเป็นทางยกระดับซ้อนกันซึ่งจะทำให้มีค่าก่อสร้างและต้นทุนโครงการเพิ่ม และจะต้องพิจารณาร่วมกันว่า ใครจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ
***ญี่ปุ่นส่งทีมลงพื้นที่สำรวจแนวรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่แล้ว***
1. ตามข่าวที่ "ไทยต้องการให้ญี่ปุ่นใช้ทางร่วมระบบรถไฟความเร็วสูงกับจีน" คุณคิดเห็นอย่างไรบ้าง ?
คุณลืมตอบคำถามที่ * จำเป็นต้องตอบ
ตามข่าวที่ "ไทยต้องการให้ญี่ปุ่นใช้ทางร่วมระบบรถไฟความเร็วสูงกับจีน" คุณคิดเห็นอย่างไรบ้าง ?
5 ตุลาคม 2558 06:13 น.
"อาคม"เผยญี่ปุ่นยืนกรานแยกระบบและรางรถไฟความเร็วสูงไม่ใช้ร่วมกับรถไฟไทย-จีน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาในอนาคต เผยปัญหาหลักเขตทางรถไฟไม่พอ อาจต้องเวนคืนเพิ่มหรือยกระดับเป็น 2 ชั้น หวั่นค่าก่อสร้างเพิ้ม ด้านญี่ปุ่นส่ง 3 ทีมลงพื้นที่สำรวจแนวกรุงเทพ-เชียงใหม่,กาญจนบุรี-สระแก้ว-แหลมฉบัง,แม่สอด-มุกดาหารแล้ว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-รัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบราง ว่า ในส่วนของศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC) รถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม.นั้น จะจัดสรรพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อให้กับญี่ปุ่น เนื่องจากในการให้บริการรถไฟความเร็วสูงจะต้องเชื่อมเข้าสู่สถานีใหญ่ เพื่อประโยชน์สูงสุด ส่วนรถไฟความเร็วปานกลาง เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กิโลเมตรซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-จีนนั้นศูนย์ควบคุมการเดินรถ จะอยู่ที่เชียงรากน้อย
ขณะที่ระบบอาณัติสัญญาณ(signaling) และระบบราง (track) นั้น มีความเป็นไปได้ที่ต้องพิจารณาแยกกันระหว่างรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นและรถไฟความเร็วปานกลางของจีน เนื่องจากคงไม่สามารถใช้ร่วมกันหรือ sharetTrack ได้ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น จะเกิดการโทษกันว่าเพราะมีการใช้ทางร่วมกัน ได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ล่าสุด ในการประชุมร่วมกันของคณะทำงานรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ทางญี่ปุ่นยังคงยืนยันว่า ต้องการแยกระบบของรถไฟรถไฟความเร็วสูง ระบบชินคันเซ็น ออกจากทุกระบบ 100% เนื่องจาก ชินคันเซ็นเป็นระบบเฉพาะที่หากมีการ share track หรือใช้ระบบอาณัติสัญญาณร่วม จะทำให้ไม่มั่นใจในการควบคุมดูแล ทั้งนี้ หากต้องไม่สามารถใช้ระบบและรางร่วมกันได้จะมีปัญหาเรื่องพื้นที่เขตทางรถไฟไม่เพียงพอในบางจุดโดยเฉพาะในเขตเมือง ตั้งแต่ดอนเมืองเป็นต้นไป ซึ่งจะต้องลงพื้นที่สำรวจและศึกษาออกแบบให้ชัดเจน
ซึ่งเมื่อพื้นที่เขตทางรถไฟไม่เพียงพอ จะสามารถเวนคืนที่เพิ่มได้หรือไม่ และหากไม่ได้ อาจต้องออกแบบเป็นทางยกระดับซ้อนกันซึ่งจะทำให้มีค่าก่อสร้างและต้นทุนโครงการเพิ่ม และจะต้องพิจารณาร่วมกันว่า ใครจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ
***ญี่ปุ่นส่งทีมลงพื้นที่สำรวจแนวรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่แล้ว***