อันดับ 5 แยกไม่ออก ระหว่าง “บลจ.” กับ “บล.”
เริ่มต้นด้วยอันดับ 5 ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ บลจ. และ บล. ที่นักลงทุนหลายๆ คนยังคงสับสนกันอยู่บ่อยครั้งว่าทั้ง 2 แห่งนี้ ต่างกันอย่างไร? จนบางคนก็เข้าใจผิดว่าคือที่เดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริง บลจ.ก็คือคนที่ผลิตกองทุนหรือบริหารกองทุนนั่นเอง จากนั้นก็ส่งกองทุนที่ผลิตไปให้ธนาคาร หรือ บล. เป็นผู้ขาย ซึ่งทั้งธนาคาร(บางแห่ง) และบล. นั้นสามารถขายกองทุนของบลจ.หลายๆ แห่งได้ในที่เดียว
อันดับ 4 ถ้าบลจ. เจ๊ง! ... เงินต้นจะหาย!!!
อันดับที่ 4 ที่นักลงทุนมักจะเข้าใจผิด คือเรื่องที่ว่า “ถ้าหากบลจ. หรือผู้จัดการกองทุนที่บริหารกองทุนเกิดเจ๊ง ... เงินต้นฉันจะสูญหายหมด” จริงๆแล้วไม่ใช่เลยครับ เพราะ 1.ในการจัดตั้งกองทุนกับกลต. กองทุนนั้นจะต้องถูกจัดขึ้นในนามนิติบุคคล แยกออกจากสินทรัพย์ของ บลจ.ที่บริหารกันอย่างสิ้นเชิงครับ นั่นหมายความว่าแม้ บลจ.จะเจ๊ง แต่เงินเราที่อยู่ในกองทุนก็ยังไม่ได้หายไปไหนแน่นอน ซึ่ง 2. เงินลงทุนของเราที่อยู่ในกองทุนนั้นจะถูกโอนไปให้ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” (ซึ่งก็คือธนาคารยักษ์ใหญ่หลายๆแห่งในบ้านเรานั่นเอง) เป็นผู้ดำเนินการเรื่องกฎหมายและจัดหา บลจ.ใหม่ หรือผู้จัดการกองทุนใหม่มาบริหารสินทรัพย์ของกองทุนกองนี้ต่อไปครับ
อันดับ 3 กองปันผล ดีกว่ากองไม่ปันผล
อันดับต่อมาเป็นเรื่องของเงินปันผล เรื่องนี้เป็นปัญหาโลกแตกของหลายๆคน คือในใจก็อยากได้เงินปันผล แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากเสียภาษีเงินปันผล 10% ครั้นจะไปเลือกกองทุนไม่จ่ายปันผลก็ไม่ชอบอีก เพราะเข้าใจว่ากองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล คือกองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่ไม่มีเงินปันผลให้ ต่างกับกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผล ที่ไปลงในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลอีกที... เดี๋ยวนะ... เข้าใจผิดแล้วครับ จริงๆแล้วการจะจ่ายหรือไม่จ่ายปันผลนั้นมันขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นหรือสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุนเลย เช่น กองทุน A และกองทุน B เป็นกองทุนที่ลงทุนใน SET50 เหมือนกัน โดยกองทุน A มีนโยบายจ่ายปันผล “ไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรในแต่ละรอบ” และกองทุน B ไม่จ่ายปันผล ถึงตรงนี้มี 2 จุดที่ต้องทำความเข้าใจ 1.คำว่า “ไม่น้อยกว่า 90% ของกำไร” คำว่ากำไรในที่นี้หมายถึงทั้งส่วนต่างราคาและเงินปันผลที่กองทุนทำได้ในแต่ละรอบ (ฉะนั้นไม่สำคัญเลยว่าจะต้องลงทุนหุ้นที่จ่ายปันผลหรือไม่) และ 2. กองทุน B ที่ไม่จ่ายปันผล จริงๆแล้วกองทุนก็ได้รับเงินปันผลจากหุ้นที่ลงทุนอยู่นะครับ เพียงแต่เขาไม่ได้จ่ายออกมาให้เราแต่นำไปลงทุนต่อรวมเป็นมูลค่ากองทุนให้เราเลย ฉะนั้นแล้วหากนักลงทุนจะต้องเลือกลงทุนซักกอง ผมแนะนำให้เลือกตามวัตถุประสงค์ของเราดีกว่า คือ
“ถ้าเป็นคนที่ชอบให้มีกระแสเงินสดเข้ามาระหว่างที่ลงทุน ก็เลือกแบบจ่ายปันผล (แต่ต้องยอมเสียภาษี 10%) แต่หากเป็นคนที่ไม่ชอบเงินปันผล ให้บลจ.ไปลงทุนต่อเลย ก็เลือกแบบไม่จ่ายปันผลจะดีที่สุด” แล้วค่อยไปคัดเลือกกองทุนที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นภายหลังครับ
อันดับ 2 Trigger Fund … รับประกันผลตอบแทน
อีกหนึ่งความเข้าใจผิดของนักลงทุน ซึ่งอันดับ 2 และอันดับ 1 นั้นสูสีกันมาก เพราะมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า กองทุนทริกเกอร์ (Trigger Fund) คือกองทุนที่รับประกันผลตอบแทน เช่น กองทุนทริกเกอร์ AAA 5 เดือน 5% คือกองทุนที่เมื่อลงทุนแล้ว จะได้ 5% ภายใน 5 เดือน ซึ่งคนละเรื่องกับความเป็นจริงเลยครับ เพราะแท้จริงแล้วกองทุนทริกเกอร์ คือกองทุนที่ตั้งเงื่อนไขไว้ให้ว่า
“ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ถ้าราคากองทุนขึ้นไปถึงเป้าหมาย หรือได้กำไรตามที่ตั้งเป้าไว้ กองทุนจะทำการขายเพื่อ take profit ให้ โดยที่นักลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้เลย” นั่นหมายความว่าถ้าระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น นักลงทุนก็สามารถขาดทุนได้เช่นกัน และการขาดทุนนั้นจะเป็นการขาดทุนแบบไม่มีลิมิต คือลงได้เรื่อยๆตามสภาวะตลาดและขายไม่ได้แม้ว่าจะอยากขายเพื่อ cut loss แค่ไหนก็ตาม ฉะนั้นก่อนจะลงทุนอะไรก็ตาม “นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน ก่อนตัดสินใจลงทุน” นะครับ
อันดับ 1 ราคา NAV. ... ยิ่งน้อย ยิ่งดี
…และแล้วก็มาถึงอันดับ 1 ของความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกองทุนรวม คือเรื่องของราคา NAV. โดยนักลงทุนจะเข้าใจว่าการเลือกซื้อกองทุนนั้น จะต้องเลือกกองทุนที่มีราคา NAV. ต่ำๆ หรือถ้าเป็นกองทุน IPO ที่เปิดราคา 10 บาทได้ยิ่งดี หรือกองทุน A มีราคาตลาดที่ 15 บาท กับกองทุน B มีราคาตลาด 30 บาท นักลงทุนก็จะเลือกลงทุนในกองทุน A เนื่องจากมองว่าถูกกว่า และยังขึ้นไม่มาก (ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงทั้ง 2 กองทุนอาจจะลงทุนในสินทรัพย์ตัวเดียวกันเลยก็ได้) ตัวอย่างที่ผมยกมาให้ดูถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดได้บ่อยมากๆ และถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงครับ ...ทำไมถึงผิด? เพราะว่าความจริงแล้ว 1.กองทุนเกือบทุกกองในประเทศไทย เวลาจดทะเบียนเริ่มทำการซื้อขายมักจะจดทะเบียนซื้อขายกันที่ราคาเริ่มต้น 10 บาทเท่ากัน ฉะนั้นจะเอาราคาตลาดในปัจจุบันมาเทียบกันไม่ได้แน่นอนครับ 2. การจะเปรียบเทียบความถูกแพงของกองทุนนั้น ไม่สามารถเทียบกันได้ในแง่ของราคาเลย (แม้กระทั่งหุ้นเองก็เทียบแบบนี้ไม่ได้)
ยกตัวอย่างเช่น กองทุน A และกองทุน B เป็นกองทุนเลียนแบบดัชนี SET 50 เหมือนกัน แต่กองทุน A เปิดกองมาแล้ว 10 ปี (โดยช่วง 10 ปี SET 50 ขึ้นมาราวๆ 50%) ในขณะที่กองทุน B เพิ่งเปิดมาได้ 1 ปี ทำให้ราคา NAV. ของกองทุน A สูงกว่ากองทุน B มาก ลูกค้าที่เข้าใจผิดอาจไปตัดสินใจซื้อกองทุน B ด้วยเข้าใจว่าราคาถูกกว่า ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วทั้ง 2 กองทุนไม่ได้แตกต่างกันเลย ฉะนั้นโดยสรุปแล้วเราไม่สามารถดูความถูกแพงของกองทุน จากราคา NAV. ได้ หรือจะให้ดีกว่านั้น
“อย่าตัดสินใจเลือกกองทุนโดยใช้ราคา NAV. เป็นหลัก” แต่ควรจะพิจารณาจากความสามารถในการบริหารของผู้จัดการกองทุน ลักษณะสินทรัพย์ที่ลงทุน และค่าธรรมเนียม แบบนี้ถึงจะดีและเหมาะสมที่สุดครับ #ลูกแม่หน่อง
ปริพรรห์ ปริยอุดมทรัพย์ AFPT™
-----------------------------------------------------------------------
อ่านเพิ่มเติมได้ที่...
https://www.facebook.com/clevplan/
ผมจะทยอยแบ่งปันมุมมองที่น่าสนใจ ลองติดตามดูครับ
------------------------------------------------------------------
“5 อันดับความเข้าใจผิด เกี่ยวกับกองทุนรวม”
อันดับ 5 แยกไม่ออก ระหว่าง “บลจ.” กับ “บล.”
เริ่มต้นด้วยอันดับ 5 ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ บลจ. และ บล. ที่นักลงทุนหลายๆ คนยังคงสับสนกันอยู่บ่อยครั้งว่าทั้ง 2 แห่งนี้ ต่างกันอย่างไร? จนบางคนก็เข้าใจผิดว่าคือที่เดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริง บลจ.ก็คือคนที่ผลิตกองทุนหรือบริหารกองทุนนั่นเอง จากนั้นก็ส่งกองทุนที่ผลิตไปให้ธนาคาร หรือ บล. เป็นผู้ขาย ซึ่งทั้งธนาคาร(บางแห่ง) และบล. นั้นสามารถขายกองทุนของบลจ.หลายๆ แห่งได้ในที่เดียว
อันดับ 4 ถ้าบลจ. เจ๊ง! ... เงินต้นจะหาย!!!
อันดับที่ 4 ที่นักลงทุนมักจะเข้าใจผิด คือเรื่องที่ว่า “ถ้าหากบลจ. หรือผู้จัดการกองทุนที่บริหารกองทุนเกิดเจ๊ง ... เงินต้นฉันจะสูญหายหมด” จริงๆแล้วไม่ใช่เลยครับ เพราะ 1.ในการจัดตั้งกองทุนกับกลต. กองทุนนั้นจะต้องถูกจัดขึ้นในนามนิติบุคคล แยกออกจากสินทรัพย์ของ บลจ.ที่บริหารกันอย่างสิ้นเชิงครับ นั่นหมายความว่าแม้ บลจ.จะเจ๊ง แต่เงินเราที่อยู่ในกองทุนก็ยังไม่ได้หายไปไหนแน่นอน ซึ่ง 2. เงินลงทุนของเราที่อยู่ในกองทุนนั้นจะถูกโอนไปให้ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” (ซึ่งก็คือธนาคารยักษ์ใหญ่หลายๆแห่งในบ้านเรานั่นเอง) เป็นผู้ดำเนินการเรื่องกฎหมายและจัดหา บลจ.ใหม่ หรือผู้จัดการกองทุนใหม่มาบริหารสินทรัพย์ของกองทุนกองนี้ต่อไปครับ
อันดับ 3 กองปันผล ดีกว่ากองไม่ปันผล
อันดับต่อมาเป็นเรื่องของเงินปันผล เรื่องนี้เป็นปัญหาโลกแตกของหลายๆคน คือในใจก็อยากได้เงินปันผล แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากเสียภาษีเงินปันผล 10% ครั้นจะไปเลือกกองทุนไม่จ่ายปันผลก็ไม่ชอบอีก เพราะเข้าใจว่ากองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล คือกองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่ไม่มีเงินปันผลให้ ต่างกับกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผล ที่ไปลงในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลอีกที... เดี๋ยวนะ... เข้าใจผิดแล้วครับ จริงๆแล้วการจะจ่ายหรือไม่จ่ายปันผลนั้นมันขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นหรือสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุนเลย เช่น กองทุน A และกองทุน B เป็นกองทุนที่ลงทุนใน SET50 เหมือนกัน โดยกองทุน A มีนโยบายจ่ายปันผล “ไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรในแต่ละรอบ” และกองทุน B ไม่จ่ายปันผล ถึงตรงนี้มี 2 จุดที่ต้องทำความเข้าใจ 1.คำว่า “ไม่น้อยกว่า 90% ของกำไร” คำว่ากำไรในที่นี้หมายถึงทั้งส่วนต่างราคาและเงินปันผลที่กองทุนทำได้ในแต่ละรอบ (ฉะนั้นไม่สำคัญเลยว่าจะต้องลงทุนหุ้นที่จ่ายปันผลหรือไม่) และ 2. กองทุน B ที่ไม่จ่ายปันผล จริงๆแล้วกองทุนก็ได้รับเงินปันผลจากหุ้นที่ลงทุนอยู่นะครับ เพียงแต่เขาไม่ได้จ่ายออกมาให้เราแต่นำไปลงทุนต่อรวมเป็นมูลค่ากองทุนให้เราเลย ฉะนั้นแล้วหากนักลงทุนจะต้องเลือกลงทุนซักกอง ผมแนะนำให้เลือกตามวัตถุประสงค์ของเราดีกว่า คือ “ถ้าเป็นคนที่ชอบให้มีกระแสเงินสดเข้ามาระหว่างที่ลงทุน ก็เลือกแบบจ่ายปันผล (แต่ต้องยอมเสียภาษี 10%) แต่หากเป็นคนที่ไม่ชอบเงินปันผล ให้บลจ.ไปลงทุนต่อเลย ก็เลือกแบบไม่จ่ายปันผลจะดีที่สุด” แล้วค่อยไปคัดเลือกกองทุนที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นภายหลังครับ
อันดับ 2 Trigger Fund … รับประกันผลตอบแทน
อีกหนึ่งความเข้าใจผิดของนักลงทุน ซึ่งอันดับ 2 และอันดับ 1 นั้นสูสีกันมาก เพราะมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า กองทุนทริกเกอร์ (Trigger Fund) คือกองทุนที่รับประกันผลตอบแทน เช่น กองทุนทริกเกอร์ AAA 5 เดือน 5% คือกองทุนที่เมื่อลงทุนแล้ว จะได้ 5% ภายใน 5 เดือน ซึ่งคนละเรื่องกับความเป็นจริงเลยครับ เพราะแท้จริงแล้วกองทุนทริกเกอร์ คือกองทุนที่ตั้งเงื่อนไขไว้ให้ว่า “ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ถ้าราคากองทุนขึ้นไปถึงเป้าหมาย หรือได้กำไรตามที่ตั้งเป้าไว้ กองทุนจะทำการขายเพื่อ take profit ให้ โดยที่นักลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้เลย” นั่นหมายความว่าถ้าระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น นักลงทุนก็สามารถขาดทุนได้เช่นกัน และการขาดทุนนั้นจะเป็นการขาดทุนแบบไม่มีลิมิต คือลงได้เรื่อยๆตามสภาวะตลาดและขายไม่ได้แม้ว่าจะอยากขายเพื่อ cut loss แค่ไหนก็ตาม ฉะนั้นก่อนจะลงทุนอะไรก็ตาม “นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน ก่อนตัดสินใจลงทุน” นะครับ
อันดับ 1 ราคา NAV. ... ยิ่งน้อย ยิ่งดี
…และแล้วก็มาถึงอันดับ 1 ของความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกองทุนรวม คือเรื่องของราคา NAV. โดยนักลงทุนจะเข้าใจว่าการเลือกซื้อกองทุนนั้น จะต้องเลือกกองทุนที่มีราคา NAV. ต่ำๆ หรือถ้าเป็นกองทุน IPO ที่เปิดราคา 10 บาทได้ยิ่งดี หรือกองทุน A มีราคาตลาดที่ 15 บาท กับกองทุน B มีราคาตลาด 30 บาท นักลงทุนก็จะเลือกลงทุนในกองทุน A เนื่องจากมองว่าถูกกว่า และยังขึ้นไม่มาก (ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงทั้ง 2 กองทุนอาจจะลงทุนในสินทรัพย์ตัวเดียวกันเลยก็ได้) ตัวอย่างที่ผมยกมาให้ดูถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดได้บ่อยมากๆ และถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงครับ ...ทำไมถึงผิด? เพราะว่าความจริงแล้ว 1.กองทุนเกือบทุกกองในประเทศไทย เวลาจดทะเบียนเริ่มทำการซื้อขายมักจะจดทะเบียนซื้อขายกันที่ราคาเริ่มต้น 10 บาทเท่ากัน ฉะนั้นจะเอาราคาตลาดในปัจจุบันมาเทียบกันไม่ได้แน่นอนครับ 2. การจะเปรียบเทียบความถูกแพงของกองทุนนั้น ไม่สามารถเทียบกันได้ในแง่ของราคาเลย (แม้กระทั่งหุ้นเองก็เทียบแบบนี้ไม่ได้)
ยกตัวอย่างเช่น กองทุน A และกองทุน B เป็นกองทุนเลียนแบบดัชนี SET 50 เหมือนกัน แต่กองทุน A เปิดกองมาแล้ว 10 ปี (โดยช่วง 10 ปี SET 50 ขึ้นมาราวๆ 50%) ในขณะที่กองทุน B เพิ่งเปิดมาได้ 1 ปี ทำให้ราคา NAV. ของกองทุน A สูงกว่ากองทุน B มาก ลูกค้าที่เข้าใจผิดอาจไปตัดสินใจซื้อกองทุน B ด้วยเข้าใจว่าราคาถูกกว่า ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วทั้ง 2 กองทุนไม่ได้แตกต่างกันเลย ฉะนั้นโดยสรุปแล้วเราไม่สามารถดูความถูกแพงของกองทุน จากราคา NAV. ได้ หรือจะให้ดีกว่านั้น “อย่าตัดสินใจเลือกกองทุนโดยใช้ราคา NAV. เป็นหลัก” แต่ควรจะพิจารณาจากความสามารถในการบริหารของผู้จัดการกองทุน ลักษณะสินทรัพย์ที่ลงทุน และค่าธรรมเนียม แบบนี้ถึงจะดีและเหมาะสมที่สุดครับ #ลูกแม่หน่อง
ปริพรรห์ ปริยอุดมทรัพย์ AFPT™
-----------------------------------------------------------------------
อ่านเพิ่มเติมได้ที่...
https://www.facebook.com/clevplan/
ผมจะทยอยแบ่งปันมุมมองที่น่าสนใจ ลองติดตามดูครับ
------------------------------------------------------------------