⁞ ในช่วงนี้บ้านเรามีหนังสนุกๆ ให้นักเสพความบันเทิงอย่างเราๆ ได้ควักกระเป๋ากันเป็นว่าเล่น ผมเชื่อว่าการดูหนังก็คงเป็น ‘ไลฟ์สไตล์ ในวันหยุด’ ของหลายๆ คน รวมทั้งตัวผมด้วย เรียกว่าวางแผนกันเป็นเดือนๆ อาทิตย์นี้ดูเรื่องนี้ อาทิตย์ถัดไปดูเรื่องนั่น เรียงตามวันเขาฉายเลยครับ อย่างเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาถึงคิวของหนังใหม่เรื่อง E V E R E S T ซึ่งก่อนหน้านี้ผมแค่ได้ดูเทลเลอร์ผ่านๆ ก็ไม่ได้หวือหวาอะไรมาก แต่เป็นหนังที่สร้างจากเรื่องจริง ผมชอบหนังแนวๆ นี้พอดี เลยจัดซะเลย
ในบทความนี้ไม่ได้จะมารีวิวหนัง หรือมาสปอยล์ใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ แต่การดูหนังหลายๆ เรื่องที่ผ่านมาทำให้ผมรู้ว่า หากเรามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการ ขั้นตอน หรือศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนั้น มันจะทำให้เราดูหนังสนุกมากขึ้นมากๆ โดยเฉพาะหนังที่ Base on true story อย่างเรื่องนี้เป็นต้น ไม่ต้องไปคอยถามคนข้างๆ “ยังไงต่อนะ? แล้วมันทำแบบนี้ทำไม? ไอ้คนนี้กลับมาตรงนี้ทำไม?” อะไรทำนองนี้ เสียรมณ์ในการดูหนังทั้งเรา และเพื่อนเรา รวมทั้งคนนั่งใกล้ๆ เราด้วย เผลอๆ หันไปหันมาพลาดตอนสำคัญ ทีนี้แหละเครียดเลย (หนังบางเรื่อง หากเราพลาดบางช่วงสำคัญๆ นี่เรียกว่า เสียตังค์ฟรี! ยังได้)
ในการที่ใครสักคนคิดจะพิชิตยอดเขาสูงๆ โดยเฉพาะเอเวอเรสต์ที่สูง 8,850 เมตร ไม่ใช่คิดอยากจะปีน ก็เดินดุ่ยๆ ๆ ๆ ไปถึงตีนเขาแล้วก็ปีนเลย นอกจากใจที่รักในการปีนเขาเอามากๆ แล้ว คุณจะต้องมีเงินอย่างน้อยๆ 3,000,000 บาท(ใช่ครับ...สามล้านบาทถ้วน) ในการจ่ายค่าใบอนุญาต ค่าอุปกรณ์ปีนเขา ซึ่งแน่นอนว่าต้องได้มาตรฐานจนไปถึงขั้นดีมาก ค่าอาหาร และค่าทีมงานที่จะพาคุณขึ้นไปบนนั้นอย่างปลอดภัย(เหมือนบริษัททัวร์เวลาที่เราไปเที่ยวนั่นแหละครับ) อีกอย่างนอกจากเรื่องเงินๆ ทองๆ แล้ว สิ่งที่คุณจะต้องเตรียมมาเองจากบ้านก็คือ ร่างกายที่(โคตร)แข็งแรง หรือไม่ก็ต้องฝึกปีนเขาที่มีความสูงมากๆ ระดับ 4,000-5,000 เมตรมาก่อนหน้านี้บ้างแล้ว การต้องสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก ในที่ที่มีออกซิเจนเบาบาง มันก็เป็นการเช็คตัวเองไปด้วยว่า ถ้าต้องปีนบนยอดเอเวอเรสต์ที่สภาพอากาศหนักว่านี้ ตัวเองยัง ‘ใจถึง’ อยู่รึป่าว
เมื่อใจพร้อม ร่างกาย อุปกรณ์ และทีมงานพร้อม ก็เริ่มปีนกันได้ เริ่มต้นภาระกิจนี้ ด้วยการขึ้นเครื่องบินจากกัตมันดุ(Kathmandu) เมืองหลวงของเนปาล ใช้เวลาประมาณ 45 นาทีไปยังหมู่บ้านลู-กลา(Lukla)ที่ระดับความสูง 2,850 เมตร ณ หมู่บ้านแห่งนี้คือ ที่ที่นักปีนเขาทุกคนที่จะปีนเอเวอเรสต์ ใช้เป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้า ไปยังตีนเขาของเอเวอเรสต์หรือที่เรียกว่า Base camp(BC) การเดินทางจาก Lukla ถึง Base camp ใช้เวลาประมาณ 9 วัน ที่อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 0 องศาเซลเซียส อ่านไม่ผิดนะครับ 9 วันกับ 0 องศาไปถึงแค่ตีนเขา!
เมื่อไปถึง Basecamp ที่ความสูง 5,400 เมตร คุณจะได้พักที่นั่นประมาณ 7 วันเพื่อเตรียมความพร้อม และให้ร่างการได้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศ หลังจากนั้นทีมจะพาคุณเดิน(ปีน)จาก Base camp ไปยัง Camp-1(C1)ที่ความสูง 6,100 เมตร ในเวลา 5 ชั่วโมง ทางระหว่าง BC ถึง C1 นี้จะเต็มไปด้วยรอยแยกของน้ำแข็งลึก ที่สำคัญคือมันซ่อนอยู่ใต้หิมะหนา ซึ่งคุณไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่าเมื่อไหร่คุณจะได้ทำความรู้จักกับมัน ถ้าหากคุณตกลงไป คุณจะไม่มีโอกาสได้ตกลงไปอีกเป็นครั้งที่สองแน่นอน เสียงที่ดังเหมือนฟ้าร้อง มันคือเสียงของหิมะที่กำลังจะถล่ม ซึ่งจะเจอมันได้ตลอดทางจาก BC ไป C1 นี่เอง เมื่อคุณถึง C1 คุณจะต้องกลับลงมายัง BC ใหม่และพักที่นั่นอีก 7 วันเพื่อจะปีนขึ้นในครั้งที่สอง
รอบสองนี้จะปีนผ่าน C1 อีกครั้งไปถึง Camp-2(C2)ที่ความสูง 6,400 เมตร พักที่ C2 เป็นเวลา 1 คืนและกลับลงมา BC ใหม่อีกครั้งและพักที่ BC อีก 7 วัน ที่ต้องขึ้นๆ ลงๆ แบบนี้เรื่อยๆ เพราะมันคือการฝึกให้คุณได้รับมือกับสภาพอากาศ และเตรียมร่างกายให้พร้อม เพื่อเผชิญกับสภาพอากาศที่จะเลวร้ายกว่า ในทุกๆ ครั้งที่ออกเดินทางใหม่ เหมือนค่อยๆ เพ่ิมเลเวลตัวเองไปทีละขั้นๆ
รอบสามก็ยังทำแบบครั้งก่อนๆ แต่คราวนี้ จาก BC ไป C1(พัก 10 นาที) ปีนต่อไป C2(พักอีก 1 คืน) จากนี้จะปีนต่อไปยัง Camp-3(C3)ที่ความสูง 6,800 เมตร พักที่นั่น 1 คืน และแน่นอน....กลับลงมายัง C2 > C1 > และ BC อีกรอบ รอบนี้นักปีนเขาจะได้ทบทวนตัวเองว่า คุณพร้อมที่จะขึ้นไปอีกรอบหรือไม่ ถ้าไม่ไหวก็แค่แบกกระเป๋า ทิ้งเงินและความฝันไว้ที่นี่ แล้วเอาชีวิตกลับไป
ก่อนการปีนขึ้นรอบสุดท้ายนี้ นักปีนเขาจะได้ใช้เวลาอยู่ที่ BC นานกว่าปกติ อาจจะกินเวลา 7-10 วันหรือเมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพอากาศเป็นใจ เพราะรอบนี้ เมื่อคุณทำทุกอย่างเหมือนเดิม จนเลย C3 ขึ้นไปถึง Camp-4(C4) หรือที่เรียกว่า deathzone แล้ว คุณจะได้พักที่นั่นเพียง 4 ชั่วโมง และถ้าหากคุณยังไหวและมีออกซิเจนในถังพอ นั่นคือ ‘คุณได้ไปต่อ’ ทีมปีนเขาที่ยังไหวจะได้ขึ้น summit ไปเหยียบยอดเขาเอเวอเรสต์อย่างที่ใฝ่ฝัน และได้ชื่อว่าเป็น Everest summiteer อย่างภาคภูมิใจ
Summiteers ทั้งหลายจะได้ชื่นชมความงาม ดื่มด่ำกับความภาคภูมิใจได้ไม่นานนัก สิ่งที่น่ากลัวกว่าการปีนขึ้นมาถึงยอดเขากำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่นาที สภาพร่างกายที่อ่อนล้าเต็มทน กับออกซิเจนในถังที่แทบจะไม่เหลือทำให้การปีนลงคือความโหดร้ายของเอเวอเรสต์ตัวจริง อาจจะทำให้เขาและเธอเหล่านั้นมีโอกาสได้เพียงแค่ปีนขึ้น และอยู่บนนั้นไปตลอดกาล นักปีนเขา 1 คนจะต้องจบชิวิตลงในทุกๆ 10 คนที่ปีนขึ้น แต่เพียง 5 ใน 6 คนเท่านั้นที่จะรอดลงมาฉลองความยิ่งใหญ่ครั้งนี้กับครอบครัว
.....อรรถรสนอกเหนือจากนี้ หาได้จากในหนังครับ ขอให้ดูหนังอย่างมีความสุขนะครับ....#หางเต่า
ปล.1 : จากแหล่งข้อมูลที่ผมค้นคว้ามานี้ คือบางส่วนนะครับ ไม่ได้ลงรายละเอียดอะไรมากนัก อธิบายแค่พอให้ดูหนังเรื่อง Everest แล้วไม่งง ดูแล้วสนุก ถ้าใครสนใจจะศึกษาต่อ ก็เร่ิมจากแหล่งอ้างอิงที่ผมใส่ไว้ให้ที่ด้านท้ายของบทความนี้ได้เลยครับ
ปล.2 : ติดตามบทความต่างๆได้ที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=turtletail&group=8 ครับ
อ้างอิง :
1)
https://www.youtube.com/watch?v=bpcRbD--YoQ
2)
http://www.mounteverest.net/expguide/route.htm
3)
https://en.wikipedia.org/wiki/Mount_Everest
อยากดู E V E R E S T ให้สนุกเชิญทางนี้จ้า [งดสปอยล์]
ในบทความนี้ไม่ได้จะมารีวิวหนัง หรือมาสปอยล์ใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ แต่การดูหนังหลายๆ เรื่องที่ผ่านมาทำให้ผมรู้ว่า หากเรามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการ ขั้นตอน หรือศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนั้น มันจะทำให้เราดูหนังสนุกมากขึ้นมากๆ โดยเฉพาะหนังที่ Base on true story อย่างเรื่องนี้เป็นต้น ไม่ต้องไปคอยถามคนข้างๆ “ยังไงต่อนะ? แล้วมันทำแบบนี้ทำไม? ไอ้คนนี้กลับมาตรงนี้ทำไม?” อะไรทำนองนี้ เสียรมณ์ในการดูหนังทั้งเรา และเพื่อนเรา รวมทั้งคนนั่งใกล้ๆ เราด้วย เผลอๆ หันไปหันมาพลาดตอนสำคัญ ทีนี้แหละเครียดเลย (หนังบางเรื่อง หากเราพลาดบางช่วงสำคัญๆ นี่เรียกว่า เสียตังค์ฟรี! ยังได้)
ในการที่ใครสักคนคิดจะพิชิตยอดเขาสูงๆ โดยเฉพาะเอเวอเรสต์ที่สูง 8,850 เมตร ไม่ใช่คิดอยากจะปีน ก็เดินดุ่ยๆ ๆ ๆ ไปถึงตีนเขาแล้วก็ปีนเลย นอกจากใจที่รักในการปีนเขาเอามากๆ แล้ว คุณจะต้องมีเงินอย่างน้อยๆ 3,000,000 บาท(ใช่ครับ...สามล้านบาทถ้วน) ในการจ่ายค่าใบอนุญาต ค่าอุปกรณ์ปีนเขา ซึ่งแน่นอนว่าต้องได้มาตรฐานจนไปถึงขั้นดีมาก ค่าอาหาร และค่าทีมงานที่จะพาคุณขึ้นไปบนนั้นอย่างปลอดภัย(เหมือนบริษัททัวร์เวลาที่เราไปเที่ยวนั่นแหละครับ) อีกอย่างนอกจากเรื่องเงินๆ ทองๆ แล้ว สิ่งที่คุณจะต้องเตรียมมาเองจากบ้านก็คือ ร่างกายที่(โคตร)แข็งแรง หรือไม่ก็ต้องฝึกปีนเขาที่มีความสูงมากๆ ระดับ 4,000-5,000 เมตรมาก่อนหน้านี้บ้างแล้ว การต้องสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก ในที่ที่มีออกซิเจนเบาบาง มันก็เป็นการเช็คตัวเองไปด้วยว่า ถ้าต้องปีนบนยอดเอเวอเรสต์ที่สภาพอากาศหนักว่านี้ ตัวเองยัง ‘ใจถึง’ อยู่รึป่าว
เมื่อใจพร้อม ร่างกาย อุปกรณ์ และทีมงานพร้อม ก็เริ่มปีนกันได้ เริ่มต้นภาระกิจนี้ ด้วยการขึ้นเครื่องบินจากกัตมันดุ(Kathmandu) เมืองหลวงของเนปาล ใช้เวลาประมาณ 45 นาทีไปยังหมู่บ้านลู-กลา(Lukla)ที่ระดับความสูง 2,850 เมตร ณ หมู่บ้านแห่งนี้คือ ที่ที่นักปีนเขาทุกคนที่จะปีนเอเวอเรสต์ ใช้เป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้า ไปยังตีนเขาของเอเวอเรสต์หรือที่เรียกว่า Base camp(BC) การเดินทางจาก Lukla ถึง Base camp ใช้เวลาประมาณ 9 วัน ที่อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 0 องศาเซลเซียส อ่านไม่ผิดนะครับ 9 วันกับ 0 องศาไปถึงแค่ตีนเขา!
เมื่อไปถึง Basecamp ที่ความสูง 5,400 เมตร คุณจะได้พักที่นั่นประมาณ 7 วันเพื่อเตรียมความพร้อม และให้ร่างการได้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศ หลังจากนั้นทีมจะพาคุณเดิน(ปีน)จาก Base camp ไปยัง Camp-1(C1)ที่ความสูง 6,100 เมตร ในเวลา 5 ชั่วโมง ทางระหว่าง BC ถึง C1 นี้จะเต็มไปด้วยรอยแยกของน้ำแข็งลึก ที่สำคัญคือมันซ่อนอยู่ใต้หิมะหนา ซึ่งคุณไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่าเมื่อไหร่คุณจะได้ทำความรู้จักกับมัน ถ้าหากคุณตกลงไป คุณจะไม่มีโอกาสได้ตกลงไปอีกเป็นครั้งที่สองแน่นอน เสียงที่ดังเหมือนฟ้าร้อง มันคือเสียงของหิมะที่กำลังจะถล่ม ซึ่งจะเจอมันได้ตลอดทางจาก BC ไป C1 นี่เอง เมื่อคุณถึง C1 คุณจะต้องกลับลงมายัง BC ใหม่และพักที่นั่นอีก 7 วันเพื่อจะปีนขึ้นในครั้งที่สอง
รอบสองนี้จะปีนผ่าน C1 อีกครั้งไปถึง Camp-2(C2)ที่ความสูง 6,400 เมตร พักที่ C2 เป็นเวลา 1 คืนและกลับลงมา BC ใหม่อีกครั้งและพักที่ BC อีก 7 วัน ที่ต้องขึ้นๆ ลงๆ แบบนี้เรื่อยๆ เพราะมันคือการฝึกให้คุณได้รับมือกับสภาพอากาศ และเตรียมร่างกายให้พร้อม เพื่อเผชิญกับสภาพอากาศที่จะเลวร้ายกว่า ในทุกๆ ครั้งที่ออกเดินทางใหม่ เหมือนค่อยๆ เพ่ิมเลเวลตัวเองไปทีละขั้นๆ
รอบสามก็ยังทำแบบครั้งก่อนๆ แต่คราวนี้ จาก BC ไป C1(พัก 10 นาที) ปีนต่อไป C2(พักอีก 1 คืน) จากนี้จะปีนต่อไปยัง Camp-3(C3)ที่ความสูง 6,800 เมตร พักที่นั่น 1 คืน และแน่นอน....กลับลงมายัง C2 > C1 > และ BC อีกรอบ รอบนี้นักปีนเขาจะได้ทบทวนตัวเองว่า คุณพร้อมที่จะขึ้นไปอีกรอบหรือไม่ ถ้าไม่ไหวก็แค่แบกกระเป๋า ทิ้งเงินและความฝันไว้ที่นี่ แล้วเอาชีวิตกลับไป
ก่อนการปีนขึ้นรอบสุดท้ายนี้ นักปีนเขาจะได้ใช้เวลาอยู่ที่ BC นานกว่าปกติ อาจจะกินเวลา 7-10 วันหรือเมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพอากาศเป็นใจ เพราะรอบนี้ เมื่อคุณทำทุกอย่างเหมือนเดิม จนเลย C3 ขึ้นไปถึง Camp-4(C4) หรือที่เรียกว่า deathzone แล้ว คุณจะได้พักที่นั่นเพียง 4 ชั่วโมง และถ้าหากคุณยังไหวและมีออกซิเจนในถังพอ นั่นคือ ‘คุณได้ไปต่อ’ ทีมปีนเขาที่ยังไหวจะได้ขึ้น summit ไปเหยียบยอดเขาเอเวอเรสต์อย่างที่ใฝ่ฝัน และได้ชื่อว่าเป็น Everest summiteer อย่างภาคภูมิใจ
Summiteers ทั้งหลายจะได้ชื่นชมความงาม ดื่มด่ำกับความภาคภูมิใจได้ไม่นานนัก สิ่งที่น่ากลัวกว่าการปีนขึ้นมาถึงยอดเขากำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่นาที สภาพร่างกายที่อ่อนล้าเต็มทน กับออกซิเจนในถังที่แทบจะไม่เหลือทำให้การปีนลงคือความโหดร้ายของเอเวอเรสต์ตัวจริง อาจจะทำให้เขาและเธอเหล่านั้นมีโอกาสได้เพียงแค่ปีนขึ้น และอยู่บนนั้นไปตลอดกาล นักปีนเขา 1 คนจะต้องจบชิวิตลงในทุกๆ 10 คนที่ปีนขึ้น แต่เพียง 5 ใน 6 คนเท่านั้นที่จะรอดลงมาฉลองความยิ่งใหญ่ครั้งนี้กับครอบครัว
.....อรรถรสนอกเหนือจากนี้ หาได้จากในหนังครับ ขอให้ดูหนังอย่างมีความสุขนะครับ....#หางเต่า
ปล.1 : จากแหล่งข้อมูลที่ผมค้นคว้ามานี้ คือบางส่วนนะครับ ไม่ได้ลงรายละเอียดอะไรมากนัก อธิบายแค่พอให้ดูหนังเรื่อง Everest แล้วไม่งง ดูแล้วสนุก ถ้าใครสนใจจะศึกษาต่อ ก็เร่ิมจากแหล่งอ้างอิงที่ผมใส่ไว้ให้ที่ด้านท้ายของบทความนี้ได้เลยครับ
ปล.2 : ติดตามบทความต่างๆได้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=turtletail&group=8 ครับ
อ้างอิง :
1) https://www.youtube.com/watch?v=bpcRbD--YoQ
2) http://www.mounteverest.net/expguide/route.htm
3) https://en.wikipedia.org/wiki/Mount_Everest