ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
รายงานพิเศษ
แม้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี จะพ้นจากอำนาจวาสนา ไร้ยศตำแหน่งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากเก้าอี้รักษาการนายกฯ กระทั่งยึดอำนาจ 22 พ.ค. และจวบจนปัจจุบัน
หากสิ่งที่ยังตามติดตัว ตามหลอน "ยิ่งลักษณ์" นั่นคือการตกเป็น "จำเลย" ในคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน
ปัจจุบัน "ยิ่งลักษณ์" ต้องเดินขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในฐานจำเลยกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จากคดีปล่อยปละละเลย-ไม่ระงับยับยั้งให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว
ในขณะที่การดำเนินคดีอาญาโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังอยู่ระหว่างกลางทาง เพราะเพิ่งมีการนัดตรวจพยานหลักฐาน
แต่อีกด้านหนึ่งมีเหตุการณ์ปรากฏในทำเนียบรัฐบาล คือการประชุมของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าความเสียหายการฟ้องร้องค่าเสียหาย และคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดทางแพ่งคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมี "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าฝ่ายกฎหมายเป็นประธาน เพื่อหาคนรับผิดชอบกับเงินที่สูญเสียไปจากการทุจริต
จำนวนเงินที่เอาผิดทางแพ่งกับ "ยิ่งลักษณ์และพวก" ถูกปล่อยข่าวออกมาว่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายถึง 5 แสนล้านบาท !
ก่อนที่ "วิษณุ" จะปฏิเสธข่าวดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น ว่ายังไม่สรุปตัวเลขที่แท้จริง แต่ทุกอย่างจะต้องจบชั้นคณะกรรมการภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้
โดยค่าเสียหายทั้งหมด คณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดชอบทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน สรุปเรื่องค่าเสียหาย รวมถึงระบุชื่อคนที่จะต้องชดใช้
นอกเหนือจาก "ยิ่งลักษณ์" ยังมีชื่อบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ และอาจรวมถึงข้าราชการต้องโดนหางเลขไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีวาระการประชุมเรื่องการชดเชยค่าเสียหายจำนำข้าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในที่สาธารณะหลายครั้งหลายวาระถึงความเสียหายของโครงการประชานิยม และต้องหาผู้รับผิดชอบ
วอร์รูมการต่อสู้คดีให้ "ยิ่งลักษณ์" ทั้งที่ในพรรคเพื่อไทย และวงประชุมทีมทนายย่านเลียบทางด่วนรามอินทรา อ่านท่าทางสัญญาณของ พล.อ.ประยุทธ์ว่า กำลัง "ชี้นำ" ทิศทางของคดี และพยายามลากยิ่งลักษณ์ให้จบลงที่ศาลทุกคดี
เนื่องจากคดีจำนำข้าว ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาและคดีแพ่ง ซึ่งฝ่ายรัฐชงเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแบบ "คู่ขนาน"
โดยไม่จำเป็นต้องรอผลคำตัดสินว่า "ยิ่งลักษณ์" กระทำความผิดจริง-ทุจริตจริง ตามที่มีการฟ้องคดีอาญาหรือไม่ ล้วนเป็นการกระทำรวบรัดแบบน่ากังขา
พฤติการณ์ของรัฐบาลที่ฝ่ายเพื่อไทยมองว่าเป็นการจ้องเล่นงาน "ยิ่งลักษณ์" มาจาก 2 เหตุผลหลัก 1 หลังจากยึดอำนาจ 22 พ.ค. รัฐบาลสั่งปิดโกดังข้าว ทำให้การขายข้าวต้องดีเลย์ออกไปทั้งที่การขายข้าวไม่ควรดีเลย์ 2 ผลจากการดีเลย์การขายข้าว ทำให้คุณภาพของข้าวเสื่อมลงมากขึ้นไปอีก
โดยเหตุผลการสั่งปิดโกดังข้าวทั่วประเทศในครั้งนั้นก็เพราะว่า เพื่อรอให้คณะตรวจสอบความเสียหายข้าวในโกดังรัฐบาลที่มี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกว่า 100 ชุด ลงพื้นที่ตรวจสอบข้าวจริงทั่วประเทศ
สุดท้ายหากคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดชอบทางแพ่งกำหนดค่าเสียหายออกมา ก็จะมีการบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายทันทีโดยไม่ต้องรอผลคดีอาญา
เนื่องจากคณะกรรมการว่าด้วยความรับผิดชอบทางแพ่ง เลือกช่องทางลัด-กฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งในการเรียกค่าเสียหาย น.ส.ยิ่งลักษณ์และพวก โดยไม่ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลแพ่ง เพราะต้องใช้เวลาสู้กันถึง 3 ศาล
โดยมีอายุความที่รัฐต้องฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย 2 ปี นับตั้งแต่กระทรวงการคลังได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 และอายุความจะครบ 2 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
ดังนั้นจึงต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี และเมื่อฟ้องแล้วอายุความจะหยุดโดยอัตโนมัติ ซึ่ง วันที่ 30 ก.ย.นี้ จะเป็นวันสรุปตัวเลขเรียกค่าเสียหาย น.ส.ยิ่งลักษณ์และพวก
แต่ถ้า "ยิ่งลักษณ์" ในฐานะจำเลยไม่ยอมชำระค่าเสียหาย "จำเลย" ก็ต้องฟ้องศาลปกครองเพื่อหลีกการบังคับใช้หนี้ และไปพิสูจน์ตัวเองในการชดใช้ค่าเสียหายต่อไป
เนื่องจากคำสั่งให้ชำระค่าเสียหาย ที่เป็นมติของคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดชอบทางแพ่งนั้น เป็นคำสั่งทางปกครอง "ยิ่งลักษณ์" จึงมีโอกาสดิ้นสู้ใน 2 ศาล คือ ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด
และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาล "ยิ่งลักษณ์" จะไม่สามารถใช้ "อัยการ" ซึ่งเป็นทนายแผ่นดิน "แก้ต่าง" ในชั้นศาลได้ เพราะ"ยิ่งลักษณ์" ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐตกเป็นจำเลยเสียเอง จึงต้องใช้ทีมทนายว่าความ
แต่ที่ผ่านมาทีมทนายความยิ่งลักษณ์ไม่เคยประสบความสำเร็จในการต่อสู้คดี
มีการประเมินกันในทำเนียบรัฐบาลว่า ถึงระยะเวลาการชดใช้ค่าเสียหายจำนำข้าวของ "ยิ่งลักษณ์" จะรู้ดำรู้แดงไม่เกิน 2 ปี หรือในศักราช 2560 ในช่วงปลายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์
ชะตากรรมของ "ยิ่งลักษณ์" ยังไม่รอดพ้นจากบ่วงกรรมเรื่องคดีความ ที่ตามติดตัวมาตั้งแต่พ้นจากอำนาจ
ขณะที่ปฏิกิริยาฟาก "นายกฯพี่ชาย" ทั้งคนการเมืองที่เชื่อมถึงทหาร และนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยไปนั่งสนทนาการเมืองด้วยกันก่อนการยึดอำนาจ 22 พ.ค.ไม่กี่วัน เล่าว่า ช่วงนั้นนายทักษิณได้กลิ่นรัฐประหาร และตรวจชะตากรรม "รัฐบาลน้องสาว" แล้วว่าอาจถูกรัฐประหารในอีกไม่นาน จึงทำใจยอมรับไว้แต่ต้น
นายทักษิณจึงสั่งให้ลูกพรรคที่ตบเท้าเข้าพบหลังรัฐประหาร ให้ "Wait & See" แต่สุดท้ายนายทักษิณก็ไม่สามารถนิ่งเฉย เป็นผู้ชมข้างสนามต่อไปได้ เพราะจุดแตกหักอยู่ที่เงินนับแสนล้านบาทเป็นเดิมพัน
นอกจากคดีชดเชยค่าเสียหายในจำนำข้าว ยังมีอีกหลายข้อหาที่ในชั้น ป.ป.ช.ที่ "ยิ่งลักษณ์" ยังสลัดไม่พ้น
ยิ่งพลันที่นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ หัวขบวน ป.ป.ช.ได้รับการต่ออายุจากคำสั่งหัวหน้า คสช.เป็นคำรบที่สอง ให้ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะได้ประธาน ป.ป.ช.คนใหม่ พ่วงด้วยกรรมการ ป.ป.ช.อีก 4 คน
ยิ่งซ้ำเติมความเชื่อให้ฝ่าย "ยิ่งลักษณ์" ว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง เนื่องจาก ป.ป.ช.ถูกฝ่ายพรรคเพื่อไทย และมวลชนเสื้อแดงระบุว่าดำเนินการสองมาตรฐาน
เมื่อตรวจสอบภาระ-พันธะทางคดีของ ป.ป.ช.ที่เกี่ยวพันกับ "ยิ่งลักษณ์" มีทั้งสิ้น 7 คดี ได้แก่ คดีที่ 1.กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามความผิดตามข้อกล่าวหากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) มาตรา 157
โดยมี วิชัย วิวิตเสวี เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน น.ส.ยิ่งลักษณ์กับคณะรัฐมนตรี (ครม.)
คดีที่ 2.กรณีการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ. 2548-2553 ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวน ที่มีนายวิชา มหาคุณ อีก 1 กรรมการที่ได้รับการต่ออายุ เป็นประธานได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์-ครม.ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายหรือโดยทุจริต ขณะนี้รอพิจารณาชี้มูลความผิดหรือไม่
คดีที่ 3.กรณีอนุมัติออกร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...(พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน) มีนายวิชัย เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่
คดีที่ 4.กรณีการใช้เงินตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบ บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่
คดีที่ 5.กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากการอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาตรา 15 ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย และมีพฤติการณ์ส่อว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
เป็นการใช้อำนาจหรือดุลพินิจบิดเบือนและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย กระทำการเกินกว่าเหตุ เกินความจำเป็น และความสมควรแก่กรณี ทั้งยังเป็นการโต้แย้งสิทธิ และละเมิดสิทธิและเสรีภาพฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหา
คดีที่ 6.กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อนุญาตให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยแพร่ภาพและเสียง รายการ "มวยไทยวอริเออร์ส" ซึ่งจัดที่เขตปกครองพิเศษมาเก๊า โดยมีเจตนาแพร่ภาพการกล่าวเปิดงานของนายทักษิณ สมัยยังติดยศพันตำรวจโท ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่มีลักษณะที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหา
คดีที่ 7.กรณีถอดถอนออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย เนื่องจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์-ครม.มีมติไม่รับข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และไม่สั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง แต่ประการใด จนเป็นมูลเหตุให้มีการทุจริตกันหลายโครงการ และเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนเป็นอย่างมาก ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหา
ยิ่งลักษณ์ยังต้องระทึกไปอีกนาน
"ยิ่งลักษณ์" ระทึก ปมจำนำข้าว เดิมพันแสนล้านกับ พันธะ 7 คดีใน ป.ป.ช.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
รายงานพิเศษ
แม้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี จะพ้นจากอำนาจวาสนา ไร้ยศตำแหน่งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากเก้าอี้รักษาการนายกฯ กระทั่งยึดอำนาจ 22 พ.ค. และจวบจนปัจจุบัน
หากสิ่งที่ยังตามติดตัว ตามหลอน "ยิ่งลักษณ์" นั่นคือการตกเป็น "จำเลย" ในคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน
ปัจจุบัน "ยิ่งลักษณ์" ต้องเดินขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในฐานจำเลยกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จากคดีปล่อยปละละเลย-ไม่ระงับยับยั้งให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว
ในขณะที่การดำเนินคดีอาญาโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังอยู่ระหว่างกลางทาง เพราะเพิ่งมีการนัดตรวจพยานหลักฐาน
แต่อีกด้านหนึ่งมีเหตุการณ์ปรากฏในทำเนียบรัฐบาล คือการประชุมของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าความเสียหายการฟ้องร้องค่าเสียหาย และคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดทางแพ่งคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมี "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าฝ่ายกฎหมายเป็นประธาน เพื่อหาคนรับผิดชอบกับเงินที่สูญเสียไปจากการทุจริต
จำนวนเงินที่เอาผิดทางแพ่งกับ "ยิ่งลักษณ์และพวก" ถูกปล่อยข่าวออกมาว่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายถึง 5 แสนล้านบาท !
ก่อนที่ "วิษณุ" จะปฏิเสธข่าวดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น ว่ายังไม่สรุปตัวเลขที่แท้จริง แต่ทุกอย่างจะต้องจบชั้นคณะกรรมการภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้
โดยค่าเสียหายทั้งหมด คณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดชอบทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน สรุปเรื่องค่าเสียหาย รวมถึงระบุชื่อคนที่จะต้องชดใช้
นอกเหนือจาก "ยิ่งลักษณ์" ยังมีชื่อบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ และอาจรวมถึงข้าราชการต้องโดนหางเลขไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีวาระการประชุมเรื่องการชดเชยค่าเสียหายจำนำข้าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในที่สาธารณะหลายครั้งหลายวาระถึงความเสียหายของโครงการประชานิยม และต้องหาผู้รับผิดชอบ
วอร์รูมการต่อสู้คดีให้ "ยิ่งลักษณ์" ทั้งที่ในพรรคเพื่อไทย และวงประชุมทีมทนายย่านเลียบทางด่วนรามอินทรา อ่านท่าทางสัญญาณของ พล.อ.ประยุทธ์ว่า กำลัง "ชี้นำ" ทิศทางของคดี และพยายามลากยิ่งลักษณ์ให้จบลงที่ศาลทุกคดี
เนื่องจากคดีจำนำข้าว ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาและคดีแพ่ง ซึ่งฝ่ายรัฐชงเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแบบ "คู่ขนาน"
โดยไม่จำเป็นต้องรอผลคำตัดสินว่า "ยิ่งลักษณ์" กระทำความผิดจริง-ทุจริตจริง ตามที่มีการฟ้องคดีอาญาหรือไม่ ล้วนเป็นการกระทำรวบรัดแบบน่ากังขา
พฤติการณ์ของรัฐบาลที่ฝ่ายเพื่อไทยมองว่าเป็นการจ้องเล่นงาน "ยิ่งลักษณ์" มาจาก 2 เหตุผลหลัก 1 หลังจากยึดอำนาจ 22 พ.ค. รัฐบาลสั่งปิดโกดังข้าว ทำให้การขายข้าวต้องดีเลย์ออกไปทั้งที่การขายข้าวไม่ควรดีเลย์ 2 ผลจากการดีเลย์การขายข้าว ทำให้คุณภาพของข้าวเสื่อมลงมากขึ้นไปอีก
โดยเหตุผลการสั่งปิดโกดังข้าวทั่วประเทศในครั้งนั้นก็เพราะว่า เพื่อรอให้คณะตรวจสอบความเสียหายข้าวในโกดังรัฐบาลที่มี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกว่า 100 ชุด ลงพื้นที่ตรวจสอบข้าวจริงทั่วประเทศ
สุดท้ายหากคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดชอบทางแพ่งกำหนดค่าเสียหายออกมา ก็จะมีการบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายทันทีโดยไม่ต้องรอผลคดีอาญา
เนื่องจากคณะกรรมการว่าด้วยความรับผิดชอบทางแพ่ง เลือกช่องทางลัด-กฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งในการเรียกค่าเสียหาย น.ส.ยิ่งลักษณ์และพวก โดยไม่ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลแพ่ง เพราะต้องใช้เวลาสู้กันถึง 3 ศาล
โดยมีอายุความที่รัฐต้องฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย 2 ปี นับตั้งแต่กระทรวงการคลังได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 และอายุความจะครบ 2 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
ดังนั้นจึงต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี และเมื่อฟ้องแล้วอายุความจะหยุดโดยอัตโนมัติ ซึ่ง วันที่ 30 ก.ย.นี้ จะเป็นวันสรุปตัวเลขเรียกค่าเสียหาย น.ส.ยิ่งลักษณ์และพวก
แต่ถ้า "ยิ่งลักษณ์" ในฐานะจำเลยไม่ยอมชำระค่าเสียหาย "จำเลย" ก็ต้องฟ้องศาลปกครองเพื่อหลีกการบังคับใช้หนี้ และไปพิสูจน์ตัวเองในการชดใช้ค่าเสียหายต่อไป
เนื่องจากคำสั่งให้ชำระค่าเสียหาย ที่เป็นมติของคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดชอบทางแพ่งนั้น เป็นคำสั่งทางปกครอง "ยิ่งลักษณ์" จึงมีโอกาสดิ้นสู้ใน 2 ศาล คือ ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด
และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาล "ยิ่งลักษณ์" จะไม่สามารถใช้ "อัยการ" ซึ่งเป็นทนายแผ่นดิน "แก้ต่าง" ในชั้นศาลได้ เพราะ"ยิ่งลักษณ์" ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐตกเป็นจำเลยเสียเอง จึงต้องใช้ทีมทนายว่าความ
แต่ที่ผ่านมาทีมทนายความยิ่งลักษณ์ไม่เคยประสบความสำเร็จในการต่อสู้คดี
มีการประเมินกันในทำเนียบรัฐบาลว่า ถึงระยะเวลาการชดใช้ค่าเสียหายจำนำข้าวของ "ยิ่งลักษณ์" จะรู้ดำรู้แดงไม่เกิน 2 ปี หรือในศักราช 2560 ในช่วงปลายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์
ชะตากรรมของ "ยิ่งลักษณ์" ยังไม่รอดพ้นจากบ่วงกรรมเรื่องคดีความ ที่ตามติดตัวมาตั้งแต่พ้นจากอำนาจ
ขณะที่ปฏิกิริยาฟาก "นายกฯพี่ชาย" ทั้งคนการเมืองที่เชื่อมถึงทหาร และนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยไปนั่งสนทนาการเมืองด้วยกันก่อนการยึดอำนาจ 22 พ.ค.ไม่กี่วัน เล่าว่า ช่วงนั้นนายทักษิณได้กลิ่นรัฐประหาร และตรวจชะตากรรม "รัฐบาลน้องสาว" แล้วว่าอาจถูกรัฐประหารในอีกไม่นาน จึงทำใจยอมรับไว้แต่ต้น
นายทักษิณจึงสั่งให้ลูกพรรคที่ตบเท้าเข้าพบหลังรัฐประหาร ให้ "Wait & See" แต่สุดท้ายนายทักษิณก็ไม่สามารถนิ่งเฉย เป็นผู้ชมข้างสนามต่อไปได้ เพราะจุดแตกหักอยู่ที่เงินนับแสนล้านบาทเป็นเดิมพัน
นอกจากคดีชดเชยค่าเสียหายในจำนำข้าว ยังมีอีกหลายข้อหาที่ในชั้น ป.ป.ช.ที่ "ยิ่งลักษณ์" ยังสลัดไม่พ้น
ยิ่งพลันที่นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ หัวขบวน ป.ป.ช.ได้รับการต่ออายุจากคำสั่งหัวหน้า คสช.เป็นคำรบที่สอง ให้ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะได้ประธาน ป.ป.ช.คนใหม่ พ่วงด้วยกรรมการ ป.ป.ช.อีก 4 คน
ยิ่งซ้ำเติมความเชื่อให้ฝ่าย "ยิ่งลักษณ์" ว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง เนื่องจาก ป.ป.ช.ถูกฝ่ายพรรคเพื่อไทย และมวลชนเสื้อแดงระบุว่าดำเนินการสองมาตรฐาน
เมื่อตรวจสอบภาระ-พันธะทางคดีของ ป.ป.ช.ที่เกี่ยวพันกับ "ยิ่งลักษณ์" มีทั้งสิ้น 7 คดี ได้แก่ คดีที่ 1.กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามความผิดตามข้อกล่าวหากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) มาตรา 157
โดยมี วิชัย วิวิตเสวี เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน น.ส.ยิ่งลักษณ์กับคณะรัฐมนตรี (ครม.)
คดีที่ 2.กรณีการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ. 2548-2553 ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวน ที่มีนายวิชา มหาคุณ อีก 1 กรรมการที่ได้รับการต่ออายุ เป็นประธานได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์-ครม.ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายหรือโดยทุจริต ขณะนี้รอพิจารณาชี้มูลความผิดหรือไม่
คดีที่ 3.กรณีอนุมัติออกร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...(พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน) มีนายวิชัย เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่
คดีที่ 4.กรณีการใช้เงินตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบ บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่
คดีที่ 5.กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากการอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาตรา 15 ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย และมีพฤติการณ์ส่อว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
เป็นการใช้อำนาจหรือดุลพินิจบิดเบือนและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย กระทำการเกินกว่าเหตุ เกินความจำเป็น และความสมควรแก่กรณี ทั้งยังเป็นการโต้แย้งสิทธิ และละเมิดสิทธิและเสรีภาพฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหา
คดีที่ 6.กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อนุญาตให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยแพร่ภาพและเสียง รายการ "มวยไทยวอริเออร์ส" ซึ่งจัดที่เขตปกครองพิเศษมาเก๊า โดยมีเจตนาแพร่ภาพการกล่าวเปิดงานของนายทักษิณ สมัยยังติดยศพันตำรวจโท ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่มีลักษณะที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหา
คดีที่ 7.กรณีถอดถอนออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย เนื่องจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์-ครม.มีมติไม่รับข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และไม่สั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง แต่ประการใด จนเป็นมูลเหตุให้มีการทุจริตกันหลายโครงการ และเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนเป็นอย่างมาก ขณะนี้รอพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหา
ยิ่งลักษณ์ยังต้องระทึกไปอีกนาน