คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
กรมที่ดินคำนวณถูกต้องตามกฎหมายแล้วครับ (มาตรา 50 (5) ประกอบกับมาตรา 48 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร)
เพราะในการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ทางกรมที่ดินต้องยึดราคาประเมินของกรมที่ดินเป็นหลัก (ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) นั่นคือ 1,196,166 บาท
แล้วเอาราคาประเมินนี้มาหักค่าใช้จ่ายเหมาให้ 65% (ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 165)
ก็จะเหลือเป็นเงินได้สุทธิ เท่ากับ 418,658.10 บาท ถูกต้องแล้ว
และจากนั้น ก็เอามาหารกับจำนวนปีที่ถือครองให้อีก ซึ่งคุณถือครองมา 5 ปี
จึงเหลือเงินได้สุทธิต่อปี เท่ากับ 83,731.62 บาทถูกต้องแล้ว
จากนั้น ไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า โดยไม่ยกเว้นภาษี 150,000 บาทแรกให้
ก็จะได้ภาษีต่อปี (83,731.62 คูณ 5% =) 4,186.58 บาท
แล้วคูณกลับด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ก็จะได้ภาษีทั้งหมด (4,186.58 คูณ 5 ปี =) 20,932.90 บาท
ทางกรมที่ดินจึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เท่านี้ เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ
ส่วนคุณ ก็มีสิทธิตามกฎหมาย 2 ประการ สามารถเลือกได้ คือ
1. เลือกเสียภาษีตามที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ โดยไม่ต้องเอาไปรวมกับเงินได้ปลายปี
หรือ
2. เลือกเอาเงินได้จากการขายอสังหาฯ นี้ไปรวมคำนวณกับเงินได้ปลายปี โดยต้องยื่นด้วยแบบ ภงด. 90
ซึ่งถ้าเลือกวิธีหลัง คุณต้องใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน เป็นเงินได้จากการขายห้องชุดของคุณ (ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 49 ทวิ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน ไม่ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม ให้เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น")
ส่วนค่าใช้จ่าย คุณมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง ซึ่งก็คือต้นทุนที่คุณใช้ซื้อห้องชุดนี้ (แต่คุณต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ตรวจสอบนะครับ) ดังนั้น คุณจะมีผลขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษีตามวิธีคำนวณนี้
แต่คุณต้องเอาเงินได้มาคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ด้วย เพื่อเปรียบเทียบกัน นั่นคือ ต้องใช้เงินได้ทั้งหมดรวมทั้งประเภทอื่นด้วยที่คุณได้รับในปีภาษีนี้ (ยกเว้นเฉพาะเงินได้ที่ได้รับในฐานะลูกจ้างจากนายจ้าง) มาคูณด้วย 0.5% ถ้าได้ภาษีออกมาเกิน 5 พันบาท ก็ต้องเสียภาษีเท่านั้น แต่ถ้าไม่ถึง 5 พันบาท ก็ได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน
สมมุติว่า คุณไม่มีเงินได้ประเภทอื่น ดังนั้น เงินได้ที่จะเอามาคูณ 0.5% ก็จะได้แก่ 1,196,166 คูณ 0.5% เท่ากับ 5,980.83 บาท
คุณจึงมีหน้าที่เสียภาษีแค่ 5,980.83 บาท แต่คุณได้เสียภาษีไว้เกินไป
จึงมีสิทธิขอคืนภาษีที่เสียไปเกินได้ครับ
เพราะในการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ทางกรมที่ดินต้องยึดราคาประเมินของกรมที่ดินเป็นหลัก (ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) นั่นคือ 1,196,166 บาท
แล้วเอาราคาประเมินนี้มาหักค่าใช้จ่ายเหมาให้ 65% (ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 165)
ก็จะเหลือเป็นเงินได้สุทธิ เท่ากับ 418,658.10 บาท ถูกต้องแล้ว
และจากนั้น ก็เอามาหารกับจำนวนปีที่ถือครองให้อีก ซึ่งคุณถือครองมา 5 ปี
จึงเหลือเงินได้สุทธิต่อปี เท่ากับ 83,731.62 บาทถูกต้องแล้ว
จากนั้น ไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า โดยไม่ยกเว้นภาษี 150,000 บาทแรกให้
ก็จะได้ภาษีต่อปี (83,731.62 คูณ 5% =) 4,186.58 บาท
แล้วคูณกลับด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ก็จะได้ภาษีทั้งหมด (4,186.58 คูณ 5 ปี =) 20,932.90 บาท
ทางกรมที่ดินจึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เท่านี้ เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ
ส่วนคุณ ก็มีสิทธิตามกฎหมาย 2 ประการ สามารถเลือกได้ คือ
1. เลือกเสียภาษีตามที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ โดยไม่ต้องเอาไปรวมกับเงินได้ปลายปี
หรือ
2. เลือกเอาเงินได้จากการขายอสังหาฯ นี้ไปรวมคำนวณกับเงินได้ปลายปี โดยต้องยื่นด้วยแบบ ภงด. 90
ซึ่งถ้าเลือกวิธีหลัง คุณต้องใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน เป็นเงินได้จากการขายห้องชุดของคุณ (ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 49 ทวิ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน ไม่ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม ให้เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น")
ส่วนค่าใช้จ่าย คุณมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง ซึ่งก็คือต้นทุนที่คุณใช้ซื้อห้องชุดนี้ (แต่คุณต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ตรวจสอบนะครับ) ดังนั้น คุณจะมีผลขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษีตามวิธีคำนวณนี้
แต่คุณต้องเอาเงินได้มาคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ด้วย เพื่อเปรียบเทียบกัน นั่นคือ ต้องใช้เงินได้ทั้งหมดรวมทั้งประเภทอื่นด้วยที่คุณได้รับในปีภาษีนี้ (ยกเว้นเฉพาะเงินได้ที่ได้รับในฐานะลูกจ้างจากนายจ้าง) มาคูณด้วย 0.5% ถ้าได้ภาษีออกมาเกิน 5 พันบาท ก็ต้องเสียภาษีเท่านั้น แต่ถ้าไม่ถึง 5 พันบาท ก็ได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน
สมมุติว่า คุณไม่มีเงินได้ประเภทอื่น ดังนั้น เงินได้ที่จะเอามาคูณ 0.5% ก็จะได้แก่ 1,196,166 คูณ 0.5% เท่ากับ 5,980.83 บาท
คุณจึงมีหน้าที่เสียภาษีแค่ 5,980.83 บาท แต่คุณได้เสียภาษีไว้เกินไป
จึงมีสิทธิขอคืนภาษีที่เสียไปเกินได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
ภาษีเงินได้จากการขายคอนโดฯ ขอคืนได้ไหมคะ
ปี 2557 เราขายคอนโดแห่งนี้ ในราคา 1.68 ล้านบาท (ราคาประเมิน 1.19 ล้านบาท)
โดยได้ย้ายชื่อเข้าอยู่อาศัยเกิน 1 ปี (ไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)
วันที่ขาย ได้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 20,933 บาท (สามารถคำนวนได้จาก http://rdsrv2.rd.go.th/landwht/formcal1.asp )
ที่สงสัยคือ
--> ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมที่ดินคำนวนออกมาเป็น 20,933 นี้ เราสามารถขอคืนได้ไหม
เพราะเมื่อเราซื้อมาในราคา 1.52 ล้าน และขายไปในราคา 1.68 ล้าน เท่ากับว่าเงินได้ที่ควรนำมาคำนวนภาษี ควรจะเป็น 160,000 บาท (1.68 ล้าน - 1.52 ล้าน) หรือเปล่าคะ
ในขณะที่การคำนวนของกรมที่ดิน คำนวนเงินได้สุทธิออกมา 418,685 บาท ซึ่งเราไม่เข้าใจว่าเรามีเงินได้ถึง 4แสนกว่าบาท หรือ ปีละ 83,xxx บาทตรงไหนยังไงคะ
--> ถ้าขอคืนได้ ต้องทำอย่างไรคะ เพราะมันเป็นภาษีที่ชำระไปในปี 2557 ค่ะ